ประธาน สภา อุตสาหกรรม สุโขทัย

ประธาน สภา อุตสาหกรรม สุโขทัย
กรุงเทพฯ--15 เม.ย.--สนพ.สุโขทัย สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสุโขทัย โดย นางรัฐติกานต์ พวงสุกระวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักงานฯ เข้าพบเพื่อปรึกษาแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานกลุ่มอาชีพช่างเชื่อม ร่วมกับ นายลำยอง สอนโต ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุโขทัย ณ บริษัทบุญยวงอินดัสทรี จำกัด ตำบลสามพวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย


แท็ก จังหวัดสุโขทัย   อุตสาหกรรม   ประธานสภา   ภาพข่าว:   ลำยอง   ตำบล  

19 ตุลาคม 2564, ระบบออนไลน์ - สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า สาขาภาคเหนือตอนล่าง นำโดยนายอรรถพล ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้างานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส และเจ้าหน้าที่สาขา ประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย และสถิติจังหวัดสุโขทัย โดยมีบริษัท โฟล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้พัฒนาระบบ Smart Pier ในโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อระดมความคิดเห็นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาแก้ปัญหาด้านการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดสุโขทัย โดยมีเป้าหมายนำร่องในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้

ประธาน สภา อุตสาหกรรม สุโขทัย

การประชุมในครั้งนี้ นายวิวัฒน์ ธาราวิวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย กล่าวถึงความต้องการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย โดยเน้นที่งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ของจังหวัดสุโขทัยที่กำลังจะเกิดขึ้นภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งทางจังหวัดต้องการสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว และยังต้องการทำตามมาตรการ DMHTT อันเป็นแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของ โควิด-19 ดังนั้น เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถช่วยในการคัดกรองและเก็บข้อมูลของนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

ประธาน สภา อุตสาหกรรม สุโขทัย

โดยบริษัท โฟล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้แนะนำเทคโนโลยี Image Recognition ที่สามารถเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวได้จากบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตของนักท่องเที่ยว และสามารถติดตามการเข้าออกบริเวณงานของนักท่องเที่ยวได้ ทำให้จำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวในพื้นที่จัดงานได้ตามมาตรการ DMHTT และในขณะเดียวกันยังสามารถวัดอุณหภูมิร่างกายของนักท่องเที่ยวเพื่อช่วยคัดกรองเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาร่วมงานได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้อีกทางหนึ่ง

ประธาน สภา อุตสาหกรรม สุโขทัย

นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย ยังได้กล่าวถึงความต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการท่องเที่ยวให้อุทยานประวัติศาสตร์ในอนาคต โดยทางดีป้า ได้แนะนำถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีประเภท Augmentd Reality (AR) หรือ Virtual Reality (VR) ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ได้ รวมถึงมีการพูดถึงอุปกรณ์ Smart Device สำหรับนักท่องเที่ยวที่ช่วยติดตามสถานะของนักท่องเที่ยวในพื้นที่และสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ซึ่งทางจังหวัดสุโขทัยก็ให้ความสนใจ พร้อมขอให้ทางดีป้า เป็นที่ปรึกษาและช่วยประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อมานำเสนอกับทางจังหวัดในโอกาสต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2565 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้เกียรติกล่าวบรรยายพิเศษในงานประชุมคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ หัวข้อ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคภายใต้โมเดล BCG” โดยได้รับเกียรติจากนายมนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุม ซึ่งมีการบรรยายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน ภายใต้แผนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG” (Bio-Circular-Green Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดสุโขทัยผ่านยุทธศาสตร์ ส.อ.ท. ณ ห้องประชุมทุ่งทะเลหลวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย

สาระสำคัญในการบรรยาย ประกอบด้วย การแสดงวิสัยทัศน์เรื่อง “เปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากฐานความเข้มแข็งของประเทศไปสู่การเติบโตอย่างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม” โดยมียุทธศาสตร์การขับเคลื่อนภายใต้ แผนปฏิบัติการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570 ดังนี้
1. การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร – ปรับจาก “Nature as Resource” เป็น “Nature as Source” เพราะธรรมชาติไม่ใช่แค่เพียงทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตเท่านั้น แต่ธรรมชาติ คือ แหล่งกำเนิดของชีวิตและทุกสรรพสิ่งบนโลก เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ จึงต้องรักษาสมดุลระหว่างการมีอยู่และใช้ไป รวมถึงการนำกลับมาใช้ซ้ำ
2. การพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานให้เข้มแข็ง – พัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ศักยภาพของพื้นที่ เน้นการตอบสนองความต้องการในแต่ละพื้นที่เป็นอันดับแรก ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็ง รวมถึงให้ความสำคัญกับการเดินหน้าไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
3. การยกระดับอุตสาหกรรม BCG ให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน – เน้นการนำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ การหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ หรือการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
4. การสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก – เน้นการสร้างความรู้ความสามารถเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกัน และฟื้นตัวเร็ว

สำหรับแนวทางที่ ส.อ.ท. เน้นย้ำ ก็คือ การเชื่อมโยง 1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า One Province One Industry ตามแนวคิดของโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Industry) หรือ SAI ซึ่งในปี 2565 นี้ จะนำร่อง SAI In The City ที่มหาวิทยาลัย โดยจะเป็นโมเดลธุรกิจที่ใช้อุปสงค์หรือความต้องการเป็นตัวนำ “Demand Driven” ประกอบกับการนำอุตสาหกรรมไปต่อยอดและยกระดับเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการทำเกษตรอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจงถึงภาพรวมเศรษฐกิจในจังหวัดสุโขทัยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภาคเหนือคิดเป็น 7.85% ต่อ GDP รวมของประเทศไทย ซึ่ง GDP จังหวัดในภาคเหนือที่มีลำดับสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร โดยจังหวัดสุโขทัยอยู่ลำดับที่ 11 จาก 17 จังหวัด

สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจังหวัดสุโขทัยแบ่งตาม Sector โดยแบ่งเป็นภาคเกษตรกรรม 16,304 ล้านบาท คิดเป็น 33.3% ภาคอุตสาหกรรม 5,329 ล้านบาท คิดเป็น 11% และภาคบริการ 27,278 ล้านบาท คิดเป็น 55.7% ผลผลิตภาคเกษตรกรรม คิดเป็นสัดส่วน 33.3% ของ GDP โดยแบ่งเป็นมันสำปะหลัง 300,048 ตัน ข้าวนาปี 764,659 ตัน ส้มเขียวหวาน 57,583 ตัน อ้อย 2,845,563 ตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 58,028 ตัน และสุกร 109,527 ตัน

ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาจังหวัดสุโขทัยด้วยยุทธศาสตร์ ส.อ.ท. ประกอบด้วย
การยกระดับอุตสาหกรรมชีวภาพ มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)
1) ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายจากจุดแข็งของจังหวัด ได้แก่ การแปรรูปอาหาร การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
2) สร้างมูลค่าเพิ่มด้วย BCG Model in Action เช่น มันสำปะหลัง
3) พัฒนาสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Future Food)
4) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0

การส่งเสริมเกษตรปลอดภัย และเมืองเกษตรอุตสาหกรรม
1) ขับเคลื่อนนโยบาย 1 อุตสาหกรรม 1 จังหวัด ด้วยโครงการ SAI
2) พัฒนาฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) และเกษตรปลอดภัย
3) ส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะ Smart Farming
4) ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อทำการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Exchange)

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกโลก ศูนย์กระจายสินค้าสู่ภาคเหนือ
1) พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและแหล่งมรดกโลก
2) ส่งเสริมความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วม (Soft power) ของจังหวัดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
3) ส่งเสริมการเป็นศูนย์กระจายสินค้าสู่ภาคเหนือ
4) ยกระดับมาตรฐานการให้บริการ และการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสุขภาพ Wellness

“ภาคธุรกิจสนับสนุนแนวคิด BCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทย โดยเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายที่พวกเราต้องร่วมกันสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน” นายเกรียงไกร กล่าวเสริม