ความรับผิดของผู้ถือหุ้น บริษัทจํากัด

การจำกัดความรับผิด ความเป็นนิติบุคคล หลักการไม่คำนึงถึงความเป็นนิติบุคคล Limited liability Legal personality Piercing the Corporate Veil

Main Article Content

นิตินันทน์ บูรณะเจริญรักษ์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Abstract

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้บริษัทเอกชนจำกัดเป็นนิติบุคคลและให้ผู้ถือหุ้น จำกัด ความรับผิดโดยเคร่งครัด นอกจากนี้ยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นตํ่าสำหรับ บริษัทเอกชนจำกัดที่ประกอบธุรกิจโดยทั่วไป จึงทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถตั้งบริษัทเอกชนจำกัดโดยมีทุน จดทะเบียนตํ่าและประกอบธุรกิจที่มีมูลหนี้สูงกว่าทุนจดทะเบียน ส่งผลให้เจ้าหนี้ของบริษัทเอกชน จำกัดได้รับความเสียหายต่างกับกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดและกฎหมายล้มละลายของประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศ ออสเตรเลีย และประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่ใช้หลักการไม่คำนึงถึงความเป็นนิติบุคคลเรียกให้ผู้ถือหุ้น ที่ตั้งบริษัทเอกชนจำกัดโดยมีทุนจดทะเบียนตํ่าเข้าร่วมรับผิดในหนี้ของบริษัทเอกชนจำกัดเพื่อคุ้มครอง เจ้าหนี้ในคดีแพ่ง ในการชำระบัญชี และในคดีล้มละลาย นอกจากนี้ยังให้อำนาจศาลในการสั่งเลิกบริษัท เอกชนจำกัด ในกรณีที่บริษัทเอกชนจำกัดไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม อีกทั้งกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดของประเทศอังกฤษและประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ยังให้อำนาจ รัฐมนตรีตีพิมพ์รายงานการตรวจบริษัทเอกชนจำกัด เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ของบริษัทเอกชนจำกัด อีกด้วย ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยให้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดในหนี้ของบริษัทเอกชน จำกัด เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ของบริษัทเอกชนจำกัดจากกรณีที่ผู้ถือหุ้นตั้งบริษัทเอกชนจำกัดขึ้นโดยมี ทุนจดทะเบียนตํ่า

 

Liabilities of Shareholders Affecting Creditors of Limited Private Company

The Civil and Commercial Code stipulates that limited private companies are juristic persons and that shareholder liability is strictly limited. In addition, there are no provisions determining the minimum amount of authorized capital required for limited private companies conducting general business. As such, shareholders can establish limited private companies with a low amount of authorized capital and conduct business while incurring obligations at a higher level than is the case with those having larger amounts of authorized capital. This results in creditors of limited private companies being damaged. This differs from the laws governing limited private companies and the bankruptcy laws of the UK and the USA, in addition to the laws regulating limited private companies in the legal systems of the PRC, Australia and Singapore. These countries do not use the concept of “juristic person” as applied to shareholders setting up limited private companies. Instead, they have laws involving authorized capital for private limited companies which ensure the assumption of liability and the fulfi llment of obligations such that the interests of creditors are protected in respect to civil suits, liquidations and bankruptcy cases. In addition, in these jurisdictions, courts have the authority to force terminations of the operations of limited private companies in cases in which they are unable to repay debts and to see that justice is rendered. The laws governing limited private companies in the UK and Singapore also authorize ministers to publish reports of investigations of limited private companies so as to protect creditors.

The researcher therefore recommends that the Civil and Commercial Code and the Bankruptcy Act, B.E. 2483 (1940) be amended. These amendments should stipulate that shareholders of limited private companies must be obliged to assume liability in order to protect the creditors of limited private companies in cases in which shareholders establish limited private companies with a low amount of authorized capital.


ความรับผิดของผู้ถือหุ้น บริษัทจํากัด

อนุรักษ์ นิยมเวช
กรรมการผู้จัดการ ANURAK BUSINESS LAW
[email protected]

กรรมการบริษัทนั้นเป็นผู้แทนหรือตัวแทนของบริษัท ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นด้วยความไว้วางใจ กรรมการบริษัทจึงต้องจัดการบริษัทและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

กล่าวโดยหลักใหญ่ บริษัทจำกัดจะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 กำหนดไว้ กล่าวคือ ในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทนั้น กรรมการต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง และว่าโดยเฉพาะ กรรมการต้องรับผิดชอบร่วมกันในประการต่างๆ ดังนี้ คือ

(1) การใช้เงินค่าหุ้นนั้น ได้ใช้กันจริง
(2) จัดให้มีและรักษาไว้ให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารที่กฎหมายกำหนดไว้
(3) การแจกเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้เป็นไปโดยถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้
(4) บังคับการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามมติของที่ประชุมใหญ่

นอกจากนี้ ผู้เป็นกรรมการจะประกอบการค้าขายใดๆ อันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัทนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างค้าขายอื่นซึ่งประกอบกิจการมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของบริษัท โดยมิได้รับความยินยอมของที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นมิได้

ในกรณีที่กรรมการปฏิบัติผิดหน้าที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 ก็ได้ให้อำนาจและช่องทางแก่บริษัทในอันที่จะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนจากกรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวเอาคดีนั้นขึ้นว่ากล่าวแก่กรรมการเองก็ได้ ส่วนที่เป็นความผิดทางอาญาจะมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499

