E-withholding tax ธนาคารกสิกรไทย

ลักษณะธุรกิจของ KBANK
ธนาคารกสิกรไทยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และประกาศที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ธนาคารมีเครือข่ายสาขาจำนวน 886 สาขา และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์สำหรับทำธุรกรรมด้วยตนเอง 10,973 เครื่อง ครอบคลุมทุกพื้นที่และเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ ธนาคารมีเครือข่ายการให้บริการในต่างประเทศรวม 16 แห่ง ใน 8 ประเทศ มีศูนย์กลางการดำเนินงานและให้บริการที่สำนักงานใหญ่

กสิกรไทย ร่วมกับ กรมสรรพากร นำร่อง เปิดบริการขอข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก ผ่านระบบ e-Withholding Tax บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดย ลูกค้าบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล สามารถ ขอข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝากได้ตลอด 24 ชม. ได้สะดวก ไม่ต้องเดินทางไปสาขา ไม่ต้องเก็บเอกสาร ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตอกย้ำความเป็นผู้นำการให้บริการทางการเงินดิจิทัลและเป็นการสนับสนุนนโยบายบริการด้านภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลรายการที่ถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก จะเป็นรายการตั้งแต่ 10 ก.ค. 64 เป็นต้นไป

นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ธนาคารได้ร่วมมือกับกรมสรรพากรเปิดให้บริการระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือบริการ e-Withholding Tax เพื่อลดภาระการจัดทำและยื่นแบบรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับลูกค้านิติบุคคลหรือลูกค้าธุรกิจ ในครั้งนี้จึงเป็นการต่อยอดสู่บริการขอข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก ผ่านระบบ e-Withholding Tax สำหรับลูกค้าบุคคลและลูกค้านิติบุคคล ซึ่งเป็นความร่วมมือกับกรมสรรพากร โดยธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารนำร่องในการให้บริการนี้

E-withholding tax ธนาคารกสิกรไทย

นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย

บริการขอข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก ผ่านระบบ e-Withholding Tax บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร เปิดให้บริการแก่ลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารทุกประเภท และถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งลูกค้าบุคคลธรรมดา ที่ต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการขอคืนภาษีกับกรมสรรพากร และลูกค้านิติบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลในการปิดงบการเงินและยื่นชำระภาษีเงินได้กับกรมสรรพากร ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าต้องเดินทางมายื่นขอและรับหนังสือรับรองที่สาขา บริการนี้จึงพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยตอบโจทย์ให้กับลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในปัจจุบันสำหรับลูกค้าที่ไม่ประสงค์ยื่นขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝากสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรพุทธศักราช 2481 มาตรา 48(3)(ก) ที่ระบุให้ผู้มีเงินได้ สามารถเลือกไม่นำรายได้ดอกเบี้ย ไปรวมคำนวณภาษีรายได้ประจำปี เนื่องจากธนาคารได้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้เรียบร้อยแล้ว

ลูกค้าสามารถขอข้อมูลรายการที่ถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเป็นรายการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยลูกค้าบุคคลธรรมดาสามารถติดต่อได้ที่สาขาของธนาคาร หรือ K-Contact Center 02-8888888 ลูกค้านิติบุคลหรือลูกค้าธุรกิจ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าของท่าน หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kasikornbank.com

กสิกรไทยช่วยลดภาระให้ผู้ประกอบการ ฟรี ค่าธรรมเนียมบริการหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดปี 2564

กสิกรไทยพร้อมช่วยลูกค้าผู้ประกอบการในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ประกาศ ฟรี ค่าธรรมเนียมบริการหักบัญชีอัตโนมัติและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย อิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ตลอดปี 2564 สำหรับผู้ประกอบการที่สมัครใช้บริการตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2564 หวังช่วยลดภาระ ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ

ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับกรมสรรพากร เปิดบริการหักบัญชีอัตโนมัติและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Withholding Tax ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในที่เดียวครบ จบทุกขั้นตอน ผ่านบริการ K CASH CONNECT PLUS ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้านิติบุคคลใช้บริการกว่า 36,000 ราย และเพื่อสนับสนุนนโยบายสำคัญของกรมสรรพากร อีกทั้งบริการนี้ยังช่วยผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการทำธุรกิจในยุค Digital Transformation เพราะจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจ ซึ่งบริการนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีคู่ค้าจำนวนมาก หรือธุรกิจที่มีการว่าจ้างบริการต่างๆ เช่น ว่าจ้างวิชาชีพอิสระ ว่าจ้างผลิตของ หรือใช้บริการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีรายการการชำระเงินและมีภาระที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่งกรมสรรพากรเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารในแต่ละเดือนที่มีจำนวนมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญหายและเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ

บริการ e-Withholding Tax จะมาช่วยจัดการกระบวนการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ง่ายขึ้น ช่วยลดเวลา ขั้นตอนการจัดเก็บ การตรวจสอบเอกสาร และต้นทุนให้ธุรกิจ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้บริการนี้ รวมถึงช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการในช่วงนี้ ธนาคารจึงขอมอบสิทธิพิเศษ ฟรี ค่าธรรมเนียมตลอดปี 2564 ให้กับธุรกิจที่สมัครใช้บริการ e-Withholding Tax กับธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าของท่าน หรือ K-Biz Contact Center 02-8888822

เมื่อวันที่ 5 ส.ค.64 นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกร กล่าวว่า ธนาคารได้ร่วมมือกับกรมสรรพากร เปิดให้บริการระบบหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับลูกค้านิติบุคคลหรือธุรกิจ ดังนั้น e-Withholding Tax จึงเป็นการต่อยอดบริการของข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับดอกเบี้ยเงินฝาก โดยธนาคารกสิกรเป็นธนาคารนำร่องให้บริการดังกล่าว

ทั้งนี้ ระบบ e-Withholding Tax บริการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก บนเว็บไซต์กรมสรรพากร เปิดให้บริการแก่ลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารทุกประเภทและถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งลูกค้าบุคคลธรรมดา ที่ขอข้อมูลเพื่อใช้ในการคืนภาษี และลูกค้านิติบุคคลหรือลูกค้าธุรกิจ ที่ต้องใช้ข้อมูลในการปิดงบการเงินและยื่นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากร

E-withholding tax ธนาคารกสิกรไทย

โดยที่ผ่านมา ลูกค้าต้องเดินทางมายื่นและของรับหนังสือรับรองที่สาขา บริการนี้จึงพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการยื่นขอคืนหักภาษี ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝากสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481 มาตรา 48(3)(ก) ที่ระบุให้ผู้มีเงินได้ สามารถเลือกไม่นำรายได้ดอกเบี้ยไปรวมคำนวณภาษีรายได้ประจำปี เนื่องจากธนาคารได้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย เรียบร้อยแล้ว 

ลูกค้าสามารถขอข้อมูลรายการที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเป็นรายการตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.64 เป็นต้นไป ลูกค้าบุคคลธรรมดาติดต่อที่สาขาของธนาคาร ส่วนลูกค้านิติบุคคลหรือลูกค้าธุรกิจติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า