ลักษณะสำคัญของโครงงานมีอะไรบ้าง

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ลักษณะสำคัญของโครงการ

โครงการหนึ่งๆจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ คือ

1. ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆที่เกี่ยวข้องพึ่งพิงและสอดคล้องกันภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน

2. มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ( Objective )ที่ชัดเจน วัดได้ และปฏิบัติได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและติดตามประเมินผลได้ โครงการหนึ่งๆอาจมีมากกว่าหนึ่งวัตถุประสงค์ก็ได้ กล่าวคือมีวัตถุประสงค์หลัก และวัตถุประสงค์รองและต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่สมารถปฏิบัติได้ มิใช่วัตถุประสงค์ที่เลื่อนลอย / เพ้อฝัน หรือเกินความเป็นจริง

3. มีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของกิจกรรม ( Scheduled Beginning and Terminal Points )การเขียนโครงการโดยทั่วไปจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาว่าจะเริ่มต้นเมื่อไร และสิ้นสุดเมื่อไรถ้าหากมีการดำเนินกิจกรรมไปเรื่อยๆไม่มีการกำหนดขอบเขตของเวลา ( Time Boundary ) ไว้จะไม่ถือว่าเป็นงานโครงการ เพราะมีลักษณะเป็นงานประจำ( Routine ) หรืองานปกติ

4. มีสถานที่ตั้ง ( Location ) ของโครงการ ผู้เขียนโครงการต้องระบุให้ชัดเจนว่าโครงการนี้พื้นที่ดำเนินการหรือหัวงานอยู่ที่ใด เพื่อสะดวกในการดำเนินงาน ถ้าเลือกสถานที่ตั้งโครงการไม่เหมาะสมแล้วย่อมทำให้เสียค่าใช้จ่ายหรือลงทุนมาก ผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้อาจไม่คุ้มค่า การติดตามและการประเมินผลโครงการก็อาจทำได้ยาก

5. มีบุคลากรหรือองค์กรที่เฉพาะเจาะจง( Organization ) งานโครงการจะต้องมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบ ส่วนหน่วยงานอื่นถือว่าเป็นหน่วยงานเสริมหรือร่วมมือดำเนินงานเท่านั้น และควรระบุบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการนั้นให้ชัดเจน เพื่อเป็นหลักประกันว่าบุคคล/ องค์กรนั้นจะปฏิบัติอย่างจริงจังและจริงใจ

6. มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ ( Resource ) การเขียนโครงการจะต้องระบุแหล่งทรัพยากรโดยเฉพาะแหล่งงบประมาณให้ชัดเจน เช่น งบประมาณแผ่นดิน หรือเงินกู้ หรือเงินทุนสำรอง หรือเงินบริจาค ฯลฯ และจะต้องระบุเงินที่ใช้ว่าเป็นหมวดวัสดุ หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าครุภัณฑ์ หมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ฯลฯ ทั้งนี้จะทำให้ง่ายในการดำเนินการและควบคุมตรวจสอบการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

การทำเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิง และรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ
2.  วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดขอบเขต และลักษณะของโครงงานที่จะทำ
3.  ออกแบบการพัฒนา  มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์  ซอฟต์แวร์และตัวแปรภาษา โปรแกรมและวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้  พร้อมทั้งกำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานการทำโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ
4.  ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ข้างต้น โดยอาจทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้วนำผลที่ได้จากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรก ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
5.  เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ให้อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพื่อปรับปรุง
แก้ไข ทั้งนี้เพราะในการวางแผนพัฒนานักเรียน องค์ประกอบเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้
     1. ชื่อโครงงาน
ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึง วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียน นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรค านึงถึง
    2. ผู้จัดทำโครงงาน
การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานเป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
ของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำ
การทำโครงงานจนบรรลุเป้าหมาย
4. ระยะเวลาด าเนินงาน 
ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น
5. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
– แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
– แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
– ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อน าความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          คุณลักษณะของโครงงานที่ดี
การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม  ต้อง
ทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ
ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
ส่วนที่ 1 คำนำ :
เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงาน
  ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :
อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานโดยมี หลักการ
ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้
ส่วนที่ 3 สรุป :
สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้
ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1
          6. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
วัตถุประสงค์ คือ ก าหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงาน ใน
การเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์
หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทางการศึกษา ตลอดจน
ข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือต้องสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ
        7. หลักการและทฤษฎี
อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์ และข้อผิดพลาดในการสร้างเว็บไซต์ เป็นต้น
 8. ขอบเขตของการทำโครงงาน
ผู้ทำโครงงาน ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผล
การศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา
1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษา
อาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด รวมทั้งกำหนด กลุ่ม
ตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา
2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงาน ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุ
และผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของตัวแปรอย่างถูกต้อง
และชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการ   ทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำ
โครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปร
ใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียน
รายงานการทำโครงงานที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน
         9. วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำ
โครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
1. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่
ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่าง ๆ
2. กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
3. แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้
และการเก็บข้อมูลการวิเคราะป์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนองาน
4. งบประมาณที่ใช้
ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง
เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง
10. แผนการกำหนดเวลาปฏิบัติงาน
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องกำหนดตารางเวลาดำเนินการทุกขั้นตอน เพราะการ
ทำตารางเวลาจะเป็นประโยชน์ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อการติดตามประเมินผลการ
ดำเนินงานแต่ละขั้นตอน จนสิ้นสุดการทำโครงงานนั้น
       11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การคาดหวังถึงผลการดำเนินการตามโครงการ ในการเขียน
ต้องคาดคะเนเหตุการณ์ว่าเมื่อได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์สิ้นสุดลง ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างไรและ
ได้รับมากน้อยเพียงใด ผลที่ได้รับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ศึกษา
12. เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน

ตัวอย่างเค้าโครงข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ 
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) ภูมิศาสตร์ และระบบจัดการร้านอาหาร
(ภาษาอังกฤษ) Restaurant with Landscape
สาขาของงานวิจัย โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน
ชื่อผู้ทำโครงงาน 1. นายวรายุทธ    อินทนนท์
2. นางสาวสุภาวดี  ช่างออม
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นายยุทธนา  ยอดขยัน
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม นางอัจฉรา  ขาวสะอาด
ระยะเวลาดำเนินงาน 4 เดือน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน 
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ 
การประกอบธุรกิจเป็นการหารายได้เลี้ยงชีพอย่างหนึ่ง ในบรรดาประเภทของธุรกิจทั้งหลายนั้น
ธุรกิจร้านอาหารเห็นจะมีความโดดเด่นพิเศษกว่าธุรกิจประเภทอื่นๆ ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของ
อาหาร จึงทำให้ธุรกิจประเภทนี้มีการแข่งขันที่สูงมากไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันในด้านรสชาติ การบริการที่
ประทับใจ บรรยากาศ ความสะดวก รวดเร็วในการบริการ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
ร้ายอาหาร ทั้งสิ้น ยิ่งเรากำลังอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร หากเรานำเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นบางตัว มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกิจการร้านอาหารของเรา ก็จะทำให้การจัดการในธุรกิจ
ร้านอาหารของเราดีขึ้น ซึ่งโปรแกรมนี้ ผู้ประกอบการ สามารถนำเข้าภาพที่ออกแบบรูปของสถานที่
ร้านอาหารมาใช้ใน Program ได้ รวมทั้งสามารถ เพิ่ม, ลด, แก้ไข ตำแหน่ง สี ขนาด จำนวนคน รูปร่าง
ของโต๊ะในร้านอาหาร ทราบเมนูที่ลูกค้าสั่งและเสิร์ฟได้ถูกต้อง ทันตามความต้องการ ทั้งยังมีระบบการ
จัดการรายได้ เช่น สามารถตรวจสอบยอดเงินที่ต้องชำระของลูกค้าแต่ละโต๊ะได้อย่างรวดเร็ว และยังมี
ตารางข้อมูลรายได้ของยอดเงินในแต่ละวัน และรายชื่ออาหาร ซึ่งจะทำให้การรวมยอดขายในแต่ละวัน
ง่ายขึ้น มีความสะดวกสบายมากขึ้นในการรวมยอดขายในแต่ละวัน

2. วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อให้การจัดการในร้านอาหารดีขึ้น
3. เพื่อสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล
4. เพื่อต้องการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ประโยชน์ได้ในร้านอาหารอย่างมีคุณภาพ

3. หลักการและทฤษฎี 
ภูมิศาสตร์ และระบบจัดการร้านอาหาร” นี้มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นโปรแกรม ซึ่งสามารถพัฒนา
โดยใช้โปรแกรม Delphi 7.0 เป็นหลักที่มีการประยุกต์เอาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Pascal ที่นำมา
สร้างเป็นระบบจัดการร้านอาหารที่มีคุณสมบัติในการช่วยงานในภัตตาคารอาหารได้ เช่น การวางโต๊ะ
อาหารในหน้าต่างด้านซ้ายของโปรแกรมที่เกี่ยวกับสถานที่ร้านอาหาร และแสดงสถานะของโต๊ะ รวมทั้ง
สรุปยอดเงิน จำนวนโต๊ะในแต่ละวันทางหน้าต่างด้านซ้าย ทั้งยังมีปุ่มเชื่อมโยงไปยัง Form อีก Form  ที่
มีตารางบัญชีของทั้งในแต่ละวัน และแต่ละเดือนได้อีกด้วย

4. วิธีดำเนินงาน 
เทคโนโลยีที่ใช้ โปรแกรมนี้จะมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
– Input ซึ่งรับค่ามาจาก mouse และ keyboard แล้วน ามาประมวลผลส่งต่อไปยังตัวโปรแกรม
– Output แสดงผลออกมาทาหน้าจอ monitor
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
– Delphi 7.0
– Photoshop CS
– Macromedia Flash MX
รายละเอียดของโปรแกรมที่พัฒนา 
“ภูมิศาสตร์ และระบบจัดการร้านอาหาร (Restaurant with Landscape)” จัดเป็นโปรแกรมใน
ประเภท โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งโปรแกรมนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ข้าง โดยข้างซ้ายที่มีขนาดใหญ่
กว่าจะเป็น ภูมิศาสตร์ของร้านอาหารที่จะวาดด้วยโปรแกรมอะไรก็ได้แล้วจะมีปุ่มให้ Add ภาพลงไปได้
หรือจะถ่ายรูปจริงจากด้านบนที่สูง แล้วตกแต่ง แล้วน า Add เข้ามา โดยจะสร้าง Component ที่สามารถ
ลากโต๊ะ มาวางบนหน้าจอได้ ทั้งยังเมื่อคลิกเข้าไปแล้วก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงเบอร์โต๊ะ ขนาดโต๊ะ
(ไม่จำเป็นต้องใส่ตรงตามความจริงก็ได้  เพราะรูปที่นำมาใส่อาจจะไม่พอดีกับจำนวนโต๊ะถ้าใส่ขนาดตาม
ความจริง) สีโต๊ะ รูปร่างโต๊ะ(กลม กับ สี่เหลี่ยม) จำนวนคนนั่ง ฯลฯ ส่วนด้านซ้ายที่มีขนาดเล็กกว่า
เป็นหน้าต่างที่แสดงผลสถานะของโต๊ะที่กำลังรับประทานอาหาร หรือกำลังรอเงินทอน เป็นต้น ทั้งยังมีรวม
ยอดขาย รวมโต๊ะ ของวันนี้อีกด้วย Input/Output specification Input: การรับค่าจาก Mouse และ
Keyboard ที่คลิกลงไปในส่วนต่างๆ ของโปรแกรม ที่นำไปประมวลผล ต่างๆ ภายในโปรแกรม Output:
การแสดงผลออกทางหน้าจอ monitor
 5. แผนปฏิบัติงาน 

ลักษณะสำคัญของโครงงานมีอะไรบ้าง

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
1.  ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์ระบบจัดการร้านอาหาร
2.  ความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมด้วยซอฟต์แวร์ Delphi

7. เอกสารอ้างอิง
หนังสือ เริ่มต้นอย่างมืออาชีพด้วย Delphi 7 ฉบับสมบูรณ์ โดย สัจจะ จรัสรุ่งรวีวร จาก Dev
Book
หนังสือ การเขียนโปรแกรมภาษา Delphi จาก สยามคอมพิวเตอร์
หนังสือ เริ่มต้นอย่างมืออาชีพด้วย Delphi 5 ฉบับสมบูรณ์ โดย  สัจจะ จรัสรุ่งรวีวร จาก Inf

ลักษณะของโครงงานมีอะไรบ้าง

โครงงาน เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

โครงงานควรมีลักษณะสำคัญอย่างไรบ้าง

1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของโครงงานได้อย่างครบถ้วน 2. เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้ 3. สามารถดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด 4. ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ

ความสำคัญของโครงงานคืออะไร

ในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น มีหลักการที่ส าคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. เป็นกิจกรรมที่มีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. เน้นการแสวงหาความรู้โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ริเริ่ม วางแผน และด าเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะแนวทางและให้ค าปรึกษา 3. เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่ม ...

ชื่อโครงงานที่ดีควรมีลักษณะดังข้อใด

การตั้งชื่อโครงงานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. ตรงกับเรื่อง เมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้วสามารถบอกได้ว่าเรื่องนั้นมีลักษณะอย่างไร 2. สั้นกะทัดรัด ชื่อโครงงานไม่ควรยาวเกินไป ควรเขียนให้สั้นกะทัดรัด แต่ต้องได้ใจความตรงกับเรื่อง 3. ไม่ควรเป็นประโยคคำถาม เพราะไม่ใช่คำถาม หรือปัญหา