วันแรกของการเรียนภาษาอังกฤษ

ในการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกคือทักษะการฟัง ผู้เรียนจะต้อง “เน้น” ไปที่ทักษะการฟัง “บทสนทนาภาษาอังกฤษ” เป็นลำดับแรก นั่นคือเราจะต้องสามารถฟังบทสนทนาที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก่อน ก่อนจะพัฒนาไปยังทักษะด้านการพูด การเขียนหรือการอ่านภาษาอังกฤษ


แต่น่าแปลกที่คนที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ ล้วนทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ซึ่งหากสังเกตให้ดี ยกตัวอย่างเช่น กรณีของเด็กทารกเกิดใหม่ เด็กทารกใช้เวลาในการฟังพ่อแม่ของตนพูดสื่อสารระหว่างกันนับตั้งแต่อยู่ในท้องจนกระทั่งคลอดมาจนอายุได้ 2-3 ปีถึงจะเริ่มเอ่ยคำง่ายๆ เป็นคำแรกด้วยคำว่า พ่อ แม่ ป๊า ม๊า แสดงว่าธรรมชาติให้เราฝึกฟัง ซึมซับข้อมูล ต่อมาจากนั้นจึงเรียนรู้การพูด จนเมื่อโตขึ้นเด็กๆ เข้าโรงเรียนจึงพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนต่อไป

แต่ที่พบเห็นกันในปัจจุบันคือ เด็กนักเรียนส่วนมากเริ่มต้นด้วยการเรียนผ่านหนังสือแบบเรียนต่างๆ หนังสือสอนแกรมม่า และการเรียนรู้ในห้องเรียนกับครูผู้สอนไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือเจ้าของชาวต่างชาติก็ตาม ซึ่งทุกคนล้วนเชื่อว่าตนมาในแนวทางที่ถูกต้องในการที่จะช่วยให้ตนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว แต่จริงๆ แล้วผลลัพธ์ที่ได้กลับตรงกันข้าม จนทำให้เด็กนักเรียนหลายคนพาลเกลียดภาษาอังกฤษไปเลยทีเดียว

ในช่วงแรก เราต้องใช้เวลามากกว่าร้อยละ 80 ของการเรียนภาษาอังกฤษไปพัฒนาทักษะด้านการฟังเป็นลำดับแรก

ในการที่จะพัฒนาทักษณะการพูดและการฟังบทสนทนาในชีวิตประจำวันนั้น ลำดับแรก คุณจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการฝึกฟังภาษาอังกฤษที่มีรูปประโยคง่ายๆหรือบทสนทนาที่ง่ายๆ ก่อน นี่คือหลักสำคัญในการที่จพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลักเกณฑ์แล้ว คุณควรใช้เวลาถึงร้อยละ 80 หรือมากกว่าในเวลาทั้งหมดที่มีในการเรียนภาษาอังกฤษไปกับการฝึกทักษะการฟัง เช่น ผู้เรียนตั้งเป้าจะเรียนภาษาอังกฤษวันละ 2 ชั่วโมง ในสองชั่วโมงนั้น ควรจะฝึกฟังมากถึง 90 นาที ส่วนเวลาที่เหลือเอาไปฝึกการพูด การอ่านและการเขียน

แต่ทั้งนี้ การฝึกฟังอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ คุณจะต้องมี”ระบบการฝึกฟัง” ที่มีประสิทธิภาพด้วย ลำดับแรก ผู้เรียนจะต้องหัดฟังภาษาอังกฤษที่ “ง่ายๆ”ขอเน้นว่าควรฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษที่ง่ายๆ ก่อน ซึ่งคุณจะต้องหาบทสนทนาที่คุณสามารถเข้าใจในเนื้อหาได้มากกว่าร้อยละ 90 มาฟังให้ได้ ทางศูนย์การแปลทีไอเอสฯ ขอแนะนำการ์ตูนเด็กชื่อ Peppa Pig หรือคายุ (Calliou) ที่มีบทสนทนาในชีวิตประจำวันที่ง่ายต่อการรับฟัง ซึ่งมิใช่เป็นเพียงการ์ตูนที่เหมาะสำหรับเด็กเท่านั้น แต่เนื้อหาที่นำเสนอนั้นเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ การฝึกทักษะการฟังโดยใช้จิตใต้สำนึกก็สามารถกระทำได้โดยการฝึกฟังบทสนทนาหรือเนื้อหาเดิมๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ซึ่งการรับฟังเรื่องเดิมๆ หลายๆ ครั้งจะทำให้การพัฒนาทักษะด้านภาษาจะลึกลงสู่ระดับจิตใต้สำนึกจนทำให้คุณสามารถเข้าใจเนื้อหานั้นๆ ได้ถ้วนทั่ว และสามารถนำบทสนทนาเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติและรวดเร็วเมื่อยามต้องการ

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการหมั่นสังเกตและมุ่งเน้นไปยังการฟัง “บทสนทนาที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน” ก่อนที่จะไปเรียนรู้การสนทนาอย่างเป็นทางการหรือพัฒนาด้านทักษะการเขียนการอ่าน บทสนทนาในชีวิตเป็นประจำวันคือบทสนทนาที่ใช้พูดกันโดยเจ้าของภาษาโดยไม่มีการใช้คำศัพท์วิชาการใดๆ ซึ่งบทสนทนาอาจประกอบไปด้วยคำแสลง การพูดเปรียบเปรย จังหวะหยุดสนทนา การตัดบทสนทนา และอื่นๆ ซึ่งน่าเสียดายที่การเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญตรงจุดนี้เท่าที่ควร ทั้งที่เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะซึมซับและเรียนรู้ทำความเข้าใจในสิ่งที่เจ้าของภาษาพูดจริงๆ และช่วยให้เราสามารถสนทนากับเจ้าของภาษาได้คล่องแคล่วจริงๆ

ท้ายสุดนี้ ทางศูนย์การแปลทีไอเอส ฯ ขอเน้นย้ำว่าการเรียนภาษาอังกฤษนั้นจะต้องเริ่มต้นจาก “การฟังบทสนทนาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน” เป็นลำดับแรก ซึ่งสิ่งนี้จะปูพื้นฐานและสามารถต่อยอดไปยังทักษะด้านการพูด การอ่านและการเขียนในอนาคตที่มีประสิทธิภาพ และผู้ที่สนใจเรียนภาษาอังกฤษ ก็อย่าลืมบอกรับสมาชิกรับข่าวสารก่อนใครได้เร็วๆ นี้นะครับ

คุณสัจจา

ผู้ก่อตั้ง ผู้บริหารและผู้จัดการทั่วไปของศูนย์การแปลนานาชาติทีไอเอส ทรานสเลชั่น ผู้ที่มีประสบการณ์ในแวดวงการแปลมานับทศวรรษ คุณสัจจาเป็นผู้เชื่อในหลักการ "Lifelong Learning" การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นผู้ที่ชอบไขว่คว้าหาความรู้ด้านต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างไม่หยุดหย่อน

มาเริ่มดูกันที่การบอกวันในหนึ่งสัปดาห์กันดีกว่าค่ะ

 วันในหนึ่งสัปดาห์

ด้านล่างนี้คือคำศัพท์เจ็ดวันในหนึ่งสัปดาห์พร้อมวิธีการออกเสียง

⦿ วันจันทร์ Monday – /’mun.dei/

⦿ วันอังคาร Tuesday – /’tiu:z.dei/

⦿ วันพุธ Wednesday – /’wenz.dei/

⦿ วันพฤหัสบดี Thursday – /’thurz.dei/

⦿ วันศุกร์ Friday – /’frai.dei/

⦿ วันเสาร์ Saturday – /’sa.ta.dei/

⦿ วันอาทิตย์ Sunday – /’sun.dei/

วิธีการออกเสียง ให้ลงเสียงหนักที่พยางค์แรกเสมอ สองวันที่ออกเสียงยากที่สุดคือวันอังคารและวันพฤหัสบดี เพราะฉะนั้นอย่าลืมให้เวลาฝึกมากเป็นพิเศษนะคะ

อย่างที่เห็นนะคะ เราจะเขียนพยัญชนะตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ ลองไปดูตัวอย่างกันค่ะ

 I work from Monday to Friday. I’m free on Saturday and Sunday.
 Our next lesson is on Wednesday.
 Saturday is his favorite day of the week because he plays football.
 The meeting is on Thursday at 10:30.
 We’ve got an appointment on Tuesday morning.

 เห็นแล้วใช่ไหมคะ เราจะใช้ ‘on’ หน้าคำศัพท์บอกวันในสัปดาห์

เดือน

เดือนทั้งสิบสองพร้อมวิธีการออกเสียงมีดังต่อไปนี้ค่ะ

⦿ มกราคมJanuary – /’gian.iu.e.ri/

⦿ กุมภาพันธ์ February – /’fe.bru.e.ri/

⦿ มีนาคม March – /’ma:tc/

⦿ เมษายน April – /’ei.pril/

⦿ พฤษภาคม May – /’mei/

⦿ มิถุนายนJune – /’giun/

⦿ กรกฎาคม July – /giu’lai/

⦿ สิงหาคม August – /’o:.gust/

⦿ กันยายน September – /sep’tem.ba/

⦿ ตุลาคม October – /ok’tou.ba/

⦿ พฤศจิกายน November – /nou’vem.ba/

⦿ ธันวาคม December – /di’sem.ba/

 สำหรับเดือน พยัญชนะตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอด้วยเช่นกัน มาดูตัวอย่างการใช้กันค่ะ

 February is the shortest month of the year, with only 28 days.
 They’re going away on holiday in May.
 The weather is very hot here in July.
 It’s very cold in December.
 Halloween is in October.

อย่างที่เห็นนะคะ ถ้าเป็นเดือนเราจะใช้ ‘in’ ค่ะ

วันที่

เวลาที่เราพูดถึงวันที่ในภาษาอังกฤษ เรามักจะใช้เลขบอกลำดับที่ (fist, second, third เป็นต้น) แทนที่จะใช้เป็นเลขบอกจำนวนนับ (one, two, three เป็นต้น) มาทำความรู้จักเลขบอกลำดับที่กันค่ะ

  • 1st – first
  • 2nd – second
  • 3rd – third
  • 4th – fourth
  • 5th – fifth
  • 6th – sixth
  • 7th – seventh
  • 8th – eighth
  • 9th – ninth
  • 10th – tenth

 ตั้งแต่ลำดับที่ 11-19 จะใส่ -th ลงไปที่ท้ายตัวเลขเหมือนกันทั้งหมด

  • 11th – eleventh
  • 12th – twelfth (the letter v changes to f)
  • 13th – thirteenth
  • 14th – fourteenth
  • 15th – fifteenth
  • 16th – sixteenth
  • 17th – seventeenth
  • 18th – eighteenth
  • 19th – nineteenth

 ตัวเลขที่ลงท้ายด้วย -ty เช่น 20 และ 30 ให้เปลี่ยนจาก -y เป็น – i และเติม -eth ลงไป เช่น

  • 20 – twentieth
  • 30 – thirtieth
  • 21st – twenty-first
  • 22nd – twenty-second
  • 23rd – twenty-third
  • 24th – twenty-fourth
  • 25th – twenty-fifth
  • 26th – twenty-sixth
  • 27th – twenty-seventh
  • 28th – twenty-eighth
  • 29th – twenty-ninth
  • 30th – thirtieth
  • 31st – thirty-first

 สำหรับภาษาอังกฤษแบบบริติช การบอกวันที่จะเริ่มด้วยวันที่แล้วตามด้วยเดือน ในขณะที่อังกฤษแบอเมริกันมันจะเอาเดือนขึ้นก่อน กฎนี้ใช้เมื่อเวลาเราย่อวันที่ให้เหลือตัวเลขด้วย เช่น วันที่ 1st December 2017 ย่อเห็น

  • 1/12/2017 สำหรับอังกฤษแบบบริติช
  • 12/1/2017 สำหรับอังกฤษแบบอเมรกัน

 เช่นเดียวกันวันในสัปดาห์ เราใช้ ‘on’ นำหน้าวันที่เช่นกัน ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ

 Paolo’s birthday is on June 3rd. (pronounced ‘on June the third’)
 New Year’s Day is on 1st January. (pronounced ‘on the first of January’)
 We’re flying back home on Tuesday, April 10th. (pronounced ‘on Tuesday, April the tenth’)
 They’re having a party on 16th November. (pronounced on the sixteenth of November.)
 Our Wedding Anniversary is on August 11th. (pronounced ‘on August the eleventh’.)

ปี

ในภาษาอังกฤษ วิธีอ่านปีค.ศ. จะแบ่งวิธีการนับเลขเป็นสองหลัก ตัวอย่าง

  • 1750 – seventeen fifty
  • 1826 – eighteen twenty-six
  • 1984 – nineteen eighty-four
  • 2017 – twenty seventeen

 ตัวเลขบอกปีค.ศ.ที่เป็นปีถ้วน ให้อ่านดังต่อไปนี้

  • 1400 – fourteen hundred
  • 1700 – seventeen hundred
  • 2000 – two thousand

 ช่วงเก้าปีแรกของศตวรรษให้อ่านดังต่อไปนี้

  • 1401 – fourteen oh one
  • 1701 – seventeen oh one
  • 2001 – two thousand and one

เราสามารถพูดถึงทศวรรษ (ช่วงระยะเวลาสิบปี) ดังต่อไปนี้

  • 1960-1969 – The ‘60s – ออกเสียงว่า ‘the sixties’
  • 1980-1989 – The ‘80s – ออกเสียงว่า ‘the eighties’.
  • 2000 – 2009 – The 2000s – ออกเสียงว่า ‘the two thousands’

 ยกตัวอย่างเช่น

 The Beatles were famous in the sixties.
 My parents got married in the seventies.
 Maradona played for Napoli in the eighties.
 Where were you living in the nineties?
 The internet became popular worldwide in the two thousands.

อย่างที่เห็นนะคะ เราใช้ ‘in’ หน้าปีค่ะ

สรุปการใช้บุพบทบอกวัน เวลา

วันแรกของการเรียนภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างประโยค:

 In my country, the schools start the academic year in September.
 Is he starting the new job on Monday? 
 The company was founded in 1991.
 The Wedding is on July 25th. 
 There was an economic boom in the 50’s.

หมายเหตุ: เวลาที่เราพูดถึงเทศกาลบางอย่าง เช่น “คริสมาสต์” หรือ “อีสเตอร์” เราจะใช้ “at” เช่น

Where will you be at Christmas? We’ll be in the mountains.
Most people visit their families at Easter.

 อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณจำการวันและเดือนในภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น นั่นคือเปลี่ยนการตั้งค่าภาษาที่ใช้ในมือถือหรือคอมพิวเตอร์ให้เป็นภาษาอังกฤษ วิธีนี้คุณจะได้เห็นปฏิทินและนัดหมายงาน ๆ ต่างที่ฝึกได้ และถ้าคุณมีปฏิทินแขวนผนังหรือตั้งโต๊ะที่ทำงานหรือที่บ้าน ครั้งหน้าให้ลองหาแบบภาษาอังกฤษมาใช้ เป็นวิธีที่ง่ายแต่ได้ผลนักเชียว

ทีนี้คุณก็สามารถพูดบอกวันและวันที่เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมนัดประชุมหรือไปเที่ยวได้แล้ว!