แนวคิด เศรษฐกิจ พอ เพียง กับ ระบบ สหกรณ์

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            สหกรณ์ คือ "องค์กร ๆ หนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจ เพื่อดำเนินงานทั้งในด้านความคิด ระบบบริหารจัดการผลผลิต และบุคคลโดยใช้หลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม"

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

           ตัวชี้วัด  

                  ส 3.1 ม. 3/3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

           จุดประสงค์การเรียนรู้

                 1.นักเรียนบอกความหมายและหลักการของสหกรณ์ได้ถูกต้อง

                 2. นักเรียนระบุประเภทของสหกรณ์ได้ถูกต้อง

                 3. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบการดำเนินงานของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักการของสหกรณ์ได้ถูกต้องมีเหตุผล

                 4. นักเรียนแสดงความคิดเห็นในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักการของสหกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้                

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 20

เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

กิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 20 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

แนวคิด เศรษฐกิจ พอ เพียง กับ ระบบ สหกรณ์

       ระบบสหกรณ์กับเศรษฐกิจพอเพียงระบบสหกรณ์ เป็นระบบที่ใช้ประโยชน์และมีชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกัน และเป็นระบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงและคำว่า “พอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ  ความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

         เป้าหมาย : มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางวัตถุสังคมและสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้อย่างดี

         แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เป็นหลักปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงชีวิตอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์

         เงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม)

          1. จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

          2.  การเสริมสร้างจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ

         3.  เป็นการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน 

            หลักการดำเนินงานของสหกรณ์   มีแนวทางดังนี้

          1.  การดำเนินงานร่วมกันร่วมมือกันคือการกระทำการงานร่วมกันมนุษย์เราตั้งแต่เกิดจนตายย่อมต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเริ่มตั้งแต่ครอบครัวญาติพี่น้องไปจนถึงเพื่อนฝูงผู้ร่วมงานกล่าวคือ อย่างว่าเราอยู่คนเดียวไม่ได้ต้องอยู่ในสังคมจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเจริญรุ่งเรืองอยู่แต่ผู้เดียวโดยที่คนในสังคมเดียวกันยังลำบากเดือดร้อน

         2. วิธีการสหกรณ์เข้ามาแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ได้ดี เพราะระบบสหกรณ์เป็นการช่วยเหลือตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ดี

อ้างอิง http://blaqeducate.blogspot.com/p/blog-page_3706.html

สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2.  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3.  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
–  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
–  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
–  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4.  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
–  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
–  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5.  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ ากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุบและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

แนวคิด เศรษฐกิจ พอ เพียง กับ ระบบ สหกรณ์

สหกรณ์  หมายถึง  คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเองและช่วยเหลือกัน  ซึ่งได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง  แนวพระราชดำริแห่งพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับยึดหลักความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีภูมิคุ้มกันตัวเองต่อผลกระทบใดๆ

เมื่อเปรียบเทียบสหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  พบว่ามีประเด็นวิเคราะห์  ดังนี้
1.  เป้าหมาย
สหกรณ์มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป้าหมายของสหกรณ์คือการมีเศรษฐกิจดีและสังคมดี  หรือความเป็นอยู่ดี  มีสันติสุข  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามข้อความชื่อปรัชญามีเป้าหมายทางเศรษฐกิจ  แต่เมื่อศึกษาลึกลงในรายละเอียดของปรัชญาพบว่ามุ่งให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ภายใต้ทุกสถานการณ์อันหมายถึงสุกสภาพแวดล้อมจึงหมายรวมถึงสังคมด้วยเป้าหมายของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายเดียวกัน

เป้าหมายสหกรณ์ = เป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.  ความสำคัญ
สหกรณ์ให้ความสำคัญกับคนมากกว่าสิ่งอื่นใด  ตามคำแปลสหกรณ์ที่ สห คือ การรวมกัน  กรณ์  คือ  การกระทำ  สหกรณ์คือการกระทำร่วมกัน โดยเน้นการรวมกันของคนเพื่อทำงานแก้ปัญหาหรือพัฒนาตามที่ต้องการ  นอกจากนั้นดูได้จากการกำหนดกติกาในสหกรณ์ให้  คน 1  คนออกเสียงได้ 1 เสียง ใน  1 เรื่อง ไม่ได้ยึดจำนวนทรัพย์สินที่มี กับกำหนดให้สมาชิก 1 คน ถือหุ้นกับสหกรณ์ได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้อำนาจเงินควบคุมบังคับสหกรณ์  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาเพื่อการพัฒนาการดำเนินชีวิตของคนให้อยู่ได้ในทุกสถานการณ์  เป็นการดำเนินชีวิตสายกลาง  มีภูมิต้านทานในตัวเองให้อยู่ได้อย่างมั่นคง  ยั่งยืน  ซึ่งแสดงถึงการมุ่งสู่การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ดังนั้นการให้ความสำคัญของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จึงให้ความสำคัญกับคน  คุณค่าความเป็นคน  หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สหกรณ์ให้ความสำคัญกับคน=ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญกับคน

  3.  วิธีการบรรลุเป้าหมาย
สหกรณ์ระบุว่า  การช่วยตนเองและการร่วมมือช่วยเหลือกันเป็นการทำให้บรรลุประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม  มีการขยายความการช่วยตนเองว่าหมายถึงการเป็นคนขยันประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอบายมุข  การช่วยเหลือกันคือการร่วมแรงกาย  แรงใจ  กำลังความคิด  กำลังทรัพย์  การช่วยเหลือกันนี้ต้องมีคุณธรรม 4 ประการ  เป็นที่ตั้งคือ  ความซื่อสัตย์  ความเสียสละ  ความสามัคคี  การมีระเบียบวินัย
การบรรลุเป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาตามแนวพระราชดำริระบุเงื่อนไขการปฏิบัติคือ  การมีความรอบรู้  ความรอบคอบระมัดระวัง  มีคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตทั้งนี้  ตามพระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม  2541 ความตอนหนึ่งว่า  “…เศรษฐกิจพอเพียงนี้ที่จะมาบอกว่าให้พอเพียงเฉพาะตัวเอง 100 เปอร์เซ็นต์  เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้  จะต้องมีการแลกเปลี่ยน  ต้องมีการช่วยกัน  ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว  แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือสามารถที่จะดำเนินงานได้…”
ดังนั้น  วิธีการบรรลุเป้าหมายของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีแนวคิดที่สอดคล้องกัน  คือ  ประกอบด้วย  ความเป็นรายบุคคล  ความเป็นชุมชนเป็นองค์กร  และความเป็นชาติประเทศ

ตารางที่ 3  เปรียบเทียบการสหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายการ สหกรณ์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.เป้าหมาย

2.ความสำคัญ

3.วิธีการ

4.หลักคุณธรรม

5.องค์ประกอบ

ทางเศรษฐกิจและสังคม

คุณค่าความเป็นคน

แต่ละคนช่วยตนเอง

แต่ละคนร่วมมือช่วยเหลือกัน

คณะบุคคลเพื่อแต่ละบุคคล

ซื่อสัตย์  เสียสละ  สามัคคี

มีระเบียบวินัย

รายบุคคล  คณะบุคคล  องค์กร

ทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

การยืนด้วยละแข้งตัวเอง

ต้องช่วยกัน

สอดคล้องกับสถานการณ์

ซื่อสัตย์  สุจริต  มีสติ  อดทน

เพียรพยายาม

ปัจเจกชน  ชุมชน  ชาติประเทศ

จากตาราง  พบว่า  แนวคิดระบบสหกรณ์กับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกัน  โดยนำคนเป็นฐานจากนั้นกำหนดให้คนพึ่งพาตนเองได้เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคง  แล้วจึงเกื้อกูลกันเป็นชุมชนเข็มแข็ง  จากคนดีเป็นสังคมดี  ต่อจากนั้นจึงเป็นในระดับชาติ  เพื่อให้ประเทศพัฒนาอย่างมั่นคงในทุกสถานการณ์

    กระบวนการระบบสหกรณ์

    กระบวนการในระบบสหกรณ์คือ  กระบวนการพัฒนาตนเองรายบุคคลสู่กระบวนการความร่วมมือช่วยเหลือกันสู่กระบวนการความเป็นอยู่ที่ดี  มีสันติสุข  ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ตามแผนภาพ

กระบวนการระบบสหกรณ์

กระบวนการระบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  กระบวนการสร้างตนเองให้ยืนบนลำแข้งตัวเอง  สู่กระบวนการชุมชนเข้มแข็ง  สู่ความมีเสถียรภาพของประเทศ  ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ตามแผนภาพ

กระบวนการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หากนำกระบวนการระบบทั้งสองมาผสมผสานกันจะได้ระบบใหม่ที่เรียกว่า  การจัดการสหกรณ์  ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ตามแผนภาพ

ระบบการจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แนวคิด เศรษฐกิจ พอ เพียง กับ ระบบ สหกรณ์

การจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การจัดการสหกรณ์ด้วยการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถทำได้อย่างลงตัว  เพราะจากการศึกษาขั้นต้นพบว่าเป็นระบบที่มีความสอดคล้องกัน  จึงอยู่ที่ภาคปฏิบัติการในการระบุรายละเอียดแต่ละกระบวนการขั้นตอนของการดำเนินงานว่าจะจัดการอย่างไร  ให้เป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งต่อไปนี้ขอนำเสนอภาคปฏิบัติการตามขั้นตอน คือ
1.  การรวมกันของคณะบุคคล
การจัดตั้งสหกรณ์เกิดขึ้นจากการประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต  หรือความต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่จึงรวมกันเป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการเดียวกันจัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์ในการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และการรับสมัครบุคคลเข้าเป็นสมาชิกใหม่  การปฏิบัติงานในขั้นตอนนี้เป็นการรวมกลุ่มคนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คือ
ขั้นตอนแรก  การคัดคน  การจัดการสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นตอนการคัดคน  ต้องคัดคนที่มีคุณค่าความเป็นคน  หรือมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  คือต้องเป็นบุคคลที่ใช้สานกลางในการดำเนินชีวิต  มีความพอดี  พอประมาณ  สร้างภูมิต้านทานในตัวเองให้อยู่รอดได้  ซึ่งดูได้จากพฤติกรรมภายนอก  คือ 1. เป็นคนขยัน  ประหยัด  2. เป็นคนซื่อสัตย์  เสียสละ

  ลักษณะคนในสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ลักษณะคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ใช่ ไม่ใช่
คนขยัน

คนประหยัด

รายรับมากว่ารายจ่าย

มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

มีคุณค่าความเป็นคน

ซื่อสัตย์

เสียสละ

ปฏิบัติตามระเบียบ

พึ่งพาตนเองได้

พอเพียง  พอดี  พอประมาณ

คุ้มกันตัวเองได้

มั่นคง

เพื่อส่วนรวม

ชาติคือการเดินไปสู่เป้าหมาย

คนเกียจคร้าน

คนฟุ่มเฟือย  สุรุ่ยสุร่าย

รายจ่ายมากกว่ารายได้

ไม่มีศักดิ์ศรี

หาคุณค่าได้ไม่

คดโกง

เห็นแก่ตัว

ฝ่าฝืนระเบียบ

พึ่งพาผู้อื่น

ขาด-เกิน

เอาตัวไม่รอด

อ่อนแอ

เพื่อส่วนตัว

ชีวิตไม่มีเป้าหมาย

การรวมทุน
    เมื่อได้คนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วนับว่าได้คนดี  มีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกันภายใต้ระบบงานสหกรณ์  ต่อจากการรวมคนดีคือ  การรวมทุนเพื่อเตรียมดำเนินงานที่มาแหล่งเงินทุนขอระบบงานสหกรณ์นั้นมาจาก  เงินค่าหุ้นที่สมาชิดทุกคนถือกับสหกรณ์  เงินรับฝากจากสมาชิก  เงินรับบริจาคจากบุคคลผู้มอบให้สหกรณ์ตามวัตถุประสงค์  เงินกู้ที่สหกรณ์ไปขอกู้มาจากแหล่งเงินทุน  เงินจัดสรรจากกำไรสุทธิของสหกรณ์  การรวบรวมเงินทุนของสหกรณ์หากดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ควรมีวิธีการจัดการ  คือ  เงินทุนภายในมากกว่าหรือเท่ากับเงินทุนภายนอก  การสร้างเงินทุนภายในเกิดขึ้นได้จากค่าหุ้นเงินฝาก  หากยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดสายกลาง  พอประมาณ  ก็เห็นว่าสหกรณ์ควรจัดการเรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่เท่ากันกับสถาบันการเงินทั่วไปเงินจากการจัดสรรกำไรสุทธิ  ควรจัดสรรเป็นเงินสำรองให้มากกว่าร้อยละ 10 ส่วนจะมากเท่าใดขึ้นอยู่สภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอกหากสามารถทำได้ดังกล่าวสหกรณ์จะมีความมั่นคงมาก  ทั้งนี้ต้องยึดความพอดี  ความพอประมาณ  ไม่เร่งรัดการสะสมจนมากเกินไป  ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเนิ่นนานเกินไป  ต้องเป็นสายกลางยึดเหตุยึดผลตามพละกำลัง
    เปรียบเทียบการจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสร้างเงินทุนภายในให้มากกว่าหรือเท่ากับเงินทุนภายนอกตามตาราง

 เปรียบเทียบการจัดการเงินทุนสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายการเงินทุนสหกรณ์ ทุนภายใน ทุนภายนอก
ค่าหุ้น

เงินรับฝาก

จัดสรรกำไรสุทธิเป็นเงินสำรอง

รับเงินบริจาค

เงินกู้จากองค์กรภายนอก

ระดับความมั่นคง

ไม่มั่นคง

มั่นคงน้อย

มั่นคงปานกลาง

มั่นคงมาก

มั่นคงมากที่สุด

/

/

/

ต่ำกว่าร้อยละ 50

ร้อยละ  50

ร้อยละ 50-60

ร้อยละ  60-80

สูงกว่าร้อยละ  80

 

/

/

สูงกว่าร้อยละ  50

ร้อยละ  50

ร้อยละ  40-50

ร้อยละ  20-40

ต่ำกว่าร้อยละ  20

การจัดการโครงสร้างสหกรณ์
    โครงสร้างสหกรณ์กำหนดให้มีบุคลากร  คือ  สมาชิก  คณะกรรมการดำเนินการ  ผู้ตรวจสอบกิจการ  ที่ปรึกษา  เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ  และบุคลากรราชการองค์กรต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง  การจัดการโครงสร้างสหกรณ์ได้ระบุบทบาทหน้าที่ ที่มาของคณะบุคคลแต่ละกลุ่มไว้  เมื่อนำมาจัดการด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จะได้โครงสร้างตามแผนงาน

โครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การนำเสนอโครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้  สามารถแก้ไขสภาพปัญหาเดิมอันเป็นปัญหาหลักของสหกรณ์ได้  คือปัญหาความไม่ร่วมมือ  ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่  ปัญหาคนขาดคุณภาพ  ปัญหาการดำเนินงานขาดประสิทธิภาพและปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร  โดยสรุปได้ในตาราง

การแก้ไขสภาพปัญหาเดิมด้วยการจัดการโครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สภาพปัญหาเดิม การแก้ปัญหาด้วยการจัดโครงสร้างสหกรณ์

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

-ความไม่ร่วมมือ

-ไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่

-คนขาดคุณภาพ

-คัดคนที่มีลักษณะยืนได้ด้วยลำแข้งตนเอง

เป็นสมาชิก

-คัดคนที่มีคุณธรรมเสียสละ  ซื่อสัตย์

เป็นคณะกรรมการดำเนินการ

-คัดคนขยัน  ซื่อสัตย์  มีความรอบรู้

เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ

-พัฒนาคนในสหกรณ์สู่ปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง

-การดำเนินงานประสิทธิภาพ

-ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

-กำหนดนโยบายจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง  คือ มุ่งสร้างความเป็นอยู่

พอดี  สร้างสังคมดี

-ตรวยสอบให้สหกรณ์ดำเนินงานตาม

นโยบาย

-ธุรกิจ  กิจการ  มีเป้าหมาย  สังคมดี

เศรษฐกิจดี  มีการร่วมมือกัน

การจัดการธุรกิจสหกรณ์
    การจัดการธุรกิจสหกรณ์บนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ต้องยึดตามความหมายของปรัชญาที่ให้มีความพอประมาณ  ความมีเหตุมีผล  และการมมีภูมคุ้มกันตัวเอง  ด้วยเงื่อนไขการมีความรู้ความรอบคอบ
    จึงหมายถึงการทำให้สหกรณ์มีธุรกิจที่เหมาะสม  ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมั่นคง  โดยสามารถนำปรัชญาลงสู่การจัดการธุรกิจสหกรณ์ในแต่ละขั้นตอน  คือ
 ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจข้อมูลสมาชิก ที่ยึดมั่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต 
ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจความต้องการร่วมธุรกิจ เป็นข้อมูลที่พอประมาณ  มีภูมิคุ้มกัน  ดำเนินงานอย่างมีเหตุมีผล
ขั้นตอนที่ 3 ทำความเข้าใจการร่วมธุรกิจ ขั้นตอนนี้ใช้หลักปรัชญาบนเงื่อนไข  ความรอบรู้  ความระมัดระวังในการตัดสินใจ
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินธุรกิจ  สหกรณ์ตัดสินใจดำเนินธุรกิจบริการสมาชิกตามความเหมาะสม  พอประมาณ  มีเหตุมีผล  ให้สมาชิกมีความมั่นคง  เข้มแข็ง  ใครควรได้รับบริการธุรกิจใดปริมาณเท่าใด  ระยะเวลาใด  ในอัตราใด  ที่จะทำให้ชีวิตของสมาชิกยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเองได้การให้บริการธุรกิจนอกจากต้องความเสมอภาคเป็นธรรมแล้วการให้บริการต้องเต็มไปด้วยจิตบริการความขยัน  ความซื่อสัตย์  ที่สำคัญต้องเสริมให้บุคคลที่ไม่ยึดมั่นในปรัชญาพัฒนา  ดังแผนภาพ                 
ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลธุรกิจ  สามารนำมาใช้เพื่อวัดผลใน 2 เป้าหมาย  คือ  ดูผลที่สมาชิกกับดูผลที่ตัวองค์กรคือสหกรณ์

จัดการธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา  เศรษฐกิจ  พอเพียง  ดำเนินชีวิต  อย่างเลี้ยง  ตนเองได้
    ไม่ยืมจมูก  คนอื่น  หายใจลำแข้งใคร  ยืนได้  ด้วยตนเอง
          ทางสายกลาง  พอดี  พอประมาณ           มีเหตุผล  ภูมิคุ้มกัน  ไม่ข่มเหง
           ย่อมมั่นคง  ยั่งยืน  ไม่ฝืนเกรง               เป็นดั่งเพลง  ดนตรีร้อย  สอดคล้องกัน
    สมาชิก  สหกรณ์  ยึดปรัชญา            พัฒนา  ตัวเอง  ให้ขยัน
    ประหยัดออม  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดสารพัน    พึ่งตนเอง  หลังจากนั้น  ช่วยกันไป
           จัดการ  กิจการ  เพื่อความเป็นอยู่        มีความรู้  นำสู่  ปฏิบัติได้
           เศรษฐกิจดี  สังคมดี  ทั้งเมืองไทย      สหกรณ์ก้าวไกล  ด้วยน้ำพระทัย  ราชา

สามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับสหกรณ์ได้อย่างไร

แนวคิดในการดำเนินงานของสหกรณ์นั้นนับว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างลงตัว ด้วยสหกรณ์มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของชุมชนซึ่งแนวทางของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็เน้นการพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านชีวิตความ เป็นอยู่ รายได้ รายจ่าย และการดำเนินการผลิต เพื่อการดำรงชีพ ...

แนวคิดในการจัดตั้งสหกรณ์สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร

จากตาราง พบว่า แนวคิดระบบสหกรณ์กับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกัน โดยนำคนเป็นฐานจากนั้นกำหนดให้คนพึ่งพาตนเองได้เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคง แล้วจึงเกื้อกูลกันเป็นชุมชนเข็มแข็ง จากคนดีเป็นสังคมดี ต่อจากนั้นจึงเป็นในระดับชาติ เพื่อให้ประเทศพัฒนาอย่างมั่นคงในทุกสถานการณ์ กระบวนการระบบสหกรณ์

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนทำอย่างไร

แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ใช้แนวทางการพึ่งตนเอง ซึ่งประกอบด้วย.
การบริหารจัดการ ให้ความรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม.
การใช้ทุน ควรให้กลุ่มได้รู้จักใช้ทุนจากแหล่งทุนนอกชุมชน.
การผลิต ควรเน้นการผลิตที่มีประสิทธิภาพ.

การพึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

หลักการพึ่งตนเอง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.
ความพอดีด้านจิตใจ ต้องเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม.
ความพอดีด้านสังคม ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง.