เป็นการซื้อมาขายไป

  • หน้าแรก

  • News & Events

  • บทความ

  • การเงินและบัญชี

  • ธุรกิจซื้อมาขายไป

แนวทางการบันทึกบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป การขายสินค้าออนไลน์

ธุรกิจซื้อมาขายไป ประกอบด้วย รายได้ และค่าใช้จ่ายรายได้ที่ต้องไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ

1.มีการส่งสินค้า
Dr ลูกหนี้
Cr รายได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.ลูกค้าโอนเงินก่อนส่งสินค้า
Dr เงินฝากธนาคาร
Cr เงินมัดจำ
ภาษีขาย

 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 2 ประเภท คือ

1 ต้นทุนขาย ประกอบด้วย
1.1 สินค้าสำเร็จรูป
1.2 ค่าวัสดุหีบห่อ
1.3 ค่าขนส่ง
1.4 ค่าธรรมเนียมการนำเข้า
1.5 ค่าบริการการนำเข้า
1.6 ค่าโฆษณา facebook google
1.7 ค่าทำเวปไซด์
1.8 ค่าจ้างแรงงาน
1.9 ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย กรณีขาย ผ่าน shopee หรือ lazada
1.10.ค่าไฟฟ้า โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต

2.ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ประกอบด้วย
2.1 เงินเดือน
2.2 ค่าประกันสังคม
2.3 ค่าคอมมิชชั่น
2.4 ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์
2.5 ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์สำนักงาน
2.6 ค่าน้ำประปา
2.7 ค่าวัสดุสิ้นเปลือง
2.7 ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน
2.8 ค่าธรรมเนียมธนาคาร

กรณีจ่ายค่าใช้จ่ายทุกครั้ง ควรจ่ายเป็นเช็ค หรือโอนเงินผ่านธนาคาร และเก็บสลิปไว้เป็นหลักฐาน แนบกับใบสำคัญจ่ายไว้บันทึกบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา :Link

  • หน้าแรก

  • HR Articles

  • ธุรกิจซื้อมาขายไป ผ่านทางออนไลน์ ต้องเสียภาษียังไง ?

เป็นการซื้อมาขายไป

คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง

ยิ่งการค้าขายยุคนี้ทำเรื่องซื้อขายกันผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น FB/IG/LINE หรือสื่อเจ้าอื่นๆ การส่งเอกสารทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า หลักฐานการโอนเงิน หรือใบเสร็จ ก็ทำกันช่องทางนี้ หากไม่พิมพ์เอกสารเหล่านี้ออกมาเก็บไว้ พอถึงสิ้นปีที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่มีข้อมูลที่จะมาใช้คำนวณ ทำให้เสียภาษีไม่ถูกต้อง (อาจจะสูงไปหรือต่ำไป) และเป็นเหตุให้ต้องโดนสอบภาษีย้อนหลังได้

1. เก็บเอกสารการทำธุรกิจไว้ เพื่อนำมาใช้คำนวณภาษี

FB/IG/LINE เว็บไซต์ธุรกิจที่ตั้งขึ้น รวมถึงเว็บ E-Commerce เปรียบได้กับหน้าบ้านที่ช่วยให้ค้าขายได้สะดวกสบายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย แต่ก็ไม่ควรลืมระบบหลังบ้านที่ทำหน้าที่จัดการเอกสารและหลักฐานการซื้อขาย เพื่อเอาไว้ใช้คำนวณภาษีและยื่นภาษีแก่กรมสรรพากรตามที่กำหนดด้วย ไม่ว่าผลการประกอบการจะเป็นเช่นไร จะกำไรหรือขาดทุน ก็ต้องยื่นแบบนำส่งกรมสรรพากร

2. ทำความเข้าใจว่าตัวเรามีรายได้ประเภทไหนบ้าง

รายได้ในแต่ละช่องทางที่ได้รับคือตัวบอกว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร หากมีรายได้จากแค่ เงินเดือน ค่าล่วงเวลา และโบนัส จะถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ต้องเสียภาษี ลงในฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 แต่หากมีรายได้จากช่องทางอื่นๆ ก็จะเสียภาษีลงในฟอร์ม ภ.ง.ด.90

เป็นการซื้อมาขายไป

รายได้ 8 ประเภท ที่ต้องเสียภาษี

สำหรับรายได้ที่มาจากการทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือขายของออนไลน์ จะถือเป็นรายได้ประเภทที่ 8 ก็จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาส่วนรายได้จาก “ธุรกิจซื้อมาขายไป”

ในการคำนวนภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่มีการทำธุรกิจซื้อมาขายไปนั้นจะต้องมีวิธีในการคำนวณภาษีอากรทั้งหมด 2 ขั้นตอน คือ

  1. คำนวณจากรายได้ที่เกิดขึ้น

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) = รายได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

  1. คำนวณจากรายได้จาก ธุรกิจซื้อมาขายไป และทางอื่นๆ (ยกเว้นเงินเดือน) ถ้ามีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะใช้วิธีการคำนวณได้ 2 แบบ คือแบบเหมา 0.5% และแบบหักตามค่าใช้จ่ายจริง (หากเป็นธุรกิจที่ผลิตเองขายเองจะใช้วิธีคำนวณแบบหักตามค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้น)

รายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005% = ค่าภาษี

หลังจากนั้นให้เทียบภาษีจากทั้ง 2 วิธี หากวิธีไหนคำนวณแล้วได้ว่าต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีจากวิธีคำนวณนั้น

3. บัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป ต้องทำให้ได้

เมื่อเข้าสู่โลกของการทำธุรกิจ และมีรายได้แล้ว ก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษี แต่จะเสียภาษีได้อย่างไร หากไม่รู้ว่าธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่มีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าสิ้นปีเราจะมีรายได้เท่าไหร่ ก็ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายขึ้น

ในการดำเนินธุรกิจ จะมีคนที่เกี่ยวข้องในชีวิตเราอย่างน้อย 2 คนคือ นักบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจที่ยังไม่ได้จ้างนักบัญชีหรือสำนักบัญชี ก็ต้องมั่นใจว่าบัญชีที่เราทำนั้นถูกต้อง แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจในบัญชีที่ทำอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขอให้เริ่มจากสิ่งเหล่านี้ก่อน

  • ทำบัญชีรายรับรายจ่าย บันทึกต้นทุนและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และบันทึกรายได้เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น
  • ทำสต็อกสินค้า เพื่อให้ทราบปริมาณความเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือ ป้องกันสินค้าสูญหาย และยังช่วยในการประเมินว่าสินค้าตัวไหนเป็นที่ต้องการของตลาด หรือสินค้าตัวไหนควรลดสต็อก เพื่อให้ต้นทุนไม่จมอยู่กับสินค้ามากเกินไป นอกจากนี้ สต็อกสินค้ายังเป็นสิ่งแรกที่กรมสรรพากรมักจะตรวจสอบด้วย
  • แยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและกระเป๋าธุรกิจ เพราะถ้าไม่แยก จะเกิดปัญหาว่าทำไมสินค้าขายได้ มีกำไรแล้ว แต่เงินหายไปไหนไม่รู้ แล้วผลที่ตามมาคือทำให้เกิดการขาดสภาพคล่อง
  • เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายให้ครบ คือหลักฐานทางการเงินที่แสดงให้เห็นว่ามีการซื้อขาย เช่น ใบเสนอราคา ใบวางบิล ใบแจ้งหนี้  ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี เพื่อถึงเวลาสิ้นปีจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณภาษี

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : flowaccount.com