แบบอักษรที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ใน HTML และ XHTML ได้ใช้ font face หรือ font family เป็นตัวกำหนด รูปแบบตัวอักษร

การกำหนดรูปแบบตัวอักษรในการเขียนรหัส HTML จำเป็นต้องใช้ Element Font, หรือใช้ Cascading Style Sheets (CSS). ตัวอย่างแบบ HTML ในการกำหนดตัวอักษร:

<p><font face="times, serif">Sample text.</font></p>

ตัวอย่างการใช้ CSS:

<p style="font-family: times, serif">Sample text.</p>

รูปแบบตัวอักษรนั้นจะถูกกำหนดตามรายชื่อตัวอักษรที่ปรากฏ หรือไม่ปรากฏบนคอมพิวเตอร์ แต่อย่างไรก็ตามมี 5 รูปแบบอักษรพื้นฐานที่มีใช้ในคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถนำมาใช้ในทั้ง HTML และ CSS ซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าในเบราว์เซอร์ว่าจะใช้แบบอักษรอะไรสำหรับแสดง :

Serif: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Sans-serif:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Cursive: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Fantasy: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Monospace:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.

(ใน Windows API, มีแบบอักษร Roman, Swiss, Script, Decorative, และ Modern อยู่แล้ว).

อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่าแบบอักษรบนเครื่องคุณ จะมีอยู่บนเครื่องคนอื่นๆ ด้วย หรือบางทีมันอาจแสดงต่างออกไป ลองดูตารางด้านล่าง ว่าเบราว์เซอร์ของคุณแสดงผลออกมาเป็นเช่นไร:

Times: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Roman: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Garamond:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Palatino:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Antiqua:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Minion:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Helvetica:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Swiss:  The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Impact: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Script: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Decorative: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Blackletter: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Fraktur: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Modern: The quick brown fox jumps over the lazy dog.
Courier: The quick brown fox jumps over the lazy dog.

อ้างอิง[แก้]

รหัสตัวอักษรไทยที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ความสำคัญของรหัสที่จะใช้ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น มิได้ใช้สำหรับแทนตัวข้อมูลที่จะให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังใช้แทนคำสั่ง ที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน หรือควบคุมระบบการทำงานต่างๆ รวมทั้ง ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เกิดขึ้นตามความต้องการ

คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยี ที่ได้รับการพัฒนามาจากประเทศทางตะวันตก ซึ่งใช้อักษรละติน ดังนั้น จึงมีผู้กำหนดรูปแบบของตัวอักษรละตินเป็นรหัสที่จะให้คอมพิวเตอร์รับรู้ได้ รหัสที่กำหนดนี้จะต้องเหมาะสมกับการทำงานของ คอมพิวเตอร์ที่ใช้หลักการของเลขฐานสอง ดังนั้น จึง กำหนดรหัสแทนตัวอักษรละตินเหล่านั้นเป็นรหัสเลขฐานสอง ซึ่งมีหลักตัวเลขที่เล็กที่สุด คือ บิต เมื่อนำตัวเลขฐานสอง หลายหลักหรือหลายบิตมาประกอบกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ ๖, ๗ หรือ ๘ บิต เรียกว่า ไบต์

รหัสแทนอักษรภาษาละตินที่นิยมใช้กันจริงๆ จนเป็นมาตรฐานใช้กันทั่วโลกมีเพียง ๒ รหัส คือ รหัสแอสกี (ASCII; American standard code for information interchange) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC; extended binary- code-decimal interchange code)

รหัสแอสกีเป็นรหัสที่องค์การระหว่างประเทศว่าด้วย การมาตรฐาน (International Standard Organization; ISO) กำหนดขึ้น และใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยใช้อีกชื่อว่า รหัสไอเอสโอ ๖๔๖-๑๙๘๓ (ISO 646- 1983) รหัสแอสกีหรือรหัสไอเอสโอ ที่มีเพียง ๗ บิต ใน แต่ละประเทศจะใช้แตกต่างกันเล็กน้อย โดยเฉพาะในเรื่อง เครื่องหมายพิเศษบางตัว เช่น อักษรแทนเงินตรา รหัสที่ ไอเอสโอกำหนดนี้มีเพียง ๗ บิต จึงแทนรหัสของตัวอักษร ได้ ๒๗ หรือ = ๑๒๘ ตัว โดยกำหนดให้รหัส ๓๒ ตัวแรก คือ ๐๐๐๐๐๐๐ ถึง ๐๐๑๑๑๑๑ เป็นรหัสควบคุม เช่น ส่ง เสียงปิ๊บ ปัดแคร่ (CR; carriage return) ขึ้นบรรทัดใหม่ (LF; line feed) จบเอกสาร (EOT; end of text) เป็นต้น

ส่วนรหัสเอ็บซีดิก เป็นรหัสที่มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน และมีรากฐานมาจากการใช้บัตรเจาะรูแบบฮอลเลอริท โดยมีช่องเจาะอยู่ ๑๒ แถว จัดเป็นแถว ๐ ถึง ๙, ๑๑ และ ๑๒ รหัสบนบัตรเจาะรูส่วนที่เป็นแถว ๐ ถึง ๙ จะแปลเป็นเลขฐานสองโดยตรง ซึ่งเรียกรหัสนี้ว่า บีซีดี (BCD; binary code decimal) ส่วนแถวที่ ๑๑ และ ๑๒ จะได้รับการแปลเป็นเลขฐานสองควบคู่กันไปด้วยแถวละ ๑ หลัก ผลที่ได้คือ จะได้รหัสที่ประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง ๖ บิต หลังจากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงขึ้น จนในที่สุดรหัสเอ็บซีดิกได้รับการขยายให้ครบ ๘ บิต โดยให้มีตัวอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่ อยู่รวมกัน

เพื่อให้การแสดงรหัสของคอมพิวเตอร์เป็นที่เข้าใจได้ ง่าย การแสดงด้วยการแทนรหัสกับตัวอักษรโดยตรง จึงไม่เป็นที่นิยมกันนัก เพราะอ่านลำบาก เปลืองเนื้อที่ และ จดจำได้ยาก การแสดงรหัสจึงแสดงในรูปของตาราง ซึ่งถ้า เป็นรหัส ๘ บิต จะแสดงในรูปตารางขนาด ๑๖ x ๑๖ และ ถ้าเป็นรหัส ๗ บิต จะแสดงในรูปตารางขนาด ๑๖ x ๘ โดย หมายเลขบรรทัด ๐-๑๕ ใช้แทนรหัสเลขท้าย ๔ บิต (เลข ๔ บิต ได้แก่ ๐๐๐๐ ถึง ๑๑๑๑ มี ๑๖ จำนวน เลขบรรทัดจะ ใช้เลขฐาน ๑๖ เป็นตัวบอกคือ ๐, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, A, B, C, D, E และ F) ส่วนหมายเลขสดมภ์ ๐-๗ หรือ ๐-๑๕ ใช้แทนรหัสเลขต้น ๓ บิต หรือ ๔ บิต (เอ็บซีดิก) กำกับด้วยเลขฐาน ๑๖ เช่นกัน