จป.เทคนิค ต้องมีพนักงานกี่คน

สถานประกอบกิจการใดบ้างที่ต้องมี จป. และ มี จป. ระดับใดบ้าง

จป.เทคนิค ต้องมีพนักงานกี่คน

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ. 2549 มีการกำหนดสถานประกอบกิจการต้องมี จป. ดังนี้
1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม
7) ห้างสรรพสินค้า
8) สถานพยาบาล
9) สถาบันทางการเงิน
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 1) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 6) ถึง 14) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าสิบคนต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคประจำสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนื่งร้อยคนต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงประจำสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 1) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพประจำสถานประกอบกิจการ

โดยสรุปสถานประกอบกิจการใด ๆ จำเป็นต้องมี จป. และเป็น จป.ระดับใด ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของการประกอบกิจการ และจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ นอกจากนี้ ตามกฎหมายในสถานประกอบกิจการเดียวไม่มีสถานประกอบกิจการใดที่ต้องมี จป.ครบทั้ง 5 ระดับ จะมีเพียงบางสถานประกอบกิจการ ที่มี จป.2 ระดับ คือ จป.ระดับบริหาร และ จป.ระดับหัวหน้างาน และบางสถานประกอบกิจการที่มี จป.3 ระดับ คือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับเทคนิค หรือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับวิชาชีพ

    • อบรมความปลอดภัย
      • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
        • จป บริหาร
        • จป หัวหน้างาน
        • จป เทคนิค
        • คปอ
      • หลักสูตรตามกฎหมาย
        • พนักงานใหม่ 6 ชม.
        • ดับเพลิงขั้นต้น
        • การทำงานในที่อับอากาศ
        • การทำงานกับสารเคมี
        • การทำงานกับปั้นจั่น 4 ผู้
        • การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
      • การทำงานบนที่สูง
        • ที่สูง ผู้ปฏิบัติงาน
        • ที่สูง เสาส่งสัญญาณ
        • โรยตัวทำงานบนที่สูง
      • หลักสูตรทั่วไป
        • ปฐมพยาบาล
        • การทำงานกับนั่งร้าน
        • การขับรถยก (โฟคลิฟท์)
        • ผู้เฝ้าระวังไฟ
        • อันตรายจากเสียงดัง
    • ตรวจรับรอง
      • ตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2
      • ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
      • ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
      • ตรวจสอบระบบดับเพลิง
      • บริการตรวจสอบอาคารประจําปี
      • ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิด19
    • สินค้า
    • บริการช่วยเหลือ

        • จัดโปรโมชั่นลด 40% - ธันวาคม 2565

        • Newsroom

        • Privacy Notice

        เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและพนักงานใหม่

        หน้าที่ของ จป.เทคนิค อยากอบรม จป เทคนิคเริ่มต้นอย่างไร

        จป.เทคนิค ต้องมีพนักงานกี่คน

        จป.เทคนิค คืออะไรมีกี่ระดับ

        จป.เทคนิค หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค หมายถึง ลูกจ้างที่นายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค เพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ประจำ ตามเวลาที่กำหนด ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชม. การที่จะเป็น จป เทคนิคได้นั้นจะต้องผ่านการฝึกอบรม จป เทคนิค ตามหลักสูตรที่ราชการกำหนด

        การเป็น จป เทคนิคจะต้องมีประสบการณ์หรือผ่านการเป็น จป หัวหน้า มาแล้วหากพูดให้เข้าใจง่ายๆหมายความว่าจะต้องมีเลขทะเบียน จป หัวหน้างาน หรือผ่านการขึ้นทะเบียน จป หัวหน้างานมาก่อนถึงจะทำการอบรมเพื่ออัพเกรดตัวเองไปเป็น จป เทคนิค ได้หากใครที่ไม่ได้มีประสบการณ์จป หัวหน้างาน ก็ยังไม่หมดหวังเพราะกฎหมายระบุว่าหากคุณไม่ได้เป็น จป หัวหน้างาน ก็จะต้องจบไม่น้อยกว่า ป.ตรี สาขาใดก็ได้เพียงเท่านี้ก็สามารถอบรม จป เทคนิค ได้เรียบร้อย

        ทำไมหลายคนถึงอย่างเป็น จป เทคนิค

        มีมากมายหลายเหตุผลที่ จป หัวหน้างาน หรือ คนที่จบ ป.ตรี อยากจะย้ายตัวเองมาสายงาน จป เทคนิค เหตุผลหลักๆน่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือน และลักษณะงานที่ออกแนวลุยๆ จปเทคนิค หรือ จป เทคนิคขั้นสูง ส่วนใหญ่นอกจากจะทำเอกสารต่างๆแล้ว จป เทคนิคหลายคนมีประสบการณ์หน้างานสูงมากยิ่งเป็น จป สายก่อสร้างก็จะได้พบเจอกับความวุ่นวายทั้ง คน อุปกรณ์ และ สภาพแวดล้อม ที่จะต้องทำการควบคุมทั้ง 3 อย่างนี้ให้เกิดความปลอดภัย จึงเป็นที่มาของ จป เทคนิค หลายๆคนมีเงินเดือนสูงเพราะผ่านการแก้ไขปัญหาต่างๆมาอย่างโชกโชน

        จป.เทคนิค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

        1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัย
        2. ดำเนินการจัดทำรายงานการประสบอันตราย
        3. รวบรวมสถิติจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะการประสบอันตราย
        4. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย
        5. ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
        6. วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย

        จป.เทคนิค ขั้นสูง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

        1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
        2. รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูล ทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย
        3. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย
        4. วิเคราะห์แผนงานโครงการมาตรการ
        5. ตรวจประเมินตามแผน
        6. ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย
        7. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง
        8. ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
        9. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย

        หากใครที่สนใจอยากเรียนต่อสามารถดูรายละเอียดหลักสูตร อบรม จป ระดับต่างๆ ได้ทางเว็ปไซต์

        บทความเพิ่มเติม

        • จป.คืออะไร
        • จป.มีกี่ระดับ
        • ประเภทของสถานประกอบการที่ต้องมี จป.

        พนักงาน200 คนต้องมี จป กี่คน

        โดยคุณ: เจท [ 23 April 2009 09:11:59 ] ข้อความที่ 1. ตาม กม. สถานประกอบกิจการใดที่มีพนักงานเกิน 100 คนขึ้นไป จะต้องมี จป.ว. อย่างน้อย 1 คน

        ในโรงงาน ต้องมีจป. กี่คน

        (เพิ่มเติมเกร็ดความหลังประวัติของ จป.เพื่อเป็นความรู้ ดังนี้ ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ จป. ฉบับแรก คือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2528 โดยกำหนดให้โรงงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) อย่างน้อย 1 คน ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ ยังไม่มี ...

        สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป จะต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน กี่ระดับ

        3.2 นายจ้างหรือสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี เจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ 4. การอบรมและการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

        สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 500 คนขึ้นไปต้องมีคณะกรรมการอย่างน้อยกี่คน

        (3) สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มีกรรมการไม่น้อย กว่า 11 คน ประกอบด้วยนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้าง เป็นกรรมการ โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ เทคนิคขั้นสูง หรือเทคนิค เป็นกรรมการและเลขานุการ