ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. การวัดไข้อย่างไรให้ถูกวิธี

การวัดไข้อย่างไรให้ถูกวิธี

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

HIGHLIGHTS:

  • การวัดอุณหภูมิร่างกาย สามารถวัดได้หลายรูปแบบ ตามความเหมาะสมของแต่ละทุกช่วงวัย
  • หากวัดอุณหภูมิทางปาก รักแร้ หู ได้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส หรือวัด ทางทวารหนัก เกิน 38 องศาเซลเซียส ก็จะถือว่ามีไข้

การวัดไข้อย่างไรให้ถูกวิธี

คุณแม่คงเคยเจอกับปัญหาที่วัดอุณหภูมิให้ลูกแต่ละครั้งได้ค่าที่ต่างกันมาก ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการวัดที่ไม่ถูกต้อง เราลองมาดูการวัดอุณหภูมิแต่ละแบบกันนะคะ ว่าควรมีเทคนิคอย่างไรให้ได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด

วัดทางรักแร้

เหมาะกับเด็กทุกวัย แต่ต้องแน่ใจว่าปลายปรอทอยู่ใต้รักแร้ และสอดไว้นาน 2-3 นาที จึงจะได้ค่าที่แน่นอน เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่ใช้เวลาวัดนานบางครั้งเด็กดิ้นปลายปรอทเคลื่อน จึงอาจได้ค่าต่ำกว่าความเป็นจริง

วัดทางปาก

เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เพราะเด็กต่ำกว่า 5 ปี อาจยังอมปรอทไม่เป็นและอาจกัดปรอทแตก และควรให้อมไว้ใต้ลิ้น เพราะมีเส้นเลือดจำนวนมาก จะทำให้ได้อุณหภูมิที่ถูกต้องที่สุด

อมปรอทไว้นาน 3 นาที ขณะวัดไม่ควรหายใจทางปากและไม่ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำร้อนก่อนจะวัดปรอท อย่างน้อย 10-15 นาที

วัดทางหู

เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3เดือนขึ้นไป เพราะรูหูมีขนาดใหญ่พอที่แสงอินฟาเรดจะเข้าไปถึงเยื่อแก้วหู ใช้เวลาสั้น 2-3 วินาทีและค่าค่อนข้างแม่นยำ ขณะวัดควรดึงใบหูไปทางด้านหลังเล็กน้อยเพื่อให้รูหูตรง ควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย แต่ค่าอาจคลาดเคลื่อนถ้าใช้ในเด็กเล็กเกินไปเพราะรูหูเล็ก หรือเด็กที่มีขี้หูปิดรูหูไว้

วัดทางทวารหนัก

จะได้ค่าที่ใกล้เคียงอุณหภูมิแกนกลางร่างกายที่สุด เหมาะกับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยทาวาสลีนที่ปรอท แล้วใส่เข้าไปที่ทวารหนัก ลึก 1นิ้ว นาน 2 นาที โดยต้องจับปลายไว้ให้แน่นเพื่อไม่ให้ปรอกไหลลึกเข้าไป สามารถทำได้ทั้งท่านอนหงาย คว่ำ ตะแคง แต่ถ้าทำไม่ถูกต้องอาจเกิดแผลฉีกขาดได้ และปรอทอ่านผลได้ยาก

วัดทางผิวหนัง

โดยใช้แถบวัดไข้ สะดวกเหมาะกับทุกวัย โดยต้องเช็ดเหงื่ออออกก่อน แล้วใช้แถบวัดไข้แปะที่หน้าผากนานประมาณ 15 วินาที จนตัวเลขขึ้น แต่มีข้อเสียที่ค่าคลาดเคลื่อนได้ง่าย ไม่แม่นยำ

นอกจากนี้ ปรอทที่ใช้ในปัจจุบันยังมีให้เลือกมากมายหลายชนิด เช่น

  • ปรอทแก้ว แตกได้ง่าย มีสารปรอทเป็นสีเงินอยู่ด้านใน ก่อนใช้ต้องสลัดปรอทให้ลงมาอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส อ่านค่าได้ยาก
  • ปรอทดิจิตอล สะดวก มีเสียงเตือนเมื่อได้ค่าอุณหภูมิคงที่ อ่านง่าย แต่ราคาแพง ถ้าถูกน้ำ หรือตก จะเสียได้ง่าย

ถ้าวัดอุณหภูมิได้เกิน 37.5 องศาเซลเซียสทางปาก รักแร้ หู หรือ เกิน 38 องศาเซลเซียสทางทวารหนัก ก็จะถือว่ามีไข้ค่ะ

พญ. ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์

อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม

สาขากุมารเวชศาสตร์

ดูประวัติ

เมื่อรู้สึกเป็นไข้ เรามีวิธี การวัดไข้ และเช็คระดับอุณหภูมิที่เป็นไข้ด้วยตัวเองง่ายๆ โดยการใช้อุปกรณ์ในการวัดไข้ (Thermoemter) ซึ่งอาการไข้เกิดจากร่างกายเกิดการติดเชื้อ จีงทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ คือ จะมากกว่า 37.5 องศา จะเกิดอยู่เพียงชั่วคราวเฉพาะในช่วงเกิดโรคหรือมีการเจ็บป่วยเท่านั่น

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไข้ (Thermometer)
  • การเลือกวิธีการวัดไข้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
  • การอ่านผลในการวัดไข้และระดับของการเป็นไข้
  • บทสรุป

อุปกรณ์ที่ใช้ใน การวัดไข้ (Thermometer)

การวัดไข้ คือการวัดอุณหภูมิร่างกาย โดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์ใส่เข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อประเมินระดับอุณหภูมิ ซึ่งอุปกรณ์ในการวัดไข้ก็จะมีหลายชนิด ขึ้นอยู่ความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น อายุของผู้ป่วย ความแม่นยำ ความสะดวกและความรวดเร็วในการวัด ราคา เป็นต้น อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการวัดอุณหภูมิร่างกาย มีดังนี้

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

1. เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบปรอทแก้ว (Mercury Thermometer)

  • ข้อดี ของปรอทแก้ว

>> ราคาถูก

>> สามารถนำไปวัดอุณหภูมิได้หลายทาง ทั้งทางปาก รักแร้ และทวารหนัก

>> มีความแม่นยำสูง

  • ข้อเสีย ของปรอทแก้ว

>> ใช้เวลาในการวัดนานประมาณ 3-5 นาที

>> อ่านค่ายาก

>> มีโอกาสแตกได้ซึ่งจะได้รับอัตรายจากสารปรอท

  • วิธีการวัดไข้โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้ว

การวัดไข้โดยใช้ปรอทให้ถูกวิธี ก่อนวัดปรอททุกครั้ง ต้องสลัดปรอท ให้อยู่ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า 95องศาฟาเรนไฮต์

>> การวัดทางปาก ให้อมปรอทไว้ลิ้น ปิดปากให้สนิท และทิ้งไว้นาน 1-2 นาที ไม่ควรวัดหลังดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นมาใหม่ๆ ต้องรออย่างน้อย 15 นาทีก่อน

>> การวัดทางทวารหนัก มักใช้ในเด็กเล็ก หรือทารกแรกเกิด ให้นำปรอทสอดเข้าทวารหนักประมาณ 1-2 ซม. โดยใช้มือซ้ายจับขาเด็กทั้งสองข้างขึ้น วัดนาน 1-2 นาที

>> การวัดทางรักแร้ กระเปาะปรอทต้องอยู่ด้านในกลางรักแร้ ทิ้งไว้นาน 3-5 นาที

2. เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิตอล (Digital Thermometer)

  • ข้อดี ของปรอทวัดไข้ดิจิตอล

>> ราคาไม่แพงมาก

>> สามารถนำไปวัดอุณหภูมิได้หลายทาง ทั้งทางปาก รักแร้ และทวารหนัก

>> อ่านค่าง่าย จะแสดงผลเป็นตัวเลขให้อ่านง่าย

>> มีสัญญาณเตือนให้อ่านผลเมื่อวัดอุณหภูมิเสร็จแล้ว

>> มีความแม่นยำสูง

  • ข้อเสีย ของปรอทวัดไข้ดิจิตอล

>> ใช้เวลาในการวัดค่อนข้างนานประมาณ 30 -120 วินาที

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

3. เทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดวัดไข้ทางหู (Ear Infrared Thermometer)

