องค์ประกอบของการกําหนดกลยุทธ์มีด้วยกันกี่ประการ

องค์ประกอบของการกําหนดกลยุทธ์มีด้วยกันกี่ประการ

03/03/2563

18,578

| ปรีดี นุกุลสมปรารถนา (Pop)

องค์ประกอบของการกําหนดกลยุทธ์มีด้วยกันกี่ประการ

เราได้ยินคำว่ากลยุทธ์ มาหลายต่อหลายครั้ง และมีหลายคำถามเกิดขึ้นว่าอะไร คือ กลยุทธ์กันแน่ บางครั้งเรานำกลยุทธ์ไปรวมเข้ากับกลวิธี หรือบางทีเรานำไปรวมกับเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาด เช่น การใช้กลยุทธ์โฆษณาผ่านทางเฟสบุ๊ค เรามาดูกันนะครับว่า กลยุทธ์ที่แท้จริงแล้วมีความหมายอย่างไร

กลยุทธ์ หมายถึง แผนการ แนวทาง ที่ทำให้เกิดการกระทำเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือความสำเร็จที่ได้ตั้งไว้ อันที่จริงกลยุทธ์มีลักษณะทั้งความเป็นแบบแผน รูปแบบของกิจกรรมบางอย่าง สถานะ ตำแหน่ง หรือมุมมองขององค์กร ความสำคัญของกลยุทธ์ คือ จำเป็นต้องตอบคำถามว่าเราทำไปเพื่ออะไร (What) เราอยู่ที่จุดไหน (Where) และเราจะไปสู่จุดนั้นๆได้อย่างไร (How) กลยุทธ์จะช่วยให้เราไม่หลงทิศทางที่องค์กรได้ตั้งไว้

การที่จะออกมาเป็นกลยุทธ์ได้นั้น จำเป็นต้องมีความเข้าใจในบริบทต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งการที่จะรู้บริบทต่างๆได้นั้น ก็มาจากการทำ SWOT Analysis หรือการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่เป็นปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร หรือ PESTEL Analysis ที่วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น หรือการทำ 5 Force Model เพื่อดูสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

องค์ประกอบของกลยุทธ์ที่จำเป็นต้องมี

  1. ต้องมีเป้าหมายในระยะยาวที่ชัดเจน
    กลยุทธ์ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากองค์กรไม่มีเป้าหมายของการทำธุรกิจที่ชัดเจน ความชัดเจนขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร หากวิสัยทัศน์ชัดเจนจะทำให้ทีมกำหนดกลยุทธ์ได้ง่ายมากขึ้น
  2. ต้องกำหนดขอบเขตที่แน่ชัด
    กลยุทธ์ควรกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนว่า เราวางแผนเพื่ออะไร เช่น เพื่อตัวองค์กร หรือเพื่อสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง กลยุทธ์ไม่ควรเหมารวมทุกสิ่งอย่างเข้าด้วยกัน เพราะจะทำให้สับสนในการวางแผนในอนาคตได้
  3. ต้องมีถ้อยคำที่ชัดเจน
    กลยุทธ์ควรตั้งมาบนพื้นฐานของถ้อยคำ ข้อความ หรือแถลงการณ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความได้เปรียบในการแข่งขันที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ มีหัวใจของความเป็นผู้ชนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และรักษามันไว้ให้ยาวนาน 
  4. ต้องแสดงถึงการแข่งขันภายในองค์กร
    กลยุทธ์จะต้องแสดงถึงการแข่งขันภายในองค์กร ที่สร้างให้เกิดโอกาสที่จะช่วยให้บริษัทบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขัน ในสมรภูมิที่องค์กรนั้นเลือกที่จะแข่งขัน

แล้วกลยุทธ์มีด้วยกันกี่ระดับ

คำตอบ คือ กลยุทธ์นั้นมีด้วยกันอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับองค์กร (Corporate) ระดับธุรกิจ (Business) และระดับปฏิบัติการ (Functional)

องค์ประกอบของการกําหนดกลยุทธ์มีด้วยกันกี่ประการ

กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level) เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ เป็นหน้าที่ของซีอีโอ ผู้บริหารระดับสูง และส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดภาพรวมขององค์กร ระบุกลุ่มตลาดเป้าหมายที่องค์กรจะเข้าไปแข่งขัน และวางแผนว่าจะเข้าไปได้อย่างไร

