สมัยธนบุรีจัดการปกครองเมืองประเทศราชไว้อย่างไร

หัวเมืองประเทศราช

สมัยธนบุรีจัดการปกครองเมืองประเทศราชไว้อย่างไร

เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช
เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี
การเสียกรุงครั้งที่ 2ก่อให้เกิดความเสียหายย่อยยับแก่เศรษฐกิจไทย นอกเหนือจากชาวไทยต้องบาดเจ็บล้มตายในสงครามกับพม่าหลายหมื่นคนแล้ว ผู้รอดชีวิตจำนวนมากต้องอพยพหนีตายในสภาพอดอยากยากแค้น บางส่วนอพยพหนีเข้าป่า บางส่วนซัดเซพเนจรหาที่พักพิงใหม่ เมื่ออดอยากหนักเข้าจึงใช้วิธีปล้นสะดมฆ่าฟันกันเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ล้มตายเพราะขาดอาหาร หรือไม่ก็ตายเพราะโรคระบาด พลเมืองบางส่วนก็หนีไปพึ่งพระบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี

อ้างอิง

การเมืองการปกครองสมัยกรุงธนบุรี(2310-2319)

สมัยธนบุรีจัดการปกครองเมืองประเทศราชไว้อย่างไร
สมัยธนบุรีจัดการปกครองเมืองประเทศราชไว้อย่างไร

การจัดระเบียบการปกครองของไทยสมัยธนบุรี ยังคงใช้รูปแบบเดิมที่เคยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากบ้านเมืองกำลังอยู่ในระยะเริ่มฟื้นตัวใหม่ๆ จึงยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ

* การปกครองส่วนกลาง (ภายในราชธานี)มีอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่าย
-ฝายทหาร คือ สมุหกลาโหม
-ฝ่ายพลเรือน คือ สมุหนายก
นอกจากนี้ยังมีเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ฝ่าย ได้แก่ นครบาล(กรมเมือง),พระธรรมาธิกรณ์(กรมวัง),พระโกษาธิบดี(กรมคลัง)
และพระเกษตราธิการ(กรมนา)
* การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ระดับ คือ หัวเมืองชั้นใน,ชั้นนอก และประเทศราช
-หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองขนาดเล็กอยู่รายรอบราชธานี เจ้าเมืองเรียกว่า “ผู้รั้ง”
-หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองขนาดใหญ่และอยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไปแบ่งออกเป็นหัวเมืองเอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญ
-หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาให้เจ้านายปกครองกันเองแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ได้แก่ ลาว เขมร และเชียงใหม่

          พัฒนาการทางด้านศาสนา สังคมและวัฒนธรรม

   1. พัฒนาการทางด้านศาสนา

หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา บ้านเมืองอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนต่างหนีเอาตัวรอด เมื่อพระเจ้าตากสิน ฯ ได้รวบรวมกำลังกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้จนเป็นปึกแผ่นแล้ว ในปีเดียวกันนั้นคือปี พ.ศ. 2310 ก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปกติสุขเช่นที่เคยเป็นมาก่อน จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระศรีภูริปรีชา ให้สืบเสาะหาพระเถระผู้รู้อรรถรู้ธรรมให้มาประชุมกันที่ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) พระเจ้าตากสิน ฯ ได้ทรงตั้งพระอาจารย์ดี วัดประดู่กรุงเก่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้สูงและมีอายุพรรษามากด้วย ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระพระเถระอื่น ๆ ขึ้นเป็นพระราชาคณะฐานานุกรมน้อยใหญ่ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยาให้สถิตอยู่ในพระอารามต่าง ๆ ในกรุงธนบุรี ให้สั่งสอนคันถธุระและวิปัสสนาธุระ แก่ภิกษุสามเณรโดยทั่วไป
เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา นอกจากบ้านเมือง ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม จะถูกเผาพลาญโดยสิ้นเชิงแล้ว บรรดาคัมภีร์พระไตรปิฎกก็พลอยถูกเผาสูญหายหมดสิ้นไปด้วย พระองค์จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สืบหารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกที่หลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงกรุงกัมพูชา แล้วเอามาคัดลอกสร้างเป็น พระไตรปิฎกฉบับหลวงไว้ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

     2. พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม

โครงสร้างทางสังคมไทยสมัยธนบุรีประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ได้แก่
-พระมหากษัตริย์ เป็นผู้ที่มีพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
-พระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ บรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดา
-ไพร่ ได้แก่ คนธรรมดาสามัญที่เป็นชายฉกรรจ์ ส่วนเด็ก ผู้หญิงหรือคนชราถือเป็นบริวารของไพร่
-ทาส หมายถึง บุคคลที่มิได้เป็นไทแก่ตนเองโดยสิ้นเชิง
-พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นผู้อบรมสั่งสอนคนในสังคมให้เป็นคนดี

           2.1 สภาพสังคมสมัยธนบุรี เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ภาวะสงคราม ทางราชการจึงต้องควบคุมกำลังคนอย่างเข็มงวดเพื่อเตรียมสำหรับต้านภัยพม่า

มีการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวง โดยการสักเลกที่แขนเพื่อป้องกันการหลบหนี

 2.2 การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีความเสื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงฟื้นฟูกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจแก่ราษฏร ดังนี้

* การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพระสังฆราชและพระราชาคณะขึ้นปกครองคณะสงฆ์ และให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ทั้งหมด

พระสงฆ์ที่มีการประพฤติไม่อยู่ในพระวินัยก็ให้สึกออกเสีย
* การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) วัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม)และวัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆังโฆสิตาราม) เป็นต้น
*  การตรวจสอบและคัดลอกพระไตรปิฏก เพื่อให้พระธรรมวินัยมีความบริสุทธิ์ โดยใช้ต้นฉบับพระไตรปิฏกจากวัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช

2.3 งานสร้างสรรค์ศิลปะและวรรณกรรม

* ความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปแขนงต่างๆ ในสมัยธนบุรีไม่ปรากฏเด่นชัดนัก เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดรัชกาล

ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจและบรรดาช่างฝีมือถูกพม่ากวาดต้อนไปจำนวนมาก
* งานสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นงานซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ และงานก่อสร้างพระราชวังเดิม
* งานวรรณกรรม ได้แก่ รามเกียรติ์ (พระราชนิพนธ์บางตอนในสมเด็จพระเจ้าตากสิน),ลิลิตเพชรมงกุฏ (หลวงสรวิชิต),

และโคลงยอพระเกียรติ์พระเจ้ากรุงธนบุรี(นายสวนมหาดเล็ก) เป็นต้น

   3. ด้านการศึกษา

* วัดเป็นสถานศึกษาของเด็กไทยในสมัยธนบุรี พระสงฆ์เป็นผู้สอนให้ความรู้ทั้งด้านหนังสือและอบรมความประพฤติ และเด็กชายเท่านั้นที่มีโอกาสได้เล่าเรียน
* การเรียนวิชาชีพ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ซึ่งจะถ่ายทอดวิชาชีพตามบรรพบุรุษของตน เช่นวิชาช่างปั่น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง เป็นต้น
* การศึกษาสำหรับเด็กหญิง
มีการเล่าเรียนการเย็บปักถักร้อย การปรุงแต่งอาหารและวิชางานบ้านงานเรือนสำหรับกุลสตรี ซึ่งถ่ายทอดกันมาตามประเพณีโบราณ มีเฉพาะในหมู่ลูกหลานขุนนางและพระราชวงศ์ ส่วนวิชาหนังสือไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียน

                      พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

       1.ความสัมพันธ์กับประเทศพม่า

* ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏอยู่ในรูปของความขัดแย้งและการทำสงคราม โดยไทยเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของพม่า หลังจากได้รับเอกราชมีการสู้รบกันถึง 9 ครั้ง (พ.ศ.2311-2319)ส่วนใหญ่พม่าเป็นฝ่ายปราชัยต้องถอยทัพกลับไป
* สงครามไทยกับพม่าในสมัยธนบุรีครั้งสำคัญที่สุด คือ
ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี(ร.1)และเจ้าพระยาสุรสีห์สองพี่น้องได้ร่วมกัน ป้องกันเมืองพิษณุโลก
อย่างสุดความสามารถ แต่พม่ามีกำลังไพร่พลเหนือกว่าจึงตีหักเอาเมืองได้

2. ความสัมพันธ์กับกัมพูชา

* สภาพการเมืองภายในกัมพูชาไม่สงบราบรื่น เจ้านายเขมรมักแตกแยกความสามัคคีและแย่งชิงอำนาจกันอยู่เนืองๆ บางกลุ่มนิยมไทยแต่บางกลุ่มฝักใฝ่กับฝ่ายญวน เมื่อไทยติดศึกกับพม่า เขมรมักตั้งตัวเป็นอิสระและคอยหาโอกาสซ้ำเติมไทยอยู่เสมอ
* ไทยทำสงครามขยายอาณาเขตในดินแดนกัมพูชา รวม 3 ครั้ง กองทัพไทยยกไปตีกรุงกัมพูชาในสองครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2312 และ พ.ศ.2314 เป็นผลให้กัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของไทย
* การจลาจลแย่งชิงอำนาจในหมู่เจ้านายเขมร ใน พ.ศ.2322 พระราชวงศ์เขมรแย่งชิงอำนาจกันเอง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่1)ยกทัพไปควบคุมสถานการณ์แต่เกิดเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี พระยาสรรค์ก่อกบฏ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงต้องยกทัพกลับ

3. ความสัมพันธ์กับลาว

* ไทยเป็นฝ่ายทำสงครามขยายอาณาเขตในดินแดนลาว 2 ครั้ง ครั้งแรกสงครามตีเมืองจำปาศักดิ์ พ.ศ.2319 เกิดจากลาวก่อกบฏต่อไทย ชัยชนะของกองทัพกรุงธนบุรีครั้งนี้ ทำให้เมืองจำปาศักดิ์และหัวเมืองลาวตอนล่างตกอยู่ใต้อำนาจของไทยตั้งแต่บัดนั้น
* สงครามตีเมืองเวียงจันทน์ พ.ศ.2321 เกิดความขัดแย้งระหว่างเสนาบดีกับเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบเป็นผลให้ลาวตกเป็น
ประเทศราชของไทยทั้งหมด แม่ทัพไทยยังได้อัญเชิญพระแก้วมรกดและพระบางมาไว้ที่ไทยด้วย

 4. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา

* นครเชียงใหม่ ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา นับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา เชียงใหม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าและไทยสลับกัน โดยพม่าใช้เชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารทุกครั้งที่ยกทัพมาตีไทย
* กองทัพกรุงธนบุรียกไปตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2317 สามารถขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ ล้านนาจึงตกอยู่ใต้อำนาจไทยอีกครั้ง

5. ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู

* หัวเมืองมลายูตกเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อันได้แก่ เมืองปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงแยกตัวเป็นอิสระ
* กองทัพกรุงธนบุรีไม่พร้อมที่จะยกไปปราบ เนื่องจากหัวเมืองมลายูอยู่ห่างไกลเกินไป ตลอดรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงปล่อยให้เป็นอิสระ

                    เหตุการณ์ตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี

1. สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงมีสติฟั่นเฟือน สำคัญว่าพระองค์บรรลุเป็นพระอรหันต์และบังคับให้พระสงฆ์กราบไหว้

2. พระยาสรรค์ ขุนนางผู้หนึ่งก่อกบฏ เมื่อ พ.ศ.2324 ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรีและคุมตัวสมเด็๋จพระเจ้าตากสินฯเอาไว้

3. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กลับจากราชการสงครามที่เขมร เข้าปราบกบฏและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ที่ประชุมขุนนางพร้อมใจกันอัญเชิญให้

ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325

4.สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกสำเร็จโทษ ในขณะนั้นทรงมีพระชนม์ 48 พรรษาและรวมเวลาครองราชย์ 15 ปี(การเมืองการปกครองสมัยกรุงธนบุรี(2310-2319):ออนไลน์)

**การเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับพม่า การติดต่อกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรีเป็นความขัดแย้งตลอดรัชกาล โดยเริ่มจากการรบครั้งแรกที่ค่ายโพธิ์สามต้นเป็นต้นไป รวม10 ครั้ง(วิมล จิโรจพันธุ์ : ประชิด สกุณะพัฒน์ : อุดม เชยกีวงศ์.  2548:  246  )

บรรณานุกรม

การเมืองการปกครองสมัยกรุงธนบุรี(2310-2319).  สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน   2556, จาก     http://jiab007.wordpress.com/2011/03/27/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5 /วิมล จิโรจพันธุ์ : ประชิด สกุณะพัฒน์ : อุดม เชยวงศ์.  (2548).     ประวัติศาสตร์ชาติไทย.   กรุงเทพฯ: อัลฟ่า มิเล็นเนียม.

ลักษณะการปกครองในสมัยธนบุรีมีลักษณะอย่างไร

โครงสร้างทางการปกครองในสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายกับการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในระบบการปกครองแบบเทวาสิทธิราชย์ เวลามีราชการต่างๆ จะมีเสนาบดีเข้าเฝ้าถวายความคิดเห็น โดยวางโครงสร้างทางการปกครองกว้างๆ ดังนี้

สมัยธนบุรีมีลักษณะการจัดการปกครองหัวเมืองประเทศราชอย่างไร

หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด

หัวเมืองชั้นนอกในสมัยธนบุรีจัดการปกครองอย่างไร

หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ...

การปกครองหัวเมืองในสมัยธนบุรีแบ่งออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง

คือ การปกครองหัวเมืองต่างๆ ภายในพระราชอาณาจักร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ หัวเมืองพระยามหานคร และหัวเมืองประเทศราช 2.1 การปกครองหัวเมืองพระยามหานคร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