  • ข้อดี ของปรอทวัดไข้ทางหู

>> ใช้เวลาในการวัดเร็วประมาณ 1 วินาที เหมาะสำหรับเด็ก

>> อ่านค่าง่าย จะแสดงผลเป็นตัวเลขให้อ่านง่าย

>> มีความแม่นยำสูง

  • ข้อเสีย ของปรอทวัดไข้ทางหู

>> ราคาสูง

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

4. เทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดวัดไข้หน้าผาก (Forehead Infrared Thermometer)

  • ข้อดี ของปรอทวัดไข้ทางหน้าผาก

>> ใช้ง่าย

>>ใช้เวลาในการวัดเร็วประมาณ 1 วินาที เหมาะสำหรับเด็กเล็ก

>>อ่านค่าง่าย จะแสดงผลเป็นตัวเลขให้อ่านง่าย

>> วัดแบบสัมผัสตัว หรือไม่ต้องสัมผัสตัวก็ได้ เหมาะที่จะใช้งานกับสถานที่ที่มีคนเยอะๆ

  • ข้อเสีย ของปรอทวัดไข้ทางหน้าผาก

>> ราคาสูง

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

การเลือกวิธี การวัดไข้ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

การวัดอุณหภูมิร่างกายสามารถวัดได้หลายทาง ดังนั้นควรเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน วิธีการวัดไข้ที่นิยมใช้กันจะแบ่งเป็น 5 วิธี ดังนี้

1. การวัดไข้ทางปาก คือการใช้ปรอทวัดไข้แก้วหรือปรอทวัดไข้ดิจิตอล วัดอุณหภูมิจากใต้ลิ้น โดยการอมปรอทวัดไข้ไว้ในปากใต้ลิ้น

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไข้ทางปากคือ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบปรอทแก้ว และ เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล
  • การวัดไข้ทางปาก เหมาะกับ การใช้วัดเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่ที่รู้สึกตัวดี

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

2. การวัดไข้ทางรักแร้ คือการใช้ปรอทวัดไข้แก้วหรือปรอทวัดไข้ดิจิตอล วัดอุณหภูมิจากรักแร้ โดยการหนีบปรอทวัดไข้ไว้ที่รักแร้

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไข้ทางรักแร้ คือ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบปรอทแก้ว และ เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล
  • การวัดไข้ทางรักแร้ เหมาะเด็กทารกและเด็กเล็ก และผู้ป่วยทั่วไป เป็นวิธีการวัดไข้ที่สะดวกและง่าย แต่ความแม่นยำอาจจะไม่เท่ากับการวัดไข้ทางปากและทวารหนัก และใช้เวลาในการวัดนานกว่า

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

3. การวัดไข้ทางทวารหนักคือการใช้ปรอทวัดไข้แก้วหรือปรอทวัดไข้ดิจิตอล วัดอุณหภูมิจากทวารหนัก โดยการสอดปรอทวัดไข้เข้าไปในรูทวาร

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไข้ทางทวารหนัก คือ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบปรอทแก้ว และ เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล
  • การวัดไข้ทางทวารหนัก เป็นวิธีที่นิยมใช้กับเด็กทารกและเด็กเล็ก แต่ควรวัดโดยผู้เชียวชาญ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บได้

4. การวัดไข้ทางหู คือการใช้เครื่องวัดอุณหูมิระบบอินฟราเรด วัดอุณหภูมิทางหู โดยการสอดปรอทวัดไข้เข้าไปในช่องหู

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไข้ทางหู คือ เทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดวัดไข้ทางหู
  • การวัดไข้ทางหู เหมาะกับเด็กเล็ก เนื่องจากอ่านผลการวัดได้รวดเร็ว และมีความเม่นยำค่อนข้างสูง

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

5. การวัดไข้ทางหน้าผาก (By Forehead) คือการใช้เครื่องวัดอุณหูมิระบบอินฟราเรด วัดอุณหภูมิทางหน้าผาก โดยการใช้ปรอทวัดไข้จ่อบริเวณหน้าผาก

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไข้ทางหน้าผาก คือ เทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดวัดไข้ทางหน้าผาก
  • การวัดไข้ทางผาก เหมาะกับการวัดคนทั่วไป ที่ต้องการใช้ความเร็วในการวัดไข้ วัดอุณหภูมิคนจำนวนมาก แต่ความแม่นยำในการวัดอาจจะน้อยกว่าการวัดอุณหภูมิทางหู และขึ้นอยู่กับระยะห่างของเครื่องวัดกับหน้าผากผู้ถูกวัดด้วยถ้าระยะห่างมากเกินไป ความแม่นยำจะน้อยลงไปด้วย ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 0-5 ซม.

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

การอ่านผลใน การวัดไข้ และระดับของการเป็นไข้

 เมื่อเราทำการวัดไข้ โดยใช้อุปกรณ์ในการวัดอุณหภูมิร่างกาย ชนิดต่างๆ แล้ว นำค่าอุณหภูมิที่ได้ มาอ่านผลการวัดอุณหภูมได้ ดังต่อไปนี้

  • อุณหภูมิของร่างกายปกติ จะอยู่ในช่วง 36.0 – 37.5 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิที่เป็นไข้ จะสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส

>> ไข้ต่ำ 37.6 – 38.4 องศาเซลเซียส
>> ไข้ปานกลาง 38.5 – 39.4 องศาเซลเซียส
>> ไข้สูง 39.5 – 40.5 องศาเซลเซียส
>> ไข้สูงมาก มากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

  • อาการที่แสดงว่ามีไข้

>> ถ้ามีไข้หรืออุณหภูมิของร่างกายมากกว่า 5 องศาเซลเซียส ในบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดามตัว หรือหนาวสั่นร่วมด้วย

>> อ่อนเพลีย ซึมหรือในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี อาจมีอาการชักได้ถ้าไข้สูงหรือมีประวัติเคยชักมาก่อน ต้องรีบเช็ดตัว และให้ยาลดไข้ช่วย

  • การดูแลและการรักษาเมื่อมีอาการไข้

ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ใช้ยังไง

>> ระหว่างมีไข้ ให้ดื่มน้ำมากๆ ทั้งน้ำหวาน น้ำผลไม้ นมก็ได้เพื่อให้น้ำช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ไม่ควรสวมเสื้อหลายชั้น หรือห่มผ้าหนาๆ

>> เช็ดตัวลดไข้ เพื่อเป็นการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย ถ้ามีอาการปวดศีรษะร่วมกับการใช้กระเป๋าน้ำแข็งประคบบริเวณศีรษะและหน้าผาก

>> ให้ยาลดไข้ตามความเหมาะสม เช่น ในเด็กให้ยาพาเซตามอล น้ำเชื่อมขนาดตามอายุของเด็ก ผู้ใหญ่ให้พาราเซตามอลชนิดเม็ด (500 มิลลิกรัม) 1-2 เม็ด

>> ให้ดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2,500-3,000 มิลลิลิตร ต่อวัน ยกเว้นในรายที่เป็นโรคไต โรคหัวใจ

>> ให้นอนพักมากๆ ในห้องที่มีอุณหภูมิไม่สูง อากาศถ่ายเทได้สะดวกและอากาศบริสุทธิ์ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ลดกิจกรรมในการใช้พลังงานลดลง เป็นการลดการใช้ออกซิเจน การเผาผลาญอาหารของร่างกาย

>> ทานอาหารที่มีประโยชน์ย่อยง่ายมีประโยชน์ต่อร่างกายและห้พลังงานสูง เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น

>> สังเกตความผิดปกติ เช่น สีผิวหนัง อากาศหนาวสั่น อาการเพ้อ ชัก เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือทัน

บทสรุป

การวัดอุณหภูมิร่างกายนั้นมีหลากหลายวิธี และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดไข้ก็มีหลายรูปแบบ จึงขอสรุปปัจจัยที่ใช้ในการเลือกวิธีการวัดไข้และเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ดังนี้

  1. อายุของผู้ป่วย
  2. ระดับความแม่นยำของผลที่ได้จากการวัด
  3. ความสะดวกในการใช้งาน
  4. เวลาที่ใช้วัด
  5. ราคาของเครื่องวัดไข้

ร้านบ้านยาเวชภัณฑ์มีสินค้าสำหรับดูแลและตรวจเช็คสุภาพให้เลือกสรรอย่างมากมาย สนใจคลิกที่นี่ค่ะ