สำหรับกรรมการบริษัทมหาชนจำกัดนั้น จะอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 โดยมีหน้าที่ทั่วไปที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน และการไม่ค้าแข่งกับบริษัทในทำนองเดียวกับบริษัทจำกัดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 97 และ 86 เป็นต้น โดยความรับผิดในทางแพ่งและอาญาของกรรมการบริษัทมหาชนจะมีมากกว่าและเข้มงวดกว่ากรณีของกรรมการบริษัทจำกัดอยู่มาก เฉพาะบทกำหนดโทษทางอาญาก็มีนับสิบๆ มาตรา ทั้งยังมีข้อต้องห้ามหลายๆ ข้อที่ไม่มีในกรณีบริษัทจำกัด อย่างเช่น มาตรา 87 ที่ห้ามกรรมการซื้อหรือขายทรัพย์สินกับบริษัท เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการ หรือมาตรา 89 ที่ห้ามมิให้บริษัทให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการ เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายอนุญาต หรือมาตรา 88 ที่กำหนดให้กรรมการแจ้งให้บริษัททราบโดยมิชักช้าเมื่อตนมีส่วนได้เสียในสัญญาใดๆ ที่บริษัททำขึ้น เป็นต้น

ในกรณีที่ของบริษัทมหาชนจำกัดที่มีการจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น นอกจากกรรมการจะต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องปฏิบัติตนภายใต้บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 อีกด้วย ซึ่งโดยหลักก็มีไว้เพื่อปกป้องบรรดาผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนมาก เช่น การห้ามมิให้กรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่น (insider trading) ตามมาตรา 242 การห้ามมิให้กรรมการเปิดเผยข้อมูลภายในของบริษัทแก่บุคคลอื่นโดยรู้หรือควรรู้ว่าผู้รับข้อมูลอาจจำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ (มาตรา 242 (2)) หรือ การห้ามมิให้กรรมการกระทำธุรกรรมกับบริษัท เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่กฎหมายยกเว้นไว้ (มาตรา 89/12) เป็นต้น

สำหรับผู้ที่เป็นกรรมการในบริษัทรัฐวิสาหกิจซึ่งทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ โดยได้รับเงินเดือนหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นจากบริษัทนั้น นอกจากจะมีสถานะเป็นกรรมการเช่นเดียวกับกรรมการในบริษัททั่วไปแล้ว ยังมีสถานะเป็น “พนักงาน” ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ตามความหมายที่กำหนดไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ด้วย

ดังนั้น หากกรรมการในบริษัทรัฐวิสาหกิจได้กระทำผิดในหน้าที่ ก็จะมีความรับผิดร้ายแรงกว่ากรรมการในบริษัทเอกชนธรรมดาอยู่มาก โดยเฉพาะความผิดทางอาญาในฐานต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าว เช่น ความผิดตามมาตรา 4 ที่กำหนดว่า “ผู้ใดเป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท” ซึ่งเทียบเคียงได้กับความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 นั่นเอง แต่มีอัตราโทษสูงกว่ามาก

ในแง่ของกระบวนการทางกฎหมาย กรรมการในบริษัทรัฐวิสาหกิจที่เข้าข่ายเป็นพนักงานของรัฐตามกฎหมายข้างต้นและมีการกระทำที่ส่อว่าอาจได้กระทำความผิด จะต้องถูกสอบสวนโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และหาก ป.ป.ช. พบว่ามีความผิด ก็จะต้องชี้มูลความผิดและส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่างกับกรณีของกรรมการในบริษัทเอกชนหรือบริษัทจำกัดที่กระทำผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะว่ากล่าวกันเอง โดยผู้ถือหุ้นอาจเลือกที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีหรือในบางกรณีก็อาจไม่ติดใจเอาความแก่กรรมการเลยก็เป็นได้



  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • บริษัทจดทะเบียน
  • ตลาดหลักทรัพย์

ความรับผิดของผู้ถือหุ้น บริษัทจํากัด มีลักษณะอย่างไร

ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดรับผิดในมูลหนี้ของบริษัทเฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ ส่วนกรรมการบริษัทจะรับผิดในมูลหนี้ของบริษัทอย่างไรนั้นให้ดูข้อเท็จจริงว่า การที่กรรมการไปก่อหนี้ดังกล่าวนั้นได้กระทำในฐานะส่วนตัวหรือกระทำในนามตัวแทนของบริษัท ซึ่งผู้ถือหุ้นได้ให้ความเห็นชอบแล้ว หากข้อเท็จจริงปรากฏว่ากรรมการได้กระทำในนาม ...

ผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทจํากัดต้องรับผิดร่วมกับบริษัทจํากัดหรือไม่ อย่างไร

ตามกฎหมายบริษัทในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจ ากัด พ.ศ. 2535 ไม่ได้มีการก าหนดให้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดร่วมกับบริษัท นอกเหนือจากจานวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ค้างช าระ เนื่องจากโดยหลักแล้วผู้ถือหุ้น ไม่ได้มีอ านาจในการจัดการบริษัท แต่โดยที่กฎหมายก็ให้การจัดการของกรรมการบริษัท ...

ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดอย่างไร

ผู้ถือหุ้นได้ตกลงซื้อหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าหุ้นให้ครบถ้วน เมื่อชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วน ควรร้องขอใบหุ้นหรือทะเบียนหุ้น หรือหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้นจากบริษัทหรือคู่สัญญาให้เรียบร้อย หากชำระเงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนตามจำนวนหุ้นที่ถือมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชำระเงินค่าหุ้นให้ครบถ้วน ผู้ถือหุ้นไม่มี ...

ผู้ถือหุ้น ต้องรับผิดไหม

เมื่อผู้ถือหุ้นไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดจึงไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ถือหุ้นจะเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารจัดการบริษัท ที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดด้วยเมื่อบริษัทที่เป็นนิติบุคคลกระทำความผิด.