การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ มีอะไรบ้าง

 ������������ش���� (haploid) �����ѧ�ҡ��������ǡѹ���Ǩ������������������ͧ�ش (diploid) �Դ���㹢�ǹ��û��ʹ�ԾѲ�ҵ����繵����� ������ѡɳз��١�Ǻ�������͹�ѹ (homologous chromosome) �������Ǩ����ѡɳФ���� �����Ҩҡ�ѡɳе�ҧ�ѹ (heterozygous chromosome) ������١�������ҧ仨ҡ�ѹ������ ��äѴ���͡�鹾����е���������ѡɳе����ͧ����Ҽ���ѹ�֧���繵��١��� (hybrid) �Դ��� ����ѡ���ѡɳз����蹡������ �� �դ������ç���� ���ҹ����ä�����ŧ ���ż�Ե�٧����դس�Ҿ��

  ����ա�����ҧ����Ҩҡ�����������������������͹����֧���ѡɳТͧ�������ء��С�� �ת����դ����Ӥѭ�ҧ�ת�ǹ ����Դ�ҡ��â��¾ѹ���Ẻ���������ȹ�� ���¡��� clonal varieties ���������Ẻ��⵫��㹾ת���������dz�ش��ԭ��������ʹ �����ҡ ��к���dz�����������ԭ (vascular cambium) ����ӵ鹷�˹�ҷ���觵���Դ�繷�͹�ӷ������� �ѧ�����������ͧ͢�ת����Դ��鹵����ǹ��ҧ� �ͧ������͹�仪ѡ���繵�����֧���ѡɳ�����͹���

        ��â��¾ѹ���Ẻ����������Ըա�������ӹǹ �ת������ѡɳзҧ�ѹ�ء�������͹�����������ǹ�ͧ �鹷���Դ�Ҩҡ���������Ẻ��⵫�� (mitosis) �֧�� �ѡɳ��������� ���������Ẻ��⵫�ʨ��Դ��� ����ش��ԭ����������dz�����ʹ�����ҡ������������ҧ ���͡���Ѻ�����������Ѻ���ҧ��͹�ӷ������� (vascular cambium) ����ҷ�᷹��ǹ����֡�����Т��¢�Ҵ�ͧ �ת����˭���

เล่าขานตำนาน แมวกวักนำโชค
มาเนกิ เนโกะ (Maneki Neko)
ใครว่าความเชื่อเรื่องโชคลาง จะมีกันอยู่แต่ในหมู่ชาวไทยเท่านั้น เจ้าแห่งเทคโนโลยีอย่างชาวญี่ปุ่น ก็ยังต้องมีที่พึ่งทางใจคอยเสริมโชคลาภอยู่เหมือนกันนะ มาเนกิ เนโกะ (Maneki Neko) แมวกวัก หน้าตาน่ารัก จึงมีปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปไม่เว้นแม้แต่ในเมืองไทยบ้านเรา จนกลายเป็นแมวน้อยยอดฮิตที่ต้องมีติดบ้าน และร้านค้าไปซะแล้ว
ความเป็นมาของเจ้าแมวกวัก มาเนกิ เนโกะ มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (พ.ศ.2186 – พ.ศ.2411) และถูกตีพิมพ์ให้รู้จักกันในวงกว้าง จากหนังสือพิมพ์เล่มหนึ่งในสมัยเมจิ (พ.ศ.2413) ว่า แมวกวัก มาเนกิ เนโกะ ถูกพบเห็นในศาลเจ้าแห่งหนึ่งของเมืองโอซาก้า โดยมีตำนานที่กล่าวถึงเจ้า มาเนกิ เนโกะ อยู่หลายตำนานด้วยกัน
ตำนานหญิงชรา
เรื่องของคุณยายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่เลี้ยงแมวน้อยเอาไว้เป็นเพื่อน แต่ด้วยฐานะยากจน เธอจึงอดมื้อกินมื้อร่วมกับแมวมาตลอด สุดท้ายคุณยายจำใจต้องเอาแมวตัวนั้นไปปล่อย เพราะไม่สามารถหาอาหารมาเลี้ยงดูมันได้อีกต่อไปแล้ว คุณยายเสียใจมาก และเผลอหลับไป และแล้วคุณยายก็ฝันถึงแมวน้อยตัวนั้น ที่มาบอกคุณยายว่า หากอยากโชคดีให้ลองปั้นตุ๊กตาแมวขึ้นจากดินเหนียวดูสักครั้ง
คุณยายตัดสินใจลองปั้นตุ๊กตาแมวจากดินเหนียวดู โดยยกมือข้างหนึ่งของแมวขึ้นคล้ายกับการกวักเรียกโชคลาภ ต่อมามีคนแปลกหน้าเห็นตุ๊กตาแมวกวักของคุณยาย จึงขอซื้อไป ทำให้คุณยายได้เงินมาประทังชีวิต จากนั้นคุณยายจึงปั้นตุ๊กตาแมวกวักขายอยู่เรื่อย ๆ จนมีเงินพอไปรับแมวตัวเดิมกลับมาอยู่ด้วยอีกครั้ง ทำให้เกิดเสียงร่ำลือว่าตุ๊กตาแมวกวักนี้ เป็นตุ๊กตานำโชค และกลายเป็นตำนานในที่สุด
ตำนานแมวเช็ดหน้า
เป็นตำนานที่มาจากความเชื่อของชาวญี่ปุ่น ที่ว่า หากแมวยกแขนขึ้นมาคลอเคลียที่ใบหน้า แปลว่าจะมีแขกมาหา ดังนั้นจึงเกิดการสร้างตุ๊กตาปั้น รูปแมวกวักขึ้น โดยยกแขนข้างหนึ่งเอาไว้ให้เหมือนเป็นการคลอเคลียที่ใบหน้า เพื่อหวังให้มีแขกมาหาตามความเชื่อ ซึ่งแขกในที่นี้หมายถึง ลูกค้าที่จะเข้าร้านมาซื้อของนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ชื่อเรียก มาเนกิ เนโกะ (Maneki Neko) จึงมีความหมายตรงตัว ว่า แมวกวัก หรือแมวนำโชค เป็นชื่อที่เป็นสิริมงคล ตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่น
การยกแขน
ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า แมวกวัก มาเนกิ เนโกะ นั้น มีลักษณะท่าทางในการยกแขนอยู่หลายแบบด้วยกัน โดยมีความหมายดังนี้
1. ยกแขนขวา หมายถึง เป็นการกวักเรียกเงิน เรียกทอง และโชคลาภ
2. ยกแขนซ้าย หมายถึง เป็นการกวักเรียกลูกค้าให้เข้าร้าน ขายดิบขายดี
3. ยกแขนทั้งสองข้าง หมายถึง การกวักเรียกทั้งเงินทอง โชคลาภ และเรียกลูกค้าให้เข้าร้านไปพร้อม ๆ กัน
เครื่องประดับ
1. ปลอกคอ ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง มีกระดิ่งห้อยอยู่ โดยเชื่อว่าถ้าห้อยกระดิ่งไว้แมวจะไม่หนีไปไหน โชคลาภก็จะไม่หายไปด้วย
2. ผ้าพันคอ ไว้ช่วยปัดเป่าโรคภัย โดยเชื่อว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก พระโพธิสัตว์จิโซ โบซัสสุ พระโพธิสัตว์ผู้พิทักษ์เด็ก ที่เป็นเคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น ซึ่งตามความเชื่อว่าพระโพธิสัตว์จิโซ จะช่วยปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ และชาวบ้านจะนำผ้าพันคอไปพันไว้ที่รูปปั้นหินของท่านเป็นการตอบแทน
3. เหรียญทอง มาเนกิ เนโกะ ส่วนใหญ่จะถือเหรียญทองสมัยเอโดะไว้ในมือ เพื่อเรียกเงิน เรียกทอง และความโชคดี บางครั้งอาจเปลี่ยนจากเหรียญทองเป็นแบงค์ แต่ให้ความหมายเดียวกัน
ความหมายของสี
1. แบบ 3 สี เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยแมวกวักจะมีลำตัวเป็นสีขาว มีลายจุดสีดำ พื้นส้ม ตามแบบฉบับของแมวหางกุดสายพันธุ์โบราณที่หายากในญี่ปุ่น (Japanese Bobtail Cat) โดยเชื่อว่าสีสัน และลวดลายดังกล่าว เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีที่หาได้ยาก
2. สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ป้องกันไสยศาสตร์ ภัยมืด
3. สีดำ หมายถึง สีแห่งสุขภาพดี คอยปัดเป่าความชั่วร้าย ผู้หญิงญี่ปุ่นมักนิยมสีนี้ เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยขับไล่ผู้ไม่หวังดี และเหล่ามิจฉาชีพ
4. สีแดง หมายถึง ความคุ้มครอง ที่สามารถไล่ภูติผีวิญญาณได้
5. สีทอง หมายถึง การเรียกเงินเรียกทอง มั่งคั่ง ร่ำรวย
6. สีเงิน หมายถึง สุขภาพที่แข็งแรง อายุยืนยาว เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือ คนเจ็บป่วย
7. สีเหลือง หมายถึง การช่วยให้คู่รักรักกันได้ยืนยาวตลอดไป ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง
8. สีชมพู เป็นสีที่ไม่ได้มีมาตั้งแต่แรก แต่เพิ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยหมายถึง การให้โชคด้านความรัก เนื้อคู่
9. สีม่วง หมายถึง พลังแห่งศิลปะ
10. สีเขียว หมายถึง ให้พลังความสำเร็จในเรื่องการศึกษา
รู้ถึงความหมายของแมวกวักหน้าตาน่ารัก เครื่องหมายแห่งโชคลาภของญี่ปุ่นกันอย่างนี้แล้ว เพื่อน ๆ สนใจจะมีเจ้า มาเนกิ เนโกะ เอาไว้ที่บ้านสักตัวหรือยัง สำหรับใครที่มีโอกาสได้ไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ก็ลองแวะไปที่ วัดเซ็นโซจิ (Sensoji) ย่านอาซากุสะ (Asakusa) แล้วเลือกตัวที่ถูกใจกลับมาได้เลย เพราะย่านนั้นขึ้นชื่อเรื่องเจ้ารูปปั้นแมวกวัก มาเนกิ เนโกะ ที่สุด

 

เทศกาล Hounen Matsuri หรือ Penis Festival
Hōnen Matsuri (豊年祭)คือ เทศกาลแห่งการเก็บเกี่ยว เป็นงานเทศกาลเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของชาวญี่ปุ่นที่จัดขึ้นทุกวันที่ 15 มีนาคมของทุกปีในช่วงแรกเริ่มฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นเทศกาลที่โด่งดังที่สุดของเมืองโคมากิ(Komaki)ทางตอนเหนือของนาโกยา(Nagoya) ประเทสญี่ปุ่น โดยพิธีการสำคัญที่สุดจะอยู่ที่การแห่องคชาติไม้ขนาดใหญ่(น้ำหนัก 280 กิโลกรัม ยาวประมาณ 2.5 เมตร) จากศาลเจ้า Shinmei Sha ไปสู่ศาลเจ้า Tagata Jinja ซึ่งในขบวนแห่นี้จะมีนักบวชชินโตร้องรำทำเพลงไปตลอดทาง
ย้อนไปถึงที่มาของเทศกาลนี้ จากงานของ ดร.เกนชิ คาโตะ ผู้ริเริ่มการศึกษาลัทธิบูชาองคชาติในเอกสารโบราณของญี่ปุ่น ในหนังสือ Kogoshui (A.D.807) กล่าวถึงความโกรธของเทพ Mitoshi no Kami (เทพแห่งข้าว) ได้ส่งฝูงตั๊กแตนมาทำลายพืชผลให้เสียหาย ผู้คนจึงได้ทำสัญลักษณ์รูปอวัยวะเพศชายถวายในความหมายเพื่อความพอใจของเทพเจ้า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเกษตรกรญี่ปุ่นจึงถือเป็นประเพณีที่ต้องปฏิบัติสืบต่อกันมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี สำหรับรูปจำลองอวัยวะเพศชายจะทำจากไม้แกะสลักเป็นอวัยวะเพศขนาดใหญ่ เพื่อเป็นหลักประกันว่าพวกเขาจะได้ผลผลิตที่ดีในฤดูเก็บเกี่ยว กระทั่งปัจจุบัน ในพิธีเก็บเกี่ยวประจำปีของศาลเจ้า Hachiman ที่เมือง Ni-ike ในจังหวัด Mikawa และที่ศาลเจ้า Warei ที่เมือง Uwajima ในจังหวัด Iyo สัญลักษณ์อวัยวะเพศยังคงเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในพิธีดังกล่าว(รวมถึงพิธีในเทศกาลเก็บเกี่ยวที่เมืองโคมากิ)
นอกจากอวัยวะเพศจะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ในหมู่เกษตรกรแล้ว ช่วงหนึ่งในสมัยเอโดะ(Edo period of Japan : 1603-1867) ในหมู่โสเพณีมักจะอธิษฐานต่อองคชาติศักดิ์สิทธิ์ให้มีรายได้ดีและไม่ติดโรคซิฟิลิส ดร.คาโตะ ยังบอกว่า ในช่วงหนึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นก็เคยมีความพยายามที่จะยับยั้งพิธีอันน่ารังเกียจในการบูชาองคชาติเหล่านี้ แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะผู้คน(โดยเฉพาะเกษตรกร)ผูกพันกับความเชื่อนี้เป็นอย่างมากและยังคงสืบทอดต่อๆกันมา กระทั่งปัจจุบันมีทั้งเกษตรกรบูชา(เป็นหลัก) คู่รักที่มีปัญหา รวมถึงครอบครัวที่ไม่มีบุตรก็จะนำองคชาติศักดิ์สิทธิ์ไปแช่น้ำโดยให้หญิงที่ต้องการท้องทำความสะอาดแล้วขึ้นขี่ หรือสั่นกระดิ่งรูปองคชาติในวัดชินโตก็เป็นความเชื่อว่าจะทำให้มีบุตรได้
ปัจจุบันเทศกาล Hounen Matsuri หรือ Penis Festival เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติย่อมตื่นตาตื่นใจกับความแปลกของพิธีนี้ และแม้อาจไม่เข้าใจแก่นแท้ของพิธีนี้ แต่นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถร่วมสนุกไปกับพิธีแห่องคชาติได้ นอกจากนี้ของที่ระลึกในงานไม่ว่าจะเป็นของตกแต่งหรือขนมขบเคี้ยวก็ล้วนแล้วแต่เป็นรูปทรงแบบองคชาติทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่นปัจจุบันอย่างแยกไม่ออก
ลัทธิบูชาองคชาติ (Phallic Worship)
นักมานุษยวิทยาเคยตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับแนวคิดการบูชาอวัยวะเพศไว้ว่า เกิดจากการที่มนุษย์ในอดีตได้สังเกตธรรมชาติของฟ้าและดิน คือในเวลาที่ฟ้าส่งอะไรบางอย่างลงมาบนดิน เช่น ฝน หรือแสงแดด เป็นต้น ผืนดินก็จะมีพืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ ออกดอกออกผล เมื่อเทียบกับก่อนที่จะให้กำเนิดมนุษย์ ขณะมีเพศสัมพันธ์อวัยวะเพศชายก็ได้ฉีดอสุจิ(Ejeculation)เข้าสู่มดลูกของเพศหญิงจากนั้นจึงตั้งท้องและมีลูกออกมาเช่นเดียวกับการที่ผืนดินมีพืชพันธุ์เติบโตให้เก็บเกี่ยว เมื่อเห็นดังนั้นมนุษย์โบราณจึงมองว่าท้องฟ้าเป็นฝ่ายรุก(active agent)ได้แก่ เพศชาย ส่วนดิน เป็นฝ่ายรับ(passive agent)ได้แก่เพศหญิง เป็นเหตุให้เทพแห่งท้องฟ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และพระแม่ธรณีของแทบทุกวัฒนธรรมเป็นผู้หญิง เพราะมีหน้าที่อุ้มชูพืชผลนั่นเอง ดังนั้น เมื่อมนุษย์พบว่าเพศชายเป็นผู้ “ทำ” ให้เกิดชีวิตได้โดยผ่านองคชาติ จึงเกิดแนวความคิดในการบูชาองคชาติขึ้นภายใต้คติแห่งความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตนั่นเอง
แนวความคิดดังกล่าวนี้ยังพบกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก เช่น ในอารยธรรมกรีกโบราณ องคชาติสลักขนาดใหญ่หน้าวิหารไดโอนิซุสผู้เป็นเทพแห่งไวน์และความอุดมสมบูรณ์ (Fertility)บนหมู่เกาะเดลอส(Delos) แสดงถึงสัญลักษณ์แทนเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์เนื่องในลัทธิบูชาองคชาติ รวมทั้งพริอาพุส(Priapus) ลูกชายของไดโอนิซุสกับอะโฟรไดต์ ได้กลายเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นเทพแห่งอวัยวะเพศชายด้วย (ตามตำนานเชื่อว่าพริอาพุสมีอวัยวะเพศขนาดมหึมาและแข็งตัวตลอดเวลา)
ในเอเชีย พบความแพร่หลายของการบูชาศิวลึงค์เนื่องในศาสนาฮินดูในอินเดียที่มักจะมาคู่กับฐานโยนี ก็เป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ที่ภูฏาน ก็มีการเขียนรูปองคชาติไว้หน้าบ้าน เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบ้านและเชื่อว่าสามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้ ในขณะที่ญี่ปุ่นเองก็มีเทศกาลแห่งความอุดมสมบูรณ์(Honen Matsuri)ที่พัฒนามาเป็น Penis Festival อันโด่งดังในปัจจุบัน
จาก “ลัทธิบูชาองคชาติ” สู่ “พิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์” ในประเทศไทย
นอกจากที่ญี่ปุ่นและอารยธรรมอื่นๆทั่วโลกจะมีแนวความคิดเรื่องการบูชาองคชาติเพื่อความอุดมสมบูรณ์แล้ว ในประเทศไทยเองก็พบร่องรอยของแนวคิดทางเพศที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกัน
มีการค้นพบตุ๊กตาสำริดรูป "บุคคลเปลือย" ชูแขนสองข้าง อวดอวัยวะเพศชาย สูงราวหนึ่งฟุต จากแหล่งโบราณคดีบ้านเขาบ่อพลับ ต.ม่วงหัก อ. พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ การหล่อขึ้นจาก "สำริด" ซึ่งเป็นโลหะมีค่า อาจมีความเป็นไปได้ว่าไม่น่าจะผลิตขึ้นเพื่อเป็นแค่เพียงของเล่นธรรมดาเท่านั้น แต่คงจะถูกใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในศาสนาผีพื้นเมือง เมื่อราว 2,500-1,500 ปีที่แล้ว ก่อนที่บรรพบุรุษของคนอุษาคเนย์จะยอมรับวัฒนธรรมศาสนาพราหมณ์และพุทธจากชมพูทวีปซึ่งตรงกับยุคสมัยที่หลักฐานทางตะวันตกเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า "สุวรรณภูมิ"
ในหนังสือ พระราชพิธี 12 เดือน(ทวาทศมาส) ได้กล่าวถึง "พระราชพิธีพรุณศาสตร์" เดือนเก้า อันเป็นพิธีกรรมขอฝนอย่างพราหมณ์ และที่น่าสนใจคือในพิธีอย่างพราหมณ์(ชมพูทวีป)ที่ว่านี้ กลับมีการตั้งโต๊ะบูชา เอารูปตุ๊กตาคนเปลือยทั้งชายหญิง ปั้น "เมฆ" ขึ้นจาก "ดินเหนียว" ดังพระราชนิพนธ์ว่า
"...ตรงหน้าสระ (ที่ขุดขึ้นเฉพาะในพระราชพิธีพรุณศาสตร์) ออกไปปั้นเป็นรูปเมฆสองรูป คือปั้นเป็นรูปบุรุษสตรีเปลือยกายแล้วทาปูนขาว"
รวมทั้งพระยาอนุมานราชธน ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่กล่าวถึงตุ๊กตารูปบุคคลเปลือยที่พบที่อุษาคเนย์ว่า ได้สอบถามจากบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดต่างๆในภาคกลางมาแต่เล็ก พบว่ารูปปั้นด้วยดินเหนียวอย่างนี้มีอยู่ทุกจังหวัด ขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง แล้วแต่ผู้ปั้นสมัครใจ ปีใดถ้าแล้งจัดฝนมาล่าช้าจะพบรูปปั้นอย่างนี้อยู่ตามข้างทางเดินและหัวคันนา บางแห่งก็ปั้นหลายรูปวางเป็นระยะๆ ไป แต่ส่วนใหญ่นั้นผู้ปั้นมักจะไม่ทราบว่ารูปปั้นอย่างนี้เรียกชื่อว่าอะไร ในที่สุดจึงไปได้ความจากชาวอ่างทองผู้หนึ่งว่าเรียก "ปั้นเมฆ"
มีข้อสังเกตหนึ่งในเรื่องลักษณะของรูปบุคคลเปลือยที่พบ เนื่องจากสร้างขึ้นด้วยวัตถุมีค่าคือ สำริด จึงน่าจะถูกนำมาใช้เป็นถาวรวัตถุในฐานะสมบัติของชุมชน ต่างจากเดิมที่น่าจะเป็นดินปั้นที่ฝนแล้งทีก็ปั้นใหม่กันทีหนึ่ง ดังนั้น ตุ๊กตาปั้นเมฆอย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน จึงน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับรูปบุคคลเปลือยจากบ้านเขาบ่อพลับ ในฐานะที่เป็นหลักฐานของพิธีกรรมปั้นเมฆ(ขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์)ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในขณะนี้
จวบจนปัจจุบัน ตุ๊กตารูปชายหญิงเปลือยกายก็ยังพบอยู่ในท่าทางสังวาส รวมถึงรูปปั้นหรือรูปสลักอวัยวะเพศ (ที่ส่วนมากมักเป็นของเพศชาย ที่ภาคกลางเรียก "ขุนเพ็ด" หรือที่อีสานเรียกว่า "บักแบ้น") ก็ยังคงมีประกอบอยู่ในพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์อยู่
ในประเพณีบุญบั้งไฟและประเพณีผีตาโขนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งประเพณีแห่นางแมวทางภาคกลาง "บักแบ้น" หรือ “ปลัดขิก” หรือ “ขุนเพ็ด”และตุ๊กตาเชิงสังวาส รวมถึงอากัปกิริยาสนุกสนานที่ดูทะลึ่งตึงตังต่างๆ ในกระบวนแห่ของประเพณีดังกล่าว ทั้งยังมีการร้องเซิ้งด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศและเพศสัมพันธ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดและความเชื่อในความสัมพันธ์ระหว่างฟ้ากับดิน หญิงกับชาย ที่เป็นพลังก่อกำเนิดชีวิตและเป็นพลังแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่นำไปสู่แบบแผนประเพณีเช่นการขอฝนด้วยการใช้สัญลักษณ์ทางเพศ(อวัยวะเพศ)เป็นสื่อเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารนั่นเอง
สรุป
เราพบว่าในเกือบทุกวัฒนธรรมทั่วโลกล้วนมีแนวคิดเรื่อง "เพศ" และใช้ "อวัยวะเพศ" เป็นสัญลักษณ์ของ "การก่อกำเนิด" และ "ความอุดมสมบูรณ์" ภายใต้มุมมองต่อธรรมชาติ น้ำฝนที่หยดลงมาจากฟ้าก็เหมือนกับน้ำเชื้อ(semen)ของพ่อที่ทำให้แม่ตั้งครรภ์ แล้วออกลูกหลานเป็นผลผลิตทางการเกษตรนานาชนิดให้ทุกชีวิตได้เก็บกิน
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดบูชาองคชาติได้สะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ทางความเชื่อของมนุษย์ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติแห่งการเจริญพันธุ์ และความงอกงามของชีวิต นำไปสู่แบบแผนของพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ซึ่งปรากฏอยู่แทบทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะการแสดงออกในสังคมญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณกว่าพันปีผ่านเทศกาล Hounen Matsuri ที่แม้เทศกาลนี้อาจจะดูตลกในสายตาคนนอกที่มอง(เช่นเดียวกับประเพณีการแห่ขอฝนของไทย) แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า นี่คือร่องรอยของความเชื่อที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษนับพันปีสู่ลูกหลานในปัจจุบัน อันแสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติในสังคมเกษตรกรรมที่ได้ตกผลึกจนกลายมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญชิ้นหนึ่งของมนุษย์ในที่สุด
เรื่องเด่น ต่วย'ตูน พิเศษ
ภาพจาก


 

ปราสาทพิมานอากาศ
ที่มาของคนสมสู่กับนาค
ความเชื่อในราชสำขอมที่ตกทอดมาจนถึงราชสำนักอยุธยา
นาคาสังวาส
นาคาสังวาส เป็นคำบอกเล่าเก่าแก่ดึกดำบรรพ์ มีในราชสำนักอาณาจักรกัมพูชา เชื่อกันว่ากษัตริย์ต้องเสพสังวาสกับนางนาค
นาค เป็นสัญลักษณ์ของแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วยดินกับน้ำ และทั้งหมดเป็นเพศหญิง ดังนั้นนาคาสังวาส จึงหมายถึงพิธีกรรม " ทำกษัตริย์เป็นคู่ครองกับแผ่นดิน"
ความเชื่อทำให้เกิดพิธีกรรม แล้วมีวรรณกรรมสนองความเชื่อนั้น รัฐอยุธยา รับพิธีกรรมนาคาสังวาสจากนครวัด, นครธม ผ่านรัฐอยุธยา-ละโว้ ยุคก่อนอยุธยา แล้วตราเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรไว้ในกฎมณเฑียรบาล เรียกเป็นภาษาเขมรว่า เบาะพก เป็นพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินต้องมีพิธีกรรมนาคาสังวาส ที่ราชสำนักอยุธยาเรียกนางนาคว่า แม่หยัว (หรือแม่หยัวพระพี่หรือแม่หยัวพระพี่เจ้า)
แม่หยัวเมือง ผู้ (หญิง) เป็นใหญ่
แม่หยัว เป็นคำโบราณเก่าแก่ดึกดำบรรพ์มากๆ กร่อนจากคำเต็มว่าแม่อยู่หัว หมายถึง ผู้หญิงเป็นใหญ่สุด มีอำนาจอยู่เหนือคนอื่นๆในบ้านเมือง บางทีเรียกแม่หยัวเมือง หมายถึงแม่อยู่หัวของบ้านเมืองหรือรัฐนั้นๆ อำนาจจะมีจริงๆ หรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ในพิธีกรรมก็ได้
ในราชสำนักยุคก่อนอยุธยา สืบจนยุคต้นอยุธยา แม่หยัวเป็นชื่อตำแหน่ง มีตราไว้ในกฎมณเฑียรบาลให้อยู่เป็นรองจากพระอัครมเหสี (เมียหลวง) ว่า พระราชกุมารเกิดด้วยพระอัครมเหสี เป็นที่สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ถ้าเกิดด้วยแม่หยัวเมืองเป็นที่พระมหาอุปราช
ยุคต้นอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชา ทรงมีสนมเอกคนหนึ่งตำแหน่งศรีสุดาจันทร์ มีราชกุมารจึงได้รับยกย่องเป็นแม่หยัวเมือง
ศรีสุดาจันทร์ เป็นชื่อตำแหน่ง (ไม่เป็นชื่อตัว) สนมเอกของพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา มี 4 ตำแหน่ง (มีอีก 3 คือ อินทรสุเรนทร์, อินทรเทวี, ศรีจุฬาลักษณ์) ผู้รู้อธิบายว่ามีต้นแบบจากคติจักรพรรดิราช
แต่ศรีสุดาจันทร์แม่หยัวเมืองคนนี้พ่ายแพ้ทางการเมือง จึงถูกใส่ร้ายจากผู้ชนะยุคนั้น จนนักค้นคว้าและนักเขียนในยุคหลังๆ กล่าวหาให้ร้ายว่าเป็นแม่ยั่วเมือง หมายถึง ดาวยั่ว (ยวน) ทางกามารมณ์
นาคาสังวาส
พระราชพิธีเบาะพก หมายถึงพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปปราสาท แล้วเสพสังวาสกับแม่หยัว เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งของไพร่ฟ้าประชากรและราชอาณาจักร
แม่หยัว คือ นางนาค ฉะนั้นเบาะพก คือ นาคาสังวาส
เบาะพก เป็นภาษาเขมร แปลว่าใช้อวัยวะทิ่มๆ ตำๆ บริเวณใต้ท้องน้อยหมายถึงเสพสังวาส
ในพจนานุกรมภาษาเขมร (ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน) อธิบายว่า บุะ (อ่านว่า โบะห์) แปลว่า กระแทก, กระทุ้ง, ทิ่มต่ำให้เป็นหลุม, แดก, ยัด โบะ (อ่านว่า บอะห์) แปลว่า โยน, ตอก, ประทับ, ตอกหลัก
