นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร ได้ระดมสมองนักวิชาการ กูรูด้านเกษตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำ 7 นวัตกรรมด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับประเทศไทย

นวัตกรรมทั้ง 7 สาขา มีอะไรบ้างที่ผู้ถูกเลิกจ้างงานจะได้ใช้ยึดเป็นแนวทางทำกิน และ NIA พร้อมจะสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ การประชาสัมพันธ์ และการทำตลาด ให้กับสตาร์ตอัพด้านการเกษตร

1.เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ...เป็นการนำความหลากหลายทางชีวภาพมาตอบสนองเรื่องอาหารปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน...มี 4 แนวทางที่สำคัญ คือ การใช้ประโยชน์ไมโครไบโอมของจุลินทรีย์ดิน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต ควบคุมศัตรูพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ดัดแปลงยีนให้ได้พืชที่มีคุณลักษณะตามต้องการ และวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพขนาดใหญ่

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

2.เกษตรดิจิทัล...เป็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI นำมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนการใช้บล็อกเชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยด้านผลผลิต และนำมาใช้ในการตรวจสอบความผิดปกติ และข้อมูลย้อนหลังด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น การใช้เซ็นเซอร์เก็บข้อมูลระดับน้ำในนาข้าว โดยเกษตรกรสามารถดูข้อมูลจากที่บ้านได้ผ่านมือถือ

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

3.การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่...โดย เฉพาะการทำเกษตรแนวตั้ง เหมาะสำหรับการทำเกษตรในเขตเมือง รวมไปถึงฟาร์มเลี้ยงแมลงแบบปิด ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก เนื่องจากแมลงกำลังจะกลายเป็นโปรตีนทดแทนของเนื้อสัตว์ในอนาคต

อย่าง YNsec สตาร์ตอัพชาวฝรั่งเศสที่มีระบบการเลี้ยงแมลงขนาดใหญ่ด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชม. ด้วยกำลังผลิต 20,000–25,000 ตันต่อปี

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

4.เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ...ช่วยประหยัดแรงงาน โดยใช้หุ่นยนต์มาช่วยดูขั้นตอนต่างๆ อย่างสตาร์ตอัพอิสราเอล “อารักกา” เปิดตัวหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่ใช้ในการผสมเกสรในโรงเรือน โดยมี AI คอยบอกได้ว่าดอกไม้มีความพร้อมสำหรับการผสมเกสรดอกไม้เมื่ออุณหภูมิและระดับความชื้นเหมาะสม หรือสตาร์ตอัพไทยเทวดา คอร์ป ที่นำโดรนไปใช้ในการปลูกข้าวได้อย่างแม่นยำจนเพิ่มผลผลิตได้ถึงสองเท่า

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

5.บริการทางธุรกิจเกษตร...ระบบการจองอุปกรณ์การเกษตร ระบบการประมูลสินค้าเกษตร ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลความต้องการตลาด และระบบเชื่อมโยงผลผลิตกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือร้านอาหาร

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

6.การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง...การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยืดอายุและเก็บรักษาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และไม่ทำลายผลผลิต เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมบรรยากาศด้วยโอโซน การใช้สารเคลือบผิวเพื่อยืดอายุ และรักษาคุณภาพผลผลิตให้ได้นานขึ้น

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

และ 7.ธุรกิจไบโอรีไฟเนอรี...การแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งจากการเกษตรด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์ แบคทีเรีย ยีสต์ เอนไซม์ หรืออื่นๆ ให้ทำหน้าที่เสมือนโรงงาน ให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น เชื้อเพลิงและพลังงาน ชีวเคมีภัณฑ์ อาหารสัตว์แห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต และชีวเภสัชภัณฑ์

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภาคเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบฟาร์มอัตโนมัติและการจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล การเกษตรยุคใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แก้ปัญหาภายในฟาร์มมากขึ้นเพื่อเพิ่มทรัพยากร ในขณะเดียวกันก็สามารถลดการสูญเสียพืชผลจากการผลิตแบบดั้งเดิม การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นแนวคิดที่ประกอบไปด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลากหลาย เช่น Internet of Things (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์และโดรน เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าว เอื้อให้กระบวนการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตมีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ข้อมูลเป็นหลัก 

นอกจากนี้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงคุณภาพและปริมาณโดยรวมของพืชผลและปศุสัตว์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั่นก็คือ ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน รังสรรค์ประโยชน์ให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคตลอดจนทุกหน่วยย่อยในห่วงโซ่อุปทานการเกษตร 

StartUs insights นำเสนอภาพรวมของแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตร 10 อันดับแรกที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งข้อมูลการจัดลำดับดังต่อไปนี้ได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างสตาร์ทอัพและสเกลอัพระดับโลกจำนวน 5,290 ราย โดยจัดลำดับสตาร์ทอัพจากจำนวนมากไปน้อย ดังนี้

10 อันดับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

1. Internet of Things (IoT) 19%

เทคโนโลยี IoT เป็นทางเลือกที่น่าสนใจแทนวิธีการดั้งเดิม อุปกรณ์ IoT ประกอบด้วยเซนเซอร์ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปที่รวบรวมข้อมูลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชันมือถือหรือวิธีการอื่นๆ ในแบบเรียลไทม์ สตาร์ทอัพในปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาเซนเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ผสมผสานเทคโนโลยี IoT เข้ากับโดรน หุ่นยนต์ และคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความแม่นยำของกระบวนการในฟาร์ม เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาพัฒนาเรื่องการแจ้งเตือนที่ตรงเวลาและปรับปรุงการตอบสนองต่อเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่ 

  • Agrila: สตาร์ทอัพบัลแกเรียสร้างเซนเซอร์ที่ใช้ IoT แบบแยกส่วนเพื่ออํานวยความสะดวกในการตรวจจับพารามิเตอร์ที่สําคัญ เช่น ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ความเร็วลม ทิศทางฝน รังสีแสงอาทิตย์ และอื่นๆ อีกมากมาย
  • Farmer’s Hive: สตาร์ทอัพแคนาดาใช้ IoT ในการตรวจสอบอุปกรณ์ฟาร์มและพืชผลจากระยะไกล

2. Agricultural Robotics 17%

สตาร์ทอัพมุ่งผลิตหุ่นยนต์ทางการเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการลดแรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ปลูก เคลื่อนย้าย ฉีดพ่น เพาะเมล็ด และการกำจัดวัชพืช ช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงผลผลิตโดยรวม โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของเวลา ทั้งยังป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ได้อีกด้วย ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่

  • Advanced.Farm: สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อพัฒนา solution สําหรับการเก็บเกี่ยวและการนําทางอัตโนมัติ
  • Robotic Weeders: สตาร์ทอัพชาวแคนาดาพัฒนา Le Chevre หุ่นยนต์ที่ตรวจจับและกําจัดวัชพืชในทุ่งนา

3. Artificial Intelligence (AI) 14%

AI ช่วยให้เกษตรกรได้รับข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ สามารถคาดการณ์สำหรับการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ ผลผลิต และราคา ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง รวมไปถึงการปรับปรุงคุณภาพพืชผลทางการเกษตรโดยรวมได้อีกด้วย ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่

  • Arva: สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกาใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้คําแนะนําสําหรับการวางแผนผลิตพืชผล
  • Ask Attis: สตาร์ทอัพชาวเบลเยียมเสนอการตรวจหาโรคพืชผ่านแอพ Planticus ขับเคลื่อนโดยAIในแอปพลิเคชันมือถือโดยสามารถระบุโรคและตรวจจับศัตรูพืชได้

4. Drones 13%

โดรนหรือที่เรียกว่าอากาศยานไร้คนขับ มีประโยชน์สำหรับการจัดการฟาร์ม โดยโดรนที่ติดตั้งกล้องจะช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพทางอากาศและการสำรวจพื้นที่ใกล้และไกลเพื่อปรับการใช้ปุ๋ย น้ำ เมล็ดพืช และยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม นอกจากนี้โดรนพร้อมกับเทคโนโลยี GPS ยังใช้สำหรับการติดตามปศุสัตว์ การระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และการเฝ้าติดตามสัตว์ได้อีกด้วย อีกทั้งมีบริษัทสตาร์ทอัพที่พัฒนาโดรนเพื่อใช้ในการวัดระดับคลอโรฟิลล์ แรงดันวัชพืช แร่ธาตุ และองค์ประกอบทางเคมีของดิน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรที่ต้องการควบคุมต้นทุนและคุณภาพของผลผลิต ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่

  • Wakan Tech: สตาร์ทอัพของโอมานที่ใช้โดรนที่เป็นนวัตกรรมใหม่สําหรับการผสมเกสรทางอากาศของต้นอินทผลัม
  • Equinox’s Drones: โดรนสตาร์ทอัพของอินเดีย ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโดรนเพื่อให้บริการมากมาย เช่น การเฝ้าระวังพืชผล การตรวจสอบทางอากาศ การประมวลผลข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

