ยา mifepristone ผลข้างเคียง

รวมการศึกษา 43 รายการ (สตรี 4966 คน) วิธีการรักษาหลักที่ตรวจสอบ ได้แก่ ไมโซพรอสทอล (misoprostol) เหน็บทางช่องคลอด อมหรือกินทางปาก ไมเฟพริสโตน (mifepristone) และเจมโฟรส (gemeprost) เหน็บช่องคลอด สิ่งเหล่านี้ถูกเปรียบเทียบกับการจัดการโดยการผ่าตัด, การรอให้แท้งออกมาเอง, ยาหลอก หรือวิธีการให้ยาประเภทต่างๆเปรียบเทียบกัน การทบทวนนี้ประกอบด้วยวิธีการให้ยาที่แตกต่างกันมากมายซึ่งได้รับการวิเคราะห์จากการเปรียบเทียบที่แตกต่างกัน 23 แบบ การเปรียบเทียบจำนวนมากประกอบด้วยการศึกษาเดียว เราจำกัดการให้คะแนนคุณภาพของหลักฐานไว้ที่การเปรียบเทียบหลัก 2 ประการ ได้แก่ ไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดเทียบกับยาหลอก และไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดเทียบกับการใช้เครื่องมือดูดเอาทารกที่เสียชีวอติในครรภ์ออกมา ความเสี่ยงของการมีอคติแตกต่างกันอย่างมากในการทดลองที่รวมเข้ามา คุณภาพของหลักฐานแตกต่างกันไประหว่างการเปรียบเทียบที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่พบว่ามีคุณภาพต่ำมากหรือต่ำ

ไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดเทียบกับยาหลอก

ไมโซพรอสเหน็บช่องคลอดอาจเร่งการแท้งเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก เช่น การแท้งบุตรโดยสมบูรณ์ (5 การศึกษา, สตรี 305 คน, risk ratio (RR) 4.23, 95% CI 3.01 ถึง 5.94; หลักฐานคุณภาพต่ำ) ไม่มีรายงานการศึกษาที่เกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานสำหรับการเปรียบเทียบนี้ ไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดทำให้อัตราการคลื่นไส้แตกต่างกันเล็กน้อย (2 การศึกษา, สตรี 88 คน, RR 1.38, 95% CI 0.43 ถึง 4.40; หลักฐานคุณภาพต่ำ) ท้องร่วง (2 การศึกษา, สตรี 88 คน, RR 2.21, 95% CI 0.35 ถึง 14.06; หลักฐานคุณภาพต่ำ) หรือ สตรีพอใจกับวิธีการนี้หรือไม่ (1 การศึกษา, สตรี 32 คน, RR 1.17, 95% CI 0.83 ถึง 1.64; หลักฐานคุณภาพต่ำ) ไม่แน่ใจว่าไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดช่วยลดการเสียเลือด (ความแตกต่างของฮีโมโกลบิน > 10 กรัม / ลิตร) (1 การศึกษา, สตรี 50 คน, RR 1.25, 95% CI 0.38 ถึง 4.12; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) หรือความเจ็บปวด (การใช้ยากลุ่ม opioid) (1 การศึกษา, สตรี 84 คน, RR 5.00, 95% CI 0.25 ถึง 101.11; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) เนื่องจากคุณภาพของหลักฐานสำหรับผลลัพธ์เหล่านี้พบว่าต่ำมาก

ไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดเทียบกับการวิธีการดูดเพื่อทำให้เกิดการแท้ง

ไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดอาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในการทำให้เกิดการแท้งโดยสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับการดูดเพื่อทำให้เกิดการแท้ง (6 การศึกษา, สตรี 943 คน, average RR 0.40, 95% CI 0.32 ถึง 0.50; ค่าความแตกต่าง: Tau² = 0.03, I² = 46%; หลักฐานคุณภาพต่ำ) และอาจเกี่ยวข้องกับอาการคลื่นไส้มากขึ้น (1 การศึกษา, สตรี 154 คน, RR 21.85, 95% CI 1.31 ถึง 364.37; หลักฐานคุณภาพต่ำ) และอาการท้องร่วง (1 การศึกษา, ผู้หญิง 154 คน, RR 40.85, 95% CI 2.52 ถึง 662.57; หลักฐานคุณภาพต่ำ) อาจมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยระหว่างไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดและการดูดเอาชิ้นส่วนของทารกที่เสียชีวิตในครรภ์ออกมา สำหรับการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (1 การศึกษา, สตรี 618 คน, RR 0.73, 95% CI 0.39 ถึง 1.37; หลักฐานคุณภาพต่ำ), การเสียเลือด (ค่าเม็ดเลือดหลังการรักษา (%) 1 การศึกษา, สตรี 50 คน, mean difference (MD) 1.40% 95% CI -3.51 ถึง 0.71; หลักฐานคุณภาพต่ำ), การบรรเทาอาการปวด (1 การศึกษา, สตรี 154 คน, RR 1.42, 95% CI 0.82 ถึง 2.46; หลักฐานคุณภาพต่ำ) หรือความพึงพอใจ/การยอมรับวิธีการรักษาของสตรี (1 การศึกษา, สตรี 45 คน, RR 0.67, 95% CI 0.40 ถึง 1.11; หลักฐานคุณภาพต่ำ)

การเปรียบเทียบอื่นๆ

จากการค้นพบจากการศึกษาเพียงครั้งเดียว ไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดมีประสิทธิภาพในการทำให้เกิดการแท้งบุตรได้อย่างสมบูรณ์มากกว่าการรอเพื่อให้เกิดการแท้งออกมาเอง (สตรี 614 คน, RR 1.25, 95% CI 1.09 ถึง 1.45) มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอดและไมโซพรอสทอลอมใต้ลิ้น (5 การศึกษา, ผู้หญิง 513 คน, average RR 0.84, 95% CI 0.61 ถึง 1.16; ความแตกต่าง: Tau² = 0.10, I² = 871%; หรือระหว่างไมโซพรอสทอลแบบรับประทานและเหน็บคลอดในแง่ของการทำให้เกิดการแท้งโดยสมบูรณ์ที่น้อยกว่า 13 สัปดาห์ (4 การศึกษา, สตรี 418 คน), average RR 0.68, 95% CI 0.45 ถึง 1.03; ความแตกต่าง: Tau² = 0.13, I² = 90%) อย่างไรก็ตามมีอาการปวดท้องน้อยมากกว่าในกรณีของไมโซพรอสทอลเหน็บช่องคลอด เมื่อเปรียบเทียบกับ การอมใต้ลิ้น (3 การศึกษา, ผู้หญิง 392 คน, RR 0.58, 95% CI 0.46 ถึง 0.74) การศึกษาเดียว (สตรี 46 คน) พบว่า ไมเฟพริสโตน มีประสิทธิผลมากกว่ายาหลอก: การแท้งเสร็จสิ้นในวันที่ 5 หลังการรักษา (สตรี 46 คน, RR 9.50, 95% CI 2.49 ถึง 36.19) อย่างไรก็ตาม คุณภาพของหลักฐานนี้ต่ำมาก: มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดอคติโดยมีสัญญาณของข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์และ intention-to-treat analysis ที่ไม่เหมาะสม ในการศึกษาที่รวบรวมเข้ามา และความไม่แม่นยำอย่างรุนแรงพร้อมช่วงความเชื่อมั่นที่กว้าง ไมเฟพริสโตน ไม่สามารถเร่งการแท้งได้อีกต่อไปเมื่อเพิ่มลงในสูตรยาไมโซพรอสทอล (3 การศึกษา, สตรี 447 คน, RR 1.18 ,95% CI 0.95 ถึง 1.47)

Share:

Misoprostol (ไมโสพรอสตอล) เป็นยาในกลุ่มโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ชนิดสังเคราะห์ เพื่อป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้จากการรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือยาเอ็นเสด (NSAIDs) ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ จากภาวะดังกล่าว รักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด ช่วยเร่งการคลอด หรืออาจใช้รักษาภาวะอื่นภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์

ยา mifepristone ผลข้างเคียง

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ควบคู่กับยาชนิดอื่นเพื่อยุติการตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์น้อย ๆ ที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ จึงอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเป็นยาเหน็บสำหรับทำแท้ง ในปัจจุบันกฎหมายไทยได้จัดให้ยาไมโซพรอสทอลเป็นยาควบคุมพิเศษที่ใช้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น

เกี่ยวกับยา Misoprostol  

กลุ่มยา ยารักษาโรคกระเพาะ ยาลดกรด
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ 
สรรพคุณ ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ รักษาภาวะตกเลือด เร่งการคลอด
กลุ่มผู้ป่วย ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยารับประทาน (ยาเม็ดและยาเหน็บ)

คำเตือนของการใช้ยา Misoprostol  

  • ห้ามใช้ยากับสตรีมีครรภ์ เพราะมีความเสี่ยงต่อภาวะแท้งการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกในครรภ์พิการ หากมีความจำในการรับประทานยานี้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียก่อนทุกครั้ง
  • ควรใช้ยาอย่างระมัดระวังสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียหรือเป็นโรคในกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของลำไส้ ภาวะขาดน้ำ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตต่ำหรือโรคที่ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ โรคไต
  • สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรและเด็กไม่ควรใช้ยานี้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยอย่างเพียงพอและตัวยาอาจส่งผ่านทางน้ำนมไปยังทารก
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีแนวโน้มตั้งครรภ์และยังไม่ได้รับการยืนยันด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ มีภาวะท้องนอกมดลูก อายุครรภ์มากกว่า 49 วัน เคยผ่าท้องคลอดบุตรหรือมีรอยแผลที่มดลูก มีภาวะรกเกาะต่ำหรือเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงที่มีอายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ อายุครรภ์น้อยกว่า 36 สัปดาห์ เพิ่งได้รับยาออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือยาเร่งคลอดอื่น ๆ  

