ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ

ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ

ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในหลายภาคส่วน รวมถึงการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) ด้วยเช่นกัน โดย UNCTAD ได้คาดว่า Global FDI จะลดลงประมาณ -30 ถึง -40% ในปีนี้ (คาดการณ์ ณ เดือนมิถุนายน 2020) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของ OECD โดยมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

 1) มาตรการปิดเมืองทำให้โปรเจกต์การลงทุนประสบความล่าช้าหรืออาจโดนยกเลิก โดยมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศทำให้บางโปรเจกต์การลงทุนถูกเลื่อนออกไป หรืออาจถูกยกเลิกจากความเสี่ยงที่โปรเจกต์จะไม่สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลสถิติของ UNCTAD พบว่าโครงการการเงิน(Project finance) ทั่วโลกในเดือน เม.ย.ลดลงประมาณ 40% จากค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2019 และลดลงเกือบ 50% จากเดือน มี.ค. โดยส่วนใหญ่เป็นการหดตัวจากโครงการการเงินในประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของโปรเจกต์การลงทุน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ FDI ในปีนี้

 2) เศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้บริษัทมีกำไรลดลง หรือบางบริษัทอาจมีความจำเป็นต้องปิดกิจการ จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มลดลงมาก โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมกระทบถึงกำไรของบริษัท จึงทำให้บริษัทวางแผนการลงทุนที่รัดกุมมากขึ้น ซึ่งทาง UNCTAD ได้ให้ข้อมูลว่าMultinational enterprises (MNEs) ชั้นนำ 5,000 แห่งได้มีการปรับการคาดการณ์กำไรในปี 2020 จะหดตัวมากถึง 36% (เก็บข้อมูลในเดือน ก.พ. ถึง พ.ค.)

 3) หลายประเทศมีแนวโน้มถอนฐานการผลิตกลับประเทศของตนเอง นอกจากความตึงเครียดด้านสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าแล้ว การใช้มาตรการปิดเมืองทั่วโลกเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ผลกระทบจากปัญหา supply chain disruption เร่งตัวขึ้น ทำให้หลายบริษัทพิจารณาเน้นการผลิตในประเทศมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อลดความเสี่ยงในการหยุดชะงักการผลิตชั่วคราวเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตอีกครั้ง โดยตัวอย่างที่เกิดชัดเจนคือนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาให้ความช่วยเหลือสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นที่ต้องการการถอนฐานการผลิตออกจากจีน และย้ายกลับเข้าสู่ประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่อุปทานในประเทศและลดการพึ่งพาต่างประเทศ

 จากแนวโน้มที่ซบเซาด้านการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศของทั้งโลก จึงทำให้คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่จะมาลงทุนในไทยปีนี้ก็น่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยจากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าสถิติการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติโดยรวมและในเขตพื้นที่ EEC มีมูลค่าลดลงถึง 67%YOY และ 70%YOY ตามลำดับ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 สะท้อนถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้เม็ดเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มลดลงมาก

 แม้ว่าในปีนี้ แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติในพื้นที่ EEC อาจมีมูลค่าลดลง แต่ภาครัฐก็ควรเร่งสร้างพื้นที่ EEC ให้มีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะสามารถดึงดูดนักลงทุนชั้นนำจากต่างชาติได้ทันท่วงทีเมื่อเหตุการณ์ด้านโรคระบาดคลี่คลายและการลงทุนระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อแนะนำด้านนโยบายที่ควรทำของ Investment Promotion Agencies (IPAs) ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ของทั้ง UNCTAD และ OECD พบข้อแนะนำที่ไทยอาจนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้

  • การให้ข้อมูลที่รวดเร็วเกี่ยวกับ COVID-19 และมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึงกฎระเบียบใหม่ ๆ ที่ต้องทำ เช่น เงื่อนไขการเดินทางเข้าประเทศ และการกักตัว เป็นต้น
  • เตรียมกระบวนการขอลงทุนผ่านออนไลน์และเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น เนื่องจาก COVID-19 เป็นตัวเร่งให้เกือบทุกบริษัทมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้น รัฐจึงควรเตรียมการเพื่อความสะดวกและรวดเร็วของการยื่นขอสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน รวมไปถึงอาจต่อยอดนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมได้ในอนาคต
  • ภาครัฐอาจต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้ความสำคัญต่อการลงทุนในบางอุตสาหกรรมที่อยู่ในกระแสมากขึ้น เช่น ด้านการแพทย์ ด้านสาธารณสุขอิเล็กทรอนิกส์ (e-Health) และ E-commerce เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีความสำคัญมากขึ้นจากเหตุการณ์การระบาดของ COVID-19
  • IPAs ควรทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างภาครัฐและนักลงทุนในช่วงวิกฤต ด้วยการรับฟังความต้องการจากฝั่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบและนำไปเสนอให้ภาครัฐเพื่อออกนโยบายช่วงเหลือให้ตรงจุดและมีประสิทธิผล

เผยแพร่ในกรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ smart eec วันที่ 13 กรกฎาคม 2020

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่การลงทุนจากต่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลก ไทยเองก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย แต่หลังจากนี้จะค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นจาก “นักลงทุนจีน” ที่ยังเชื่อมั่นและมาลงทุนในไทยใน 1-2 ปีข้างหน้า

โควิด กระทบการลงทุน FDI โลกหดตัว 30-40%

ยรรยง ไทยเจริญ ผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด EIC ระบุว่า หากย้อนกลับไปในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาทิศทางของการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ในทิศทางที่ดี สะท้อนถึงความสนใจของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น

แต่ปีที่ผ่านสถานการณ์โควิด-19 ต้องยอมรับว่าการลงทุนจากต่างประเทศ หรือ FDI ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ค่อนข้างมาก

มาจากหลายสาเหตุ ทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จากการประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 4.1% รวมทั้งความไม่แน่นอน มาตรการล็อกดาวน์ต่าง ๆ  ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และชะลอการลงทุนของนักลงทุน

UNCTAD ประมาณการไว้ว่าปี 2020 มูลค่า FDI โลกจะหดตัวราว 30-40% มาอยู่ที่ 0.9-1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2005

เอเชีย กระทบน้อยสุด

ยรรยงกล่าวต่อไปว่า หากแยกตามภูมิภาค เอเชียได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการควบคุมโควิด-19 ของกลุ่ม east asia อย่างจีน และฮ่องกง

โดยในครึ่งปีแรกของปี 2020 FDI ของภูมิภาคเอเชียหดตัว 12% YOY

ขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ยุโรป อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา แอฟริกา หดตัว 103%, 56%, 25% และ 28% ตามลำดับ

ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ

สหรัฐฯจีนญี่ปุ่น คือนักลงทุนหลักในไทย

หันกลับมาโฟกัสการลงทุนจากต่างประเทศในไทย  ยรรยงระบุว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 2017-2019 ภาพรวมมีนักลงทุนยื่นขอส่งเสริมการลงทุนสะสมจาก BOI ราว 1.34 ล้านล้านบาท

นักลงทุนหลักคือ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น

ความน่าสนใจคือ ‘นักลงทุนจากจีน’ มีการยื่นขอ BOI ปรับตัวสูงขึ้นอยู่อันดับ 2  มีมูลค่าการยื่นขอการลงทุนกับ BOI ประมาณ 3.45 แสนล้านบาท

โดยหมวดอุตสาหกรรมที่นักลงทุนจีนยื่นขอ BOI มากสุด 3 อันดับแรกคือ บริการและสาธารณูปโภค (โครงการขนส่งทางราง, โรงแรม), โลหะ เครื่องจักร (ยางล้อ, รถยนต์) และแร่ เซรามิกส์ โลหะขั้นมูลฐาน (ผลิตเหล็ก)

9 เดือนแรกของปี จีนได้รับอนุมัติมากที่สุด

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ช่วง 9 เดือนแรกของปี มูลค่าการขอส่งเสริมการลงทุนจะลดลงถึง 29%  แต่ยรรยงระบุว่า มูลค่าเงินลงทุนที่ได้รับการอนุมัติมีเพิ่มขึ้น 21% ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการยื่นขอในช่วงปีที่ผ่านมา

โดยชาติที่ยื่นขอมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น รองลงมาคือจีน เนเธอร์แลนด์  สิงคโปร์ ขณะที่ชาติที่ได้รับอนุมัติมากที่สุดกลับเป็น ‘จีน’ สะท้อนถึงเม็ดเงินที่จะยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่จะเป็นแม็กเน็ตหลักดึงดูดนักลงทุนจากจีนและชาติอื่น ๆ คือ โครงการ EEC ที่จะมาเสริมศักยภาพการแข่งขันของไทย

ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ

 มั่นใจ หลังโควิด-19 ‘จีน’ ลงทุนในไทยแน่นอน

แม้ทุกภาคส่วนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น และต้องยอมรับว่ากิจกรรมต่าง ๆ แผ่วลง แต่ความสนใจของ “นักลงทุนจีน” ยังมีอยู่มาก

มาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจจีน และ EIC ทำการสำรวจทิศทางการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยภายหลังโควิด-19 พบว่า นักลงทุนจีนมากกว่า 2 ใน 3 มีความสนใจที่จะขยายการลงทุนมายังประเทศไทยภายในระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า

ที่น่าสนใจคือราว 60% เป็นกลุ่มที่ไม่เคยลงทุนหรือทำธุรกิจในประเทศไทยมาก่อน

อีกทั้งยังมองไทยว่าเป็นตลาดที่มีศักษภาพ อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็นศูนย์กลางแห่งอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งแตกต่างจากมุมมองในอดีตที่มองว่าประเทศไทยเป็นเพียงฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น

ในแง่ภาพรวมเม็ดเงินการลงทุนของจีน ต้องยอมรับว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไปยังกลุ่ม CLMV มากกว่าที่มาไทย โดยเฉพาะในเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก การลงทุนของจีนโดยตรงไปยังกลุ่ม CLMV มีราว 3-4%  ส่วนมาลงทุนในไทยมีราว 1 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ ทั้งที่ขนาดเศรษฐกิจไทยมีขนาดใหญ่กว่า

ผมเชื่อว่ามีเหตุผลด้วยกันคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่ม CLMV พึ่งพาเม็ดเงินจากจีนค่อนข้างมาก ขณะที่ไทยไม่ได้พึ่งพาขนาดนั้น ตลอดจนในกลุ่มประเทศมีเขตติดต่อกับประเทศจีนก็จะมีความสัมพันธ์ทางการค้าค่อนข้างใกล้ชิด

เพราะฉะนั้นการวางตำแหน่งของไทยกับกลุ่ม CLMV ยังสามารถแข่งขันมีความแตกต่างกันได้ เชื่อว่านักลงทุนจีนที่มาไทยไม่ได้มองถึงปัจจัยเรื่องต้นทุน ขณะที่การไปลงทุนใน CLMV มองเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่าในจีน”

จีน ลดขนาดลงทุน โฟกัสธุรกิจขนาดเล็ก

มานพยังระบุอีกว่า หลังจากนี้โครงสร้างการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยมีทิศทางเปลี่ยนไป จากที่มุ่งเน้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง มาสู่การลงทุนขนาดเล็กลง

“ผู้ตอบแบบสอบถาม 57% สนใจจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยใช้เม็ดเงินลงทุนมูลค่าต่ำกว่า 500 ล้านบาทต่อโครงการในระยะ 1-2 ปีจากนี้ ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างและขนาดของการลงทุนในอดีตที่เป็นการลงทุนที่มักจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท”

ด้วยเหตุผลคือ กลุ่มเอสเอ็มอีของจีนต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้า

รวมทั้งต่อยอดห่วงโซ่อุปทานของสายการผลิตให้กับอุตสาหกรรมหลัก (Supply Chain Integration) ซึ่งจะใช้เงินลงทุนในช่วงแรกน้อยลงเพื่อเรียนรู้ตลาดก่อนขยายธุรกิจในอนาคตตามโอกาสและทิศทางการเติบโต

ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ

โอกาสที่มาพร้อมกับความเสี่ยงของนักธุรกิจไทย

มานพเชื่อว่าจะมีเม็ดเงินจากจีนมาไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิด-19 จบลง  และจะมีดีมานด์มาแบบเกินความคาดหมายจากการอัดอั้นในช่วงที่ผ่านมา

รวมทั้งปัจจัยทางการเมืองในจีน สงครามทางการค้าต่าง ๆ เชื่อว่า เม็ดเงินจากนักลงทุนจีนจะมายังกลุ่มอาเซียนและไทยมากขึ้น

ดังนั้นโอกาสของไทยคือ การเป็นพันธมิตรต่าง ๆ ตลอดจนการบริหารความเสี่ยง และการที่จีนจะเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจในไทย  จึงเป็นโอกาสของนักธุรกิจไทยในการเข้าไปเป็นพันธมิตร เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจนักธุรกิจจีนมากขึ้น

ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยง จากเดิมที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออก ก็จะไม่กระทบกับห่วงโซ่ธุรกิจ ดีมานด์ ซัปพลายมากนัก

แต่เมื่อจีนมาบุกไทยในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีเอง ทำให้สมการการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไป เพราะอย่าลืมว่านักธุรกิจจีนจะมาพร้อมกับเงินทุน เทคโนโลยี และวิธีการทำธุรกิจจีนที่อาจจะมีความ ‘ก้าวร้าว’ จากประสบการณ์จากตลาดที่มีการแข่งขันสูงในประเทศจีน

แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าโอกาสจะมีมากกว่า

ทิศทาง FDI โลกปี 2021 ยังหดตัวต่อเนื่อง ฟื้นอย่างช้าๆ

ทั้งนี้ ยรรยงระบุว่า UNCTAD มอง FDI ของโลกในปีนี้ จะยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ราว -10% จากความกังวลและภาวะเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในระยะฟื้นตัวจากโควิด-19

และคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2022 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละภูมิภาค

สำหรับปัจจัยที่จะส่งผลต่อ FDI โลกที่ต้องจับตามีด้วยกัน 3 ประเด็นหลัก คือ

  1. สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลของโจ ไบเดน ที่แม้ภายใต้รัฐบาลใหม่นี้มีโอกาสที่จะปรับลดภาษีนำเข้าจากจีนลง แต่จีนและสหรัฐฯ ยังคงเป็นคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ต่อไป
  2. การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาค หรือ RCEP ที่เกิดขึ้นล่าสุด โดยมีเป้าหมายในการลดกำแพงภาษีทางการค้า และเปิดตลาดผู้บริโภคระหว่างประเทศสมาชิก RCEP กว่า 2.3 พันล้านคน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งเสริมให้ประเทศไทยจะสามารถดึงดูดบริษัทจีนเข้ามาลงทุนได้มากขึ้นในอนาคต
  3. นโยบายการลงทุนต่างประเทศของภาครัฐของแต่ละประเทศ



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ
ผลกระทบของการลงทุนระหว่างประเทศ