ความ รู้ เกี่ยว กับ เด็ก ปฐมวัย

การพัฒนาเด็กปฐมวัย

เด็กอายุ 0-5 ปีทุกคนได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามวัย ผ่านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ได้รับความคุ้มครองจากครอบครัว

  • พร้อมใช้งานใน:
  • English
  • ไทย

ปัญหาและความท้าทาย

ปฐมวัยหรือช่วงขวบปีแรกๆ ของชีวิต เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก โดยเป็นช่วงวัยที่เด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งทางสมอง การใช้ภาษา ทักษะทางสังคม ทางอารมณ์ และการเคลื่อนไหว เป็นช่วงวัยของการสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตและการเรียนรู้ต่อไปในชีวิต ดังนั้น การพัฒนาและการลงทุนในเด็กปฐมวัย จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของทุกครอบครัวและประเทศชาติ เพราะเป็นโอกาสทองครั้งเดียวในชีวิตเด็ก

มีคุณพ่อเพียง 34% ที่ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับลูก

ยังมีเด็กอายุ 3-5 ปี ราว 15% ที่ไม่ได้เข้าเรียนในระดับปฐมวัย

59% ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีหนังสือที่เด็กที่บ้านไม่ถึง 3 เล่ม

ในประเทศไทยมีเด็กปฐมวัยจำนวนมากที่ขาดการดูแลและการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้ปกครองจำนวนมาก โดยเฉพาะพ่อ ยังขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้กับลูกเล็ก ในขณะเดียวกัน การเข้าถึงหนังสือสำหรับเด็กซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้และจินตนาการ ยังเป็นไปอย่างจำกัด โดยเฉพาะในครัวเรือนที่ยากจน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กอายุ 3-5 ปีร้อยละ 15 ไม่ได้เข้าเรียนในระดับปฐมวัย ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญมากต่อพัฒนาการของเด็ก สำหรับเด็กที่ได้เข้าเรียนในระดับปฐมวัย ก็ยังอาจไม่ได้รับบริหารที่มีคุณภาพที่จะช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

แนวทางการแก้ปัญหา

ยูนิเซฟ ประเทศไทย ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในการร่างแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย ซึ่งรวมไปถึงการผลักดันเชิงนโยบายในด้านโภชนาการ การเลี้ยงดูบุตร คุณภาพในการให้บริการและทักษะของเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยอาศัยข้อมูลจากผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจว่าจะเกิดความเท่าเทียม และจะมีการติดตามตัวชี้วัดที่สำคัญเพื่อเฝ้าติดตามการเข้าถึงบริการของเด็กในกลุ่มด้อยโอกาส ซึ่งรวมถึงเด็กผู้พิการ เด็กชาติพันธุ์และเด็กในครอบครัวที่ยากจน ยูนิเซฟให้การสนับสนุนด้านเทคนิคในการบูรณการข้อมูลจากกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ยูนิเซฟ ประเทศไทย ทำงานร่วมกับหน่วยงานในระดับจังหวัดเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจถึงประเด็นด้านเด็กต่างๆ ความรู้ในเรื่องพัฒนาการของเด็ก มากขึ้น และให้การสนับสนุนกรุงเทพมหานครในการวางเป้าหมายด้านพัฒนากาเด็กปฐมวัยในอีก 5 ปีข้างหน้า ผ่านยุทธศาสตร์ชาติและข้อมูลจากผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย

ยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้ร่วมผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็กใน อย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ.​ 2560 ซึ่งรวมถึงการจัดงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนจากสาธารณชน เพื่อผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว และเมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก ได้ผ่านการอนุมัติในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาแล้ว ยูนิเซฟก็ยังคงส่งเสริมให้คนทั่วไปได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผ่านการผลักดันในเชิงนโยบาย การสื่อสาร และการสนับสนุนด้านเทคนิค ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่างประกาศกระทรวงเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้

ยูนิเซฟ ประเทศไทย ยังได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทำงาน มีการพัฒนาฐานข้อมูลของนายจ้างที่เข้าร่วมโครงการ ให้การสนับสนุนแก่กระทรวงสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อพัฒนาชุดข้อมูลไว้สื่อสารกับภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาได้ ด้วยการเป็นอาสาสมัครกับโครงการฉันคือยูนิเซฟ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ส่วนสาระการเรียนรู้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. ประสบการณ์สำคัญ และ 2. สาระที่ควรเรียนรู้ ทั้งสองส่วนมีความสำคัญในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งวันนี้เราจะทำความรู้จักกับ “สาระที่ควรเรียนรู้” ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างค่ะ

สาระที่ควรเรียนรู้
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเด็กเป็นลำดับแรก แล้วจึงขยายไปสู่เรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่างๆ รอบตัว

1.สาระที่ควรเรียนรู้ :  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

ต่ำกว่า 3 ปี
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กเด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ และเพศของตนเอง การเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การรับประทานอาหาร การถอดและใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัยและการนอนหลับพักผ่อน

เด็ก 3-6 ปี
เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่มีของครอบครัวและโรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วนตนเอง ตามลำพังหรือกับผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม

2.สาระที่ควรเรียนรู้ :  เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

ต่ำกว่า 3 ปี
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัวการรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดู วิธีปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การทักทาย การไหว้ การเล่นกับพี่น้องในบ้าน การไปเที่ยวตลาดและสถานที่ต่างๆ ในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี

เด็ก 3-6 ปี
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานท่ำคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สำคัญของชาติไทย และการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆ

3.สาระที่ควรเรียนรู้ : ธรรมชาติรอบตัว

ต่ำกว่า 3 ปี
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสํารวจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว เช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำ เล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตราย การเดินเล่นในสวน การเพาะปลูกอย่างง่าย

เด็ก 3-6 ปี
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน นํ้า ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ แรงและพลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสาธารณสมบัติ

4.สาระที่ควรเรียนรู้ :  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

ต่ำกว่า 3 ปี
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัว การเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆของสิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเช่นสีรูปร่างรูปทรงขนาดผิวสัมผัส

เด็ก 3-6 ปี
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม