การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ คือ

ความหมายของโฆษณา

รูปแบบของการสื่อสารโดยไม่ใช่บุคคลเกี่ยวกับองค์กรผลิตภัณฑ์บริการหรือแนวคิดที่ต้องมีการชำระเงินโดยผู้อุปถัมภ์ที่ระบุชื่อเพื่อการจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมาย

สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา(The Americ Marketing Association : AMA) 

การโฆษณาเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อโดยมิได้เป็นไปในรูปส่วนตัว

A.R. Oxenfeldt and C. Swan

รูแบบของการใช้จ่ายเงินใดๆโดยสามารถระบุผู้สนับสนุนได้เพื่อก่อให้เกิดการนำเสนอและการส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการหรือความคิดเห็นต่างที่มิใช่ตัวบุคคล

Phillip Kotler

รูปแบบการส่งเสริมการขายผ่านสื่อโฆษณาที่มิใช่บุคคลและต้องชำระเงินโฆษณาโดยผู้อุปถัมภ์ซึ่งการโฆษณานีเมีความหมายแตกต่างไปจากการส่งเสริมการขายรูปแบบอื่นๆเช่นการขายโดยพนักงานและการส่งเสริมการจำหน่ายเป็นต้น

Maurice I. Mandell

กิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมอันเอื้ออำนวยต่อความเจริญของธุรกิจการขายสินค้าหรือบริการโดยอาศัยจากเหตุผลซึ่งมีทั้งกลยุทธ์จริงอละเหตุผลสมมติผ่านทางสื่อโฆษณาที่ต้องรักษาเวลาและเนื้อที่ที่มีการระบุผู้โฆษณาอย่างชัดแจ้ง

ดร.เสรีวงษ์มณฆา

จากนิยามข้างต้นสามารถสรุปความหมายของโฆษณาได้ว่า

  1. โฆษณาเป็นการสื่อสารที่ต้องมีการชำระเงินค่าพื้นที่หรือเวลาในการเผยแพร่
  2. โฆษณาเป็นการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก
  3. โฆษณาเป็นการสื่อสารเพื่อมุ่งหวังในการโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
  4. โฆษณาเป็นการสื่อสารที่นำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าบริการแนวความคิดหรือองค์กรสถาบัน
  5. โฆษณาเป็นการสื่อสารที่ต้องมีการระบุชื่อผู้สนันสนุนชื่อผู้อุปถัมภ์หรือผู้ชำระเงิน

พัฒนาการ

ยุคก่อนการตลาด

การพิมพ์โปสเตอร์แผ่นพับใบปลิวและเริ่มมีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การโฆษณาได้รับความนิยมจากผู้ผลิตสินค้ามีการใช้เทคนิคเพื่อดึงดูดความสนใจ

ยุคการสื่อสารมวลชน

เป็นยุคที่ผู้โฆษณาสารมารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่มากขึ้นเนื่องจากมีการกำเนิดของสื่อมวลชนหลายชนิดเช่นหนังสือพิมพ์นิตยสารและวิทยุกระจายเสียง

ยุคการวิจัย

ยุคนี้ได้มีบริษัทตัวแทนเกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมากและมีบุคลากรที่โดดเด่นในแวดวงโฆษณา

ยุคปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ

ใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารทางเดียวเป็นการสื่อสารแบบโต้ตอบกันได้สะดวกรวดเร็วเป็นการทำโฆษณาในยุคนี้เน้นกระตุ้นอารมณ์ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมไปกับเนื้อหาแล้วนำไปพูดต่อๆกันให้เกิดเป็นประเด็นทางสังคม

ประวัติและพัฒนาการของการโฆษณา

ในยุโรป

– ชาวบาบิโลเนียนมีจารึกลงบนก้อนดินเพื่อเป็นสื่อแทนเพื่อจำหน่ายครีม, นักเขียนและช่างทำรองเท้าซึ่งเป็นการโฆษณาที่เก่าแก่ที่สุด

– มีการใช้ผู้ป่าวประกาศและพ้อค้าเร่ประกาศเพื่อค้าขายทาสสัตว์ใช้งานเช่นวัวควาย

– มีการเขียนโฆษณาลงบนตัวปาปิรุสมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประกาศจับทาส

– เกิดรูปแบบการโฆษณาโดยใช่ตราสินค้าและเครื่องหมายการค้า

– ราวค.ศ. 1450 โจฮัทกูเต็นเบิร์กประดิษฐ์ตัวเรียงพิมพ์โลหะเป็นผลสำเร็จ

– ค.ศ. 1480 วิลเลี่ยมแคกซ์ตันได้มีการพิมพ์ใบปลิวขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อโฆษณาขายหนังสือ

– ค.ศ. 1525 ประเทศเยอรมันมีการตีพิมพ์โฆษณาใบปลิวทำให้การโฆษณาเริ่มเป็นแพร่หลายมากขึ้น

– ค.ศ. 1614 เกิดกฏหมายควบคุมการโฆษณาฉบับแรกในประเทศอังกฤษเพื่อห้ามไม่ให้ป้ายชื่อยื่นออกมาจากตัวอาคารมากกว่า8 ฟุต

– โฆษณาในอเมริกาเกิดขึ้นภายหลังประเทศอังกฤษ25 ปีเมื่อมีหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในปีค.ศ. 1704 ซึ่งมีข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นประกาศ

– ค.ศ. 1741 เบนจามินแฟรงคลินได้ออกนิตยสารและเขียนข้อความโฆษณาลงในนิตยสารด้วยตัวเอง

– สมัยสงครามกลางเมืองใน

ในสหรัฐอเมริกา

โฆษณาถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกองทัพการต่อสู้ทางการเมือง

– ภายหลังสงครามกลางเมืองสงบลงเกิดการขยายตัวเมืองและอุตสาหกรรมการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศเพิ่มขึ้น

– ปลายทศรรษที่18 ธุรกิจโฆษณาเติบโตเป็นอย่างมากในสหรัฐอเมริกา

– ค.ศ. 1875 Francis Wayland Ayer ได้เปิดบริษัทN. W. Ayer & Son ขึ้นเพื่อให้บริการด้านการโฆษณาอย่างครบวงจรแห่งแรก

– ค.ศ. 1917 มีการรวมกลุ่มกันตั้งขึ้นเป็นสมาคมโฆษณาชื่อ“American Association of Advertising Agencies” หรือที่รู้จักกันในนามAAAA หรือ4 As

ในประเทศไทย

– เริ่มแรกผู้ผลิตได้ทำการโฆษณาเองในยุคต่อๆมาเริ่มมีการใช้สัญญาช่วยในการสื่อสาร– การโฆษณาของไทยได้ก้าวหน้ามาสู่สมัยรัชกาลที่3 – ในปีต่อมาเริ่มลงโฆษณาขึ้นครั้งแรกเป็นการโฆษณาที่ชำระเงินเกิดขึ้นครั้งเมื่อพ.ศ. 2408 – ในสมัยรัชกาลที่6 “กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน” พระบิดาแห่งวงการโฆษณาไทย– สมัยรัชกาลที่7 “กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน” ได้ทรงจัดทำแผนรณรงค์โฆษณาของคลังออมสินเป็นครั้งแรก– สมัยรัชกาลที่8 เกิดสงครามโลกครั้งที่2 พัฒนาการของโฆษณาไทยได้ชะงักลง-สมัยรัชกาลที่9 หลังสงคราม“การโฆษณา” จึงได้หวนกลับคืนมาสู่ภาวะปกติอีกครั้งมีสินค้าใหม่ๆจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายทำให้เกิดการแข่งขันสร้างยอดขายมากขึ้น– พ.ศ. 2495 ได้แก่โกร๊กแอ๊คเวอร์ไทซิ่งจำกัดนับได้ว่าเป็นบริษัทโฆษณาสากลแห่งแรกในไทย– ตามมาด้วยบริษัทแกร้นท์แอ๊คเวอร์ไทซิ่งจำกัด– ในวงการโฆษณาได้ยกย่องให้นายโกร๊กเป็นผู้บุกเบิกบริษัทโฆษณายุคใหม่– พ.ศ. 2560 เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการโฆษณาไทยอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อ“สื่อดิจิทัล” สามารถแย่งตำแหน่งในตลาดสื่อโฆษณามาอยู่ในอันดับที่2 แทนที่หนังสือพิมพ์

คุณลักษณะ

  1. เป็นกิจกรรมสื่อสารมวลชน
  2. เป็นการสื่อสารเพื่อจูงใจ
  3. เป็นการจูงใจด้วยเหตุสมจริงและสมมติ
  4. เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงิน

บทบาท

1.ด้านการตลาด

กระบวนการที่องค์กรธุรกิจสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยสินค้าหรือบริการ

2.ด้านการสื่อสาร

โฆษณาเป็นการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนรูปแบบหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารข้อมูลที่สำคัญของสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภค

3.ด้านเศรษฐกิจ

ช่วยให้เกิดการกระจายสินต้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคก่อให้เกิดการกระจายรายได้เมื่อผู้ประกอบการหรือเจ้าของสินค้าขายสินค้าได้ก็จะมีรายได้และกำไรมาขยายกิจการ

4.ด้านสังคม

โฆษณาช่วยให้ทราบว่ามีผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆเกิดขึ้นช่วยให้เห็นพัฒนาการของสินค้าและบริการและบางโฆษณาช่วยสอนให้ทราบถึงวิธีการใช้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับสินค้าและบริการดังกล่าวอีกทั้งยังเป็นกระจกสะท้อนสังคมให้เห็นถึงความนิยมแฟชั่นในปัจจุบัน

หน้าที่

1.ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือตราผลิตภัณฑ์

2.นำเสนอสิ่งจูงใจเพื่อกระตู้นให้เกิดปฏิกิริยาหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

3.โฆษณาทำหน้าที่ย้ำเตือน

ประเภท

1.จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย

  • การโฆษณาที่มุ่งเน้นไปที่ผู้บริโภค
  • การโฆษณาที่มุ่งเน้นไปที่องค์กรหรือหน่วยงานธุรกิจ

2.จำแนกตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์

  • การโฆษณาทที่ครอบคลุมในท้องถิ่น
  • การโฆษณาที่ครอบคลุมในภูมิภาค
  • การโฆษณาที่ครอบคลุมระดับประเทศ
  • การโฆษณาที่ครอบคลุมระหว่างประเทศ

3.จำแนกตามสื่อโฆษณา

  • การโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์
  • การโฆษณาทางสื่ออิเลคทรอนิค
  • การโฆษณาทางสื่อนอกสถานที่
  • การโฆษณาทางจดหมายตรง
  • การโฆษณาทางสื่อใหม่

4.จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการโฆษณา

  • Product Advertising
  • Non-Product Advertising
  • Commercial Advertising
  • Non-commercial D\Advertising
  • Primary-demand Advertising
  • Selective-demand Advertising
  • Direct-action Advertising
  • Indirect-action Advertising

ความหมายการประชาสัมพันธ์

Cutlip และCenter

การประชาสัมพันธ์คือรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและประชามติที่ประชาชนมีต่อองค์การสถาบันด้วยความพยายามอย่างจริงใจมุ่งสร้างผลประโยชน์ร่วมกันและช่วยให้สถาบันสามารถปรับตัวเองให้สอดคล้องกลมกลืนเข้ากับสังคมได้มีการนำมาใช้ในลักษณะความหมาย3 ประการ

  • การส้รางความสัมพันธ์ระหว่างองค์การสถานบันกับกลุ่มประชาชน
  • วิธีการที่องค์การสถาบันใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์
  • คุณภาพและสถานภาพแห่งความสัมพันธ์นั้นๆ

Edward L.Bernays

  • เผยแพร่ชี้แจงให้ประชาชนทราบ
  • การชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยและเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานของสถาบัน
  • ประสานความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและวิธีดำเนินงานของสถาบัน

Dominick

  • การประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมติ/ความคิดเห็นของสาธารณะชนโดยการพยายามเข้าไปมีอิทธิพลต่อความคิดทัศนคติหรือเชิงบวกของสาธารณะในประเด็นให้ประเด็นหนึ่งที่องการต้องการ
  • การอธิบายกิจกรรมหรือเรื่องราวขององค์กรให้กับสาธารณชนหลากหลายกลุ่มทั้งในองค์กรและนอกองค์กรที่มีความแตกต่าง
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กรเป็นงานที่ออกแบบมาเพื่อช่วงองค์กรในการกำหนดพันธกิจเป้าหมายและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อให้องค์กรอยู่รอด

พัฒนาการ

การประชาสัมพันธ์ยุคโบราณ

การตีฆ้องร้องป่าวตีเกราะเคาะไม้แต่งเพลงปลุกใจคำพูดท่าทางสัญญาณ

การประชาสัมพันธ์ยุคภาพเขียน

ภาพสลักบนผนังถ้ำเพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่การทำสงครามชีวิตธรรมชาติของสัตว์ป่าตลอดกิจกรรมต่างๆของมนุษย์

การประชาสัมพันธ์ยุคตัวอักษร

มีการเขียนประชาสัมพันธ์เพื่อโน้มน้าวใจใช้การบันทึกเป็นตัวอักษรในการประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ยุคบทกวีนิพนธ์และบทประชาสัมพันธ์

มีการนำเทคนิคและวิธีการประชาสัมพันธ์โดยใช้บทกวีนิพนธ์และร้อยกรองเป็นเครื่องมือในการสร้างประชามติที่มีความไพดราะมีจังหวะเร้าใจจำง่ายเพื่อให้ประชาชนในกรุงโรมย้ายถิ่งฐานไปในสถานที่ที่สวยงาม

การประชาสัมพันธ์ยุคเครื่องพิมพ์

กูเตนเบิร์กคิดค้นเครื่องพิมพ์ครั้งแรกทำให้การประชาสัมพันธ์เจริญขึ้น

การประชาสัมพันธ์ยุคปัจจุบัน

ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือในการประชาสัมพันธ์มากมายทั้งที่เป็นดั้งเดิมเช่นวิทยุโทรทัศน์และสื่อใหม่เช่นผ่านทางคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนฯลฯ

ประวัติและการพัฒนาการประชาสัมพันธ์

ในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • มีโรงพิมพ์และหนังสือพิมม์ฉบับแรกคือหนังสือพิมพ์บอสตันนิวส์เลตเทอร์
  • สมัยประธานาธิบดีอับราฮัมลินคอล์นเกิดสงครามการเมืองมีการใช้ออกประกาศแถลงการณ์การปลุกเร้าประชามติการใช้หนังสือพิมพ์การพูดในที่ชุมชน
  • ไอวีลีเสนอแนวคิดที่ถูกต้องของการประชาสัมพันธ์ว่าไม่ความปิดหูปิดตาประชาชนหรือเพิกเฉยละเลยต่อประชาชนและจัดตั้งสำนักงานรับจ้างดำเนินงานประชาสัมพันธ์

ในประเทศอังกฤษ

  • เริ่มจากภาคเอกชนการโฆษณากิจการแบบสร้างข่าวผ่านหนังสือพิมพ์ภาครัฐใช้แผ่นปลิวการแสดงปาฐกถาเคลื่อนที่เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านประกันสุขภาพ
  • ก่อตั้งกระทรวงโฆษณาเพื่อวางแผนทำสงครามจิตวิทยา
  • สำนักข่าวสารกลางผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล

ในประเทศไทย

  • สมัยสุโขทัย: ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง
  • สมัยอยุธยา: มีการส่งราชทูตไปเจริญพันธไมตรีและมีการปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักชาติ
  • สมัยกรุงธนบุรี: การบำรุงขวัญให้ประชาชนกลับมาอาศัย
  • สมัยรัชกาลที่3 : มีการนำเครื่องพิมพ์เข้ามาในประเทศเริ่มจากหนังสือไปสู่หนังสือพิมพ์(บางกอกรีคอเดอร์)
  • สมัยรัชกาลที่4 : ทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์อักษรพิมพ์การ
  • สมัยรัชกาลที่7 : มีการใช้วิทยุกระจายเสียงเดผยแพร่ข่าวสาร(เรื่องประชาธิปไตย)
  • คณะราษฎรได้มีการก่อตั้งกองโฆษณา–> สำนักงารโฆษณาการ–> กรมการโฆษณา–> กรมประชาสัมพันธ์