การซักผ้าด้วยมือ ข้อดี 5 ข้อ

ถ้าบ้านคุณไม่มีเครื่องซักผ้า ซักเครื่องไม่ได้ แต่ก็อยากซักผ้าสกปรกเหม็นอับใจจะขาด หรือเสื้อผ้าบางชุดเป็นแบบซักมือเท่านั้น เพราะเนื้อผ้าบอบบางขาดง่าย ซักเครื่องไม่ได้ วันนี้คุณมาถูกที่แล้ว เพราะบทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการซักผ้าด้วยมือให้คุณเอง เริ่มจากเลือกน้ำยาซักผ้าที่ไม่แรงไปสำหรับเส้นใยผ้า จากนั้นใช้น้ำและน้ำยา ซักผ้าอย่างเบามือ ปิดท้ายด้วยการตากผ้าให้ถูกวิธี รับรองเสื้อผ้าไม่เสีย แถมหอมสะอาด

  1. การซักผ้าด้วยมือ ข้อดี 5 ข้อ

    1

    ถ้าผ้าบางขาดง่าย ให้เลือกน้ำยาสูตรถนอมผ้า. น้ำยาสูตรถนอมผ้าใช้ได้กับผ้าแทบทุกชนิด ขอแค่ไม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ อย่างผ้าไหม ผ้าลูกไม้ ผ้าขนสัตว์ หรือผ้าทอ ให้เลือกน้ำยาซักผ้าที่เน้นถนอมผ้าบางขาดง่าย จะยี่ห้อไหนก็แล้วแต่ความชอบ[1]

    • ใช้น้ำยาซักผ้ายี่ห้อไหนก็ได้ ขอแค่เลือกที่ถนอมผ้า แต่ใช้กับผ้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษอย่างผ้าไหม ผ้าลูกไม้ หรือผ้าขนสัตว์ไม่ได้
    • แชมพูเด็กหรือสบู่เหลวสูตรถนอมผิวก็ใช้ได้เหมือนกัน

  2. การซักผ้าด้วยมือ ข้อดี 5 ข้อ

    2

    ลองใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบไม่ต้องล้างออก กับผ้าไหมและผ้าลูกไม้. ถ้าเสื้อผ้าชิ้นไหนทำจากผ้าบางขาดง่าย อย่างผ้าไหมและผ้าลูกไม้ ให้เลือกน้ำยาที่ไม่ต้องล้างออกหลังแช่ผ้าในน้ำแล้ว จะทำให้ทำความสะอาดผ้าไหมกับผ้าลูกไม้ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องกลัวผ้าเสียหายเพราะซักและล้างน้ำมากไป[2]

    • คุณหาซื้อน้ำยาทำความสะอาดผ้าแบบไม่ต้องล้างออกได้ตามเน็ต หรือแผนกสเปรย์และน้ำยาทำความสะอาดในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ถ้าสั่งซื้อทางเน็ต อาจจะมีคนหิ้วมาจากเมืองนอก ยี่ห้อที่ดังๆ ก็เช่น Eucalan และ Persil

  3. การซักผ้าด้วยมือ ข้อดี 5 ข้อ

    3

    ใช้น้ำยาที่มี lanolin กับผ้าขนสัตว์และผ้าทอ. lanolin เป็นน้ำมันตามธรรมชาติที่ได้จากแกะ ทำให้ขนแกะกันน้ำได้ จะทำให้ผ้าขนสัตว์และผ้าทอนุ่มขึ้น ให้ใช้น้ำยาซักผ้าที่มี lanolin กับผ้าขนสัตว์หรือผ้าทอ เพื่อคงความอ่อนนุ่มของเส้นใย ไม่เสียหายระหว่างซัก[3]

    • คุณหาซื้อน้ำยาที่มี lanolin ได้จากในเน็ต หรือแผนกน้ำยาซักผ้าในห้างสรรพสินค้าทั่วไป

    โฆษณา

  1. 1

    ซักผ้าสีอ่อนกับสีเข้มแยกกัน. เริ่มจากผ้าสีอ่อนที่สุดก่อนเสมอ เก็บผ้าสีเข้มไว้ซักทีหลัง แนะนำให้ซักผ้าทีละตัว เพื่อป้องกันสีตกใส่กัน[4]