คำเขมรว่า บุะ, โบะ มีคำแปลใกล้เคียงกัน แล้วเพี้ยนเสียงเป็นคำไทยก็ได้ว่า เบาะ หมายถึงอาการทุบ, ตี, ทิ่มอย่างเบาๆ หรือเบาะๆ
โพะ (อ่านว่า ปัวะห์) แปลว่า ท้อง, พุง, มีท้อง, มีลูก แล้วเพี้ยนเสียงเป็นไทยว่า พก เช่น ชายพก คือส่วนของผ้าที่เหลือเป็นถุงจากการขัดกัน แล้วเหน็บไว้ที่ท้องใกล้สะดือ ใช้เก็บของเล็กๆ ได้
พระราชพิธีเบาะพก มีตอนข้างแรม เดือนมืด ระหว่างแรม 11-14 ค่ำ โดยไม่ระบุว่าเดือนไหน?
ลำดับพิธีอย่างย่อๆ มีดังนี้ (1.) ตั้งโรงพิธีในวังหลวง มีรูปสัญลักษณ์ หรือที่เรียกว่าเจว็ดของแม่หยัว (2.) เริ่มทำพิธีสมโภช แรม 11 ค่ำ (3.) แห่เจว็ดแม่หยัวจากโรงพิธีไปที่มณฑลในปราสาท (4.) พระเจ้าแผ่นดินเสด็จบรรทมสมพาสกับแม่หยัว
ข้อความพรรณนาอยู่ในกฎมณเฑียรบาล มีตัวอย่างตอนหนึ่งจะคัดมาดังนี้
" .......แรม 14 ค่ำเอาราชยานแลพรหม 16 มารับแม่หยัวพระพี่เจ้าไปในปราสาทเมียพระบโรหิตถือเทียนทอง เมียพระพิรามถือสังข เมียพระมเหธรถือปลาทอง เมียพระพิเชดถือเต่าทอง เมียพระเทพราชถือตระพัง เมียพระจักรปาณีถือพานเข้าตอก เมียพระอาทยาถือมีดไพล เมียพระโหรปรายเข้าสาน ครั้นเสดจ์ถึงเข้าพระผทมด้วยแม่หยัวพระพี่ ผทมตื่นสรงเสวยธรงพระสุคนธสำอางราโชประโภก เสดจ์หอพระแล้วลงพระราเชนทรเสดจ์ไปเวียร 9 รอบ ครั้นไปถึงอุทกราชสศซัดแหวนซัดทองซัดเงีน เทพดาแลองคมีคุณทแลอันมี พราหมณอยู่บูชา แลคนปรายเงีนให้ทุกคน ..."
อยุธยาสืบนางนาคจากนครธม
พระเจ้าแผ่นดินยุคต้นอยุธยา ต้องเสด็จไปเสพสังวาสกับแม่หยัวพระพี่เจ้า เป็นความเชื่อศักดิ์สิทธิ์ที่สืบจากบรรพชนในรัฐก่อนหน้านั้น เช่น รัฐอโยธยา-ละโว้ ซึ่งสืบจากบรรพชนในรัฐพระนครหลวง (นครธม) กัมพูชา อีกทอดหนึ่ง
มีพยานหลักฐานอยู่ในความเชื่อศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์กัมพูชายุคก่อนอยุธยา ซึ่งเอกสารจีนร่วมสมัย เมื่อ พ.ศ. 1839 เรียกรัฐเจินละ บันทึกว่า ดังนี้
"...ปราสาททองคำภายในพระราชวังนั้น พระเจ้าแผ่นดินเข้าที่พระบรรทมในยามราตรีบนยอดปราสาท
พวกชาวพื้นเมืองพากันกล่าวว่า ในปราสาทนั้นมีภูติงูเก้าศีรษะ ซึ่งเป็นพระภูมิเจ้าที่ทั่วทั้งประเทศ ภูติตนนี้เป็นร่างของสตรี และจะปรากฏกายทุกคืน พระเจ้าแผ่นดินจะเข้าที่พระบรรทม และทรงร่วมสมพาสด้วยก่อน แม้แต่บรรดามเหสีทั้งหลายของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่กล้าเข้าไปในปราสาทนี้ พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จออกจากปราสาทนั้นเมื่อเพลายามที่ 2 แล้วจึงจะเข้าที่พระบรรทมร่วมกับพระมเหสีและพระสนมได้ ถ้าหากราตรีใด ภูติตนนี้ไม่ปรากฏกาย ก็หมายความว่า เวลาสวรรคตของพระเจ้าแผ่นดินชาวป่าเถื่อนพระองค์นั้นใกล้เข้ามาแล้ว ถ้าพระเจ้าแผ่นดินของชาวป่าเถื่อนมิได้เสด็จไปเพียงราตรีเดียว ก็จะต้องทรงได้รับภัยอันตราย.."
ปราสาททองคำ ในจดหมายเหตุจีนเรื่องนี้หมายถึง ปราสาทพิมานอากาศ อยู่ในนครธม ส่วน ภูติงูเก้าศีรษะ และ ภูติตนนี้เป็นร่างของสตรี และจะปรากฏกายทุกคืน” คือ นางนาค
เครดิตร้อยเรื่องราว ไปกับ เจ้าคุณปราบสุราพินาศ V.2ครับ
_______________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศมีอะไรบ้าง

การขยายพันธุ์พืช แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธุ์โดย การใช้เมล็ด และการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธุ์โดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช เช่น การปักช า การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง รวมถึง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

พืชในข้อใดที่สามารถขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้เองตามธรรมชาติ *

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืช ทำให้ได้ต้นใหม่ที่มีลักษณะต่างๆ เหมือนต้นเดิมทุกประการ ส่วนต่างๆ ของพืชที่นำมาขยายพันธุ์ได้ มีดังนี้ 1. ราก ได้แก่ มันเทศ มันสำปะหลัง กระชาย หัวผักกาด 2. ลำต้นใต้ดิน ได้แก่ ขิง ข่า พุทธรักษา เผือก แห้วจีน มันฝรั่ง

ต้นไม้ที่ไม่อาศัยเพศมีอะไรบ้าง

พืชนอกจากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้วยังสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เช่น 1. การขยายพันธุ์ด้วยลำต้น เช่นพืชที่มีลำต้นใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหาร ได้แก่ ขิง ข่า ขมิ้น แห้ว เผือก หอม กระเทียม มันฝรั่ง ว่านสี่ทิศ

การขยายพันธุ์โดยวิธีการไม่อาศัยเพศนักเรียนคิดว่ามีข้อดีอะไรบ้าง

ข้อดีของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 1. ให้ผลตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ 2. ให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด 3. ใช้ขยายพันธุ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วไม่ขึ้น ข้อเสียของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