ปริมาณการใช้ยา Misoprostol  

ยา Misoprostol มักใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยทั่วไปผู้ใหญ่ให้รับประทานวันละ 800 ไมโครกรัม โดยแบ่งรับประทาน 2-4 ครั้ง พร้อมอาหาร เป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ จนกว่าอาการจะดีขึ้น แต่ไม่ควรเกิน 8 สัปดาห์

สำหรับปริมาณการใช้ยาในสภาวะอื่นอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสุขภาพของแต่ละคน วัตถุประสงค์ในการรักษา ตัวยาหลักในการออกฤทธิ์ ความแรงของยา และดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา เช่น

ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารจากการใช้ยากลุ่มเอ็นเสด

  • ผู้ใหญ่: รับประทานวันละ 100-200 ไมโครกรัม แบ่งรับประทาน 2-4 ครั้ง

ยุติการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 49 วัน หรือน้อยกว่า)

  • ผู้ใหญ่: รับประทานวันละ 400 ไมโครกรัม โดยให้รับประทานหลังจากยามิฟีพริสโตน (Mifepristone)

กระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอด

  • ผู้ใหญ่: สอดยาชนิดควบคุมการปลดปล่อยยา ขนาด 200 ไมโครกรัม บริเวณช่องคลอด ซึ่งตัวยาจะค่อย ๆ ถูกปล่อยออกมา 7 ไมโครกรัมต่อชั่วโมงในเวลา 24 ชั่วโมง หรือ สอดยา ขนาด 25 ไมโครกรัม ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง

ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด

  • ผู้ใหญ่: รับประทานยา 400-600 ไมโครกรัม หรือ เหน็บยาทางทวารหนักหลังทารกคลอด แต่ให้ยาก่อนขั้นตอนการคลอดรก

การใช้ยา Misoprostol   

ก่อนการใช้ยา ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยา สมุนไพร อาหารเสริม หรือยาทุกชนิดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเสมอ รวมถึงใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์และอ่านฉลากอย่างละเอียด เนื่องจากตัวยามีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมักรับประทานหลังอาหารและการใช้ยาครั้งสุดท้ายของวันควรเป็นเวลาก่อนนอน เพื่อประสิทธิภาพยาสูงสุด ยกเว้นแพทย์สั่งเป็นกรณีพิเศษ

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนิเซียม ไฮดรอกไซด์ หรือยาที่กระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพราะผลข้างเคียงของยา Misoprostol มักจะก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ยาเกินปริมาณที่แพทย์กำหนดหรือใช้ติดต่อเป็นเวลานานนอกเหนือคำสั่งแพทย์ หากเกิดความผิดปกติหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์  

ในกรณีที่ลืมรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด สามารถรับประทานยาได้ทันที แต่หากใกล้ถึงเวลาให้ข้ามไปรับประทานยาในรอบถัดไป ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า และเมื่อมีอาการผิดปกติหรือรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์

การเก็บยาควรเก็บให้ห่างจากความร้อน ความชื้น แสงแดด และเก็บไว้ในที่ที่พ้นมือเด็ก รวมไปถึงไม่ควรเก็บยาหมดอายุหรือยาที่มีบรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพไม่ดี เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Misoprostol  

ในบางราย หลังการใช้ยาอาจเกิดผลข้างเคียง ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เมื่ออาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจำหรือรุนแรงมากขึ้น เช่น ท้องเสีย ปวดหัว ปวดท้อง มีแก๊สในท้องมาก อาเจียน ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด คลื่นไส้ มีผื่นขึ้น วิงเวียนศีรษะ มีการหดเกร็งของมดลูก มีเลือดออกจากช่องคลอด หรือความดันโลหิตต่ำซึ่งมักพบได้ค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในรายที่เกิดภาวะอาการช็อกแบบเฉียบพลันจากพิษของแบคทีเรีย (Toxic Shock) หรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic Shock)

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการแพ้ยา ทำให้เกิดผื่น อาการบวมตามใบหน้า ลิ้น หรือคอ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาในการหายใจ หรือความผิดปกติอื่น ๆ
  • อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีดำ
  • ถ่ายอุจจาระปนเลือดหรือมีสีดำ
  • ปัสสาวะปนเลือด
  • ความสามารถในการได้ยินเปลี่ยนแปลงไป หรือหูหนวก
  • มึนศีรษะ
  • มองเห็นไม่ชัด
  • เลือดออกหรือเกิดรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
  • หายใจมีเสียงวี๊ด ๆ หรือหายใจสั้น