สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ

สงสัยเกี่ยวกับ ชื่อภาษาอังกฤษ ของ กรมกิจการผู้สูงอายุ

ผมมีความสงสัยเกี่ยวกับ ชื่อภาษาอังกฤษ ของ กรมกิจการผู้สูงอายุ ที่ใช้คำว่า Department of Older Persons นั้น ถูกต้องแล้วใช่ไหมครับ

ทั้งนี้ ผมไม่ได้มีประเด็นอื่นใด นอกจากมีความรู้สึกสดุดเมื่อได้อ่านชื่อครับ

From : ธีรัตถ์ อุทยานัง

วันที่ : 28 พฤษภาคม 2562 | 1,954 ครั้ง


เรียน คุณธีรัตถ์ อุทยานัง

ชื่อภาษาอังกฤษของกรมกิจการผู้สูงอายุ ใช้คำว่า Department of Older Persons ถูกต้องแล้วค่ะ

ซึ่งกรมกิจการผู้สูงอายุได้อ้างอิงจากคำศัพท์ขององค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ค่ะ

โดย UN และ WHO ใช้คำในภาษาอังกฤษของผู้สูงอายุว่า Older Persons ค่ะ

กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

From : อภันสิตางศุ์ ล้ำเลิศจรัสชัย

วันที่ : 6 มิ.ย. 2562 เวลา 09:27


นิยาม: สังคมผู้สูงอายุ

องค์การสหประชาชาติ (United Nations:UN)ได้ให้นิยาม ผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึงประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60ปีขึ้นไปและได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ7ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ60ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์

3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่

ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2001-2100 เป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ เช่น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางด้านการแพทย์ การโภชนาอาหาร

สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2005โดยมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ10.4 ของประชากรทั้งประเทศและคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในช่วงปี 2024-2025

สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตามนิยามของสหประชาชาติ จากตารางแสดงเปรียบเทียบการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่เร็วกว่าประเทศอื่นๆตามมาด้วยประเทศอิตาลี เยอรมันและสวีเดน

สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ

ที่มา [33] เปรียบเทียบการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของแต่ละประเทศ

สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ

สังคมสูงวัย

โดยทั่วไปนิยามที่หลายหน่วยงานใช้กันเวลาพูดถึงผู้สูงอายุคือ คนที่มีอายุตั้งแต่ 60 หรือ 65 ปีขึ้นไป และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือปรากฎการณ์ที่ผู้สูงอายุมีสัดส่วนสูงมากเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด อีกทั้งความเข้มข้นของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุยังแบ่งออกเป็นหลายระดับอีกด้วย

รู้หรือไม่


  • กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อย ส่วนประเทศกำลังพัฒนากำลังตามมาติด ๆ

  • ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548

  • จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรโดยรวมมีแนวโน้มลดลง

สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ

สถานการณ์และแนวโน้มระดับโลก ภูมิภาค ประเทศ

ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) คาดการณ์ว่า ปี ค.ศ. 2050 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวจากปัจจุบัน โดยมีจำนวนกว่า 2,000 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรโลก

ส่วนในประเทศไทยนั้น มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี ค.ศ. 2021 และจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดในปีค.ศ. 2035 ซึ่งเร็วมากก็เพราะใช้เวลาเพียง 3 ทศวรรษเท่านั้น

สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ

โอกาสและความท้าทาย


สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ


  • แรงงานไทยต้องเร่งเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) โดยเร็ว เพื่อรับมือกับการขาดแคลนแรงงานในอนาคต

  • ควรศึกษารูปแบบและทิศทางการปรับตัวจากประเทศต่างๆ อาทิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

มองเทรนด์ 5 มิติ

เมื่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ การวิเคราะห์เทรนด์ใน 5 มิติจะช่วยอธิบายถึงพลังขับเคลื่อนเบื้องหลังทีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ปัจจัยเร่งระยะสั้น ความต้องการพื้นฐานของผู้สูงอายุ อันจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจสินค้าและบริการ

สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ

สถิติน่ารู้

จากผลสำรวจความคิดเห็น "พฤติกรรมและทัศนคติของผู้สูงอายุไทยในปี 2020" (เม.ย 2558) จากกลุ่มตัวอย่าง อายุ 50 ปีขึ้นไป รวม 378 คน ภายใต้งานสำรวจและศึกษาวิจัยซีรีส์ความรู้ ส่อง โอกาส สร้าง อาชีพ (สบร.) พบว่า


  • หากรายได้เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุต้องการเก็บออมเป็นอันดับแรก โดยเงินฝากธนาคารได้รับความนิยมมากที่สุด รองลงมาคือใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ที่น่าห่วงคือ มีผู้สูงอายุ 19.4% ไม่มีเงินออม

  • ผู้สูงอายุ 70% นิยมจับจ่ายด้วยเงินสด มีเพียง 27% ใช้บัตรเครดิต คือคนสูงวัยที่ยังไม่เกษียณ

สังคมผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ


ข้อมูล

  • รายงานผลสำรวจและศึกษาวิจัยซีรีส์ความรู้ ส่อง โอกาส สร้าง อาชีพ เรื่องการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดย สบร. ร่วมกับบริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซ็นต์ จำกัด (2558)