กลอนกาพย์ยานี 11 มีกี่วรรค

เพื่อน ๆ คงสงสัยใช่ไหมว่า ทำไมเราถึงเรียนคำประพันธ์ประเภทนี้ว่า “กาพย์ยานี ๑๑” โดยชื่อนี้มีที่มาจากการที่กาพย์ยานี ๑ บาทมี ๑๑ คำหรือพยางค์นั่นเอง โดยกาพย์ยานี ๑๑ มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างฉันทลักษณ์ ดังนี้ 

๑. กาพย์ยานี ๑ บทมี ๒ บาท โดย ๒ วรรครวมกันเป็น ๑ บาท ดังนั้น กาพย์ยานี ๑ บทจึงมีทั้งหมด ๔ วรรคด้วยกัน

กลอนกาพย์ยานี 11 มีกี่วรรค

๒. ในแต่ละบาท ประกอบไปด้วยวรรคหน้า ๕ คำหรือพยางค์ และวรรคหลัง ๖ คำหรือพยางค์ รวมเป็น ๑๑ คำหรือพยางค์พอดี

๓. ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๑ จะต้องสัมผัสกับตัวที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ แต่อนุโลมให้สัมผัสกับตัวที่ ๑ หรือ ๒ ก็ได้

กลอนกาพย์ยานี 11 มีกี่วรรค

๔. ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสกับตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๓

กลอนกาพย์ยานี 11 มีกี่วรรค

๕. ไม่จำเป็นต้องส่งสัมผัสไปวรรคสุดท้าย แต่ถ้าสามารถแต่งให้ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ส่งสัมผัสมายังวรรคสุดท้ายได้ ก็จะเพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น

๕. สำหรับสัมผัสระหว่างบทนั้น ให้ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทถัดไป

กลอนกาพย์ยานี 11 มีกี่วรรค

 

บทช่วยจำของกาพย์ยานี ๑๑

วิชาเหมือนสินค้า

อันมีค่าอยู่เมืองไกล

ต้องยากลำบากไป

จึงจะได้สินค้ามา

จงตั้งเอากายเจ้า

เป็นสำเภาอันโสภา

ความเพียรเป็นโยธา

แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ


โดย เพื่อน ๆ จะเห็นว่า 

  • คำว่า ค้า ส่งสัมผัสกับคำว่า ค่า 
  • คำว่า ไป ส่งสัมผัสกับคำว่า ไกล
  • แม้ไม่ได้มีการบังคับ แต่ผู้แต่งได้ส่งสัมผัสจากคำว่า ไป ไปยังคำว่า ได้ ด้วย
  • ส่วนสัมผัสระหว่างบท มีการแต่งให้คำว่า มา และ ภา สัมผัสกัน

จริง ๆ แล้วการแต่งกาพย์ยานี 11 ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนซ่อนเงื่อนเลยเนาะ แถมยังสวยงามอีกต่างหาก StartDee ขอแนะนำให้เพื่อน ๆ ลองแต่งบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นแต่งกลอนให้เพื่อน พ่อแม่ หรือคนที่แอบปิ๊งก็ยังได้ ถือเป็นการฝึกฝีมือ เวลาต้องแต่งส่งคุณครูเป็นการบ้าน จะได้คล่องแคล่วยังไงล่ะ 

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม