การมอบอำนาจทำได้ง่าย

  • หน้าแรก

  • News & Events

  • บทความ

  • การเงินและบัญชี

  • มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจ

การมอบอำนาจทำได้ง่าย

การมอบอำนาจ 
       คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ

       ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินโดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็น หนังสือให้ผู้ไปทำการแทน และควรมอบบัตรประจำตัวของผู้มอบให้กับผู้รับมอบอำนาจไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าของที่ดินและผู้ซื้อที่ดินจะต้องระมัดระวัง หรือกระทำ การให้รัดกุม รอบคอบอาจเกิดการฉ้อโกงหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ จึงขอให้ผู้มอบได้ปฏิบัติตามคำเตือนหลังใบมอบอำนาจโดยเคร่งครัด

การมอบอำนาจคืออะไร

       การมอบอำนาจคือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน หรือการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง

การมอบอำนาจเพื่ออะไร

       หากบุคคลไม่สามารถไปกระทำการใดๆได้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการ จะต้องทำอย่างไร

       – อาจทำหนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลอื่นเป็น “ตัวแทน” ไปกระทำการแทนได้โดย หนังสือมอบอำนาจนี้ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเก็บไว้เก็บหลักฐาน

การมอบอำนาจทำอย่างไร

       – การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ ตัวอย่างเช่น การจัดการเกี่ยวกับที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินโดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจ มีอะไรบ้าง

       – ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย

       – อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกครั้ง

       – อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด

       – ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อเท่านั้น จะใช้วิธีพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้

ความรับผิดชอบของ ตัวการ และตัวแทนเป็นอย่างไร

      ตัวการย่อมมีผลผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำการใดๆที่ตัวแทนได้ทำไป ตามที่ตัวการได้มอบหมายให้ทำ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

แหล่งที่มา : www.pangpond.co.th

วันที่นำเข้าข้อมูล 28 ส.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 ต.ค. 2565

| 3,227 view

แม้จะใช้ชีวิตในต่างประเทศ แต่แน่นอนว่าหลายท่านยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ  ในประเทศไทย  อาทิ  ศาล สำนักงานตำรวจ   สำนักงานเขต  ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานที่ดิน ธนาคาร หรือสถาบันการศึกษา  เพื่อให้บรรลุความประสงค์ต่างๆ เช่น  การดำเนินคดีแพ่ง-คดีอาญา การจดทะเบียนสถานะครอบครัว การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล การแจ้งย้ายที่อยู่  การขอคัดสำเนาสูติบัตร สำเนาใบจดทะเบียนสมรส  การสำรวจรังวัดที่ดิน  และ การทำนิติกรรม-สัญญาต่าง ๆ  

โดยปกติการดำเนินการเรื่องเหล่านี้ ท่านจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง  อย่างไรก็ดี  หากไม่สะดวกที่จะเดินทางกลับไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทย  ท่านสามารถดำเนินการมอบอำนาจให้บุคคลที่อยู่ที่ประเทศไทยดำเนินการแทนได้   โดยผู้มอบอำนาจสามารถกรอกแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจและเดินทางมาลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน พร้อมนำหนังสือเดินทางตัวจริง  และเตรียมข้อมูล ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ที่ประเทศไทยของผู้รับมอบอำนาจ เพื่อกรอกในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวด้วย

โปรดดูข้อมูลขั้นตอนการดำเนินการมอบอำนาจและสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจได้ที่ http://bit.ly/2yXk2lY