วันตักบาตรเทโวโรหณะมีความสําคัญอย่างไร

๒. ตักบาตรเทโว

มีตำนานเล่าว่า ในพรรษาที่ ๗ หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงจำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา พร้อมทั้งเทวดาทั้งหลาย ครั้นสิ้นสุดพรรษาแล้ว ในวันมหาปวารณา (คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ที่เรียกกันว่าวันออกพรรษา) พระองค์ก็เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงสู่มนุษยโลกที่เมืองสังกัสสะ ซึ่งเป็นนครสำคัญแห่งหนึ่งของแคว้นโกศล ครั้งนั้น เทวดามากมายได้ตามส่งเสด็จ ฝ่ายมนุษย์ทั้งหลายก็พากันตื่นเต้นดีใจ มาชุมนุมกันรอรับเสด็จอย่างคับคั่ง เป็นธรรมดาของพุทธศาสนิกชน เมื่อมาชุมนุมกันในโอกาสเช่นนี้ ก็ย่อมตักบาตร ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการทำบุญครั้งใหญ่ และถวายการต้อนรับแด่พระพุทธเจ้า

จากตำนานนี้ ก็ได้เกิดประเพณีตักบาตรเทโวสืบต่อมา ตักบาตรเทโวเป็นคำย่อ เรียกเต็มว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ เทโวโรหณะ แปลว่า การลงจากเทวโลก คือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ตามตำนานที่เล่ามาแล้วนั้นเอง ตักบาตรเทโว จึงหมายถึง การตักบาตรเนื่องในการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก จะเห็นว่า ในพิธีตักบาตรเทโวนี้ มีการชักรถที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ นำแถวพระสงฆ์ที่รับบิณฑบาตด้วย เป็นเครื่องหมายว่า พระพุทธเจ้าเสด็จลงตามตำนานนั้น

เนื่องจากในการออกพรรษาไม่มีพิธีการอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ การตักบาตรเทโวนี้จึงเป็นพิธีที่เป็นเครื่องหมายของการออกพรรษา สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป

การตักบาตรเทโว บ่งบอกถึงความหมายที่ลึกซึ้งลงไปอีก หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับคืนมาสู่โลกมนุษย์ คือการที่มนุษย์ทั้งหลายได้ต้อนรับพระองค์กลับมาอีก ในระหว่างพรรษานั้น พระพุทธเจ้าจะเสด็จปลีกพระองค์ไปปฏิบัติพุทธกิจอย่างใด ณ ที่ใด หรือแก่ชุมชนใดโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จออกมาบำเพ็ญพุทธกิจในหมู่ประชาชนทั่วไปอีก ประชาชนทั้งหลายจะได้พบได้เฝ้าพระองค์ นี้คือความหมายของการออกพรรษา หรือที่แท้จริงคือการเริ่มต้นของเวลานอกพรรษา เป็นเครื่องบ่งบอกว่าระยะเวลาที่พระสงฆ์อยู่ประจำที่เพื่อดำเนินการศึกษาอบรมภายในหมู่พระสงฆ์เองโดยเฉพาะ เพื่อซักซ้อมตระเตรียมฝึกฟื้นตนเองให้พร้อมยิ่งขึ้น และเพื่อสงเคราะห์ชุมชนหมู่หนึ่งโดยเฉพาะนั้น บัดนี้ ระยะเวลาแห่งศาสนกิจที่เน้นหนักในด้านนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อแต่นี้ไปเป็นการเริ่มต้นแห่งรอบเวลาใหม่ คือการที่พระสงฆ์จะออกปฏิบัติศาสนกิจจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขของหมู่ชน

ตักบาตรเทโว เป็นเรื่องของประเพณี ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ในวินัย บางวัดจัดในวันมหาปวารณา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ที่เรียกว่าวันออกพรรษา เพราะถือตามตำนานอันมาในอรรถกถาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกในวันนั้น แต่บางวัดจัดหลังจากวันนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ คงจะถือว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาในวันมหาปวารณาก็จริง แต่ประชาชนได้มีโอกาสตักบาตรทำบุญในวันรุ่งขึ้น ประเพณีนี้ในบางวัดบางถิ่นก็เลือนหายไปแล้ว บางวัดหรือบางถิ่นยังปฏิบัติอยู่ แต่ส่วนมากดูจะค่อยๆ จืดจางและอ่อนกำลังลงโดยลำดับ

​หลังจากที่ได้เข้าพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว ก็ถึงวันขึ้น 15 เดือน 11 ก็จะเป็นวันออกพรรษา และวันเป็นมหาปวารณาของพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งหมายถึง วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยจิตที่เมตตา โดยมีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาบาลีว่า “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฏิกกะริสสามิ” แปลได้ใจความว่า “”ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านทั้งหลายได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัย ว่า…กระผมได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี”

ซึ่งการปวารณานี้ เกิดขึ้นเพราะ การอยู่จำพรรษารวมกันตลอดระยะเวลาสามเดือน อาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงใช้วิธีการปวารณาให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เพื่อพระภิกษุที่ได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังเรื่องไม่ดีไม่งามอะไรก็ตาม ให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้ คือ พระผู้มีพรรษามากก็กล่าวตักเตือนพระผู้มีพรรษาน้อยได้ และพระผู้มีพรรษาน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อบกพร่องของพระผู้มีพรรษามากได้เช่นกัน ซึ่งทางเพศฆราวาสเองก็สามารถทำการปวารณาต่อตนเองและผู้อื่นได้ด้วย

แต่ทั้งนี้ การใช้คำพูดหรือวาจาในการปวารณานั้น ต้องมีหลักจิตวิทยาในการพูด และผู้รับข้อมูลต้องมีจิตใจเปิดกว้าง ไม่โกรธ เมื่อต้องได้รับการตักเตือนจากบุคคลอื่น แต่ในสังคมไทยแล้วส่วนมาก ผ้าอาวุโสมักจะแนะนำ ตักเตือนผู้ด้อยอาวุโสตามธรรมเนียมปฏิบัติ ​

หลังจากผ่านวันออกพรรษา แล้วก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเรียกว่า เป็นวันเทโวโรหณะ ในปี 2562 นี้ ตรงกับวันจันทร์ ที่ 14 ตุลาคม 2562 ซึ่งโดยปกติแล้ววันออกพรรษา และวันตักบาตรเทโวโรหณะ จะไม่ใด้เป็นวันหยุดราชการ แต่ในปีนี้ตรงกับวันหยุดชดเชยวันคล้ายวันสวรรคตขององค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ทำให้วันเทโวโรหณะปีนี้เป็นวันหยุดราชการ หากไปอ่านบทความที่ผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อไปแสดงธรรมโปรดพระมารดา เมื่อพระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชาวดาวดึงส์ ชาวเมืองได้รับทราบจึงพากันไปรอพระองค์เพื่อตักบาตรที่นั่น

​กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลก และประเพณีกันตักบาตรเทโวโรหณะนั้น ได้สืบทอดมาถึงประเทศไทย และเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า “ตักบาตรเทโว” ​

การตักบาตรเทโว ได้ปฏิบัติทุกวัดเหมือนกันหมด แต่จะมีบางวัดที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะวัดที่บันไดสูง ๆ ก็จะจำลองคล้ายกับพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากชั้นดาวดึงส์นั่นเอง ในขณะที่หลายจังหวัดได้นำประเพณีการตักบาตรเทโว มาเป็นจุดขาย เช่น การตักบาตรข้าวต้มลูกโยน จังหวัดสระบุรี ได้อ่านบทความทางอินเตอร์เน็ตแล้วน่าสนใจและไปเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับการเตรียมของตักบาตรเดี๋ยวนี้นิยมเป็นข้าวสารอาหารแห้ง เนื่องจากสามารถเก็บไว้ได้นาน หรือทางวัดอาจจะนำไปบริจาคให้หน่วยงานหรืออื่นๆ อันจะก่อประโยชน์สูงสุดในการตักบาตร ​ท่านใดไม่ติดธุระ ท่านใดไม่ได้ปฏิบัติงาน หากมีเวลาไปตักบาตรเทโวโรหณะ กันนะครับ เพราะนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของชาวพุทธแล้ว ยังส่งเสริมให้คนไทยรู้จัก “ให้” มากขึ้น

การตักบาตรเทโวมีความสำคัญอย่างไร

งานตักบาตรเทโวเป็นงานที่ช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้แก่ชาวบ้านอย่างมากเป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ละ ลด เลิกอบายมุข หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ จึงมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดสันติสุขเป็นอย่างดี

ตักบาตรเทโวมีจุดมุ่งหมายอะไร

ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)

วันออกพรรษาตักบาตรเทโวต่างกันอย่างไร

ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกใน วันมหาปวารณา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก

การตักบาตรเทโวต้องเตรียมอะไรบ้าง

พอถึงวันออกพรรษาส่วนใหญ่ทุกวัดจะมีการตักบาตรเทโวตามประเพณี โดยสิ่งของที่พุทธศาสนิกชนเลือกมาทำบุญในวันดังกล่าว ส่วนมากจะเป็น ข้าวสาร อาหารแห้งจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง หรือนมกล่อง เป็นต้น