แบบทดสอบโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เปิดแบบทดสอบ "โรคซึมเศร้า" 9 ข้อ เช็กอาการที่เกิดขึ้นว่าเข้าข่ายหรือไม่

หากคุณไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น ใช่อาการของคนป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" หรือไม่ วันนี้ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้มีแบบประเมินโรคซึมเศร้าออนไลน์ (9Q) : คุณสงสัยหรือกังวลมว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

เช็กอาการโรคซึมเศร้าเบื้องต้น 

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมทั้งวันนี้ คุณมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน?

- รู้สึกแย่ เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง

- รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง

- ไม่สนใจหรือไม่มีความสุขเวลาทำอะไร (ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เคยชอบ)

- รู้สึกแย่กับตัวเอง

- นอนไม่หลับหรือหลับมากไป

- จดจ่อกับอะไรได้ยาก เช่น อ่านหนังสือ

- เบื่ออาหาร หรือ กนมากกว่าปกติ

- พูดหรือทำอะไรช้า หรือกระวนกระวายมาก

ทดสอบ โรคซึมเศร้า ผ่านออนไลน์ง่ายๆ 9 ข้อ

หากคุณไม่แน่ใจ หรือ คิดว่ามีอาการนี้บ่อยๆ ลองมาทำ แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) แบบออนไลน์กันได้

คลิกทำแบบทดสอบ โรคซึมเศร้า ได้ที่ลิงก์นี้ https://new.camri.go.th/

แบบทดสอบโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

สาเหตุของโรคซึมเศร้า 

มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ในครอบครัวที่มีประวัติโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเวชมักมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เหตุการณ์/ความเครียดในชีวิต การเผชิญ ความรุนแรงทางจิตใจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า

- พันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเด็กที่พ่อแม่มีภาวะซึมเศร้า จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป

- สารเคมีในสมอง จากการศึกษาพบว่าผู้ป่ วยภาวะซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ ท าให้ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในปัจจุบันยาที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าจะมีหน้าที่โดยตรงในการปรับสารเคมีเหล่านี้ให้อยู่ในภาวะสมดุล

- ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หรือ ปัญหาทางจิตสังคม เช่น ปัญหาการเลี้ยงดู ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงดูลูกเชิงลบ ใช้คำตำหนิต่อว่าหรือการใช้อารมณ์ในการดูแลบุตร เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียบุคคลสำคัญ หรือ การหย่าร้างของพ่อแม่ การถูกทารุณกรรมหรือการถูกทอดทิ้ง การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนหรือถูกกีดกันออกจากสังคม เป็นต้น

- มุมมองต่อตนเอง และลักษณะการแก้ไขปัญหา พบว่าเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ และเด็กที่มีความวิตกกังวลสูง จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป ลักษณะการแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีหนีปัญหา โทษตัวเองซ้ำๆ และมองโลกในแง่ร้ายก็มีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้าได้สูงขึ้น

- ปัจจัยโรคทางกายอื่นๆ โรคทางกายหรือยาบางชนิด ส่งผลต่อฮอร์โมน และสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะโรคเรื้อรัง ไม่สามารถใช้ชีวิตตามวัยได้ตามปกติก็มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้ด้วย.

แบบคัดกรองหมายเหตุ/ คำอธิบายเลือกแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) ให้ผู้ประเมินเลือกช่องที่ตรงกับความรู้สึกของท่านในช่วง... เลือกแบบทดสอบดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อแบบทดสอบดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสั้น 15... เลือกแบบประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q)แบบประเมินความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย... เลือกแบบประเมินความเครียด (20 ข้อ)ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดมีหลายอย่างเช่น... เลือกแบบประเมินความเครียด (ST-5)ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในสภาวะกดดัน จนไม่สามารถจะแก้ปัญหากับสถานการณ์นั้นๆ... เลือกแบบประเมินความเครียด ความกังวล ความเศร้า (DASS-21)แบบสอบถามนี้สร้างโดย Lovibond และคณะ เมื่อปี 1995... เลือกแบบประเมินโรคซึมเศร้า (PHQ-9, 9Q)แบบประเมินนี้พัฒนาจาก แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (Patient Health Questionnaire: PHQ-9) ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล และคณะ... เลือกแบบสอบถามโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่เมื่อสงสัยว่าตนเองมีอาการเข้าข่ายสมาธิสั้น... เลือก

โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

แบบวัดภาวะซึมเศร้า Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D) ฉบับภาษาไทย

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอุมาพร  ตรังคสมบัติ  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ผู้พัฒนา แบบประเมินนี้ใช้เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กตอบแบบประเมินด้วยตนเอง (Self-report) ประกอบด้วยคำถาม 20 ข้อ ซึ่งเกี่ยวกับอาการซึมเศร้าในระยะเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 4 ระดับ คือไม่เคย นาน ๆ ครั้ง บ่อย ๆ ตลอดเวลา ทุกข้อให้เลือกเพียงคำตอบเดียว ตัวเลือกเกี่ยวกับความรุนแรงหรือความถี่ของอาการซึมเศร้ามี 4 ระดับ คือ

          ไม่เคย                       (<1 วัน)                   คะแนนเท่ากับ   0

          นาน ๆ ครั้ง                 (1-2 วัน)                  คะแนนเท่ากับ   1

          บ่อย ๆ                       (3-4 วัน)                  คะแนนเท่ากับ   2

          ตลอดเวลา                 (5-7 วัน)                  คะแนนเท่ากับ   3

กรุณากรอกข้อมูลเบื้องต้นตามความเป็นจริง

คำชี้แจงสำหรับการใช้เครื่องมือประเมินโดย เด็กและวัยรุ่น

  • แบบประเมินเหล่านี้ใช้เพื่อประเมินตนเองเบื้องต้น ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค
  • ผลการประเมินจะมีความถูกต้องเมื่อน้องๆตอบตามความเป็นจริง
  • อย่าใช้เวลาในการตอบแต่ละคำถามนานเกินไป พยายามตอบทันทีที่อ่านคำถามและคำตอบเสร็จ
  • ผลการประเมินจะสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของตัวน้องๆ ในช่วงเวลาที่ทำการประเมิน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้(การทำแบบประเมินซ้ำควรมีระยะเวลาห่างจากครั้งที่ผ่านมาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป)