น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชัน และมะนาว

รายงานผลการประเมินโครงการฉบับสมบูรณ์
โครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด

ประจำปีการศึกษา 2564

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

รายงานผลการประเมินโครงการฉบับสมบูรณ์
โครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด

ประจำปีการศึกษา 2564

จัดทำโดย
สถาพร พจนวิเศษ
กันติศา อังศุภานิช
อรยา รัตนมณี

เสนอ
อาจารย์ อยับ ซาดัดคาน

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำนำ

โครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดไปใช้ขจัดคราบสกปรกบน
กระจก เพื่อส่งเสริมการนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์และเพื่อสร้างเสริมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม โดยดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา
และความต้องการ การกำหนดจุดพัฒนา การวางแผน การปฏิบัติงานตามแผน การ
นิเทศติดตามผล และประเมินโครงการ เพื่อนำผลการประเมินโครงการไปใช้ในการพัฒนา
งานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผลการดำเนินงานช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองมี
กรอบการพัฒนาตนเองชัดเจน มีการวิเคราะห์เป้าหมายกับสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ และคำตอบ
คือการพัฒนาเพิ่ม ส่งผลให้นักศึกษามีคุณภาพตามจุดหมายของหลักสูตร
ขอขอบคุณอาจารย์ อยับ ซาดัดคาน (ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ) ที่ให้ความร่วมมือในการ
ดำเนินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด และประเมินโครงการน้ำยาเช็ด
กระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ทำให้การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับคือ หมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูด สามารถนำไปใช้ขจัดคราบ
สกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไปได้ซึ่งยังช่วยลดสารพิษตกค้าง และผู้เกี่ยวข้อง
สำหรับใช้ในการพัฒนางาน ให้มีความก้าวหน้าต่อไป

กันติศา อังศุภานิช
(นางสาว กันติศา อังศุภานิช)

หัวหน้าโครงการ

สารบัญ ข

หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข-ค
สารบัญภาพ ง
สารบัญตาราง จ
บทคัดย่อ ฉ
บทที่ 1 บทนำ 1
ความเป็นมาของโครงการ 1
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1
ขอบเขตดำเนินงานของโครงการ 1
เป้าหมายของโครงการ 2
งบประมาณของโครงการ 2
ปัจจัยในการดำเนินโครงการ 3
กิจกรรมในการดำเนินโครงการ 3-4
นิยามศัพท์ 4
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4-5
กระบวนการดำเนินโครงการ 5-6
บทที่ 2 เอกสารและแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 7
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ 7-12
หลักการแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ 12-19
กรอบแนวคิดการประเมินผลโครงการ 19
บทที่ 3 วิธีการประเมินโครงการ 20
รูปแบบการประเมินโครงการ 22-21
วิธีการการประเมินโครงการ 21
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 21

สารบัญ (ต่อ) ค

หน้า
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ 21-22
การเก็บรวบรวมข้อมูล 22
การวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ 22
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 22-23
บทที่ 4 ผลการประเมินโครงการ 24
ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม 24-26
ผลการประเมินด้านปัจจัย 27-29
ผลการประเมินด้านกระบวนการ 30-32
ผลการประเมินด้านผลผลิต 33-35
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 36
รูปแบบการประเมิน 36
สรุปผลการประเมินโครงการ 37
ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลการประเมินไปใช้ 37
ข้อเสนอแนะสำหรับหัวข้อการประเมินต่อไป 37
บรรณนุกรม 38
ภาคผนวก 39
ภาคผนวก ก แบบประเมินของโครงการ 40
ภาคผนวก ข ภาพกระบวนการผลิตในการจัดทำโครงการ 41-49

สารบัญภาพ ง

ภาพที่ 1 หลักการ PDCA หน้า
ภาพที่ 2 หลักการประเมินผลรูปแบบ CIPP MODEL 16
ภาพที่ 3 กรอบแนวคิดการประเมินผลโครงการ 19
ภาพที่ 4 รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL 19
20-21

สารบัญตาราง จ

ตารางที่ 1 แสดงการใช้งบประมาณโครงการ หน้า
ตารางที่ 2 ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ 2
ตารางที่ 3 ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน (ตามกระบวนการ PDCA) 4-5
ตอนที่ 1 ผลการประเมินโครงการ 6
ตารางที่ 1 ผลการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม 24-26
ตารางที่ 2 ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัย 27-29
ตารางที่ 3 ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ 30-32
ตารางที่ 4 ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต 33-35

บทคัดย่อ ฉ

ชื่อเรื่องการประเมินโครงการ น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด
ผู้รับผิดชอบ นาย สถาพร พจนวิเศษ

นางสาว กันติศา อังศุภานิช
นางสาว อรยา รัตนมณี
ระยะเวลาการประเมินโครงการ
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการและทำการประเมินโครงการ วันที่ 15 กันยายน
พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564
วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อศึกษาผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดไปใช้ขจัดคราบสกปรก
บนกระจก
2.เพื่อส่งเสริมการนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
3.เพื่อสร้างเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิธีดำเนินโครงการ
การประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ดำเนินในระหว่าง
วันที่ 15กันยายน 2564 - วันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย
ประชากรในชุมชนขุนทะเล อำเภอสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการคือ
การประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ใช้รูปแบบ การ
ประเมินแบบ CIPP Model

บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีใบชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย และมีสารเคมีที่มีพิษรวมอยู่ด้วย

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
แก้ไขสารพิษตกค้าง ทั้งในน้ำ ในอากาศ ในดิน รวมทั้งในอาหาร ล้วนมีสารตกค้างทั้งสิ้น (ไกรฤกษ์ เป
สะโล, 2561)

น้ำยาเช็ดกระจกที่ใช้กันทั่วไปมีส่วนผสมของ บิวทิล เซลโลโซล และแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ ซึ่ง
เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ซึ่งสารเคมีนี้มีอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นดอกอัญชันสี
ม่วง ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณใกล้บ้านในสวนริมถนน คนในชุมชนของเราโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักนำดอกอัญชัน
มาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทาผม ทาคิ้ว เพื่อให้ดกดำ ใช้แทนสีผสมอาหาร ชึ่งเป็นน้ำชาลดอาการ
เบาหวาน เป็นต้นนอกจากนี้มะกรูดและดอกอัญชันยังช่วยลดคราบสกปรกและยังไม่มีสารเคมีเพราะน้ำยา
เช็ดกระจกที่ชื้อมาอาจจะมีสารเคมีและยังอาจทำอันตรายร่างกายเราด้วย (ไกรฤกษ์ เปสะโล, 2561)

นอกจากนี้มะกรูดและดอกอัญชันยังช่วยลดคราบสกปรกและยังไม่มีสารเคมีเพราะน้ำยา เช็ดกระจก
ที่ซื้อมาอาจจะมีสารเคมีและยังอาจทำอันตรายร่างกายเราด้วย (ไกรฤกษ์ เปสะโล, 2561)
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจก
2. เพื่อประเมินการส่งเสริมการนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
3. เพื่อประเมินการสร้างเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ขอบเขตของโครงการ

ขอบเขตด้านเนื้อหาในการประเมิน
1. น้ำหมักชีวภาพจากอัญชันและมะกรูด จะใช้อัญชันสีม่วงพันธ์กลีบชั้นเดียว และพันธ์กลีบซ้อน
2. กระจกที่ใช้ทำการทดลอง ใช้กระจกเงาและกระจกใสที่ความสกปรกตามปกติ
ขอบเขตด้านพื้นที่
ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลขุนทะเล อำเภอสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในหมู่ที่ 7 ตำบลขุนทะเล อำเภอสุราษฎร์ธานี จังหวัด
สุราษฎร์ธานี จำนวน 10 คน

เป้าหมายของโครงการ 2

ด้านปริมาณ
เพื่อจัดทำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดที่เป็นพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น จำนวน
10ขวด ภายใน 1 เดือน
สมาขิกในกลุ่มจะมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและ
มะกรูด ร้อยละ 80%

ด้านคุณภาพ
น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด สามารถช่วยลดคราบสกปรกบนกระจกได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อจัดทำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ให้กับประชาชนจำนวน 10 คน
ในผู้ที่สนใจน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดแบบไร้สารเคมี

งบประมาณของโครงการ
งบประมาณในการดำเนินโครงการมาจากสมาชิกในกลุ่มรวมกันเป็นเงินจำนวน 200 บาท ใน
การปฏิบัติโครงการ โดยวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการบางส่วนมีไว้อยู่แล้ว ซึ่งสามารถ
จัดทำเป็น ตารางแจกแจงการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการได้ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงการใช้งบประมาณโครงการ “น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด”

ปัจจัยในการดำเนินโครงการ 3

วัสดุอุปกรณ์
1. ดอกอัญชันสีม่วง 2. มะกรูดสด 3. น้ำตาลทราย 4. ตะแกรงเหล็ก 5. มีด
6. หม้อ 7. น้ำเปล่าสะอาด 8. โหลสำหรับหมักผัก 9. ขวดสำหรับใส่บรรจุภัณฑ์

บุคคลที่ร่วมดำเนินโครงการ
สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย สถาพร พจนวิเศษ, กันติศา อังศุภานิช, อรยา รัตนมณี และผู้มีส่วน

ได้ส่วนเสีย ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านในชุมชน และมารดาของสมาชิกในกลุ่ม

เอกสาร แหล่งเรียนรู้ สถานประกอบการ
สมาชิกในกลุ่มได้ทำการศึกษาจากอินเตอร์เน็ตในการใช้ประกอบข้อมูล และศึกษาความรู้ในการทำ

น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด จากแหล่งเรียนรู้คือ มารดาของสมาชิกในกลุ่ม

อาคารสถานที่
ที่พักอาศัยของสมาชิกในกลุ่ม ตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ที่ 7 ตำบลขุนทะเล อำเภอสุราษฎร์ธานี จังหวัด

สุราษฎร์ธานี

กิจกรรมในการดำเนินงานโครงการ
กิจกรรมประเมินผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจก
รายละเอียดกิจกรรมการดำเนินโครงการ
1. กิจกรรมประเมินผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจก
1.1 วัตถุประสงค์

1.1.1 เพื่อประเมินผลน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดว่านำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบน
กระจกได้จริง

1.1.2 เพื่อแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในน้ำยาเช็ดกระจก
1.2 การดำเนินโครงการ

1.2.1 เริ่มจากหาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือ ดอกอัญชันและมะกรูด
1.2.2 นำดอกอัญชันและผิวมะกรูดมาต้มลงในน้ำเปล่าสะอาด และใส่น้ำตาลตามลงไป นำมา
หมักไว้เป็นเวลา 15 วัน
1.2.3 กรองกากและนำใส่ขวดและติดฉลากบนผลิตภัณฑ์น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชัน
และมะกรูด
1.2.4 นำผลิตภัณฑ์น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดที่ได้ไปเช็ดกระจกใส
1.3 เครื่องมือในการประเมินผล
1.3.1 ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL

1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 4
1.4.1 แก้ปัญหาการใช้สารเคมีในน้ำยาเช็ดกระจกหันมาใช้แบบธรรมชาติ
1.4.2 สามารถนำน้ำยาเช็ดกระจกไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไปได้
1.4.3 กระจกมีความสะอาดขึ้นโดยใช้น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด

นิยามศัพท์
มะกรูด คือ พืชในตระกูลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ใน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด
อัญชัน คือ พืชมีดอกชนิดใบเลี้ยงคู่ เป็นพืชเถาเลื้อย ตระกูลเดียวกับถั่ว มีอายุประมาณ 1 ปีจึงจัดเป็น

พืชอายุสั้น ลำต้นเลื้อย และพันรอบหลัก อาจยาวได้ถึง 6-7 เมตร มีดอกที่สวยงาม โดยปกติมีสีน้ำเงิน มี
ถิ่นกำเนิดในแอฟริกา

น้ำยาเช็ดกระจก คือ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้กระจกมีความแวววาวสดใส สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก ลด
ความแห้งประหยัดแรง เช็ดออกง่าย และลดการเกาะตัวของฝุ่นละออง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
• น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูด สามารถนำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ด
กระจกทั่วไปได้ และช่วยลดสารพิษตกค้าง
• สมาชิกในกลุ่มจะได้รับความรู้จากการศึกษาและปฏิบัติการทำน้ำยาเช็ดกระจก และยังสามารถนำความรู้
จากการปฏิบัตินั้นไปต่อยอดหรือพัฒนาเป็นอาชีพหลักได้ในอนาคต

ตารางที่ 2 ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยมีปฏิทินปฏิบัติงานตามโครงการดังนี้

5

กระบวนการการดำเนินโครงการ
รายงานผลการจัดทำโครงการ “น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด” ได้มีการนำหลักการคุณภาพ
ของ เดมมิ่ง “PDCA” มาใช้ในการดำเนินการ 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
2. ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ (Do)
3. ขั้นตอนการร่วมกันประเมิน (Check)
4. ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง (Act)
1.ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนในการดำเนินโครงการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.1สมาชิกในกลุ่มร่วมกันประชุมปรึกษากันในการเสนอชื่อโครงการ พร้อมทั้งร่วมกันศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กับชื่อโครงการ และศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ
1.2สมาชิกในกลุ่มได้จัดทำโครงน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด พร้อมทั้งวางแผนและแนวทาง
ขั้นตอนในการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งจัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินโครงการ
1.3 สมาชิกในกลุ่มได้มีการประสานงานไปยังสถานที่ในการจัดทำโครงการ
1.4 สมาชิกในกลุ่มจัดเตรียมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในการดำเนิน โครงการ
2.ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ (Do)
ขั้นตอนนี้เป็นการลงมือปฏิบัติดำเนินโครงการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
2.1 สมาชิกในกลุ่มได้ทำการเสนอโครงการต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขออนุมัติในการดำเนินโครงการ
2.2 ดำเนินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ในช่วงเวลาตามปฏิทินที่ทางโครงการได้
กำหนดไว้ โดยสมาชิกในกลุ่มได้ลงมือปฏิบัติโครงการ โดยมีการปฏิบัติดังนี้

ศึกษาข้อมูลและสรรพคุณดอกอัญชันและมะกรูด รวมถึงการนำดอกอัญชันและมะกรูดมาผลิตเป็น
น้ำยาเช็ดกระจก
สมาชิกในกลุ่มร่วมลงมือปฏิบัติการทำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดและหมักทิ้งไว้เป็น
เวลา 15 วัน
ทำการนำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดผ่านการผลิตเสร็จแล้วนำมาบรรจุภัณฑ์ลงในขวด

6
• สมาชิกในกลุ่มได้นำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ทำการแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่หรือผู้
ที่สนใจ
3.ขั้นตอนการร่วมกันประเมิน (Check)
โครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดได้จัดทำแบบประเมินในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นแบบประเมินเชิง
คุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ เพื่อ ประเมินโครงการ
และวัดผลของการดำเนินโครงการ
4.ขั้นตอนการร่วมกันปรับปรุง (Act)
สมาชิกในกลุ่มได้ทำการติดตาม ประเมินผลโครงการ แล้วรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จัดทำโครงการ รวมไปจนถึง
ความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะต่างๆ ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ มาสรุปผลเพื่อนำไปปรับปรุง
และพัฒนาในการดำเนินโครงการในครั้งถัดไป
จากที่ได้นำหลักการคุณภาพของวงจรคุณภาพเดมมิ่ง “PDCA” มาใช้ในการดำเนินโครงการ สามารถแจกแจงเป็น
ตารางได้ดังนี้

ตารางที่ 3 ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน (ตามกระบวนการ PDCA)

5

บทที่ 2
เอกสารและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ
2. หลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ
1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ

นิวัติ เรืองพานิช (2517) ได้อธิบายไว้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึง สิ่งที่
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีประโยชน์สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้หรือ มนุษย์สามารถนำมาใช้
ประโยชน์ ทั้งนี้รวมถึงพลังงานของมนุษย์ด้วย

เกษม จันทร์แก้ว (2544) ให้ความหมายของคําว่าทรัพยากรธรรมชาติไว้ว่าหมายถึง สิ่งต่างๆ ซึ่งมีอยู่
ตามธรรมชาติและให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

เสรี พงศพ ิศและคณะ (2536) ได้สรุปเรื่อง ภูมิปัญญาหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาทองถิ่น
(local wisdom) หมายถึง พื้นฐานของความรูข องชาวบ้าน ที่เรียนรูแ ละมีประสบการณท ั้งทางตรงและทาง
ออ ม หรือความรูที่สะสมสืบต่อกันมา นํามาใชแกป ญหาเป็นสติปัญญา เป็นองคความรูของชาวบ้าน

สุดาวรรณ มีเจริญ (2553) การศึกษาเรื่องมะกรูดมีฤทธิ์ในการยับยั้งและฆ่าเชื้อ สแตปฟิโลคอคไค
ผลการศึกษาพบว่าผลบวกต่อการทดสอบโคแอคกุเลส จากการทดสอบในหลอดทดลอง (โคแอคกุเลส
เป็นน้ำย่อยที่เชื้อกลุ่ม สแตปฟิโลคอคไคสร้างขึ้น ทำให้พลาสมาของคนหรือสัตว์เกิดการตกตะกอนซึ่ง
เป็นคุณสมบัติที่ใช้กำหนดว่าเชื้อสเตรนใดที่ที่เป็นตัวก่อโรค) ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปพิจารณาเป็น
ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทางการค้า ที่ใช้สำหรับสัตว์ต่อไปเพื่อลดการติดเชื้อทางผิวหนังอย่างไรก็ตามควร
มีการทดลองในการใช้กับซับโดยตรงก่อนเพื่อศึกษาผลข้างเคียงอื่นๆที่มีผลกระทบต่อการยับยั้งเชื้อและ
ผลต่อสัตว์

อรุษา เชาวนลิขิต และคณะ (2552) ศึกษางานวิจัยเรื่องผลกระทบ ph และความคงตัวของสารสกัด
จากอัญชัน ผลการวิจัยพบว่าการนำสารสกัดดอกอัญชันมาใช้ประโยชน์นั้นจะต้องคำนึงถึงปริมาณของสาร
แอนโทไชยานินที่มีอยู่ในตัวอย่างดอกอัญชัน ด้วยเพราะปริมาณสารแอนโทไชยานิน จะมีปริมาณที่แตก
ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาและลักษณะในการเก็บรักษาดอกอัญชัน โดยที่ความคงตัวของสารแอน
โทไชยานินในดอกอัญชัน จะลดลงเมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ
เช่น โครงสร้างอุณหภูมิและความเป็นกรดด่างซึ่งความคงตัวของสารแอนโทไชยานินในดอกอัญชันนี้จะส่ง
ผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงของเฉดสีและความเข้มของสีของสารสกัดดอกอัญชัน

พนิดา กล่ำคลองตัน (2559) ศึกษาเรื่องน้ำหมักชีวภาพจากใบเตยและมะกรูดผลการศึกษาพบว่าน้ำ
หมักชีวภาพจากใบเตยและมะกรูดมีแก๊สเล็กน้อยมีกลิ่นออกเปรี้ยวออกหวานเล็กน้อยมีใบเตยลอยอยู่
ด้านบนและมีฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบนการที่นำหมักชีวภาพมีกินเปรี้ยวเล็กน้อยและฝ้าสีขาวลอยอยู่
บนผิวด้านบนแสดงว่ามีจุลินทรีย์เกิดขึ้นสามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้งานได้ถ้าไม่มีฝ้าสีขาวลอยอยู่
ด้านบนและมีกลิ่นเห็นแสดงว่าน้ำหมักชีวภาพเสียใช้ไม่ได้ถ้ามีกลิ่นเหมือนจะบูดให้เติมน้ำตาลทรายแดง
ลงไปเพิ่มในระหว่างการหมักห้ามปิดฟ้าภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่างการ
มักจะเกิดก๊าซต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทน เป็นต้น

แนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจ 8

แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม และยังมีการกำหนดทิศทางและเป้าหมาย ทิศทางของพฤติกรรม
นั้นอีกด้วย คนที่มีแรงจูงใจสูง จะมีการใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่ เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มี
แรงจูงใจต่ำจะไม่มีการแสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิกการกระทำ ก่อนบรรลุเป้าหมาย โดยมีผู้ให้นิยามของ
ทฤษฎีแรงจูงใจไว้ดังนี้
ชาญศิลป์วาสบุญมา (2546, หน้า 26) กล่าวว่า แรงจูงใจในการทำงาน หมายถึง พลังทั้งจากภายในและ
ภายนอก ซึ่งช่วยกระตุ้นพฤติกรรมให้บุคคลทำในสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จและบรรลุตามเป้าหมายด้วยความเต็มใจ
และเป็นไปตามกระบวนการจูงใจของแต่ละบุคคล
ธิดา สุขใจ (2548, หน้า 8) กล่าวว่า แรงจูงใจในการทำงาน หมายถึง สิ่งใดๆที่เป็นแรงผลักดันหรือกระตุ้น
ให้บุคคลปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมด้วยความเต็มใจ เพื่อที่จะนำมาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีมูลเหตุ
จูงใจที่สำคัญคือ ความต้องการ ความพึงพอใจในการทำงาน จะนำมาซึ่งการปฏิบัติที่ดีของบุคลากร ทำให้บุคลากร
มีความและจงรักภักดีต่อองค์กร ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อตวามสำเร็จขององค์กรในระยะยาว การจูงใจมีความ
สำคัญต่อการทำงานของบุคคล เพราะแรงจูงใจกระตุ้นให้การทำงานของแต่ละคนจะผลักดันให้เป็นไปตามเป้า
หมายที่ต้องการได้ โดยทั่วไปมนุษย์มิได้ทำงานเต็มความสามารถที่มีอยู่ของตนเอง ซึ่งการจูงใจด้วยแรงกระตุ้น
จากภายใน และสิ่งจูงใจจากภายนอกตัวบุคคล เช่น รางวัล หรือคำชมเชยต่างๆ เป็นต้น จะทำให้มนุษย์ตอบ
สนองต่อสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น
ธร สุนทรา ยุทธ (2551, หน้า 295) กล่าวว่าแรงจูงใจเป็นพลังผลักดันให้มนุษย์มีการเคลื่อนไหวไปสู่ เป้า
หมายที่แต่ละคนต้องการ หากขาดแรงจูงใจมนุษย์อาจเปรียบได้กับหุ่นยนต์ตัวหนึ่งที่เคลื่อนไหวได้ ตามคำสั่ง
หรือความต้องการของคนอื่น และพฤติกรรมหลายๆ อย่างของมนุษย์จะไม่เกิดขึ้นถ้าปราศจากแรงจูงใจ ซึ่งแรง
จูงใจมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ 1) แรงจูงใจส่งเสริมให้ทำงานสำเร็จ เป็นแรงผลักดันให้แสดงพฤติกรรม
แรงผลักดันนั้นๆ อาจเกิดจากภายในหรือภายนอกก็ได้ 2) แรงจูงใจกำหนดแนวทางของพฤติกรรมชี้ว่าควรเป็น
ไปในรูปแบบใดนำพฤติกรรมให้ตรงทิศทาง เพื่อที่จะบรรลุเป้าประสงค์คือความสำเร็จของหน่วยงานหรือองค์การ
(ภารดี อนันต์นาวี, 2555, หน้า 113; จอมพงศ์ มงคลวนิช, 2555, หน้า 217) การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับ
สมาชิกในองค์การ เป็นทักษะสำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารต้องเรียนรู้และฝึกฝน และนำไปปฏิบัติให้เกิด
ประสิทธิผลแก่องค์การ (จันทรานี สงวนนาม, 2553, หน้า 252)
ประเภทของแรงจูงใจ นักจิตวิทยาแบ่งการจูงใจออกเป็น 2 ประเภทคือ
(จันทรานี สงวนนาม, 2553, หน้า 253-254) 15 1) การจูงใจภายใน หมายถึง สภาวะของบุคคลที่มีความ
ต้องการจะกระทำบางสิ่งบางอย่าง ด้วย จิตใจของตนเอง โดยไม่ต้องใช้สิ่งล่อใดๆ มากระตุ้น ซึ่งถือว่ามีคุณค่าต่อ
การปฏิบัติงานต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง การจูงใจประเภทนี้ได้แก่ ความต้องการ (Needs) ความปรารถนา (Desire)
ความทะเยอทะยาน (Ambition) ความสนใจพิเศษ (Special Interest) และทัศนคติหรือเจตคติ
(Attitude) 2) การจูงใจภายนอก หมายถึง สภาวะของบุคคลที่ได้รับการกระตุ้นจากภายนอก เพื่อนำไปสู่การ
แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายของผู้กระตุ้น การจูงใจภายนอกได้แก่ เป้าหมาย ความคาดหวัง ความก้าวหน้า
สิ่งล่อใจต่างๆ เช่นการชมเชย การติเตียน การให้รางวัล การประกวด การลงโทษ การแข่งขันเป็นต้น สรุปได้ว่า
แรงจูงใจเป็นสภาวะของบุคคลที่มีหรือไม่มีความต้องการจะกระทำบางสิ่งบางอย่าง ที่ต้องอาศัยแรงจูงใจภายใน
คือความปรารถนาความต้องการจากภายในตนเอง และแรงจูงใจภายนอก คือจุดมุ่งหมายความคาดหวัง หรือสิ่ง
ล่อใจต่างๆ จะเห็นได้ว่าแรงจูงใจคือ สิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าที่ทำให้คนมีพลังในการใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ละ
แสวงหาความรู้ใหม่ในการทำงานด้วยความเต็มใจและมีความสุขกับการทำงานเพื่อจะบรรลุเป้าหมายหรือ
วัตถุประสงค์ขององค์การ

องค์ประกอบของแรงจูงใจ 9

องค์ประกอบแรงจูงใจมี 2 ประการ (สัมมา รธนิธย์, 2553, หน้า 135-136)
1) องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมภายนอกที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2) องค์ประกอบภายใน ได้แก่
2.1 ความต้องการ (Needs) ในการจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จ
2.2 เจตคติ (Attitudes) เป็นความเชื่อ ความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะชอบหรือไม่ ชอบพอใจหรือไม่
พอใจ หากมีเจตคติที่ดีต่องานหรือเพื่อนร่วมงานก็เป็นแรงผลักดันให้บุคคล ปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมาย แต่
หากมีเจตคติไม่ดีก็ย่อมทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ยาก
2.3 ค่านิยม (Values) เป็นการพิจารณาถึงคุณค่าของตนพึงพอใจที่จะปฏิบัติ พยายามเลือกที่จะทำตามค่า
นิยมที่ตนเองมี เช่นการใช้ของที่มีราคาแพง เป็นต้น
2.4 ความวิตกกังวล (Anxiety) ความวิตกกังวลในการทำงาน อาจก่อให้เกิดอุปสรรคและ เกิดแรงผลักดัน
ให้สามารถดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบได้ ในการที่บุคคลนั้นมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงที่อาจจะสามารถ
ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน
สรุปได้ว่า แรงจูงใจมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมภายนอก และ
องค์ประกอบภายใน ได้แก่ ความต้องการ เจตคติความเชื่อ ค่านิยม ความวิตกกังวล ซึ่งประกอบกันเป็นแรง
จูงใจให้บุคคลนั้นสามารถประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน

แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้คือ กระบวนการที่ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางความคิด มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ได้

จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การเห็น รวมถึงผ่านการใช้สื่ออุปกรณ์ เครื่องมือเป็นส่วนส่งผ่าน โดยมีผู้ให้
นิยามของการเรียนรู้ ดังนี้

(Klein 1991:2) กล่าวว่า การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ
หรือสัญชาตญาณ

(สุรางค์โค้วตระกูล :2539) กล่าวว่า การเรียนรู้(Learning) คือ การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจาก
ประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมา
จากประสบการณ์หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมนั้นอาจจะคงอยู่ระยะหนึ่ง หรือตลอดไปก็ได้

แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาตนเอง
ความต้องการในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เพิ่มพูนความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ไปตาม

วัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล รวมทั้งสามารถดำรงอยู่ในสังคมหรือประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ควร
มีแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาตนเอง โดยมีผู้ให้นิยามของทฤษฎีการพัฒนาตนเอง ดังนี้

กรกนก วงศ์พันธุเศรษฐ์ (อ้างถึงในเกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์, 2545) ได้กล่าวว่า การพัฒนาตนเอง หมายถึง
การขยายขอบเขตความสามารถในการใช้ความรู้ความสามารถของบุคคลได้อย่างเต็มที่และประยุกต์ใช้ความรู้
และประสบการณ์ที่ได้รับมาเพื่อแก้ปัญหาหรือหาข้อยุติปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างออกไป

ศศลักษณ์ ทองปานดี (2551) การพัฒนาตนเอง หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมบุคคลให้มี
ความรู้ความสามารถ มีทักษะการทำงานดีขึ้น ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการทำงานอันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงาน

10

มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และการพัฒนาบุคคลควรส่งเสริม และพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
อย่างทั่วถึงสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ความสำคัญของการพัฒนาตนเอง

ในปัจจุบันการศึกษาเรื่องการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากสภาพของโลกและ เหตุการณ์ใน
ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่ยุคของข่าวสารข้อมูล (Information Era)
หรือที่เรียกว่าเป็นยุคของโลกคลื่นที่สาม (Third Wave) ให้เกิดการรวมตัวของทรัพยากรขึ้น เมื่อโลกอยู่ใน
สภาวะที่ไร้พรมแดนการแข่งขันเพื่อช่วงชิงทรัพยากรจึงมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งอาจเปรียบได้ว่าเป็นสงครามข่าวสาร
ในด้านข้อมูลความรู้จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปโดยไม่พยายามก้าว
ให้ทันจะกลายเป็นผู้ล้าหลังและเสียประโยชน์ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นการพัฒนาตนเองเพื่อให้เรียนรู้ได้เท่าทัน
การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อความอยู่รอดของชีวิตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น (ศศินา ปาละสิงห์, 2547)
องค์ประกอบในการพัฒนาตนเอง
องค์ประกอบในการพัฒนาตนเองด้านต่างๆ ดังนี้
1. บุคลิกท่าทาง นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะกิริยาท่าทางคือการสื่อสารที่สำคัญซึ่งจะ ทำให้ผู้อื่นรู้ถึงจิตใจ
ตลอดจนความนึกคิดของบุคคลผู้นั้น ดังนั้น กริยาท่าทางหรือบุคลิกภาพที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกกลุ่ม
จึงทำให้ผู้อื่นยกย่องและเชื่อถือไว้วางใจ
2. การพูด นับเป็นการสื่อสารที่จะทำให้ผู้อื่นปฏิเสธหรือยอมรับในตัวผู้พูดได้เช่นกัน ซึ่งการพูดในที่นี้รวมทั้งการ
พูดคุยแบบธรรมดาและการพูดแบบเป็นทางการ การพูดที่จะประสบความสำเร็จนั้นมีหลักการเบื้องแรกที่สำคัญ
คือการระมัดระวังมิให้คำพูดออกไปเป็นการประทุษร้ายจิตใจผู้ฟัง
3. พัฒนาคุณสมบัติทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเป็นทางที่จะทำให้ผู้อื่น ยอมรับและยกย่อง
บุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนอื่น ย่อมจะทำให้ได้รับความสนับสนุนและร่วมมือ
4. พัฒนาคุณสมบัติเฉพาะตัว ทำให้ได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ ดังนั้นนอกจากความรู้ความสามารถ
แล้ว คุณสมบัติเฉพาะตัวบางประการก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้บุคคลได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เป็นผู้มี
คุณธรรม ได้แก่ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและประพฤติตนอยู่ภายใต้คุณธรรม ความดีตามบรรทัดฐานของสังค
มนั้นๆ
กระบวนการในการพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จ ควรจะมีกระบวนการตามขั้นตอนซึ่ง (สุวรีเที่ยว ทัศน์, 2542) ได้
กล่าวถึงกระบวนการในการพัฒนาตนเอง สรุปดังนี้
1. สำรวจตัวเอง การที่คนเราจะประสบความสมหวังหรือไม่สาเหตุที่สำคัญ คือ จะต้องมีการสำรวจตนเองเพราะ
ตนเองเป็นผู้กระทำตนเอง คนบางคนไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเนื่องจากบุคคล มีจุดอ่อนหรือคุณสมบัติที่ไม่ดี
การที่จะทราบว่าตนมีคุณสมบัติอย่างไร ควรจะได้รับการสำรวจตนเอง ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนา
ตนเองให้ดีขึ้น เพื่อจะได้มีชีวิตที่สมหวังต่อไป
2. การปลูกคุณสมบัติที่ดีงาม โดยคุณสมบัติของบุคคลสำคัญของโลกเป็นแบบอย่าง ซึ่งคุณสมบัติของบุคคลไม่ใช่
สิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด แต่สามารถเกิดขึ้นได้
3. การปลูกใจตนเอง เป็นสิ่งสำคัญเพราะบุคคลที่มีกำลังใจดีย่อมมุ่งมั่นดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตที่
กำหนดไว้
4. การส่งเสริมตนเอง คือการสร้างกำลังกายที่ดีสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง และสร้างกำลังความคิดของตนให้เป็นเลิศ
5. การดำเนินการพัฒนาตนเอง เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างตนเองให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้

11

6. การประเมินผล เพื่อจะได้ทราบว่าการดำเนินการพัฒนาตนเองตามที่บุคคลได้ตั้งเป้าหมาย ไว้ดำเนินการไปได้
ผลมากน้อยเพียงไร จึงจำเป็นต้องอาศัยการวัดผลและการประเมินผล สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาตนเอง คือ
การที่เพื่อให้เพิ่มพูนความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล รวม
ทั้งสามารถดำรงอยู่ในสังคมหรือประสบความสำเร็จในชีวิต

แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทาน มา นานกว่า ๓๐ ปี

ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง
และความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองตลอดจนการใช้
ความรู้และคุณธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตซึ่ง ต้องมี"สติปัญญา และความเพียร" เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำ
ไปสู่ความสุขในชีวิตที่แท้จริง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนใน
ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความ
พอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใดๆ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความ รอบคอบ และความระมัดระวัง
อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง
เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึก
ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ
ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้ง
ด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี มูลนิธิชัยพัฒนา (2017).
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้รวมถึงการ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิด
ความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ความพอประมาณ คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้และ พอ
ประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็ม
ความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะ
ความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกันก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และ
ครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป
ความมีเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่ง
การตัดสินใจที่ดีควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุรวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ
ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม
ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานใน บริษัทใหญ่
หรือแม้แต่ความไม่

12
แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพา
ตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์การมีรายได้หลายทาง
เพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน
ที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้าง
ภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ความรู้และประสบการณ์จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่าพื้นฐาน
ความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลัก
คุณธรรมก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อทุกคน
สามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อ
แลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน
เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้เช่น การแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ในการ
ทำธุรกิจ ของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุนเพื่อเป็นการต่อยอดความรู้รวมไป จนถึงการ
แบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคมไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสาเพื่อสร้างสังคม
ที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาทด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม
เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน
และการดำรงชีวิต
2. หลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ
แนวคิด ความหมาย และความสำคัญของประเมินโครงการ

พิสณุ ฟองศรี ได้กล่าวว่าการประเมิน หมายถึง กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยการนำสารสนเทศหรือ
ผลจากการวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด (พิสณุ ฟองศรี, 2550 : น. 4 อ้างถึงใน เชาว์ อินใย, 2553 : น. 3)

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ได้กล่าวว่า การประเมินค่าหรือการประเมินผลหมายถึง การตัดสิน คุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่ง
ถือเป็นนิยามพื้นฐานในทางการจัดการนิยมนิยามการประเมินค่าหรือการ ประเมินผลว่าเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด
สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ การตัดสินใจเลือกทางเลือก โดยอาศัยสารสนเทศที่ถูกต้องเหมาะสม เมื่อผ่านการ
สังเคราะห์ให้เป็นองค์ความรู้จะทำให้เกิดปัญญาได้ (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2549 : น. 6 อ้างถึงใน เชาว์ อินใย, 2553 :
น. 3)

เชาว์ อินใย ได้ให้ความหมายของการประเมินหมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณค่า ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่า มี
ความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยนำสารสนเทศหรือผลจากการวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อช่วยในการ
ตัดสินใจ ตีค่าผลการดำเนินการนั้นๆ ว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการ ส่วนคำว่า
โครงการหมายถึง ส่วนย่อย ส่วนหนึ่งของแผนงาน ซึ่งประกอบด้วยชุดของกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างมีระบบ มีการกำหนด
ทรัพยากร ในการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน โดยออกแบบมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ ดัง
นั้นจึงสรุปได้ว่าการประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณค่าโดย การค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
จากชุดของกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างมีระบบมาประกอบการตัดสินใจตีค่าผลการดำเนินการนั้นว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ใช้
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ จัดการ (เชาว์ อินใย, 2553 : น. 4)

ความสำคัญของการประเมินโครงการ 13

เชาว์ อินใย ได้อธิบายความสำคัญของการประเมินโครงการไว้ว่า การประเมินโครงการเป็น ส่วนหนึ่งของการ
วิจัย เป็นกระบวนการที่มีระบบเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งยังเป็นกระบวนการที่มีระบบเพื่อตัดสิน
ความสำเร็จของโครงการอีกด้วยการประเมินโครงการเป็นการดำเนินงานที่ไม่ใช้ความพยายามในการสร้งางทฤษฎี
หรือพัฒนาองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ การประเมินโครงการที่นำมาใช้ในทาสังคมศาสตร์นั้น เป็นการเตรียม
สารสนเทศเพื่อใช้ในการปรับปรุงโครงการทางสังคม เหตุผลประการสำคัญที่จำเป็นต้องประเมินโครงการก็คือมีทาง
เลือกในการดำเนินโครงการได้มากมายที่จะทำให้การดำเนินงานโครงการมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง
ประเมินโครงการว่า ประสบความสำเร็จหรือไม่ (เชาว์ อินใย, 2553 : น. 12)

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ
แนวคิด หลักการและโมเดลการประเมินของไทเลอร (Tyler’s Rationale and Model of Evaluation)

แนวคิดทางการประเมินของไทเลอร จัดเป็นแนวคิดของการประเมินในระดับชั้นเรียน โดยไทเลอรมีความเห็นว่าการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
Ralph W.Tyler : 1943 (90-93) ไทเลอรได้เริ่มต้นการนําเสนอแนวความคิดทางการ ประเมินโดยยึด
กระบวนการเรียนการสอนเป็นหลักกล่าว คือ ไทเลอรได้นิยามว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นกระบวน
การที่มุ่งจัดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาในตัวของผู้เรียน ด้วยเหตุนี้จุดเน้นของการ
เรียนการสอน จึงขึ้นอยู่กับการที่ผู้เรียนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังการสอน ดังนั้น เพื่อให้การสอน
เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนตามที่มุ่งหวังกระบวนการ ดังกล่าวจึงมีขั้นตอนในการดำเนินการ
ดังนี้
ขั้นที่ 1 ต้องมีการระบุหรือกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนลงไปว่าเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียน การสอนแลวผู้เรียน
ควรเกิดพฤติกรรมใด หรือสามารถกระทำสิ่งใดได้บ้างหรือที่เรียกว่า วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ขั้นที่ 2 ต้องระบุต่อไปว่าจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ดังกล่าวนั้นมีเนื้อหาใดบ้างที่ผู้เรียน จะต้องเรียนรู้หรือมีสาระ
ใดบ้างที่เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรูแลวจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ขั้นที่ 3 หารูปแบบและวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 ประเมินผลโครงการโดยการตัดสินด้วยการวัดผลทางการศึกษา หรือการทดสอบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน

แนวคิด หลักการและโมเดลการประเมินของ ครอนบาค (Cronbach’s Concepts and Model)
ตามทัศนะของครอนบาค เชื่อว่าการประเมินเป็นการรวบรวมข้อมูลการใช้สารสนเทศเพื่อการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการ
จัดโปรแกรมทางการศึกษาในส่วนของการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานั้น ครอนบาคได้แบ่งออกเป็น
3 ประเภท คือ
1.การตัดสินใจเพื่อปรับปรุงรายวิชา
2.การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล
3.การจัดการบริหารโรงเรียน
ซึ่งครอนบาคได้มีความเห็นว่า การประเมินนั้นไม่ควรกระทำโดยใช้แบบทดสอบอย่างเดียว จึงได้เสนอแนวทางการ
ประเมินเพิ่มเติมไว้อีก 4 แนวทาง คือ
1.การศึกษากระบวนการ (Process Studies) คือการศึกษาภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน

2.การวัดศักยภาพของผู้เรียน (Proficiency Measurement) ครอนบาคได้ให้ความสำคัญต่อ คะแน1น4
รายข้อมากกว่าคะแนนจากแบบทดสอบทั้งฉบับ และให้ความสำคัญต่อการสอนเพื่อวัดสมรรถภาพของผู้
เรียนระหว่างการเรียนการสอนว่ามีความสำคัญมากกว่าการสอบประจำปลายภาคเรียนหรือการสอบปลายปี
3.การวัดทัศนคติ (Attitude Measurement) ครอนบาคใหทัศนะว่า การวัดทัศนคติเป็นผลที่เกิดจาก
การจัดการเรียนการสอนส่วนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญเช่นกัน
4.การติดตาม (Follow - Up Studies) เป็นการติดตามผลการทำงาน หรือภาวะการเลือกศึกษาต่อใน
สาขาต่างๆ รวมทั้งการให้บุคคลที่เรียนในระดับขั้นพื้นฐานที่ผ่านมาแล้วได้ประเมินถึงข้อดี และข้อจำกัดของ
วิชาต่างๆ ว่าควรมีการปรับปรุงเพิ่มเติมอย่างไรเพื่อช่วยในการพัฒนาหรือปรับปรุงรายวิชาเหล่านั้นต่อไป

สรุปแนวคิดของครอนบาคข้างต้นแลวจะเห็นว่าครอนบาคมีความเชื่อว่าการประเมินที่เหมาะสมนั้นต้อง
พิจารณาหลายๆ ด้าน ดังที่กล่าวมาแลวทั้ง 4 ประการ โดยเน้นว่าการประเมินโครงการด้านการเรียนการ
สอนนั้นไม่ควรประเมินเฉพาะแต่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้เท่านั้น แต่ควรประเมินหรือตรวจสอบผลข้างเคียงของ
โครงการด้วย ครอนบาคยังมีความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการประเมินโครงการด้าน
การเรียนการสอนก็คือการค้นหาข้อบกพร่องของโครงการ เพื่อจะได้หาทางปรับปรุงแก้ไขกระบวนการเรียน
การสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
แนวคิด หลักการและโมเดลการประเมินของ สครีฟเวน

(Scriven’s Evaluation Ideologies and Model) Scriven, 1967 สครีฟเวน ได้ให้นิยามการ
ประเมินไว้ว่า “การประเมิน” เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวของกับการรวบรวมข้อมูลการตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือ
เพื่อเก็บข้อมูลและการกำหนดเกณฑ์ประกอบในการประเมิน เป้าหมายสำคัญของการประเมินก็คือ การ
ตัดสินคุณค่าใหกับกิจกรรมใดๆ ที่ต้องการจะประเมิน สครีฟเวน ได้จําแนกประเภทและบทบาทของการ
ประเมินออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1. การ ประเมินระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation) เป็น
บทบาทของการประเมินงานกิจกรรม หรือโครงการใดๆ ที่บ่งชี้ถึงข้อดีและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในระหว่างการดํา
เนินงานนั้นๆ อาจเรียกการประเมินประเภทนี้ว่า เป็นการประเมินเพื่อการปรับปรุง 2. การประเมินผลรวม
(SummativeEvaluation) เป็นบทบาทของการประเมินเมื่อกิจกรรมหรือโครงการใดๆ สิ้นสุดลงเพื่อเป็น
ตัวบ่งชี้ถึงคุณคาความสำเร็จของโครงการนั้นๆ จึงอาจเรียกการประเมินประเภทนี้ว่าเป็นการประเมินสรุปรวม

นอกจากนี้สครีฟเวน ยังได้เสนอสิ่งที่ต้องประเมินออกเป็นส่วนสำคัญอีก 2 ส่วน คือ 1. การประเมิน
เกณฑ์ภายใน (Intrinsic Evaluation) เป็นการประเมินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บข้อมูลรวมทั้งคุณภาพของคุณลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ 2. การประเมิน
ความคุ้มค่า (Payoff Evaluation) เป็นการประเมินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของโครงการ ทฤษฎี
หรือสิ่งอื่นๆ ของโครงการเป็นการประเมินในส่วนซึ่งเป็นผลที่มีต่อผู้รับบริการจากการดำเนินโครงการ

สามารถสรุปได้ว่า สครีฟเวนให้ความสำคัญต่อการประเมินเกณฑ์ภายในมากแต่ขณะเดียวกัน จะต้อง
ตรวจสอบผลผลิตในเชิงสัมพันธ์ของตัวแปรระหว่างกระบวนการกับผลผลิตอื่นๆ ที่เกิดขึ้นด้วย แนวคิด
ทางการประเมินของสครีฟเวนได้พัฒนาไปจากแนวคิดเดิมของการประเมินที่ยึดตามวัตถุประสงค์แต่เพียง
อย่างเดียว มาเป็นการประเมินที่มุ่งเน้นถึงผลผลิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม หรือโครงการใดๆ ใน
ทุกด้านโดยให้ความสนใจต่อผลผลิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นผลโดยตรง

หลักวงจรคุณภาพเดมมิ่ง “PDCA” 15

วงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA Cycle) หรือ วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) คือ แนวคิดการพัฒนาการทำงานเพื่อ
ควบคุมคุณภาพงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พัฒนามาจากแนวคิดของวอล์ทเตอร์ซิวฮาร์ท (Walter Shewhart)
นักสถิติในงานอุตสาหกรรม ต่อมาแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) นัก
จัดการบริหารคุณภาพ ได้นำเสนอและเผยแพร่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงาน
ภายในโรงงานให้ดีขึ้นซึ่งจะใช้ในการค้นหาปัญหาอุปสรรคในขั้นตอนการทำงานโดยพนักงาน จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า
วงจรเดมมิ่ง หรือ วงจร PDCA
แนวคิดวงจร PDCA เป็นแนวคิดที่ง่ายไม่ซับซ้อน สามารถนำไปใช้ได้ในเกือบจะทุกกิจกรรมจึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่าง
แพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก PDCA เป็นอักษรนำของภาษาอังกฤษ 4 คำคือ
1. การวางแผน (Plan) คือ การวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการทำงานที่ได้ผลงาน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การ
พัฒนาสิ่งใหม่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน มีส่วนที่สำคัญเช่นการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์การจัด
อันดับความสำคัญของเป้าหมาย กำหนดการดำเนินงานกำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการ
และกำหนดงบประมาณที่จะใช้การวางแผนที่ดีควรต้องเกิดจากการศึกษาที่ดีมีการวางแผนไว้รัดกุมรอบคอบปรับเปลี่ยน
ได้ตามความเหมาะสมของงานและเหตุการณ์แผนที่ได้ต้องช่วยในการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นและสามารถช่วยลดความสูญ
เสียที่อาจเกิดขึ้นได้การวางแผนควรมีการกำหนด
- การกำหนดเป้าหมาย
- วัตถุประสงค์
- กำหนดผู้รับผิดชอบ
- ระยะเวลาดำเนินการ
- งบประมาณที่กำหนด
- มีการเสนอเพื่อขออนุมัติก่อนดำเนินการ เป็นต้น
2. ปฏิบัติตามแผน (Do) คือ การดำเนินการเพื่อให้ได้ตามแผนที่มีการกำหนดไว้อาจมีการกำหนดโครงสร้างคณะทำงาน
รองรับการดำเนินการเช่น คณะกรรมการ ฯลฯ กำหนดวิธีในการดำเนินงานขั้นตอน ผู้ดูแลรับผิดชอบ ผู้ตรวจสอบและ
ทำการประเมินผล การปฏิบัติการควรมี
- มีคณะทำงานคอยควบคุม กำหนดนโยบาย ติดตามตรวจสอบการทำงาน
- มีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจน
- มีวิธีการดำเนินการที่สามารถดำเนินการได้จริง ไม่ยากจนเกินความสามารถของผู้ที่จะทำ
- มีผู้รับผิดชอบดำเนินการที่ชัดเจน เพียงพอ
- มีระยะเวลาที่กำหนดที่เหมาะสม
- มีงบประมาณในการทำงาน เป็นต้น
3. ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) คือ ขั้นตอนที่เริ่มเมื่อมีการดำเนินโครงการตามข้อ 2 ควรจะต้องทำการ
ประเมินผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ อาจประเมินในส่วนการประเมินผลงานการดำเนิน
การ การประเมินผลการดำเนินตามขั้นตอน และการประเมินผลงานตามเป้าหมายของแผนงานที่ได้มีการกำหนดไว้ใน
การประเมินนี้เราอาจสามารถทำได้เองโดยใช้คณะกรรมการที่รับผิดชอบในแผนการดำเนินงานภายในเป็นการประเมิน
ตนเอง แต่การใช้คนภายในอาจทำให้ขาดความน่าเชื่อถือหรือประเมินผลได้ไม่เต็มที่ จะดีหากมีการตั้งคณะประเมินจาก
ภายนอกมาช่วย เพราะน่าจะได้ผลการประเมินที่ดีกว่าทีมงานภายใน เพราะอาจมีปัญหาช่วยกันประเมินผลให้ดีเกินจริง
แนวทางที่จะใช้ในการประเมินเช่น
- กำหนดวิธีการประเมินแยกให้ชัดเจนสามารถทำได้ง่าย
- มีรูปแบบการประเมินตรงกับเป้าหมายในงานที่ทำ

16

- มีคณะผู้จะเข้าทำการประเมินที่มีความรู้เพียงพอ
- แนวคำตอบผลของการประเมิน ต้องสามารถตอบโจทย์และตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้
- เน้นการประเมินปัญหา / จุดอ่อน / ข้อดี/ จุดแข็ง ที่มีในการดำเนินการ เป็นต้น
4. ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อเนื่อง (Act) คือ การนำผลประเมินที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนในการ
ปรับปรุงต่อไป ในส่วนนี้ควรจะเสนอแนะปัญหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาระบบที่มีอยู่แล้ว
ให้ดียิ่งขึ้นไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด
- ทำการระดมสมอง เพื่อหาทางแก้ไข ปัญหา / จุดอ่อน / ข้อดี/ จุดแข็ง ที่พบ ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
- นำผลที่ได้จากการระดมสมองเสนอผู้เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาใช้วางแผนต่อไป
- กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผนครั้งต่อไป
- กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินงานครั้งต่อไป

การพัฒนาระบบ PDCA เป็นการปรับปรุงพัฒนาระบบงานที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก โดยควรจะมีการดำเนิน
การต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นที่มาขอแนวคิดการควบคุมคุณภาพและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการปรับปรุง
พัฒนาต่อเนื่องควรมีการดำเนินการ

วงจรคุณภาพ คือ กระบวนการทำงานที่เปรียบกับวงล้อ ที่เต็มไปด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การ
ดำเนินตามแผน การตรวจสอบ การปรับปรุง แก้ไข เมื่อวงล้อหมุนไป 1 รอบ จะทำให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้และหากการดำเนินงานนั้นเกิดสะดุด แสดงว่ามีบางขั้นตอนหายไป (โทชาวะ 2544 : 117-122)

หลักการประเมินโครงการรูปแบบ PDCA ดังนี้

ภาพที่ 1 หลักการ PDCA

17
หลักการประเมินผลโครงการรูปแบบ CIPP MODEL

“การประเมิน คือ กระบวนการของการระบุหรือ กำหนดข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงการดำเนินการเก็บข้อมูล และนำข้อมูลที่
เก็บมาแล้วนั้นมาจัดทำให้เกิดสารสนเทศที่มีประโยชน์เพื่อนำเสนอสำหรับใช้เป็นทางเลือกในการประกอบการตัดสินใจ”
(Danial . L. Stufflebeam) แบบจำลอง(Model) หมายถึง วิธีการสื่อสารทางความคิด ความเข้าใจ ตลอดจน
จินตนาการที่มีต่อปรากฎการณ์หรือเรื่องราวใดๆ ให้ปรากฏโดยใช้การสื่อในลักษณะต่างๆ เช่น แผนภูมิแผนผังระบบ
สมการ และรูปแบบอื่น เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย และสามารถนำเสนอเรื่องราวได้อย่างมีระบบ การประเมินผลโครงการ
นั้น มีแนวคิดและโมเดลหลายอย่าง ณ ที่นี้ขอเสนอแนวคิดและโมเดล การประเมินแบบซิปป์หรือ CIPP Model ของ
สตัฟเฟิลบีม (Danial . L. Stufflebeam) เพราะเป็นโมเดลที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน

แนวคิด การประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) ในปี ค.ศ. 1971สตัฟเฟิลบีม และคณะ ได้
เขียนหนังสือทางการประเมินออกมาหนึ่งเล่ม ชื่อ “Educational Evaluation and decision Making” หนังสือเล่มนี้ได้
เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เพราะให้แนวคิดและวิธีการทางการวัดและประเมินผล ได้อย่างน่าสนใจและทันสมัยด้วย

นอกจากนั้นสตัฟเฟิลบีมก็ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการประเมินและรูปแบบของการประเมินอีกหลายเล่มอย่างต่อเนื่อง
จึงกล่าวได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีการประเมิน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน เรียก
ว่า “CIPP Model”“CIPP MODEL” เป็นการประเมินที่เป็นกระบวนการต่อเนื่อง มีจุดเน้นที่สำคัญ คือ ใช้ควบคู่กับการ
บริหารโครงการ เพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา วัตถุประสงค์การประเมิน คือ การให้
สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ เน้นการแบ่งแยกบทบาทของการทำงานระหว่างฝ่ายประเมินกับ ฝ่ายบริหารออกจากกันอย่าง
เด่นชัด กล่าวคือฝ่ายประเมินมีหน้าที่ระบุจัดหา และนำเสนอสารสนเทศให้กับฝ่ายบริหาร ส่วนฝ่ายบริหารมีหน้าที่เรียกหา
ข้อมูล และนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีทั้งนี้เพื่อ
ป้องกันการมีอคติในการประเมิน และ เขาได้แบ่งประเด็นการประเมินผลออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) เป็นการประเมินให้ได้ข้อมูลสำคัญ เพื่อช่วย
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นการตรวจสอบว่าโครงการที่จะทำสนองปัญหา
หรือความต้องการจำเป็นที่แท้จริงหรือไม่วัตถุประสงค์ของโครงการชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายขององค์การ
หรือ นโยบายหน่วยเหนือหรือไม่ เป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้ในแง่ของโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ
หรือไม่ เป็นต้น

การประเมินสภาวะแวดล้อมจะช่วยในการตัดสินเกี่ยวกับเรื่อง โครงการควรจะทำในสภาพแวดล้อมใด ต้องการจะบรรลุ
เป้าหมายอะไร หรือต้องการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะอะไร เป็นต้น
2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน (Input Evaluation : I) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึง ความเป็นไปได้
ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร
วัสดุอุปกรณ์เวลา รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดำเนินงาน เป็นต้น

การประเมินผลแบบนี้จะทำโดยใช้เอกสารหรืองานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว หรือใช้วิธีการวิจัยนำร่องเชิงทดลอง (Pilot
Experimental Project) ตลอดจนอาจให้ผู้เชี่ยวชาญ มาทำงานให้อย่างไรก็ตาม การประเมินผลนี้จะต้องสำรวจสิ่งที่มี
อยู่เดิมก่อนว่ามีอะไรบ้าง และตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใดใช้แผนการดำเนินงานแบบไหน และต้องใช้ทรัพยากรจาก
ภายนอกหรือไม่
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) เป็นการประเมินระหว่างการดำเนินงานโครงการ เพื่อหาข้อ
บกพร่องของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไขปรับปรุงให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลาทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ
โดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมิน

18

กระบวนการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (Strengths) และจุดด้อย
(Weakness) ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ มักจะไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว
การประเมินกระบวนการจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ เพื่อการตรวจสอบการดำเนิน
ของโครงการโดยทั่วไป การประเมินกระบวนการมีจุดมุ่งหมาย คือ

3.1 เพื่อการหาข้อบกพร่องของโครงการ ในระหว่างที่มีการปฏิบัติการ หรือการดำเนินงานตามแผนนั้น
3.2 เพื่อหาข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของโครงการ
3.3 เพื่อการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการดำเนินงานของโครงการ
4.การประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขี้นกับ
วัตถุประสงค์ของโครงการ หรือความต้องการ/ เป้าหมายที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก
ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการและการประเมินผล เรื่องผลกระทบ (Impact) และผลลัพธ์
(Outcomes ) ของนโยบาย / แผนงาน / โครงการ โดยอาศัยข้อมูลจากการประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้อง
ต้นและกระบวนการร่วมด้วย จะเห็นได้ว่า การประเมินแบบ CIPP เป็นการประเมินที่ครอบคลุมองค์ประกอบของ
ระบบทั้งหมด ซึ่งผู้ประเมินจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน กำหนดประเด็นของ
ตัวแปรหรือตัวชี้วัดกำหนดแหล่งข้อมูลผู้ให้ข้อมูล กำหนดเครื่องมือการประเมิน วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนเมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาของการประเมิน
ผลโครงการ เพื่อจำแนกประเภทของการประเมินผลโครงการโดยละเอียดแล้ว เราสามารถจำแนกได้ว่าการประเมิน
ผลโครงการมี 4 ระยะดังต่อไปนี้
1) การประเมินผลโครงการก่อนการดำเนินงาน (Pre-evaluation) เป็นการประเมินว่ามีความจำเป็นและความ
เป็นไปได้ในการกำหนดให้มีโครงการหรือแผนงานนั้นๆหรือไม่ บางครั้งเรียกการประเมินผล ประเภทนี้ว่า การ
ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) หรือการประเมินความต้องการที่จำเป็น (Need Assessment)
2) การประเมินผลโครงการขณะดำเนินงาน (On-going Evaluation) เป็นการประเมินผลโครงการเพื่อติดตาม
ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน (Monitoring) และการใช้ทรัพยากรต่างๆ
3)การประเมินผลโครงการเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน (Post-evaluation) เป็นการประเมินว่าผลของการดำเนิน
งานนั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่วางไว้หรือไม่
4) การประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการ (Impact Evaluation) เป็นการประเมินผลโครงการ ภายหลัง
จากการสิ้นสุดการดำเนินโครงการหรือแผนงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น ซึ่ง
อาจจะได้รับอิทธิพลจากการมีโครงการหรือปัจจัยอื่นๆ

หลักการ CIPP MODEL มีรูปแบบดังนี้ 19

ภาพที่ 2 หลักการประเมินผลรูปแบบ CIPP MODEL

กรอบแนวคิดการประเมินผลโครงการ

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

ภาพที่ 3 กรอบแนวคิดการประเมินผลโครงการ

บทที่ 3
วิธีการประเมินโครงการ

วิธีการประเมินของโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด มีกระบวนการขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. รูปแบบการประเมินโครงการ
2. วิธีการประเมินโครงการ
3. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
4. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ผลการประเมินงาน
รูปแบบการประเมินโครงการ

การประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL
ของสตัฟเฟลบีม ( D.L. Stufflebeam, 1997 , P. 261-265 ) ดังนี้

ภาพที่ 4 รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL

21

วิธีการประเมินโครงการ
โครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด มีวิธีการประเมินโครงการแบบ การประเมินโครงการ

คุณภาพ โดยใช้หลักการวงจรเดมมิ่ง “PDCA” ตามแนวคิด “CIPP” ของสตัฟเฟลบีม ในการติดตาม
และประเมินผลโครงการ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและ
มะกรูด มีดังนี้

ประชากร คือ ประชาชนในพื้นที่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและ
มะกรูด ในหมู่ที่ 7 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 10 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ ผู้ที่สนใจในโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดในหมู่ที่
7 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 10 คน
***โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ

การประเมินโครงการใช้กระบวนการศึกษาคุณภาพ จึงมีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการน้ำยาเช็ด
กระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ การสังเกต การมีส่วนร่วมและการบันทึกภาพ

22

โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด มีจำนวน 10 ฉบับ ดังนี้
ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ได้แก่ เพศ อายุอาชีพ การศึกษา รายได้ โดย
เป็นแบบปลายเปิดให้เลือกตอบในช่องที่กำหนด
ส่วนที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด โดยใช้แบบประเมิน
CIPP MODEL มี 4 ด้าน จำนวน 12 ข้อ ดังนี้
1.1 สภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ( Context ) จำนวน 3 ข้อ โดยผู้ตอบสามารถเขียนรายละเอียดการตอบได้อย่าง
อิสระ
1.2 ด้านปัจจัย ( Input ) จำนวน 3 ข้อ โดยผู้ตอบสามารถเขียนรายละเอียดการตอบได้อย่างอิสระ
1.3 ด้านกระบวนการ ( Process ) จำนวน 3 ข้อ โดยผู้ตอบสามารถเขียนรายละเอียดการตอบได้
อย่างอิสระ
1.4 ด้านผลผลิต ( Product ) จำนวน 3 ข้อ โดยผู้ตอบสามารถเขียนรายละเอียดการตอบได้อย่าง
อิสระ
ส่วนที่ 3 ปัญหาหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานในการจัดทำโครงการ โดยเป็นแบบปลายเปิดให้ตอบ
แบบบรรยาย
การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำได้ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยมีรายละเอียดในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. แจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่าจะทำการติดต่อสัมภาษณ์เพื่อในการประเมินผลโครงการ
2. ใช้เวลาสัมภาษณ์ 5-10 นาทีต่อคนโดยประมาณ
3. ผู้สัมภาษณ์ทำการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้ในการเคราะห์ข้อมูลของโครงการ

ต่อไป
การวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ
วิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 1 การทำให้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาอยู่ในสภาพที่สะดวกและง่ายต่อการนำไปวิเคราะห์
ขั้นตอนที่ 2 ทำดัชนีหรือกำหนดรหัสของข้อมูล ซึ่งเป็นการจัดระเบียบของเนื้อหา คือ การจัดข้อมูลโดยการใช้คำ
หลักซึ่งอาจมีลักษณะเป็นวลีหรือข้อความหนึ่งมาแทนข้อมูลที่บันทึกไว้ในบันทึกภาคสนาม ส่วนที่เป็นการบันทึก
พรรณนา หรือบันทึกละเอียดส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นข้อมูลในการบันทึกพรรณนาส่วนนั้นเป็นเรื่อง
เกี่ยวกับอะไร คำหลัก (วลีหรือข้อความ) ที่กำหนดขึ้นนั้นจะมีลักษณะเป็นมโนทัศน์ (concep) ซึ่งมีความหมาย
แทนข้อมูลบันทึกละเอียดส่วนนั้น การจัดทำดัชนีหรือกำหนดรหัสของข้อมูลนั้น สามารถทำได้สองลักษณะคือ จัด
ทำไว้ล่วงหน้าก่อนเช้า สนามวิจัยและจัดทำตามข้อมูลที่ปรากฎในบันทึกภาคสนาม หรือบางครั้งเรียกว่า การจัด
ทำดัชนีข้อมูลแบบนิรนัย (deductive coding) และแบบอุปนัย (inductive coding)

23

ขั้นตอนที่ 3 การกำจัดข้อมูลหรือสร้างข้อสรุปชั่วคราว นี้คือการสรุปเชื่อมโยงดัชนีคำหลักเข้าด้วยกันภายหลังจาก
ผ่านกระบวนการทำดัชนีหรือกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว การเชื่อมโยงคำหลักเข้าด้วยกันจะเขียนเป็นประโยคข้อความ
ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหลัก และจากการเชื่อมโยงดัชนีคำหลักในตัวอย่างเข้าด้วยกันจะเห็นว่าทำให้
ข้อมูลในส่วนที่เป็นบันทึกละเอียดที่มีอยู่มากนั้นถูกลดทอนหรือตัดทิ้งไปจนกระทั่งเหลือเฉพาะประเด็นหลักๆ ที่
นำมาผูกโยงกันเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 4 สร้างบทสรุป คือ การเขียนเชื่อมโยงข้อสรุปชั่วคราวที่ผ่านการตรวจสอบยืนยันแล้วเข้าด้วยกัน การ
เชื่อมข้อสรุปชั่วคราวนั้นจะเชื่อมโยงตามลำดับข้อสรุปแต่ละข้อสรุปเป็นบทสรุปย่อยและเชื่อมโยงบทสรุปย่อย
แต่ละบทสรุปเข้าด้วยกันเป็นบทสรุปสุดท้าย
ขั้นตอนที่ 5 พิสูจน์ความน่าเชื่อถือของผลการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ว่าบทสรุป นั้นสอดคล้องกันหรือไม่ซึ่งโดยทั่วไป
แล้วการพิสูจน์นับทสรุปก็มักจะเป็นการพิจารณาวิธีการเก็บข้อมูลนั้นว่าดำเนินการอย่างรอบคอบหรือไม่เพียงไร
และข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มานั้นเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือหรือไม่

บทที่ 4
ผลการประเมินโครงการ

การนำเสนอผลการประเมินโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเสนอผลการประเมินโครงการ จำนวน 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด หลังการดำเนิน

โครงการแสดงดังตารางต่างๆ คือ
ตารางที่ 1 ผลการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม
ตารางที่ 2 ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัย
ตารางที่ 3 ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ
ตารางที่ 4 ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต

ตอนที่ 1 ผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด
ตารางที่ 1 ผลการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชัน
และมะกรูด ในท้องถิ่นมีเพียงพอต่อการทำน้ำยาเช็ดกระจก จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า ดอกอัญชันและ
มะกรูดมีเพียงพอมีเป็นจำนวนมาก ในหมู่บ้านมีแทบทุกหลังคาเรือนหาได้ง่ายไม่ต้องซื้อ แถมยังประหยัดค่าใช้
จ่าย

25

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและ
มะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า ดอกอัญชันและมะกรูดเป็นประโยชน์ต่อการนำมาทำน้ำยาเช็ดกระจก และ
เป็นส่วนผสมสำคัญต่อการใช้นำมาทำน้ำยาได้ดีและเป็นประโยชน์ในการนำวัตถุดิบมาทำน้ำยาเช็ดกระจก

26

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอก
อัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า ในท้องถิ่นมีการสร้างเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดย
ดอกอัญชันและมะกรูดเป็นการปลูกไว้ตามธรรมชาติและปลูกไว้ทำอาหารเครื่องดื่มและปลูกไว้เพื่ออนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

27

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจาก
ดอกอัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อน้ำยาเช็ดกระจกแบบ
ทั่วไป น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องไปซื้อน้ำยาเช็ด
กระจกที่มีราคาแพง

28

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอก
อัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกะทัดรัด มี
ความเหมาะสมและกะทัดรัดเหมาะกับการใช้งานและเก็บได้ง่าย

29

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอก
อัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชนช่วยให้คนในชุมชน
ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้คนในชุมชนไม่ต้องเสียเงินซื้อน้ำยาเช็ดกระจกที่มีราคาแพง

30

ตารางที่ 3 ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจาก
ดอกอัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า เป็นวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น และเป็นพืชที่ไม่
ต้องซื้อหาได้แทบทุกหลังคาเรือน และหาได้ง่ายในชุมชน ในท้องถิ่น

31

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจก
จากดอกอัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและ
มะกรูด ผลิตแบบธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ผลิตเองได้ง่ายจากวัตถุดิบธรรมชาติ

32

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจาก
ดอกอัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายและใช้งานได้
สะดวก ไม่ใช้สารเคมีในการทำน้ำยาเช็ดกระจก เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับคนที่แพ้สารเคมี
เพราะไม่มีสารอันตรายทำให้แพ้และระคายเคือง

ตารางที่ 4 ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต 33

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจาก
ดอกอัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า ใช้เช็ดกระจกได้สะอาดและนำใช้ในชีวิต
ประจำวันได้ ใช้เช็ดกระจกได้สะอาดฝุ่นที่เกาะบนกระจกออกได้ดีทำให้กระจกหายหมอง

34

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจาก
ดอกอัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่า น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด
มีกลิ่นหอมอ่อนๆ จากมะกรูดเป็นกลิ่นธรรมชาติ ไม่แต่งกลิ่น เป็นกลิ่นหอมจากธรรมชาติ

35

สรุปผลจากข้อคำถามที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าผลการประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจาก
ดอกอัญชันและมะกรูด จากการสอบถามนั้น สรุปได้ว่าน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดไม่มี
สารเคมีที่เกิดอันตราย ไม่มีแพ้ระคายเคือง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนผลิตแบบธรรมชาติไม่มีสารเคมี

บทที่ 5
สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

รูปแบบการประเมิน
การประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ในรูปแบบการประเมินแบบ CIPP
MODEL โดยประเมินในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ

(Process) และด้านผลผลิต (Product)
1. ด้านสภาวะแวดล้อม
ผลการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม ดอกอัญชันและมะกรูดมีเพียงพอ เพราะในชุมชนนิยมปลูกกัน
ไว้เป็นจำนวนมาก และยังหาใช้งานได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ดอกอัญชันและมะกรูดเป็นประโยชน์และเป็น
ส่วนผสมสำคัญต่อการใช้นำมาทำน้ำยาเช็ดกระจกได้ดี และเป็นประโยชน์ในการนำวัตถุดิบมาทำน้ำหมักดอก
อัญชันและมะกรูด ซึ่งดอกอัญชันและมะกรูดเป็นการปลูกไว้ตามธรรมชาติและปลูกไว้ทำอาหารเครื่องดื่ม อีกทั้ง
ยังปลูกไว้เพื่ออนุรักษ์วิ่งแวดล้อมอีกด้วย
2. ด้านปัจจัย
ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัย น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่
ต้องไปซื้อน้ำยาเช็ดกระจกที่มีราคาแพง น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดมีราคาที่ถูกกว่าน้ำยาเช็ด
กระจกทั่วไป มีความเหมาะสมและกะทัดรัดเหมาะกับการใช้งานและเก็บได้ง่าย เป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน
ช่วยให้คนในชุมชนประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้คนในชุมชนไม่ต้องเสียเงินซื้อน้ำยาเช็ดกระจกที่มีราคาแพง
3. ด้านกระบวนการ
ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ ดอกอัญชันและมะกรูด เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและเป็นพืชที่ไม่ต้อง
ซื้อ หาได้ง่าย เพราะในชุมชน ในท้องถิ่นนิยมปลูก น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด ผลิตแบบ
ธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ผลิตเองได้ง่ายเพราะผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ใช้งานแล้วไม่แพ้สารเคมี เหมาะสม
กับการใช้งานและทุกวัยที่จะใช้ไม่มีสารอันตรายทำให้แพ้และระคายเคือง
4. ด้านผลผลิต
ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด เช็ดกระจกได้สะอาดทั้ง
ทำความสะอาดฝุ่นที่เกาะออกได้ดี น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด มีกลิ่นหอมอ่อนๆจากมะกรูด
ไม่มีแต่งกลิ่นเป็นกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีที่เกิดอันตรายไม่แพ้ระคายเคือง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
จากการผลิตแบบธรรมชาติ

สรุปผลการประเมินโครงการ 37

ผลการประเมินโครงการหลังการดำเนินงานสรุปได้ว่า น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด เมื่อ

นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ทำความสะอาดกระจกเงา ผลปรากฏว่า กระจกเงา มีความเงาวาว
ไม่มีคราบสกปรกเหลืออยู่นอกจากนั้นน้ำมันหอมจากผิวมะกรูดยังมีสรรพคุณในการไล่แมลงต่างๆ รวมทั้ง
ยุงอีกด้วย

ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลการประเมินไปใช้ มีดังนี้คือ
1. นำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดใช้เช็ดกระจกให้สะอาดขึ้นได้จริง
2. น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้เพราะใช้วัตถุดิบ
ธรรมชาติในการทำน้ำยาเช็ดกระจก
3. น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดผลิตแบบธรรมชาติไร้สารเคมี
4. นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ทำปุ๋ย บำบัดน้ำเสียแก้ไขท่อตัน
กำจัดกลิ่น ล้างห้องน้ำ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะสำหรับหัวข้อการประเมินต่อไป คือ
1. นำพืชผัก ผลไม้ ดอกไม้ชนิดอื่น ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ
2. ดอกอัญชันและมะกรูดเป็นการปลูกไว้ตามธรรมชาติสามารถนำไปทำอาหารและเครื่องดื่มได้
3. ผิวมะกรูดมีสรรพคุณในการไล่แมลงต่างๆ รวมทั้งยุงอีกด้วย

บรรณานุกรม

แนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3nWHcmq
(วันที่ค้นข้อมูล : 20 ตุลาคม 2564).

แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้. (2556). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/2ZRZFYO
(วันที่ค้นข้อมูล : 20 ตุลาคม 2564).

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3bDuYt8
(วันที่ค้นข้อมูล : 20 ตุลาคม 2564).

น้ำยาเช็ดกระจกจากอัญชันและมะกรูด. (2561). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/
site/kailuet09/prawati-phu-cad-tha (วันที่ค้นข้อมูล : 17 ตุลาคม 2564).

สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3k5lDPv
(วันที่ค้นข้อมูล : 19 ตุลาคม 2564).

สรรพคุณและประโยชน์ของมะกรูด. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3bIjaFP
(วันที่ค้นข้อมูล : 19 ตุลาคม 2564).

Unknown. (2557). โครงานวิทยาศาสตร์ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3bIhBHX
(วันที่ค้นข้อมูล : 18 ตุลาคม 2564).

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

แบบประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด

แบบประเมิน
โครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด

คำชี้แจง แบบประเมินโครงการผมสวยด้วยแชมพูมะกรูด มีจำนวน 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ

การศึกษา รายได้โดยเป็นแบบปลายเปิดให้เลือกตอบในช่องที่กำหนด
ตอนที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ประเมินโครงการ โดยใช้แบบประเมิน CIPP MODEL มี 4 ด้าน

จำนวน 12 ข้อ ดังนี้
1. สภาวะด้านแวดล้อม ( Context ) จำนวน 3 ข้อ
2. ด้านปัจจัย ( Input ) จำนวน 3 ข้อ
3. ด้านกระบวนการ ( Process ) จำนวน 3 ข้อ
4. ด้านผลผลิต ( Product ) จำนวน 3 ข้อ
โดยในทั้ง 4 ด้าน ผู้ตอบสามารถเขียนได้อย่างอิสระ
ตอนที่ 3 ปัญหาหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานในการจัดทำโครงการ โดยเป็นแบบ

ปลายเปิดให้เลือกเขียนบรรยายในการตอบ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
อายุ .................. ปี
อาชีพ .................................................................................................
ระดับการศึกษา ..................................................................................
รายได้ .................................................................................................
ตอนที่ 2 แบบสัมภาษณ์ประเมินโครงการน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด โดยใช้แบบประเมินCIPP
MODEL มี 4 ด้าน จำนวน 12 ข้อ
ด้านที่1 การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม
1.ดอกอัญชันและมะกรูดในท้องถิ่นมีเพียงพอต่อการทำน้ำยาเช็ดกระจก
................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................

2.ดอกอัญชันและมะกรูดเป็นประโยชน์ต่อการนำมาทำน้ำยาเช็ดกระจก
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
3.ดอกอัญชันและมะกรูดที่มีอยู่ในท้องถิ่นสร้างเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
ด้านที่2 การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ปัจจัยป้อน
4.น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไป
................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
5.บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกะทัดรัด
................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
6.ในการทำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดเป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือไม่
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
ด้านที่3 การประเมินกระบวนการ
7.ดอกอัญชันและมะกรูดเป็นวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
8.น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดผลิตแบบธรรมชาติ
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...................................
9.น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายและใช้งานได้สะดวก
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................