    • ถ้าซื้อเสื้อผ้ามาใหม่ แล้วเป็นผ้าที่ผ่านการย้อมสีหรือมัดย้อมมา ต้องซักแยกอีกอ่างหรือกะละมังเลย สีจะได้ไม่ตกใส่ผ้าชิ้นอื่น

  2. 2

    เติมน้ำทั้ง 2 กะละมัง. ใช้กะละมังนี่แหละดี เพราะซักผ้าทีละชิ้นหรือหลายชิ้นได้สบายๆ แต่แนะนำให้ซักทีละชิ้นป้องกันสีตก แต่จะใช้อ่างล้างจาน อ่างล้างมือ หรืออ่างอาบน้ำก็ยังได้ ให้เปิดน้ำใส่ทั้ง 2 ภาชนะ ให้ได้ ¾ ของภาชนะ โดยใช้น้ำอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส (85 องศาฟาเรนไฮต์) หรือแตะแล้วแค่พออุ่นๆ ถ้าน้ำร้อนไป เสื้อผ้าจะสีตกได้ แต่ถ้าน้ำเย็นไป ก็ขจัดคราบได้ไม่ดี[5]

    • ถ้ากลัวซักแล้วเสื้อผ้าหด ให้ใช้น้ำเย็นทั้ง 2 กะละมัง เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าหดเพราะน้ำอุ่น
    • จะใช้น้ำกะละมังเดียวกันก็ได้ ถ้าผ้าสีเดียวกัน เช่น แยกซักกะละมังผ้าสีเข้มกับสีอ่อน

  3. 3

    ใส่น้ำยาซักผ้าในกะละมังใบหนึ่ง. ให้ใส่น้ำยาซักผ้า 1 ช้อนชา (5 กรัม) ต่อผ้า 1 ชิ้น จากนั้นผสมให้ละลายไปกับน้ำ[6]

  4. 4

    ซักผ้าในน้ำ. เอาผ้าใส่กะละมังที่มีน้ำผสมน้ำยาซักผ้า กดผ้าลงไปในน้ำจนมิด แล้วใช้มือแกว่งผ้าไปมาในน้ำ ขจัดสิ่งสกปรก ให้แกว่งเร็วๆ เหมือนเครื่องซักผ้า ทำแบบนี้สัก 2 - 3 นาที หรือจนกว่าผ้าจะดูสะอาดแล้ว

    • อย่าขยี้ ถู หรือบิดผ้าในน้ำ เพราะเนื้อผ้าจะเสียหายได้
    • อย่าแช่ผ้าในน้ำนานเกิน 3 - 4 นาที เพราะผ้าอาจจะหดได้

  5. 5

    ล้างน้ำให้สะอาดในอีกกะละมัง. พอซักผ้าสะอาดแล้ว ให้เอาขึ้นจากกะละมังแรก แล้วค่อยๆ ใส่ในกะละมังที่มีน้ำสะอาด ล้างน้ำยาซักผ้าโดยแช่ผ้าในน้ำแล้วยกขึ้นจากกะละมัง สลับไปมาแบบนี้ 2 - 3 นาที เพื่อไม่ให้เหลือน้ำยาตกค้าง[7]

    • เช็คว่าผ้าสะอาดดีแล้ว ไม่เหลือฟอง หรือน้ำยา ถ้ายังไม่สะอาดดี ให้เทน้ำในกะละมังทิ้ง เติมน้ำใหม่ แล้วล้างจนผ้าสะอาด
    • ถ้าซักผ้าด้วยน้ำยาทำความสะอาดแบบไม่ต้องล้างออก ก็ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้

    โฆษณา

  1. 1

    ห้ามบิดผ้าให้แห้งเด็ดขาด. พยายามอย่าบิดผ้าเป็นเกลียวเพื่อไล่น้ำให้ผ้าแห้ง เพราะทำผ้ายืดย้วย เนื้อผ้าเสียได้ แนะนำให้ยกผ้าเหนือน้ำ รอจนน้ำส่วนเกินไหลลงกะละมังไปหมด[8]

  2. 2

    ปูผ้าราบไปกับพื้นผิวสะอาดๆ ทิ้งไว้จนแห้ง. ปูผ้าเปียกบนพื้นผิวสะอาดๆ เช่น หน้าเคาน์เตอร์ หรือบนโต๊ะ พยายามรีดให้ผ้าเรียบไปกับพื้นผิวนั้น โดยที่คงรูปทรงที่เหมาะสมของผ้าชิ้นนั้น[9]

    • จะตากผ้ากับราว/เชือกก็ได้ แต่ให้ตากแนวราบ อย่าห้อยในแนวดิ่งลงมา เพราะจะทำให้เสื้อผ้าเสียทรงได้

  3. 3

    กลับด้านผ้าให้แห้งทั่วกัน. รอสัก 2 - 4 ชั่วโมงจนผ้าด้านนั้นแห้ง แล้วค่อยกลับด้านผ้า ตากให้อีกด้านแห้งสนิทบ้าง ตากผ้าไว้ข้ามคืน ตอนเช้าค่อยมาเช็คว่าผ้าแห้งทั้ง 2 ด้านหรือยัง

    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำยาสูตรถนอมผ้า หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่ต้องล้างออก
  • อ่างหรือกะละมังใหญ่ๆ 2 ใบ
  • น้ำสะอาด
  • ที่สะอาดสำหรับผึ่งหรือตากผ้า

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 137,286 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

ข้อดีของการซักผ้าด้วยมือคืออะไร

การซักผ้าด้วยมือมีข้อดี คือ 1. สามารถทำการซักให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้น้ำยาที่ถนอมใยผ้า และสามารถแช่ผ้าค้างคืนได้สำหรับการขจัดคราบที่เก่าเก็บ 2. การซักผ้าด้วยมือ แม้จะเปลือแรง แต่สามารถแช่ผ้า และใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับผ้าแต่ละชนิดเป็นตัวๆไปได้ โดยมีประสิทธิภาพดีกว่า กว่ารซักเครื่อง

ข้อดีของการซักผ้าด้วยเครื่องมีอะไรบ้าง

ข้อดี 1. ประหยัดน้าและไฟ 2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อ เครื่องซักผ้า 3. เสื้อผ้าสะอาด 4. ถนอมเนื้อผ้าให้ใช้ได้นาน ข้อดี 1. ประหยัดแรงงาน 2. ประหยัดเวลา 3. เสื้อผ้าแห้งเร็ว Page 6 การซักเสื้อผ้าด้วยมือ การซักเสื้อผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ข้อเสีย 1. สิ้นเปลืองแรงงาน 2. สิ้นเปลืองเวลา 3. เสื้อผ้าแห้งช้า ข้อเสีย 1. สิ้นเปลือง ...

การซักผ้าด้วยมือมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อดี 1. ประหยัดน้าและไฟ 2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อ เครื่องซักผ้า 3. เสื้อผ้าสะอาด 4. ถนอมเนื้อผ้าให้ใช้ได้นาน ข้อดี 1. ประหยัดแรงงาน 2. ประหยัดเวลา 3. เสื้อผ้าแห้งเร็ว Page 6 การซักเสื้อผ้าด้วยมือ การซักเสื้อผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ข้อเสีย 1. สิ้นเปลืองแรงงาน 2. สิ้นเปลืองเวลา 3. เสื้อผ้าแห้งช้า ข้อเสีย 1. สิ้นเปลือง ...

วิธีการซักผ้าด้วยมือมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนง่ายๆในการซักผ้าด้วยมือ เติมน้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่ป้ายแนะนำลงไปในถังน้ำ ใส่ผงซักฟอกที่เอาไว้สำหรับซักด้วยมือเท่านั้นลงไปในถัง และให้แน่ใจว่าผงซักฟอกละลายแล้ว ใส่ผ้าลงไปในน้ำ โดยหากเสื้อมีคราบสกปรกอยู่ ให้แช่มันไว้ในน้ำประมาณครึ่งชั่วโมง ซึ่งจะช่วยลดเวลาเวลาซักให้น้อยลง เพราะคราบจะถูกขจัดออกได้ง่ายขึ้น