ลักษณะ การ ทำงาน ของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

ความรู้เบื้องต้น ของ linux และ ประโยชน์ที่จะได้จากการใช้ระบบปฏิบัติการ Linuxโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ linux

ลีนุกซ์ที่ ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นเพียงส่วนที่เรียกกันว่า เคอร์เนล (Kernel) หรือแกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมและอุปกรณ์ อื่นๆ ดังรูป

ลักษณะ การ ทำงาน ของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

โครงสร้างของลีนุกซ์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบภายในและส่วนประกอบภายนอก อย่างเช่น แรม , ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นและจับต้องได้

เคอร์เนล (Kernel)
เคอร์เนลเป็นส่วนประกอบที่สำคุญของระบบ เรียกว่าเป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริการโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต , เอาต์พุต บรหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนรุ่นใหม่ เคอร์เนลก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย
ภายในเคอร์เนล จะประกอบไปด้วยโมดูล (Module) ต่างๆ และบางครั้งเราอาจจะเรียกโมดูลเหล่านี้ว่า ไดรเวอร์ (Driver) มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกันระหว่างแอพพลิเคชันหรือ ระบบปฏิบัติการกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ทั้งภายในและนอกเครื่องคอมพิวเตอร์

เชลล์ (Shell)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเข่น คีย์บอร์ด ส่งให้ kernel ของระบบปฏิบัติการ เป็น command interpreter แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เชลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาท์พุต ได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอ หรือเก็บลงในไฟล์ก็ได้

ลักษณะ การ ทำงาน ของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

shell แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. แบบ Command line ผู้ใช้จะติดต่อไปยัง kernel ผ่านทาง command line interface (CLI)
2. แบบ graphic ผู้ใช้ติดต่อผ่าน graphical user interface (GUI)

shell แบบ Command line บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ มีหลายชนิด เช่น Bourne shell (sh), Debian Almquist shell (dash), Bourne-Again shell (bash), C shell (csh) แต่ละชนิดจะมีรูปแบบคำสั่ง และ ขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป

ใน การติดต่อกับ shell แบบ Command line จะติดต่อผ่านโปรแกรมเทอร์มินัล เช่น gnome-terminal , konsole , xterm

โปรแกรมประยุกต์ (Application)
คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานต่างๆ บนลีนุกซ์ อย่างเช่น Star Office (โปรแกรมจัดการทั่วไปในสำนักงานคล้ายกับ Microsoft Office) , Gimp (โปรแกรมแต่งภาพบนลีนุกซ์คล้ายกับ Photoshop) โดยที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาร่วมกันโดยนักพัฒนาทั่วโลกและเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดไป ใช้งานได้ฟรี จึงมีโปรแกรมสำหรับใช้งานบนลีนุกซ์เกิดขึ้นมากมาย

ประโยชน์ของระบบปฏิบัติการ linux

การที่ลีนุกซ์ได้รับความนิยมและมีผู้สนใจนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องมาจากประสิทธิภาพการทำงาน ข้อดี และประโยชน์ของลีนุกซ์ซึ่งมีอยู่มากมาย โดยสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้

ลีนุกซ์ถอดแบบมาจากยูนิกซ์
ยูนิกซืเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่และขึ้นชื่อมานานในเรื่องประสิทธิภาพ การทำงาน ลีนุกซ์เป็นการถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ดังนั้นคุณสมบัติของยูนิกซ์เรื่องของระบบความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานพร้อมกันหงายงาน (Multi Tasking) ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์รวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย จึงได้รับการถ่ายทอดมาสู่ลีนุกซ์ด้วย

ใช้งานลีนุกซ์ได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ลีนุกซ์และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์จะอยู่ภายใต่ลิขสิทธิ์ ที่เรียกกันว่า General License (GPL) ซึ่งหมายความว่า เราสามารถนำลีนุกซ์มาใช้งานได้ฟรี นำไปใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ปรับปรุงแก้ไขได้ตามต้องการ โดยซอร์สโค้ดที่ได้ทำการแก้ไขจะต้องเผยแพร่ให้ผู้อื่นใช้ได้ฟรีเหมือนกับ ต้นแบบ

ความปลอดภัยในการทำงาน
ลีนุกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ก่อนที่จะเข้าไปใช้งานทุกครั้งจะมีการตรวจสอบโดยผู้ใช้ต้องทำการป้อนชื่อและ รหัสผ่าน เพื่อแสดงสิทธิในการใช้งาน (หรือที่เรียกว่าการ Log in) ให้ถูกต้องจึงจะเข้าใช้งานลีนุกซ์ได้

เสถียรภาพในการทำงาน
ลีนุกซ์มัเสถียรภาพในการทำงานสูง ปัญหาระบบล่มในระหว่างทำงานจะไม่ค่อยมีให้พบ โดยความสามารถพิเศษของลีนุกซ์อยู่ที่การตรวจสอบความสัมพันธ์ของโปรแกรมในการ ทำงาน เช่น ถ้าเราติดตั้งโปรแกรม 1 ลีนุกซ์จะทำการตรวจสอบว่าโปรแกรม 1 มีการเรียกใช้งานโปรแกรมอื่นทำงานด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ถ้าทำการติดตั้งหรือลบโปรแกรมออกจากระบบ เราไม่ต้องบู๊ตเครื่องใหม่ สามารถทำงานต่อไปได้ทันที

สนับสนุนฮาร์ดแวร์ทั้งเก่าและใหม่
เทคโนโลยีของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่มักจะออกมาเพื่อรองรับประสิทธิภาพการทำงานของ ฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาขึ้น จนทำให้บางครั้งต้องการอัพเกรดเครื่องตาม แต่สำหรับลีนุกซ์จะยังคงสนับสนุนฮาร์ดแวร์เก่าให้สามารถใช้งานได้ โดยจะเพิ่มส่วนของการสนับสนุนฮาร์ดแวร์ตัวใหม่ลงไปเท่านั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก

ลีนุกซ์กับระบบเครือข่าย
จุดเด่นอีกเรื่องที่สำคัญของลีนุกซ์ก็คือ การใช้งานกับระบบเครือข่าย ลีนุกซ์สามารถใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server) ในระบบเครือข่ายร่วมกับเครื่องไคลเอนท์ (Client) ซึ่งติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นได้ นอกจากนี้ลีนุกซ์ยังสนับสนุนโปรโตคอลในการทำงานกับระบบเครือข่ายมากมายอย่าง เช่น TCP/IP , DNS , FTP