ข้อ ใด เป็นการ สร้าง สื่อ เพื่อ นำเสนอ ที่ไม่ เหมาะสม

หลักการสร้างสื่อนำเสนอที่ดีทีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ  ได้แก่

                   1 ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง เพื่อเวลาอ่านจะไม่รบกวนสายตา

                   2 มีความคงตัว: เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์

                   3 ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้
                   4 มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความและสภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น
                   5 สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย แล้ใช้สีที่ดูแล้วสบายตา
                   6 แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา
                   7 เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นและควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้าง     หน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น
                   8 เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกอย่างเหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

     การนำเสนอที่ดีมีหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ

           1.  กำหนดวัตถุประสงค์ ในการนำเสนอแต่ละครั้งย่อมมีวัตถุประสงค์ต่างกัน การเตรียมการและเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ จึงต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ด้วย

           2.  การเตรียมความพร้อมพื้นฐานในด้านความรู้ ทักษะการนำเสนอและความสามารถในการแก้ปัญหาหรือตอบปัญหา

           3.  การวางแผน และเตรียมการนำเสนอ

          4.  หลักการใช้จิตวิทยา เพื่อจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ และการสื่อสารนำเสนอเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจด้วย

          5.  การประเมิน ติดตาม และปรับปรุงเทคนิคการนำเสนอ

 การกำหนดวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ

    วัตถุประสงค์ในการนำเสนอ อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ข้อใหญ่ ๆ คือ

     1.  เพื่อให้ความรู้หรือข่าวสารข้อมูลใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นวิทยาการใหม่ นิยามหรือแนวความคิดใหม่ ๆ การแสดงให้เห็นเทคนิคใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย รายงานความคืบหน้าของโครงการต่าง ๆ สรุปผลการวิจัย รวมทั้งการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความรู้เฉพาะด้านโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา

    2.  เพื่อชักจูงใจ ได้แก่ การเสนอขายสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะให้แก่บุคคลเดียวหรือการเสนอขายให้กับกลุ่มบุคคล คณะกรรมการ หรือการเสนอแนวคิดเพื่อชักจูงใจให้ผู้ฟังเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อหรือค่านิยม เช่น การนำเสนอให้คนไทยหันมานิยมท่องเที่ยวในประเทศไทย

    3. เพื่อสร่างแรงบันดาลใจ มักเป็นการนำเสนอให้กลุ่มบุคคลเฉพาะกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพ กลุ่มศาสนา กลุ่มการเมือง หรือกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ ทั้งนี้ต้องการสร้างความมุ่งมั่นให้เหนี่ยวแน่นต่อความเชื่อหรือค่านิยมเก่า ๆ ที่เคยปฏิบัติต่อกันมา

   4. เพื่อกระตุ่นให้เกิดความกระตือรือร้น ในการทำงานนั้น มักต้องมีการประชุมสัมมนากันอยู่เสมอ ๆ เพราะมนุษย์ทุกคนเมื่อทำงานในหน้าที่เดิมไปนาน ๆ เข้าก็อาจจะเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความเหนื่อยล้าจนทำให้หย่อนประสิทธิภาพลง การจัดประชุมสัมมนาเป็นวิธีการกระตุ้นบุคคลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยเฉพาะงานด้านการขาย การตลาดที่พนักงานขายต้องออกภาคสนาม เขาต้องออกไปพบปัญหาด้วยตนเอง แก้ปัญหาเอง และต้องพยายามฟันฝ่าอุปสรรคให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในที่สุด

การเตรียมความพร้อมพื้นฐานในการนำเสนอ

           ความพร้อมพื้นฐานในการนำเสนนั้น ผู้นำเสนอสามารถเตรียม รวบรวม ฝึกฝนขึ้นมาได้ ความพร้อมพื้นฐาน ได้แก่

1.  ความรู้ ข้อมูล สถิติ ที่ต้องใช้เป็นเนื้อหาในการนำเสนอ ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องที่พูด ในขณะเดียวกันข้อมูลบางอย่างต้องรวบรวม ค้นคว้าและนำมาวิเคราะห์ ทำเป็นสถิติ หรือเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ เพื่อการนำเสนอให้เห็นชัดเจน

2.  ทักษะการนำเสนอ การนำเสนอเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสาร เพื่อทำให้ผู้รับข่าวสารข้อมูลนั้นเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงการนำเสนอเป็นศาสตร์ ซึ่งต้องมีการตัดระบบขั้นตอนในการนำเสนอ การนำเสนอเป็นศิลป์  ซึ่งเกิดจากการพัฒนาความชำนาญในการนำเสนอด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายแบบวิธี ซึ่งเราอาจเรียกว่า ทักษะซึ่งสามารถฝึกฝนได้ เช่น การฝึกทักษะการพูด ทักษะการใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ และทักษะการเขียนเอกสารประกอบการนำเสนอ รวมทั้งทักษะในการดัดแปลงข้อมูล สถิติแนวความคิดต่าง ๆ เพื่อเสนอออกในรูปของสื่อ เป็นต้น

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา/ตอบคำถาม ผู้นำเสนออาจพบกับปัญหา เหตุการณ์ หรือ คำถามที่ไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า ผู้นำเสนอต้องมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ในการนำเสนอเรื่องราวการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบบัญชี ถ้ามีผู้ถามปัญหาเรื่องควบคุมสต๊อกสินค้าในคลังสินค้าและร้านค้าสาขาหลาย ๆ แห่ง ซึ่งผู้นำเสนออาจไม่เข้าใจระบบสต๊อก สินค้าแต่ละประเภท ดังนั้น ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าผู้นำเสนออาจตอบอย่างกว้าง ๆ หรืออาจจะใช้วิธีการผัดผ่อนการตอบคำถามนี้ว่า เนื่องจากมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาก่อนตอบ เช่น เงื่อนไขการขาย การซื้อเข้า การชำระเงิน เครดิต จึงไม่สามารถตอบได้ในขณะนี้และก็ยินดีให้คำปรึกษาในภายหลัง เป็นต้น

หลักการวางแผนและเตรียมการนำเสนอ

      หลักนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีการวางแผนและเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดีตามหลักของการนำเสนอดังต่อไปนี้

1. เขียนแผนการนำเสนอ โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ ซึ่งเรื่องที่จะนำเสนอหัวข้อเรื่องแนวคิด วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม สื่ออุปกรณ์และเครื่องมือการนำเสนอตลอดจนการประเมินผล

2.   รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระ สถิติตามหัวข้อเรื่องที่จะนำเสนอ

3.   ผลิตสื่อและอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ เช่น เอกสารแจกให้ผู้เข้ารวมรับฟัง สไลด์ แผ่นใส โปสเตอร์ ชาร์ท กร๊าฟ

4.    ทดสอบ หรือซ้อมวิธีการนำเสนอตามแผนที่วางไว้

หลักการใช้จิตวิทยาในการนำเสนอ

            การรู้จักประยุกต์หลักจิตวิทยามาใช้ในการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการนำเสนอ ย่อมทำให้การนำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลักการใช้จิตวิยาในการนำเสนอ มีดังนี้

1.   หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้นำเสนอต้องพิจารณาถึงกลุ่มบุคคลที่เข้ารับฟังว่า เป็นคนระดับไหน มีพื้นฐานความรู้ การศึกษา หน้าที่การงานอย่างไร และทุก ๆ คนในกลุ่มนั้นมีพื้นฐานและประสบการณ์เหมือนกัน หรือแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดทำสื่อเครื่องมือในการนำเสนอต่อไป

2. หลักการเร้าความสนใจ เป็นหลักการสำคัญที่จะทำให้ผู้ฟังการเสนองานครั้งนี้มีความสนใจใคร่รู้มากยิ่งขึ้น เช่น เปิดฉากเข้าเรื่องการนำเสนอด้วยประเด็นที่ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการนำเสนอ ในครั้งนี้ เป็นต้น

3.    หลักการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการนำเสนอ เป็นหลักการประยุกต์จากจิตวิทยาการเรียนรู้ที่ว่า การเรียนรู้ของบุคคลเกิดขึ้นจาก

-      การพบปัญหาและจำเป็นต้องแก้ปัญหานั้น เพื่อความอยู่รอด

-      เมื่อได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาในอนาคต

-     อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้ ด้วยการฝึกปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้สื่อและเครื่องมือหรือกิจกรรมการนำเสนอ

4.  หลักการได้รับผลย้อนกลับทันท่วงที (Feedback) เป็นการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ของบุคคล หากบุคคลมีการสนองตอบต่อสิ่งเร้าจะเป็นกระบวนการสองทาง เช่น มีคำถามมากขึ้น มีข้อสงสัย ฯลฯ เพื่อให้ทราบผลของการกระทำของผู้เสนอว่าถูกหรือผิดอย่างไร มีอะไรต้องแก้ไขบ้าง

                      หลักการประเมินผล ติดตาม และปรับปรุงเทคนิคการนำเสนอ

1.  การประเมินผลการนำเสนอ  สามารถทำได้ทั้งในระหว่างที่ยังมีการนำเสนออยู่และหลังจากการนำเสนอแล้ว

-  ในระหว่างการำเสนอผู้ที่นำเสนอสามารถใช้วิธีการสังเกตกิริยาท่าทาง การรับรู้ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ฟังหรืออาจใช้คำถามเพื่อตรวจดูว่า การนำเสนอนั้นผู้ฟังรับรู้ เข้าใจ สนใจ เพียงใด ถ้าผู้สนใจ แต่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอนั้น ผู้พูดก็สามารถปรับแผนการนำเสนอใหม่ในขณะนั้นได้ทันที โดยการพูดหรืออธิบายเพิ่มเติม ส่วนเรื่องใดที่ผู้ฟังเข้าใจดีอยู่แล้ว ก็อาจจะพูดให้สั้นลงกว่าแผนที่กำหนดไว้ เป็นต้น

- การตรวจสอบโดยวิธีการพูดคุยกับผู้ฟังระหว่างหยุดพัก ในกรณีที่เป็นการนำเสนอที่ใช้เวลามากๆ เช่น การบรรยาย ปาฐกถา หรือการเสนอโครงการต่อคณะกรรมการ ซึ่งต้องใช้เวลาตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป จนถึงใช้เวลาหลายๆ วัน ผู้นำเสนอสามารถตรวจสอบผลการนำเสนอจากการคุยกับผู้ฟังระหว่างพักรับประทางอาหารว่าง หรือช่วงรับประทานอาหารกลางวัน อาหารเย็น เพื่อดูว่าผู้น่าสนใจประเด็นไหนมากกว่า หรือมีความเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอมากน้อยเพียงใด เพื่อที่ผู้นำเสนอจะสามารถปรับแผนได้ทันทีให้เหมาะกับสถานการณ์ในขณะนั้น เหมาะสมกับเวลาที่มีอยู่ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

- หลังจากจบการนำเสนอแล้ว ผู้นำเสนอสามารถตรวจสอบผลการประเมินได้  ทั้งจากช่วงท้ายรายการที่เปิดโอกาสให้มีการถามซ้ำ หรืออาจใช้วิธีแจกแบบฟอร์มการประเมินผลให้ผู้ฟังเขียนตามแบบฟอร์มนั้น และนำกลับมารวบรวม วิเคราะห์ในภายหลัง

              2. การติดตามผล เป็นการตรวจสอบผลที่ได้จากการนำเสนอว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่น

                   วัตถุประสงค์

          -   การเสนอโครงการให้คณะกรรมการอนุมัติประมาณ

          -    เผยแพร่ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออธิบายแนวคิด/เทคนิคใหม่ ๆ  

                                             ผลที่ได้รับ

          -   ได้รับอนุมัติ หรือต้องปรับปรุงโครงการเพื่อนำเสนอใหม่

          -    ผู้สนใจสอบถามและสั่งซื้อมากขึ้นหรือไม่ ผู้รับฟังเห็นด้วยและนำไปปฎิบัติหรือไม่

              นอกจากนี้ ผู้นำเสนอยังสามารถติดตามผลให้เห็นด้วยการหาคำตอบที่ติดค้างผู้สอบถามปัญหาไว้แล้วติดติอกลับไปยังผู้ถามปัญหา เพื่อให้การตอบคำถามเป็นสะพาน                 เชื่อมโยงไปสู่ การตรวจสอบ ติดตามผลว่ารับข่าวสารจากการนำเสนอของเรานั้นผู้ฟังมีความคิดเห็นว่า ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดีอย่างไร ประทับใจเรื่องไหน เป็นต้น

            3. การปรับปรุงการนำเสนอ สามารถทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลที่เราได้ประเมินผลไว้ แล้วนำมาปรับปรุงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อ เนื้อหา รวมถึงระบบเสียง                    ลักษณะการจัดห้องและตัวผู้นำเสนอด้วย