นับประจําเดือนยังไงถึงรู้ว่าท้อง

ผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ที่คงมีคำถามเช่นนี้อยู่ในใจ คุณจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ไข่จะตก?  ต้องมีเพศสัมพันธ์กันช่วงไหน? จึงจะมีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงสุด

แต่ก่อนจะเริ่มนับวันไข่ตกลองมาทำความเข้าใจกับประจำเดือนกันก่อนค่ะ

ประจำเดือน เกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยปกติรอบเดือนจะมาทุก 28 ± 7 วัน นั่นคือบางคนอาจมีรอบเดือนสั้นทุก 21 วันหรือรอบเดือนยาวสุด 35 วัน ระยะเวลาหลังจากไข่ตกจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนจะค่อนข้างคงที่ที่ 14 ± 2 วัน

ดังนั้นรอบเดือนยาวหรือสั้นจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำให้ไข่เจริญเติบโตพร้อมปฏิสนธิ  คุณควรจดวันแรกที่มีประจำเดือนไว้ทุกครั้ง เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการคาดคะเนวันไข่ตก  วันที่ควรมีเพศสัมพันธ์  หรือช่วยในการคุมกำเนิดได้หากไม่ต้องการมีบุตร

ประจำเดือน ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน FSH ( Follicle Stimulating Hormone ) และ LH ( Luteinising Hormone ) ซึ่งหลั่งมาจากต่อมใต้สมอง ในช่วงแรกๆของการมีประจำเดือน  FSH จะหลั่งออกมามาก เพื่อกระตุ้นให้ไข่ และถุงไข่ (  Follicle ) มีการเจริญเติบโต ครั้งแรกๆจะมีไข่โตขึ้นมาหลายฟอง แต่จะมีไข่เพียง 1 ฟองเท่านั้นที่ถูกคัดเลือกให้มีการเจริญเติบโตต่อไป ส่วนฟองที่เหลือจะฝ่อไม่มีการเจริญต่อ

ในขณะที่ไข่เจริญเติบโต ถุงไข่จะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (  Estrogen ) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อบุผนังโพรงมดลูก  ช่วงกลางรอบเดือนใกล้ไข่ตก ต่อมใต้สมองจะหลั่ง LH ออกมาเป็นจำนวนมาก มีหน้าที่ช่วยให้ไข่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะปฏิสนธิ ถุงไข่แตกออก ไข่หลุดออกมาจากถุงไข่ ซึ่งเรียกว่า “ ตกไข่ “ นั่นเอง

ไข่จะถูกจับเข้าไปในท่อนำไข่ และถุงไข่ที่ยังคงเหลืออยู่เรียกว่า คอร์ปัสลูเตียม (  Corpus luteum ) จะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (  Progesterone ) เพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน

ไข่ที่ตกมาจะเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่ หากมีเชื้ออสุจิเข้าไปพบ จะเกิดการปฏิสนธิและแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน  ตัวอ่อนจะเดินทางมายังโพรงมดลูกที่เตรียมไว้แล้ว และฝังตัวเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น ใช้เวลาเดินทางเข้าโพรงมดลูก 3 วัน ใช้เวลาฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกอีก 3 วัน  คอร์ปัสลูเตียมจะทำงานต่อไป  แต่หากไม่เกิดการปฏิสนธิ คอร์ปัสลูเตียมจะหยุดสร้างฮอร์โมน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกหลุดออกมาพร้อมเลือดเป็นประจำเดือน

การนับรอบเดือน

จะนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนรอบถัดไป  ในผู้หญิงที่มีรอบระดูสม่ำเสมอจึงสามารถคำนวณวันตกไข่ได้

โดยจดวันแรกที่มีประจำเดือน แล้วนับย้อนหลังไปอีก 14 วัน นั่นคือวันที่ไข่ตกในรอบเดือนนั้น หรือง่ายๆก็คือ เกิดการตกไข่ 14 วันก่อนที่จะมีประจำเดือน  

เช่น รอบเดือน 28 วัน จะตกไข่วันที่ 14 ของรอบเดือน, รอบเดือน 30 วัน จะตกไข่วันที่  16 ของรอบเดือน คนที่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอมักจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่

ปัจจุบันมีชุดทดสอบการตกไข่ โดยตรวจวัดระดับ LH จากปัสสาวะ  ในช่วงใกล้ไข่ตก LH จะเพิ่มมากขึ้น และสูงสุดในวันที่ไข่ตก (  LH surge ) จะเกิดแถบสีขึ้นจางๆ แล้วเข้มขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าใกล้จะตกไข่ ขอแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งขึ้นในช่วงนี้ และแถบสีจะจางลงอีกครั้งหลังจากตกไข่ไปแล้ว ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ อาจทำเองดูก่อน ถ้ายังไม่ตั้งครรภ์หรือตรวจไม่พบว่ามีแถบขึ้นแบบไข่ตก ก็ต้องใช้วิธีตรวจเลือดแทน ซึ่งจะให้ความแม่นยำและละเอียดกว่าการตรวจปัสสาวะ

โดย ธีวรา  พงษ์นิมิตร 
นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้ว

ในช่วงการตั้งครรภ์ว่าที่คุณแม่มักจะเจอคำถามเรื่องอายุครรภ์กันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอายุครรภ์เท่าไหร่แล้ว ท้องกี่เดือน ใกล้คลอดหรือยัง? เรียกได้ว่าเป็นคำถามยอดฮิตที่ใครเจอแล้วต้องถาม แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าอายุครรภ์เท่าไหร่ จะนับอย่างไรดี? ไม่ต้องกังวลไป เรามีวิธีนับอายุครรภ์มาบอก

นับประจําเดือนยังไงถึงรู้ว่าท้อง

การนับอายุครรภ์
สำหรับการตั้งครรภ์แล้ว อายุครรภ์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ว่าที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะการทราบอายุครรภ์สามารถบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของเด็กทารกในครรภ์ และช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัย วางแผนกาตรวจครรภ์ และแจ้งกำหนดวันคลอดคร่าวๆ ได้ อีกทั้งยังทำให้ทราบด้วยว่าคุณแม่ท้องมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ด้วยหรือไม่ หากมีก็จะได้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องไปตลอดการตั้งครรภ์

จำวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด…ก็นับอายุครรภ์ได้
วิธีการนับอายุครรภ์นั้นก็ไม่ยาก ว่าที่คุณแม่และสามารถทำได้เอง เพียงแค่ต้องจำวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุดได้ จึงจะสามารถนับได้ด้วยตัวเอง เพราะการนับอายุครรภ์จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของแรกประจำเดือนครั้งล่าสุด และมีหน่วยการนับเป็นวันและสัปดาห์ แต่ที่เราเห็นมีการบอกอายุครรภ์เป็นเดือนนั้นก็มาจากการนับสัปดาห์แล้วคำนวณเป็นเดือนนั่นเอง

นับอายุครรภ์อย่างไร?
โดยปกติแล้วอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย (ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน) หรือนับจากวันที่ประจำเดือนถึงกำหนดจะมาแต่ไม่มา เช่น ประจำเดือนมาครั้งล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม และประจำเดือนหมดวันที่ 5 มีนาคม และกำหนดที่ประจำเดือนครั้งต่อไปควรจะมาอีกครั้งคือวันที่ 28 – 29 มีนาคม ดังนั้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาคือวันที่ 1 มีนาคม

คำนวณวันคลอดได้ง่ายๆ

  • นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย แล้วบวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน เช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายคือวันที่ 1 มกราคม ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม จากนั้นนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้กำหนดคลอดตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม
  • นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน เช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของแม่ท้องคือวันที่ 1 มีนาคม ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ กุมภาพันธ์ มกราคม และธันวาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน กำหนดวันคลอดก็ จะตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม เหมือนกับวิธีแรกนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล