ปัจจัยการผลิต ใน ทางเศรษฐศาสตร์ หมาย ถึง

คุณครูให้นักเรียนเตรียมซอง หรือ ฉลาก สินค้ามาทำกิจกรรม (ไม่ควรใช้ขนาดใหญ่เกินไป) จากนั้น

1.ให้นักเรียนนำซองสินค้ามาติดไว้ที่กึ่งกลางกระดาษ

2.ให้นักเรียนเขียนข้อมูลของปัจจัยการผลิตทั้งสี่ส่วน คือ

  • ที่ดิน (ที่ตั้งของโรงงานผลิตสินค้านั้น)
  • ทุน (วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตสินค้าชนิดนั้น)
  • แรงงาน (ใครคือคนผลิตสินค้านั้น)
  • ผู้ประกอบการ (เจ้าของสินค้าชนิดนั้น)

***โดยข้อมูลทั้งสี่ส่วนต้องเขียนมาในลักษณะ mind mapping

3.ให้นักเรียนตกแต่งให้สวยงาม

เพียงเท่านี้นักเรียนก็จะได้เรียนรู้เรื่องราวทางปัจจัยการผลิตผ่านสินค้าจริง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ปัจจัยการผลิต ใน ทางเศรษฐศาสตร์ หมาย ถึง

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจ ย่อมหมายถึงการบริโภค การอยู่อาศัย หรือการกินการอยู่ของประชาชนว่าอยู่ดีกินดี มีสินค้าเพียงพอแก่ความต้องการของผู้บริโภค หมายถึงว่าเศรษฐกิจดี ตรงข้าม ถ้าการกินอยู่หรือสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการ ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจไม่ดี ดังนั้น การผลิตจึงถือเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ต้องศึกษา แบ่งเป็น 3 ข้อ ดังนี้

•  ผลิตอะไร (What to Produce) จำนวนเท่าใด เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอและตรงตามความต้องการขอผู้บริโภค และเมื่อใดผลิตสินค้าไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค หรือผลิตมากเกินไปย่อมทำให้เศรษฐกิจเสียหาย
•  ผลิตอย่างไร (How to Produce) นอกจากจะผลิตอะไร จำนวนเท่าไรแล้ว ผู้ผลิตต้องใช้เทคนิคการผลิตการจัดการอย่างไร เช่น เลือกวิธีผลิต หรือเลือกปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม •  ผลิตเพื่อใคร (or Whom to Produce) เป็นสำคัญมากที่ผู้ผลิตจะต้องทราบว่าสินค้าและบริการที่ผลิตได้จะจำแนกแจกจ่ายสู่ผู้บริโภคกลุ่มใด ด้วยเทคนิควิธีใด ที่จะสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยธุรกิจ หรือสถาบันทางเศรษฐกิจจ่าง ๆ ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ แบบแผน วัฒนธรรม และประเพณีเดียวกัน รูปแบบของระบบเศรษฐกิจที่ประเทศทั่วโลกนิยมใช้กันมี 3 รูปแบบที่สำคัญ ดังนี้

•  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) เป็นระบบที่หลายประเทศนิยมกัน ได้แก่ อเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น บางประเทศเรียกระบบนี้ว่าเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งมีลักษณะดังนี้
•  กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เอกชนมีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สิน สามารถสืบทอดเป็นมรดกได้
•  เสรีภาพในธุรกิจ เอกชนสามารถเลือกประกอบธุรกิจได้ตามต้องการ
•  การจัดตั้งหรือล้มเลิกธุรกิจ ทำได้โดยเสรี
•  ใช้กลไกราคา
•  การวางแผนหรือกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ เอกชนจะเป็นผู้วางแผนแก้ปัญหาเศรษฐกิจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร การลงทุน การผลิต

•  ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) บางประเทศเรียกระบบสังคมนิยมบังคับ หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

•  เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของในทรัพย์สิน 
•  เอกชนไม่มีแม้เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
•  รัฐจะผูกขาดตลาด เอกชนทำการแข่งขันไม่ได้
•  รัฐเป็นผู้กำหนดราคาสินค้านั่นคือกลไกราคาไม่มีบทบาทในตลาด
•  รัฐเป็นผู้วางแผนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ

•  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีอิสระเสรีภาพมากเกินไป ในขณะที่ระบบคอมมิวนิสต์ขาดเสรีภาพ ดังนั้นในหลายประเทศจึงพอใจเลือกเดินทางสายกลาง ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีลักษณะดังนี้

•  เอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้
•  เอกชนมีสิทธิ์ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เสรี แต่บางกิจกรรมที่รัฐจะต้องเข้ามาควบคุม เช่น ในกิจกรรมที่ให้คุณให้โทษแก่สังคมโดยส่วนรวม การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
•  ระบบราคา ได้ใช้กลไกราคาควบคู่กับการวางแผน หมายถึง ราคาจะถูกกำหนดโดย อุปสงค์และอุปทาน ยกเว้นบางกิจกรรมที่รัฐจะเข้ามาควบคุม เช่น การรถไฟ การไฟฟ้า การประปา การเงินการธนาคารและอุตสาหกรรมบางประเภท เป็นต้น

ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจแบบรัฐวางแผนกันแบบทุนนิยมร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่มี ความจริงทุกประเทศในโลกต่างใช้ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งสิ้น เพียงแต่ผสมผสานเข้มแค่ไหนที่เราเรียกกันว่า ระบบเศรษฐกิจเอียงซ้ายหรือเอียงขวา เพื่อให้เข้าใจง่าย

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

•  สินค้ามีหลากหลายชนิดให้เลือกได้ตามอำนาจซื้อและตามความพอใจของผู้บริโภค
•  สินค้ามีความประณีต สวยงาม เต็มไปด้วยงานสร้างสรรค์
•  สินค้าราคาถูก เพราะเป็นตลาดแข่งขัน กลไกราคามีบทบาทมากที่สุด
•  เทคนิคในการผลิตได้รับการพัฒนาเนื่องจากภาวะที่ต้องแข่งขันกัน
•  ทรัพยากรถูกนำมาจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ปัจจัยการผลิต

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

  • การทำลายสิ่งแวดล้อม
  • การเอารัดเอาเปรียบ
  • รายได้เหลื้อมล้ำมาก

 ที่มา  http://reg.ksu.ac.th/teacher/sakkasam/lession2.html

ปัจจัยการผลิตคืออะไร มีอะไรบ้าง

รู้ “ ปัจจัยการผลิต “ จากสินค้าในชีวิตประจำวัน.
ที่ดิน (ที่ตั้งของโรงงานผลิตสินค้านั้น).
ทุน (วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตสินค้าชนิดนั้น).
แรงงาน (ใครคือคนผลิตสินค้านั้น).
ผู้ประกอบการ (เจ้าของสินค้าชนิดนั้น).

การผลิตมีความหมายว่าอย่างไร

การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตต่างๆ อันได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบและผู้ประกอบการ ไปผ่านกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีในการผลิต จนกระทั่งออกมาเป็นสินค้าหรือบริการสำเร็จรูปเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค บริการขนส่ง เป็นต้น

ปัจจัยการผลิตประเภททุนหมายถึงอะไร

3. ปัจจัยการผลิตทุน (Capital) ประกอบไปด้วย สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ส าหรับผลิตสินค้าและบริการ ทุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าทุน (Capital Goods) และ เงินทุน (Money Capital) โดยเงินทุนเป็นสิ่งที่น ามาซึ่งสินค้าทุน เพื่อผลิตสินค้าและบริการ สินค้าทุนจะประกอบไป ด้วย สิ่งก่อสร้าง ( ...

ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจหมายถึงอะไร

ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์, Example: การใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดผลสูงสุดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรการผลิตและสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด การจะเกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจได้นั้น ที่สำคัญจะต้องมีการใช้ทรัพยากรโดยมีต้นทุนค่าเสียโอกาสต่ำสุด ซึ่งหมายความว่า ได้ผลผลิตสูงสุด ...