รัฐโบราณในดินแดนไทยมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง

อิทธิพลของอาณาจักรโบราณในสังคมไทย
          อิทธิพลของอาณาจักรโบราณต่อสังคมไทยที่เห็นชัดเจน  คือ  การนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนบนผืนแผ่นดินไทย  เช่น  การสร้างสรรค์พระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสมัย  และเจดีย์รูปแบบต่าง ๆ เช่น  เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในสมัยสุโขทัย  เจดีย์ทรงลังกาที่ได้รับอิทธิพลจากลังกาและนครศรีธรรมราช  เจดีย์ทรงปรางค์ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมร  วรรณกรรมในพระพุทธศาสนา  เช่น  ไตราภูมิพระร่วง  มหาชาติคำหลวง  ตลอดจนประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา  เป็นต้น
          สำหรับศาสนาพรามหมณ์-ฮินดูก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยด้วยเช่นกัน  แม้จะไม่มากเท่าพระพุทธศาสนาก็ตาม  เช่น  การสร้างเทวรูปพระอิศวร  พระนารายณ์  หรือโบราณสถานศาลตาผาแดงในสมัยสุโขทัย  คติความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ  พระราชพิธีต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา  พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  และในสมัยรัตนโกสินทร์  พระราชพิธีต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา  พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ศิริพร ดาบเพชร  คมคาย มากบัว และประจักษ์ แป๊ะสกุล.ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

                 จนถึงสมัยอาณาจักรธนบุรี  อาณาจักรล้านนาได้ตกเป็นประเทศราชของไทยและต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2411 -2453 ได้ทรงรวมอาณาจักรล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