5. Precision Agriculture 11%

เกษตรกรรมแม่นยำ เป็นวิธีการที่เกษตรกรควบคุมปริมาณน้ำ ยาฆ่าแมลง และปุ๋ย ที่แน่นอนเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตที่ปลูกอยู่บนพื้นที่ๆ มีคุณสมบัติของดินต่างกัน รับแสงแดดต่างกัน หรือมีความลาดชันต่างกัน การจัดการแบบเดียวกันสำหรับทุกพื้นที่จึงไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้เสียเวลาและทรัพยากรไปเปล่าๆ ด้วยเหตุนี้สตาร์ทอัพจำนวนมากจึงกำลังพัฒนา solution ในการเกษตรที่แม่นยำ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการทำกำไรพร้อมๆ กับจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนให้แก่เกษตรกร ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่

  • Data Farming: สตาร์ทอัพชาวออสเตรเลียนําเสนอแพลตฟอร์มบนคลาวด์ โดยมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่เกษตรกร เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม การทําแผนที่ดิน และอื่นๆ  อีกมากมาย ช่วยให้เกษตรกรมีข้อมูลเชิงลึกที่สามารถดําเนินการพัฒนาระบบเพาะปลูกต่อไปได้
  • Agricolus: สตาร์ทอัพชาวอิตาลีที่พัฒนาเครื่องมือมากมายสําหรับการทําฟาร์มที่มีความแม่นยําเพื่อปรับปรุงการจัดการฟาร์ม ใช้ดาวเทียมและโดรนสําหรับการคํานวณพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำและปริมาณของคลอโรฟิลล์

6. Agricultural Biotechnology 7%

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเกษตรจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของพืชผลและปศุสัตว์ เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ เช่น การขยายพันธุ์พืช การผสมพันธุ์ พันธุวิศวกรรม และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อช่วยให้ระบุลักษณะที่ดีขึ้นในพืชได้รวดเร็วยิ่งขึ้น CRISPR-Cas9 เป็นเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมเพื่อผลิตพืชที่มีคุณสมบัติตามต้องการ เช่น ความทนทานต่อโรค ความทนทานต่อความแห้งแล้ง ความต้านทานศัตรูพืช และความสามารถในการให้ผลผลิตสูง ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่

  • AgGene: สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการเกษตรของแคนาดาที่ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์และเนื้อเยื่อเพื่อให้มีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น 
  • XytoVet: สตาร์ทอัพชาวออสเตรเลียใช้เทคนิคการผสมพันธุ์และดีเอ็นเอเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาพันธุ์แกะวัวและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

7. Big Data & Analytics 6%

ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้วิเคราะห์สถิติข้อมูลทางการเกษตร เป็นรากฐานสำหรับการสร้างผลผลิตในครั้งต่อไป โดยระบุรูปแบบและความสัมพันธ์ต่างๆ ออกมาเป็นผลที่เข้าใจง่ายและช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสู่การดำเนินงานภาคสนามของตนได้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการวิเคราะห์ช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับระดับธาตุอาหารของดิน ความเป็นกรดและด่างของดิน ความต้องการปุ๋ย และพารามิเตอร์อื่นๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่

  • Fyllo: สตาร์ทอัพชาวอินเดียที่ใช้อุปกรณ์ติดตั้งทั่วทั้งฟาร์มเพื่อตรวจจับและรายงานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลผ่านบริการคลาวด์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลฟาร์ม 
  • AgriData Innovations (ADI): สตาร์ทอัพชาวดัตช์อํานวยความสะดวกในการรวบรวมวิเคราะห์และแสดงภาพข้อมูลฟาร์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเรือนกระจก พวกเขาได้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้สำหรับการถ่ายโอนและจัดการข้อมูล

8. Controlled Environment Agriculture 6%

การทำฟาร์มในร่ม การทำฟาร์มแนวตั้ง โรงเรือน และอื่นๆ มีการปรับใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ไฮโดรโปนิกส์และแอโรโปนิกส์มากขึ้น อีกเทคนิคหนึ่งคือ aquaponics ซึ่งเป็นการปลูกพืชและปลาพร้อมกัน ปลาจะช่วยให้สารอาหารแก่พืช ในขณะที่พืชทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาสะอาดขึ้น วิธีการนี้จะช่วยลดศัตรูพืชและโรค อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืน ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่

  • OnePointOne: สตาร์ทอัพสหรัฐอเมริกาสร้างพื้นที่การเกษตรการบินเครื่องบินแนวตั้ง พวกเขาปรับใช้เทคนิคการทําฟาร์มแนวตั้งเพื่อคิดค้นแนวทางแก้ปัญหาโดยการประหยัดพื้นที่ประหยัดน้ำและประหยัดแรงงาน
  • Baltic Freya: สตาร์ทอัพชาวลิทัวเนียพัฒนาการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในการทำฟาร์มไฮโดรโปนิกส์และแอโรโปนิกส์ โดยควบคุมอุณหภูมิของระบบด้วยการสร้างหมอกเทียม

9. Regenerative Agriculture 4%

การทำเกษตรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพของดินและการฟื้นฟูดินชั้นบน เช่น การทำฟาร์มแบบไม่ไถพรวน การไถพรวน การหมุนเวียนพืชผล และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การปลูกพืชคลุมดินระหว่างฤดูกาลเพาะปลูกเพื่อฟื้นฟูคุณภาพดิน นอกจากนี้ การทำนาแบบ Regenerative ยังช่วยให้ทุ่งนาทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศและส่งผลเสียต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยลง ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่

  • Freesoil: สตาร์ทอัพชาวดัตช์ที่พัฒนาสารสกัดปุ๋ยหมักคุณภาพสูงจากพืช เมื่อนำสารสกัดจากปุ๋ยหมักไปใช้กับดิน พืชจะสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปราศจากสารเคมี นอกจากนี้พวกเขายังใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงคุณภาพของดินอีกด้วย
  • Acterra: บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติแคนาดา เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการหมักสำหรับการทำปุ๋ยหมัก เมล็ดพืช ดิน และการบำบัดสารตกค้าง อีกทั้งยังมีการพัฒนาสารเติมแต่งปุ๋ยหมักที่เร่งการสลายตัวของสารอินทรีย์ ช่วยลดความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเคมีและยังทำให้มูลสัตว์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย

10. Connectivity Technologies 3%

การขาดการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นหรือบรอดแบนด์เป็นปัญหาในพื้นที่ชนบททั่วโลก การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นไปไม่ได้หากไม่มีเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ เช่น 5G, LPWAN, บรอดแบนด์ในชนบทหรือการเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมที่เข้ามามีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้กับอุปกรณ์ IoT หุ่นยนต์ และเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อพัฒนาการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงขึ้น และช่วยให้เกษตรกรตรวจสอบข้อมูลได้แม่นยำยิ่งขึ้นในแบบเรียลไทม์ การใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากสายไฟเบอร์ออปติกทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลภาคสนามได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการปรับปรุงความแม่นยำในส่งผ่านข้อมูล ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่

  • Ellenex: บริษัทสตาร์ทอัพในออสเตรเลียนำเสนอผลิตภัณฑ์เซ็นเซอร์ทางการเกษตรที่หลากหลายซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น LoRaWAN, ดาวเทียม, Sigfox, WiFi และอื่นๆ
  • AgriLinx: บริษัทสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาเครือข่าย FLEX ซึ่งเป็นเครือข่าย LoRaWAN ที่ให้ข้อมูลแบนด์วิดธ์ต่ำครอบคลุมสูงสุด 5 ไมล์ ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลฟาร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และติดตามการชลประทาน อุปกรณ์การเกษตร และอื่นๆ 

เมื่อย้อนกลับมามองแนวโน้มด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรจากสตาร์ทอัพไทยที่เริ่มมีจำนวนมากขึ้น เห็นได้จากกลุ่มการใช้ระบบ IoT และ โดรน ที่เริ่มนำมาใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มมีการกระจายตัวมากขึ้น แต่ยังมีช่องว่างอันเนื่องมาจากการที่เกษตรกรไม่เข้าใจและไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้โดยง่าย ระบบโครงสร้างพื้นฐานควรจะต้องพัฒนาให้รองรับการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มี่ความเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตรจึงควรมีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร ลดการทำเกษตรแบบพึ่งพาดินฟ้าอากาศ เพิ่มการจัดการเกษตรแบบอัจฉริยะเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำฟาร์มที่ง่าย แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพลิกโฉมภาคส่วนการเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรแนวใหม่ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

อ้างอิงจากเว็บไซต์ StartUs insights: https://www.startus-insights.com/innovators-guide/agriculture-trends-innovation/