ยก ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ os ที่ นักเรียน รู้จัก มา อย่าง น้อย 5 โปรแกรม

2.2 ซอฟต์แวร์ (software)

2.2.1 ความหมายซอฟต์แวร์

Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรงเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้

ยก ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ os ที่ นักเรียน รู้จัก มา อย่าง น้อย 5 โปรแกรม

รูปที่ 2.13 โปรแกรมต่างๆ
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

2.2.2 ประเภทของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)

 หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่ในการจัดการระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้

  1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP, DOS, Linux, Mac OS X

1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR) เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง โปรแกรมการสำรองข้อมูล (Backup Data)

1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดรฟ์เวอร์หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้ลออกได้

 โดยปกติโปรแกรม Windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดรฟ์เวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดรฟ์เวอร์เอง เช่น ไดรฟ์เวอร์สำหรับเมาส์ ไดรฟ์เวอร์คีย์บอร์ด, ไดรฟ์เวอร์สำหรับการใช้ USB Post ไดรฟ์เวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดรฟ์เวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดรฟ์เวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assembly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

 ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้

1. แอสเซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง

2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง

3. คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอหรือเป็น ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน ซอฟต์แวร์สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

 
          ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ
(OS- Operating System) เช่น  MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux, Ubuntu เป็นต้น

                 

ยก ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ os ที่ นักเรียน รู้จัก มา อย่าง น้อย 5 โปรแกรม

         หน้าที่ของ OS

         ตัว OS ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลัก คือ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่ผู้ใช้ ไม่ต้องทราบกลไกการทำ หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ เราจึงแบ่งหน้าที่ของ OS ได้ดังนี้

         1.ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)

         ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องผ่านทาง OS ได้ OS จะส่งเครื่องหมายพร้อมต์ (Prompt) ออกสู่จอรับคำสั่งจากผู้ใช้ โดยตรง ตัว OS จึงเป็นตัวกลางในการทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับ Hardware กับเครื่อง นอกจากนี้ผู้ใช้อาจเขียนโปรแกรมเพื่องาน ซึ่งกรณีนี้ไม่สามารถกับ OS ได้โดยผ่านทาง System Call จึงเป็นการเรียกใช้รูทีน (โปรแกรมย่อย) ต่าง ๆ ของโปรแกรมของผู้ใช้ ทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้

          2.ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

         เนื่องจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทาง OS อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในของเครื่อง ดังนั้นตัว OS จึงต้องมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกัน OS จึงมีส่วนประกอบเป็นรูทีนต่าง ๆ ที่ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิด อุปกรณ์แต่ละชนิดก็ต้องมีการควบคุมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น รูทีนควบคุม Disk Drives รูที่นควบคุมจอภาพ เป็นต้น

          3.การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ

         ทรัพยากร (Resource) คือสิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้ เช่น CPU Memory Disk เป็นต้น เหตุที่ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพราะทรัพยากรของระบบมีจำกัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ CPU ในระบบที่มี CPU ตัวเดียวแต่ทำงานหลายโปรแกรม เราต้องแบ่งสรรการใช้ CPU ให้กับโปรแกรมอย่างเหมาะสมมีทรัยากรอยู่หลายประเภท แต่ละโปรเซส หรือโปรแกรมมีความต้องการใช้ทรัพยากร อย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อมกัน OS ต้องจัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ตามความต้องการของแต่ละโปรเซส หรือ โปรแกรมเหล่านั้น

         ดังนั้นหน้าที่อันสำคัญอีกประการหนึ่งของ OS ก็คือ จัดสรรการใช้ทรัพยากรของระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้า OS จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบก็สามารถรันโปรแกรม  ได้รวดเร็ว และ ได้งานเพิ่มขึ้น ทรัพยากรหลักที่ OS จัดสรรได้แก่

         โปรเซสเซอร์( ซีพียู )

         หน่วยความจำ

         อุปกรณ์ อินพุต เอาท์พุต

         ข้อมูล ( data )