เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เทคนิค

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เทคนิค

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 29 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

062-5932224

การส่งใบสมัครบนเว็บไซต์

082-796-1670 หรือ 02-118-6953

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโครงการ

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เทคนิค

เฉลิมชัยเมื่อปี 2564

เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (67 ปี)
หมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย
การศึกษาจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลงานเด่น

ภาพจิตรกรรมวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน, ภาพชุดพระมหาชนก, ผลงานศิลปะวัดร่องขุ่น
รางวัลรางวัลศิลปาธร ปี พ.ศ. 2547

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เทคนิค

วัดร่องขุ่น ผลงานสร้างและออกแบบโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554

ประวัติ[แก้]

อาจารย์เฉลิมชัยเป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับคนหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว ​(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุข​ ทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น ชีวิตตอนเด็ก ๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาศิลปไทยรุ่นแรก 2521 เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4 มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน เฉลิมชัยสร้างวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของเขา ด้วยศิลปะไทยประยุกต์ หรือศิลปะสมัยใหม่

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ชีวิตด้านครอบครัว อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้สมรสกับ กนกวัลย์ โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 และมีลูกชายด้วยกัน 1 คน น้องแทน หรือ ณภัส โฆษิตพิพัฒน์

ผลงาน[แก้]

เฉลิมชัยจัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

  • พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
  • พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
  • พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงรายบ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2548 เริ่มดำเนินการออกแบบและก่อสร้างหอนาฬิกาเชียงรายขึ้น ณ ถนนบรรพปราการ

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เทคนิค

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (กลาง) ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 (พ.ศ. 2562) "น้ำกกเกมส์"

  • พ.ศ. 2520 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 3
  • พ.ศ. 2520 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 จากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
  • พ.ศ. 2522 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 4 ของธนาคารกรุงเทพ
  • พ.ศ. 2536 - ได้รับเครื่องหมายเกียรติคุณบุคคลตัวอย่างผู้สร้างเสริมงานวัฒนธรรมด้านจิตรกรรม จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2537 - ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "เพชรสยาม" (สาขาจิตรกรรม) จากสถาบันราชภัฎจันทรเกษม
  • พ.ศ. 2538 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เขียนภาพประกอบ บทพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" และออกแบบเหรียญพระราชทานคณะแพทย์
  • พ.ศ. 2543 - ที่ปรึกษากรมศิลปากร งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง
  • พ.ศ. 2547 - ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2547
  • พ.ศ. 2554 - ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2554
    • ที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย ออกแบบธนบัตรราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
    • ถวายการสอนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
  • พ.ศ. 2559 ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จิตรกรรมไทย) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์[1]

ทุนที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2523 - ทุนจากกลุ่มศิลปินร่วมสมัยของศรีลังกา ร่วมกับสถานทูตไทยในโคลัมโบให้พำนักศึกษา พุทธศิลป์ เป็นเวลา 6 เดือน และทุนในการแสดงผลงาน
  • พ.ศ. 2524 - ทุนจากโยฮันเนส ซุลทส์เทสมาร์ ให้พำนักและแสดงผลงานในเยอรมนีเป็นเวลา 6 เดือน - ได้รับเชิญจากบริติชเคาน์ซิล ให้ไปดูงานศิลปะ และพบศิลปินมีชื่อของอังกฤษ
  • พ.ศ. 2526 - ทุนจากทูตวัฒนธรรมเยอรมนี ไปศึกษาดูงานพุทธศิลป์ ในประเทศพม่า
  • พ.ศ. 2527 - ทุนจากมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน และรัฐบาลไทยในการเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนัง วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน
  • พ.ศ. 2532 - ทุนจากกงสุลเยอรมนีในซานฟรานซิสโก แสดงผลงานในสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2539 - ทุนจากกงสุลไทยในแอลเอ ร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อเดินทางไปแสดงผลงาน เนื่องในโอกาสเปิดสถานกงสุลไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  • พ.ศ. 2555 –
    เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เทคนิค
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายนาม บัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ประจำปีการศึกษา 2559
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๒๔, ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ประวัติ​ ​อ​.​เฉลิมชัย​ ​โฆษิตพิพัฒน์ Archived 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซวัดร่องขุ่น
  • รายละเอียดวัดร่องขุ่น จากท่องเที่ยวเชียงราย

ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์

วิจิตรศิลป์
จิตรกรรม

  • กมล ทัศนาญชลี
  • เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ
  • กำจร สุนพงษ์ศรี
  • จักรพันธุ์ โปษยกฤต
  • เฉลิม นาคีรักษ์
  • เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
  • ช่วง มูลพินิจ
  • ชวลิต เสริมปรุงสุข
  • ดำรง วงศ์อุปราช
  • ธงชัย รักปทุม
  • ทวี นันทขว้าง
  • ทวี รัชนีกร
  • ถวัลย์ ดัชนี
  • ดำรง วงศ์อุปราช
  • ปัญญา วิจินธนสาร
  • ประกิต บัวบุศย์
  • ประเทือง เอมเจริญ
  • ประยูร อุลุชาฎะ
  • ประสงค์ ปัทมานุช
  • ปริญญา ตันติสุข
  • ปรีชา เถาทอง
  • พิชัย นิรันต์
  • เฟื้อ หริพิทักษ์
  • ลาวัณย์ อุปอินทร์
  • สนิท ดิษฐพันธุ์
  • สวัสดิ์ ตันติสุข
  • สันต์ สารากรบริรักษ์
  • สมศักดิ์​ เชาวน์ธาดาพงศ์​
  • โหมด ว่องสวัสดิ์
  • อิทธิพล ตั้งโฉลก
  • อารี สุทธิพันธุ์
  • อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
  • อนันต์ ปาณินท์

ประติมากรรม

  • คำหมา แสงงาม
  • เข็มรัตน์ กองสุข
  • ชลูด นิ่มเสมอ
  • ชำเรือง วิเชียรเขตต์
  • ชิน ประสงค์
  • ชิต เหรียญประชา
  • นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน
  • พิมาน มูลประมุข
  • ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
  • วิชัย สิทธิรัตน์
  • อินสนธิ์ วงศ์สาม
  • ศราวุธ​ ดวงจำปา​
  • เสวต เทศน์ธรรม

ภาพพิมพ์

  • เดชา วราชุน
  • ถาวร โกอุดมวิทย์
  • ประหยัด พงษ์ดำ
  • มานิตย์ ภู่อารีย์

งานผ้า

  • พยอม สีนะวัฒน์

การทอผ้า

  • คำปุน ศรีใส
  • คำสอน สระทอง
  • มีชัย แต้สุจริยา
  • แสงดา บัณสิทธิ์

เครื่องถม

  • เห้ง โสภาพงศ์

ภาพถ่าย

  • จิตต์ จงมั่นคง
  • เดโช บูรณบรรพต
  • พูน เกษจำรัส
  • ไพบูลย์ มุสิกโปดก
  • ยรรยง โอฬาระชิน
  • วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร
  • วรรณี ชัชวาลทิพากร
  • สิงห์คม บริสุทธิ์

ออกแบบประยุกต์ศิลป์

  • พินิจ สุวรรณะบุณย์

ออกแบบแฟชั่น

  • สมชาย แก้วทอง
  • ธีระพันธ์ วรรณรัตน์

สื่อผสม

  • วิโชค มุกดามณี

ประยุกต์ศิลป์
สถาปัตยกรรม

  • กฤษฎา โรจนกร
  • ธีรพล นิยม
  • หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี
  • เมธา บุนนาค
  • ประเวศ ลิมปรังษี
  • ภิญโญ สุวรรณคีรี
  • ฤทัย ใจจงรัก
  • สมภพ ภิรมย์
  • อาวุธ เงินชูกลิ่น
  • สิน​ พงษ์หาญยุทธ​
  • ชาตรี ลดาลลิตสกุล

สถาปัตยกรรมร่วมสมัย

  • กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
  • จุลทัศน์ กิติบุตร
  • นิธิ สถาปิตานนท์
  • ประภากร วทานยกุล
  • สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
  • องอาจ สาตรพันธุ์

สถาปัตยกรรมไทย

  • ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ
  • เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี
  • วนิดา พึ่งสุนทร
  • เสนอ นิลเดช

สถาปัตยกรรมภายใน

  • คงศักดิ์ ยุกตะเสวี
  • จรูญ อังศวานนท์

ออกแบบอุตสาหกรรม

  • สมถวิล อุรัสยะนันทน์
  • เสริมศักดิ์ นาคบัว

ออกแบบผังเมือง

  • นิจ หิญชีระนันท์

ภูมิสถาปัตยกรรม

  • เดชา บุญค้ำ

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

  • อรศิริ ปาณินท์

ประณีตศิลป์

  • ประนอม ทาแปง
  • เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์
  • ทองร่วง เอมโอษฐ
  • เนื่อง แฝงสีคำ
  • บุญช่วย หิรัญวิทย์
  • สำเริง แดงแนวน้อย

แม่แบบ:ศิลปินแห่งชาติ : ทัศนศิลป์  ● ศิลปะการแสดง ● วรรณศิลป์

ผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร

ทัศนศิลป์

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ · พรชัย ใจมา · ชาติชาย ปุยเปีย · วสันต์ สิทธิเขตต์ · ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช · พินรี สัณฑ์พิทักษ์ · อารยา ราษฎร์จำเริญสุข · สาครินทร์ เครืออ่อน · พัดยศ พุทธเจริญ · นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล · สุรสีห์ กุศลวงศ์

วรรณศิลป์

ชาติ กอบจิตติ · ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ · วินทร์ เลียววาริณ · ศิริวร แก้วกาญจน์ · ขจรฤทธิ์ รักษา · ไพวรินทร์ ขาวงาม · อรสม สุทธิสาคร · เสน่ห์ สังข์สุข · เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ · ปราบดา หยุ่น

คีตศิลป์

ดนู ฮันตระกูล · บัณฑิต อึ้งรังษี · ณัฐ ยนตรรักษ์ · ณรงค์ ปรางค์เจริญ · ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร · เด่น อยู่ประเสริฐ · ชัยยุทธ โตสง่า · วานิช โปตะวณิช

ภาพยนตร์

เป็นเอก รัตนเรือง · อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล · วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง · ธัญสก พันสิทธิวรกุล · นนทรีย์ นิมิบุตร · พิมพกา โตวิระ · อาทิตย์ อัสสรัตน์ · คงเดช จาตุรันต์รัศมี

ศิลปะการแสดง

ประดิษฐ ปราสาททอง · มานพ มีจำรัส · พิเชษฐ์ กลั่นชื่น · นิมิตร พิพิธกุล · สินีนาฎ เกษประไพ · ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง · นิกร แซ่ตั้ง · จารุนันท์ พันธชาติ

ออกแบบเชิงสร้างสรรค์

สมพิศ ฟูสกุล · สมชาย จงแสง · กุลภัทร์ ยันตรศาสตร์ · เอกรัตน์ วงศ์จริต · ปริญญา โรจน์อารยานนท์ · วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ · ชัยยุทธ พลายเพ็ชร์

สถาปัตยกรรม

ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ · สุริยะ อัมพันศิริรัตน์

มัณฑนศิลป์

วิฑูรย์ คุณาลังการ

เรขศิลป์

ประชา สุวีรานนท์ · ไพโรจน์ ธีระประภา

รางวัลศิลปาธรกิตติคุณ

สมเถา สุจริตกุล · ไสยาสน์ เสมาเงิน · สุวรรณ คงขุนเทียน · บรูซ แกสตัน