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT หรือจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจ ว่ามีอะไรบ้าง และจะสนับสนุนกลยุทธ์ระดับองค์กรได้อย่างไร กลยุทธ์ระดับนี้ต้องนำกลยุทธ์ในระดับองค์กรมาระบุแผนงาน หรือวิธีการที่จะใช้กับแต่ละตลาดให้มีความเหมาะสม ขับเคลื่อนโดยผู้จัดการและพนักงานในส่วนที่รับผิดชอบด้านการขับเคลื่อนแผนธุรกิจ

กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Level) เป็นระดับของทีมที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ เช่น ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายไอที และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องนำพากลยุทธ์ตั้งแต่ระดับองค์กรและธุรกิจ มาทำให้สำเร็จและต้องสอดคล้องกันด้วย ผ่านการทำงานและการวางแผนในแต่ละวัน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายในและทีมงานต่างๆ และต้องมีการประเมินและวัดผลได้

กลยุทธ์นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรกำหนดไว้ การกำหนดกลยุทธ์ที่มีความชัดเจนตั้งแต่ระดับองค์กร ส่วนงานต่างๆในองค์กรเห็นภาพรวมในสิ่งเดียวกัน และสามารถวางกลยุทธ์ในแต่ละส่วนงานออกมาได้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั่นเอง


Cover photo by Chris Kelley from FreeImages


องค์ประกอบของการกําหนดกลยุทธ์มีด้วยกันกี่ประการ

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา (Pop)

เจ้าของเว็บไซต์ Popticles.com ผู้ที่ชื่นชอบศาสตร์ด้านการสร้างแบรนด์ การตลาดและการสื่อสาร ผ่านประสบการณ์ทำงานกว่า 16 ปี ในด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ และสื่อสารองค์กรในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ FinTech Startup เทคโนโลยีด้าน AR/VR รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล AI, Big Data ธุรกิจ MLM ทั้งแบบ B2B และ B2C อีกทั้งยังเป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษบ้างตามโอกาส ที่ให้ความรู้กับผู้ประกอบการและธุรกิจต่างๆมามากกว่า 1,000 ราย


Related Posts

วิเคราะห์ SWOT ให้ชัดเจน สำหรับการวางแผนธุรกิจ

04/03/2563

56,707

SWOT Analysis ถือเป็นเทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ ในการระบุจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และ ภัยคุกคาม (Threats) เพื่อให้ทราบว่าเราเป็นใคร เรามีจุดแข็งตรงไหน จุดอ่อนของเรามีอะไร มีโอกาสอะไรบ้างในตลาด และอะไรคืออุปสรรคหรือภัยคุกคามในธุรกิจของเรา ดังนั้น การทำ SWOT Analysis

วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย PESTEL Analysis

05/03/2563

15,102

ในการทำธุรกิจมักจะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เข้ามากระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบกับธุรกิจของเรา ที่เราจำเป็นต้องพิจารณาก่อนจะดำเนินแผนธุรกิจใดๆ มีทั้งปัจจัยภายในองค์กรเองรวมไปถึงปัจจัยภายนอก PESTEL Analysis คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กรและธุรกิจของเรา ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งอุปสรรคและโอกาส

แนวคิด 3C เพื่อการกำหนดกลยุทธ์การตลาด

01/03/2563

23,099

สำหรับการวางกลยุทธ์การตลาดนั้นมีอยู่ 3 ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นสำหรับนักการตลาด ที่ต้องทำความเข้าใจ โดยทั้ง 3 ปัจจัยนั้นมีความเชื่อมโยงต่อกัน หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนปัจจัยอื่นๆก็จะเปลี่ยนตามกัน โดย 3C ที่ว่านี้ คือ ลูกค้า (Customer) บริษัท (Company) และคู่แข่ง (Competitor)

หลักการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจประเภทต่างๆ

02/03/2563

23,652

จากบทความก่อนที่ได้เขียนไปเรื่องประเภทของธุรกิจ ว่าโดยทั่วไปที่เราเห็นกันนั้นมี B2B, B2C, C2B, C2C, B2B2C และ B2G ในบทความนี้จะพูดถึง 2 ธุรกิจหลักๆ คือ B2B และ B2C ครับ แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนนะครับว่ากลุ่มลูกค้าของธุรกิจเราเป็นใคร ความสนใจของเขาเป็นอย่างไร เขากำลังมองหาอะไร ช่องทางการสื่อสาร