ท จร ต การจ ดซ อผ าห ม.กระทรวงการพ ฒนาส งคม

รูปแบบไฟล์ที่รองรับ : png, jpg, jpeg ขนาดภาพ : 300x300px

ความยาว 8-15 ตัวอักษร ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก,ตัวใหญ่,ตัวเลข และอักขระพิเศษ(!@#$&*)

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นเจ้าของข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนครั้งนี้

การประเมนิ ผลนโยบายและยุทธศาสตร

การพฒั นาอนามัยการเจร�ญพนั ธุแห‹งชาติ ฉบบั ท่ี 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) วา‹ ดŒวยการส‹งเสรม� การเกิดและการเจร�ญเตบิ โตอย‹างมคี ณุ ภาพ (ระยะคร�ง่ แผน)

สํานักอนามยั การเจร�ญพนั ธุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสขุ พ.ศ. 2564

การประเมนิ ผลนโยบายและยทุ ธศาสตร์

การพัฒนาอนามยั การเจริญพนั ธ์ุแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) วา่ ดว้ ยการสง่ เสรมิ การเกดิ และการเจริญเตบิ โตอย่างมคี ุณภาพ (ระยะคร่งึ แผน)

(A mid-term evaluation of the Second National Reproductive Health Policy and Strategies (2560 - 2569 B.E.) to promote quality of birth and growth)

ส�ำนกั อนามยั การเจริญพันธ์ุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564

การประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์ การพฒั นาอนามยั การเจริญพันธุ์แหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) ว่าด้วยการสง่ เสริมการเกดิ และการเจริญเติบโตอย่างมคี ุณภาพ (ระยะครึง่ แผน) (A mid-term evaluation of the Second National Reproductive Health Policy and Strategies (2560 - 2569 B.E.) to promote quality of birth and growth)

ที่ปรึกษา นายแพทย์สวุ รรณชัย วฒั นาย่ิงเจริญชัย นายแพทย์บญั ชา คา้ ของ นายแพทยก์ ิตตพิ งศ์ แซเ่ จ็ง นายแพทยพ์ รี ะยทุ ธ สานุกลู นางปติมา หริ ิสัจจะ

นักวิจยั หลัก รองศาสตราจารย์ ดร.กนษิ ฐา จำ� รูญสวัสด์ ิ หวั หน้าโครงการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นางปภาวี ไชยรกั ษ์ ส�ำนกั อนามยั การเจรญิ พันธ์ุ กรมอนามัย

นักวิจัยร่วม นางสาวณิชามัญช์ เอ่ยี มแสงจันทร์ ส�ำนกั อนามยั การเจรญิ พันธ์ุ กรมอนามัย นางสาวเจนจิรา อนุ่ แก้ว สำ� นักอนามัยการเจรญิ พนั ธุ์ กรมอนามัย

ข้อมูลบรรณานกุ รม

กนษิ ฐา จ�ำรญู สวัสด์ิ , ปภาวี ไชยรกั ษ์ การประเมินผลนโยบายและยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาอนามัยการเจรญิ พันธแุ์ หง่ ชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) ว่าดว้ ยการสง่ เสรมิ การเกดิ และการเจรญิ เตบิ โตอย่างมีคุณภาพ (ระยะครึ่งแผน) (A mid-term evaluation of the Second National Reproductive Health Policy and Strat- egies (2560 - 2569 B.E.) to promote quality of birth and growth) 1. นโยบายและยทุ ธศาสตร์การพัฒนาอนามยั การเจริญพันธแุ์ ห่งชาติ --- การประเมินผล 2. กนิษฐา จำ� รญู สวสั ด์ิ 3. มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล ภาควชิ าอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ 4. A mid-term evaluation of the Second National Reproductive Health Policy and Strategies (2560 - 2569 B.E.) to promote quality of birth and growth

ISBN : 978-616-11-4726-6 ลิขสิทธิ์ : ส�ำนักอนามยั การเจริญพันธุ์ กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสุข จ�ำนวนท่พี ิมพ ์ : 500 เลม่ จ�ำนวน 216 หน้า จัดพิมพโ์ ดย : ศูนยส์ ือ่ และส่งิ พิมพแ์ ก้วเจ้าจอม มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สวนสนุ ันทา

คำ� น�ำ

การประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ

ฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมี คุณภาพฉบับนี้ เป็นการประเมินผลในระยะคร่ึงแผน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม ความก้าวหน้าของการด�ำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค ของการด�ำเนินงานตามมาตรการ ที่ก�ำหนดไว้ในแต่ละยทุ ธศาสตร์ ผลผลติ และผลลัพธ์ของการดำ� เนนิ งานในโครงการท่สี �ำคญั เพื่อได้ข้อมูลพ้ืนฐานส�ำหรับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องใช้ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ ปรับเปล่ียนมาตรการ กลไกหรือรูปแบบการด�ำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่พบ ผู้วิจัยท�ำการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบ 360 องศา ท้ังผู้บริหาร ผู้ท�ำหน้าท่ีรับผิดชอบหลัก จากส่วนกลาง ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มประชาชนเป้าหมาย ของการให้บริการ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งรายงาน บันทึกผลการด�ำเนินงาน ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์ แบบเจาะลกึ ร่วมกบั การเยย่ี มส�ำรวจในพื้นที่ ทีมผู้วิจัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการประเมินผลฉบับน้ี จะเป็นประโยชน์ ต่อหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องน�ำไปใช้เป็นแนวทางประกอบการวางแผน ปรับเปลี่ยนมาตรการ ในการด�ำเนินงานระยะครึ่งแผนหลังของนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัย การเจรญิ พันธุแ์ หง่ ชาติ ฉบับท่ี 2ฯ เพอื่ ท�ำใหผ้ ลลัพธ์ของการด�ำเนนิ งานบรรลุตามเปา้ หมาย ทตี่ ้งั ไว้ต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.กนษิ ฐา จ�ำรญู สวสั ดิ์ หัวหน้าโครงการฯ

กติ ตกิ รรมประกาศ

ทีมผู้วิจัยขอขอบพระคุณผบู้ รหิ าร ผ้รู ับผดิ ชอบงานหลักจากหน่วยงานของกรมอนามยั ในการให้ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ขอขอบพระคุณบุคลากรจากหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ท่ีปฏิบัติงานในระดับภูมิภาค บุคลากรจากกระทรวงและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระท่ีเสียสละเวลามา ร่วมในการสนทนากลุ่ม และให้ข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถาม ขอขอบพระคุณบุคลากร จากกระทรวงสาธารณสุข และจากกระทรวงทเี่ ก่ยี วข้องในพื้นที่เย่ียมสำ� รวจ ไดแ้ ก่ จงั หวัด ชลบุรีและจังหวัดยะลา ที่อ�ำนวยความสะดวกในการเยี่ยมส�ำรวจและร่วมให้ข้อมูล ในการสนทนากลุ่ม ขอขอบพระคุณประชาชนกลุ่มเป้าหมายของการด�ำเนินงานท่ีเสียสละ เวลาในการตอบแบบสอบถาม และร่วมให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในพ้ืนท่ี ท่เี ยยี่ มสำ� รวจ ขอขอบพระคุณ นายแพทย์กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ท่ีให้ค�ำแนะน�ำและอ�ำนวยความสะดวกในการลงเยี่ยม ส�ำรวจจังหวัดยะลา และขอขอบพระคุณนายแพทย์พีระยุทธ สานุกูล ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก อนามัยการเจริญพนั ธ์ุ ทสี่ นบั สนุนการประเมนิ ผลครง้ั นี้

ทีมวจิ ยั 19 สงิ หาคม 2564

ชือ่ ย่อภาษาไทย

กทม. = กรุงเทพมหานคร พม. = กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ พมจ. = พฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนุษยจ์ งั หวดั พ.ร.บ. = พระราชบัญญัติ ม. = มหาวิทยาลัย มท. = กระทรวงมหาดไทย รง. = กระทรวงแรงงาน รพ. = โรงพยาบาล รพ.สต. = โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ� บล วธ. = กระทรวงวัฒนธรรม ศธ. = กระทรวงศึกษาธกิ าร สธ. = กระทรวงสาธารณสขุ สปสช. = ส�ำนักงานหลกั ประกนั สขุ ภาพแหง่ ชาติ สวท. = สมาคมวางแผนครอบครวั แหง่ ประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สสจ. = สำ� นักงานสาธารณสขุ จังหวดั สสส. = สำ� นักงานกองทนุ การสรา้ งเสรมิ สุขภาพ อบต. = องคก์ ารบรหิ ารส่วนต�ำบล อปท. = องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถน่ิ NA= Not applicable (ไม่มีส่วนเก่ียวขอ้ ง)

ช่ือย่อภาษาอังกฤษ

BMA = Bangkok Metropolitan Administration HIV = Human immunodeficiency virus ICT = Ministry of Information & Communication Technology MoC = Ministry of Culture MoE = Ministry of Education MoL = Ministry of Labor MoPH = Ministry of Public Health MoSW = Ministry of Social Welfare and Human Security OSCC = One Stop Crisis Center UNFPA = United Nations Population Fund RH = Reproductive Health

สารบัญ หนา้

3 7 ค�ำนำ� 8 กิตตกิ รรมประกาศ 9 บทสรุปส�ำหรบั ผูบ้ ริหาร 10 บทท่ี 1 ความเปน็ มาของการประเมนิ ผล 28 1.1 หลักการและเหตผุ ล 31 1.2 วตั ถปุ ระสงคข์ องการประเมินผล 31 1.3 ขอบเขตการประเมินผล 33 1.4 ข้อตกลงเบือ้ งต้น 39 1.5 การทบทวนวรรณกรรม 41 1.6 ประโยชนท์ ่ีคาดวา่ จะได้รับ 43 44 44 45 บทท่ี 2 ระเบียบวธิ กี ารประเมินผล 2.1 รปู แบบการศกึ ษา 2.2 กรอบแนวคดิ ของการประเมนิ ผล 2.3 Matrix การประเมนิ ผลตามวตั ถุประสงค์ 2.4 กลมุ่ ตวั อยา่ งและวธิ คี ดั เลือกกลมุ่ ตัวอย่าง 2.5 ข้ันตอนการเกบ็ รวบรวมข้อมลู 2.6 เครอื่ งมอื ท่ีใชเ้ กบ็ รวบรวมขอ้ มลู 2.7 การประเมนิ คณุ ภาพของเคร่ืองมือ 2.8 จริยธรรมในการศึกษา 2.9 การวิเคราะหข์ อ้ มลู

สารบัญ (ตอ่ ) หนา้ 49 58 62 บทที่ 3 สมรรถนะของหนว่ ยงาน (ปัจจยั น�ำเข้า) 62 3.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบและบทบาทหนา้ ท่ี 69 3.2 การขับเคล่ือนและผลักดันนโยบายสกู่ ารปฏบิ ตั ิ 74 3.3 ความสอดคลอ้ งของนโยบายและยทุ ธศาสตรช์ าตกิ ับนโยบาย 76 ของหนว่ ยงาน 78 3.4 การรับรูข้ องบคุ ลากรตอ่ นโยบายและยุทธศาสตรฯ์ 79 3.5 ก�ำลงั คน บทบาทหนา้ ท/่ี ความรับผดิ ชอบ และการมีส่วนรว่ ม ในการดำ� เนนิ งาน 87 3.6 งบประมาณ 87 3.7 ภาคเี ครอื ขา่ ย 92 สรปุ การประเมินผลสมรรถนะขององคก์ ร (ปัจจยั นำ� เขา้ ) 94 แนวทางเพอื่ การพฒั นา 95 96 104 105 บทที่ 4 กระบวนการ 4.1 ความสอดคล้องกบั มาตรการดำ� เนนิ งาน 4.2 ความครบถ้วนของการด�ำเนินงานตามมาตรการ 4.3 การนเิ ทศตดิ ตาม ก�ำกับ 4.4 ความรว่ มมือ/การมสี ่วนรว่ มของกลมุ่ เป้าหมาย 4.5 การผนวกเข้ากบั งานประจ�ำ/นวตกรรม 4.6 ปญั หาและอุปสรรคในการท�ำงาน สรปุ การประเมนิ ผลกระบวนการ แนวทางเพือ่ การพฒั นา

สารบัญ (ต่อ)

หน้า 4.7 กระบวนการด�ำเนนิ งานในโครงการส�ำคญั ปัญหาและอปุ สรรคท่พี บ 106 และแนวทางจัดการ

บทที่ 5 ผลผลิตและผลลัพธ ์ 123 5.1 ความครอบคลุมของการดำ� เนนิ งาน (Coverage) 5.2 ความพงึ พอใจของกลมุ่ เป้าหมายของการด�ำเนินงาน 131 5.3 ความรู้ ความเข้าใจของกลมุ่ เป้าหมาย 137 สรุปการประเมนิ ผลผลผลติ และผลลพั ธ ์ 141 แนวทางเพือ่ การพฒั นา 142

บทท่ี 6 สรุป อภปิ ราย และข้อเสนอแนะ 147 6.1 สรปุ 153 6.2 อภปิ รายผล 157 6.3 ข้อจ�ำกดั ของการศกึ ษา 158 6.4 ขอ้ เสนอแนะเพื่อการขบั เคล่อื นนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ 163 ระยะครึง่ แผนหลงั 165 เอกสารอา้ งอิง ภาคผนวก

สารบญั ตาราง

หนา้ ตารางท่ี 1 ปัจจยั นำ� เข้า (สมรรถนะของหนว่ ยงาน) 34 ตารางที่ 2 กระบวนการ/กิจกรรม/โครงการ 35 ตารางท่ี 3 ผลผลติ /ผลลพั ธ์ระยะสัน้ 37 ตารางที่ 4 ผลลพั ธใ์ นแงก่ ารปรบั เปลี่ยนความรู้ เจตคติ และทกั ษะ/พฤติกรรม 38 ตารางท่ี 5 รายละเอียดของกลุม่ ตัวอย่าง วตั ถุประสงค์ จ�ำนวนทกี่ ำ� หนด 40 และวิธีเกบ็ ข้อมลู ตารางท่ี 6 หนว่ ยงานทร่ี บั ผิดชอบระดบั กระทรวงหรอื เทยี บเทา่ /องค์กรภาคเอกชน 50 จ�ำแนกรายยุทธศาสตร ์ ตารางท่ี 7 การมีสว่ นร่วมของบุคลากรในการดำ� เนินงานตามโครงการในยทุ ธศาสตร ์ 70 ตารางที่ 8 ขอ้ มลู จากการสังเกตความครบถว้ นของการดำ� เนนิ งาน 88 ตารางที่ 9 ปัญหาและอปุ สรรคในการท�ำงาน 97 ตารางที่ 10 สรปุ ภาพรวมโครงการ/กจิ กรรมประจ�ำปี พ.ศ. 2561 123 ตารางที่ 11 สรปุ ภาพรวมโครงการ/กจิ กรรมประจำ� ปี พ.ศ. 2562 124 ตารางท่ี 12 สรุปผลการดำ� เนนิ การยทุ ธศาสตร์ที่ 1 ประจ�ำปี 2561 125 ตารางที่ 13 สรุปผลการด�ำเนนิ การยทุ ธ์ศาสตรท์ ่ี 2 ระยะก่อนการตง้ั ครรภ์ 125 ประจ�ำปี 2561 ตารางท่ี 14 สรปุ ผลการด�ำเนินการยุทธศ์ าสตรท์ ่ี 2 ระยะตง้ั ครรภ์ ประจ�ำปี 2561 126 ตารางท่ี 15 สรปุ ผลการด�ำเนินการยุทธศ์ าสตร์ที่ 2 ระยะคลอด ประจ�ำปี 2561 126 ตารางที่ 16 สรปุ ผลการดำ� เนินการยุทธ์ศาสตร์ที่ 2 ระยะหลงั คลอด ประจำ� ปี 2561 127 ตารางท่ี 17 สรุปผลการดำ� เนินงานในยทุ ธศาสตรท์ ี่ 3 ปี 2561 128 ตารางท่ี 18 สรปุ ผลการดำ� เนินงานในยทุ ธศาสตรท์ ่ี 4 ปีงบประมาณ 2561 128 ตารางที่ 19 การไปรับบริการสาธารณสุขในรอบ 3 ปที ี่ผา่ นมา (ปี 2560-2563) 130

สารบญั ตาราง (ต่อ)

หน้า ตารางท่ี 20 ความพงึ พอใจโดยรวมตอ่ บรกิ ารด้านสาธารณสขุ ที่ได้รบั ในรอบ 3 ปี 132 (2560 - 2563) ตารางท่ี 21 ความพงึ พอใจต่อบรกิ ารดา้ นสวัสดกิ ารสงั คมในรอบ 3 ปี (2560 - 2563) 134 ตารางที่ 22 ความรู้ความเข้าใจในมาตรการและสทิ ธปิ ระโยชน ์ 140 ตารางท่ี 23 หนว่ ยงานท่เี กีย่ วข้องกับการด�ำเนินงานตามยทุ ธศาสตร์ที่ 1 167 ตารางท่ี 24 หนว่ ยงานท่เี กย่ี วขอ้ งกับการด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์ท่ี 2 169 กอ่ นสมรสและกอ่ นต้ังครรภ์ ตารางท่ี 25 หนว่ ยงานทเ่ี ก่ียวข้องกบั การด�ำเนนิ งานตามยุทธศาสตร์ท่ี 2 171 ระยะตงั้ ครรภ์ ตารางที่ 26 หน่วยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ งกับการดำ� เนนิ งานตามยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2 173 ระยะคลอด ตารางที่ 27 หน่วยงานทเ่ี กี่ยวข้องกบั การดำ� เนนิ งานตามยทุ ธศาสตรท์ ่ี 2 175 ระยะหลงั คลอด ตารางที่ 28 หน่วยงานที่เกยี่ วข้องกบั การดำ� เนนิ งานตามยุทธศาสตรท์ ่ี 3 178 พัฒนาระบบ การจัดสวัสดิการสังคม ตารางท่ี 29 หนว่ ยงานท่เี กี่ยวขอ้ งกับการด�ำเนินงานตามยทุ ธศาสตรท์ ่ี 4 181 พฒั นาระบบสารสนเทศและการส่อื สารสงั คม ตารางที่ 30 ข้อมูลพ้ืนฐานของกลุ่มบคุ ลากรท่มี ีบทบาทหน้าทค่ี วามรับผิดชอบ 182 การดำ� เนินงาน ตารางที่ 31 การปฏบิ ัติตามบทบาทหนา้ ท่คี วามรบั ผดิ ชอบในยทุ ธศาสตรท์ ี่ 1 184 ตารางที่ 32 การปฏบิ ตั ิตามบทบาทหนา้ ทีค่ วามรับผดิ ชอบในยุทธศาสตร์ที่ 2 185 ตารางที่ 33 การปฏบิ ัติตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในยทุ ธศาสตรท์ ่ี 3 188 ตารางที่ 34 การปฏิบัติตามบทบาทหนา้ ทค่ี วามรับผิดชอบในยทุ ธศาสตรท์ ี่ 4 189 ตารางที่ 35 ข้อมูลทวั่ ไปของกลุ่มเป้าหมายการรบั บรกิ าร 190

บทสรปุ ส�ำหรับผู้บรหิ าร

จากสถานการณ์ “เด็กเกดิ นอ้ ย ดอ้ ยคุณภาพ” ในหลายปีที่ผ่านมา ทำ� ใหร้ ฐั บาลตระหนกั ถงึ ความส�ำคัญของการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ เพ่ือเป็นรากฐานส�ำคัญของ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สร้างความเข้มแข็งของการพัฒนาประเทศ และผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ท่ีน�ำประเทศไปสู่ความม่ันคงและยั่งยืน จึงได้จัดท�ำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัย การเจรญิ พันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) วา่ ด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเตบิ โต อย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าประสงค์หลัก เพ่ือส่งเสริมการเกิดด้วยความสมัครใจ ให้เพียงพอต่อ การทดแทนประชากร โดยที่การเกิดทุกรายต้องมีการวางแผน มีความต้ังใจและมีความพร้อม ในทุกด้าน น�ำไปสู่การคลอดท่ีปลอดภัย ทารกมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตอย่างมีคุณภาพ ส�ำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานหลัก มีหน้าที่ รับผิดชอบน�ำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2ฯ น้ี ไปด�ำเนนิ การ ภายใต้ความรว่ มมือกับหนว่ ยงานทเ่ี กี่ยวข้องทุกภาคส่วนทง้ั ภาครัฐ ภาคเอกชน และ องค์กรอิสระ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และเห็นความจ�ำเป็นท่ีจะต้องมีการติดตาม ก�ำกับ และประเมินผลการด�ำเนินงานในระยะคร่ึงแผนแรก เพ่ือติดตามความก้าวหน้าของการท�ำงาน ตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และผลผลิต/ผลลัพธ์ของการด�ำเนินงาน รวมถึงข้อเสนอแนะ เพอื่ จดั การแก้ไขปญั หาและอปุ สรรคทีเ่ กดิ ขึน้ และเพอ่ื การขับเคล่ือนการด�ำเนินงานต่อในระยะคร่งึ แผนหลัง ไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ การศึกษาน้ีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีผสมผสานท้ังการทบทวนเอกสารและรายงาน การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ร่วมกับการเยี่ยมส�ำรวจในพื้นท่ี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูลและพ้ืนที่ ตามค�ำแนะน�ำของผู้รับผิดชอบงานหลัก ส�ำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย โดยอาศัยเกณฑ์คุณสมบัติของการมีบทบาทเก่ียวข้องกับการด�ำเนินงานหรือเป็นกลุ่ม

เป้าหมายของการด�ำเนินงาน ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วย ตนเองในกลุ่มบุคลากร 194 ราย ประชาชนกลุ่มเป้าหมายของการด�ำเนินงาน 250 ราย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานหลัก 5 ราย การสนทนากลุ่มบุคลากร จากหน่วยงานภาครฐั ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ 29 ราย และสนทนากล่มุ ในพนื้ ที่ 2 จงั หวดั รวม 32 ราย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มผู้มารับบริการในวันที่เยี่ยมส�ำรวจพื้นท่ี 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดยะลา รวม 10 ราย และเย่ียมสังเกตการณ์แผนกฝากครรภ์ แผนกให้ค�ำปรึกษาคู่สมรสและรักษาภาวะมีบุตรยาก แผนกหลังคลอด และคลินิกสุขภาพเด็กดี ระยะเวลาเก็บรวบรวมขอ้ มลู ระหวา่ งเดือนมกราคม ถึง มถิ นุ ายน พ.ศ. 2564 ผลการศึกษาสรปุ ดงั นี้

1. การประเมินผลสมรรถนะของหนว่ ยงาน (ปจั จยั นำ� เขา้ ) มีหน่วยงานร่วมรับผิดชอบในระดับประเทศกว่า 27 หน่วยงาน โดยด�ำเนินการในรูป ของคณะกรรมการระดับชาติ ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ซึ่งมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน อธิบดีกรมอนามัยเป็นกรรมการและเลขานุการ แสดงถึงความส�ำคัญของนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2ฯ ว่าเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ได้เป็นบทบาทหน้าท่ีของ กระทรวงสาธารณสุขหนว่ ยงานเดียว การมหี ลายหน่วยงานรบั ผิดชอบมจี ุดเดน่ คอื ช่วยให้มีเครอื ขา่ ย ความร่วมมอื ในทกุ ระดับ ครอบคลมุ การด�ำเนนิ งานตามภารกจิ หลักของกระทรวงนัน้ ๆ แต่มจี ดุ อ่อน ท่ีการถ่ายทอดนโยบายเพ่ือสร้างการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรในระดับพ้ืนที่ยังไม่ท่ัวถึง บุคลากรขาดการรับรู้และเข้าใจในมาตรการด�ำเนินงานเพื่อผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา อนามัยการเจริญพันธแ์ุ ห่งชาติ ฉบบั ที่ 2ฯ ประกอบกบั ระบบการจดั สรรงบประมาณยังคงเปน็ ไปตาม บทบาทภารกจิ ของแตล่ ะกระทรวงไม่มีงบประมาณแบบบูรณาการเพอื่ ด�ำเนนิ การในเรอ่ื งนเ้ี ปน็ การเฉพาะ ท�ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์กรที่มีอยู่ ไม่ได้ท�ำงานเพ่ือตอบสนอง

นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2ฯ โดยตรง การติดตาม ก�ำกับการด�ำเนินงานท�ำได้ยาก แม้แต่หน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุขเอง ก็มีการด�ำเนินการ เพ่อื สนองตอบตอ่ นโยบายและยทุ ธศาสตร์การพฒั นาอนามยั การเจริญพันธุ์แหง่ ชาติ ฉบับที่ 2ฯ น้อย ไมส่ ามารถสรุปผลการดำ� เนินงานท่ชี ัดเจนได้ การมสี ว่ นร่วมของบคุ ลากรมีน้อยในแทบทุกโครงการ ท่สี �ำคัญ โครงการท่ีเก่ียวข้องกับการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เกือบท้งั หมด อยูใ่ นการด�ำเนินงานของกระทรวงสาธารณสขุ เป็นหลกั โดยเฉพาะในยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2 พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและสร้างการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม มีมากถึง 144 โครงการ ในจ�ำนวนนี้มี 91 โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ แต่ด�ำเนินการแล้วเสร็จเพียง 27 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 29.7 โดยส่วนหนึ่งเป็นการด�ำเนินงานของหน่วยงานด้านสุขภาพอ่ืน ๆ ได้แก่ แพทยสภา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย และส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขณะที่การด�ำเนินงานในยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาระบบ การจัดสวัสดิการสังคม มีการด�ำเนินงานค่อนข้างน้อย มีการด�ำเนินงานแผนเพียงร้อยละ 21.2 การด�ำเนินงานในยุทธศาสตร์ที่ 1 แล้วเสร็จสูงสุดร้อยละ 61.5 แต่ในยุทธศาสตร์อื่น ๆ ท่ีเหลือ มีสัดส่วนของการด�ำเนินงานแล้วเสร็จในระดับต�่ำ หน่วยงานในระดับพื้นที่ ยังพึ่งพาการจัดสรร งบประมาณจากสว่ นกลางเพื่อจัดกจิ กรรม จึงขาดความต่อเนื่องเมอื่ ไมไ่ ดร้ ับการจดั สรรงบประมาณ แต่ในพ้ืนที่ท่ีเข้มแข็งใช้การบูรณาการงบประมาณ และส่วนหน่ึงขอสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุน อัตราก�ำลังบคุ ลากรของกระทรวงสาธารณสขุ มไี มเ่ พียงพอ และหมุนเวยี นเขา้ ออก ขาดความต่อเนอื่ ง ในการท�ำงาน บุคลากรท่ีเข้ามารับผิดชอบงานใหม่ขาดความรู้และประสบการณ์การท�ำงาน ขาดการถ่ายทอดและสอนงาน นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2ฯ มีขอบเขตการท�ำงานที่กว้าง ครอบคลุมหลายกลุ่มเป้าหมาย มีตัวชี้วัดจ�ำนวนมาก มีหลายหน่วยงานร่วมรับผิดชอบจึงยากต่อการด�ำเนินงาน การควบคุมก�ำกับและติดตามผลยังไม่มี แนวปฏิบัติกลางท่ีใช้เป็นมาตรฐานการด�ำเนินงานให้แต่ละหน่วยงานได้ใช้ เพื่อให้การด�ำเนินงาน มปี ระสิทธิภาพ

2. การประเมินผลกระบวนการ นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2ฯ มีมาตรการหลายมาตรการและมีหน่วยงานที่เก่ียวข้องจ�ำนวนมาก การบูรณาการการท�ำงานท�ำได้ยาก การขับเคลื่อนในพ้ืนท่ียังไม่ประสบผลเท่าท่ีควร หลายมาตรการท�ำคร้ังเดียวและเมื่อไม่มีงบประมาณ ก็ไม่ได้ด�ำเนินการต่อและหลายมาตรการยังไม่ได้ลงมือทำ� อย่างจริงจัง หน่วยงานด้านสาธารณสุข ระดับโรงพยาบาลมีการด�ำเนินงานในงานประจ�ำท่ีท�ำต่อเนื่อง ได้แก่ การฝากครรภ์ การคลอด การดูแลหลังคลอด บางแห่งมีการให้ค�ำปรึกษาคู่สมรส และมีโรงเรียนพ่อแม่ แต่จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ท�ำให้การให้บริการโรงเรียนพ่อแม่มีการปรับรูปแบบไปเป็นการ เรียนรู้โดยใช้การสแกนคิวอาร์โค้ดเพ่ือเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ บางแห่งต้องปิดตัวเพราะข้อจ�ำกัด ด้านสถานที่และก�ำลังคน และบางแห่งให้ค�ำแนะน�ำเฉพาะแม่เพื่อลดความแออัดและโอกาสเส่ียง ต่อการติดเช้ือ การนิเทศติดตามก�ำกับงานยังด�ำเนินการได้เพียงภายในหน่วยงานด้านสาธารณสุข ขาดการบูรณาการข้ามหน่วยงานในระดับกระทรวงเพื่อติดตามก�ำกับงานในโครงการผลักดัน เชิงยุทธศาสตร์ที่ส�ำคัญ งานส่วนใหญ่ด�ำเนินการเพียงคร้ังเดียวจึงไม่เห็นผลชัดเจน กลุ่มเป้าหมาย ของการด�ำเนินงาน มีส่วนร่วมน้อย ขาดความรู้ ความเข้าใจและมีความเชื่อที่ผิด ๆ ปัญหาและ อุปสรรคทีส่ ำ� คญั ได้แก่ การขาดงบประมาณทสี่ ามารถด�ำเนินการใหค้ รอบคลุมทัง้ ประเทศ จ�ำเปน็ ต้องได้รับการลงทุนจากรัฐบาล การปรับปรุงระเบียบข้อบังคับท่ีเก่ียวข้องกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีความยุ่งยาก ใช้เวลานาน ขาดการประชาสัมพันธ์ ท�ำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงและไม่ได้รับสิทธิ ที่จ�ำเป็น มีความเหล่ือมล้�ำของ 3 กองทุนด้านสุขภาพ ได้แก่ กองทุนสุขภาพถ้วนหน้า กองทุน ประกันสังคมและกองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ท�ำให้ยากต่อการจัดบริการ อย่างเท่าเทียม ระบบฐานข้อมูลท่ีมีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการน�ำไปใช้ตัดสินใจเชิงนโยบายได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นข้อมูลภาพรวมของประเทศ ท่ีมาจากหน่วยบริการในสังกัดส�ำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุขเท่าน้ัน ไม่มีข้อมูลจากหน่วยบริการในสังกัดอื่น หรือแม้แต่ข้อมูลของ

กรงุ เทพมหานครกข็ าดหายไป บคุ ลากรผลดั เปล่ียนหมุนเวยี นบ่อย ขาดการพัฒนาศักยภาพในการท�ำงาน และการส่งต่องาน ท�ำให้ขาดความรู้และประสบการณ์ท�ำงาน ความไม่ชัดเจนของตัวนโยบายและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2ฯ ไม่มีการระบุเจ้าภาพหลักที่ชัดเจน ขาดกลไกและเครื่องมือเพ่ือติดตาม ก�ำกับ และประเมินผลในระดับพ้ืนท่ี ขาดการช้ีแจงเพื่อสร้าง การรับรู้และเข้าใจและขาดการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ กลไกการท�ำงานยังขาดการบูรณาการ ข้ามกระทรวงตามบทบาทหนา้ ท่ีและภารกิจท�ำให้งานไมบ่ รรลผุ ลเท่าที่ควร ปญั หา/อปุ สรรคของกระบวนการดำ� เนนิ งานในโครงการท่ีส�ำคญั

  1. โครงการวิวาห์สร้างชาติ และโครงการสาวไทยแก้มแดง พบปัญหาหลักในการ

    ขับเคล่ือนงานคือ 1) งบประมาณจ�ำกัด ส่วนใหญ่การขับเคลื่อนจะด�ำเนินการในระดับส่วนกลาง เน้นการผลักดันเชิงนโยบาย 2) การจัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นท่ีด�ำเนินการเป็นครั้งคราวไม่ต่อเน่ือง

    1. หน่วยบริการในพ้ืนที่ ไม่มีการจัดสรรงบประมาณเพ่ือซื้อยาเสริมธาตุเหล็กและโฟลิก (ประกอบ ด้วยธาตเุ หลก็ 60 มิลลกิ รมั และโฟลิก 2.8 มลิ ลิกรมั ) แม้บางแห่งจะใหว้ ิตามินโฟลิกในรูปแบบอ่ืน เช่น วิตามินโฟลิกขนาด 5 มิลลิกรัม หรือ วิตามินไตรเฟอร์ดีนที่ใช้ในกลุ่มของหญิงต้ังครรภ์แทน แต่กย็ งั ไม่ครอบคลุมกลุ่มเปา้ หมายท่ีเป็นหญงิ วัยเจรญิ พนั ธท์ุ ีเ่ ตรยี มพรอ้ มมบี ตุ ร 4) ขาดความตอ่ เน่ือง และขาดกลไกของการท�ำงานเชิงระบบที่จะดึงเอาหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากกระทรวงสาธารณสุข เช่น องค์กรปกครองทอ้ งถิ่น ศูนยพ์ ฒั นาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เข้ามาร่วมบริหารจัดการ
  2. โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต พบปัญหาด้านระบบฐานข้อมูล เพ่ือติดตามก�ำกับการเบิกจ่ายงบประมาณ ยังไม่เช่ือมโยงระหว่างสถานบริการท่ีผู้ใช้สิทธิไปใช้บริการ ขาดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเพ่ือสนับสนุนการเกิด และการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ขาดการบูรณาการงานระหว่างหน่วยงานข้ามกระทรวง และ ขาดกลไกติดตาม ก�ำกบั ความสำ� เรจ็ ของการด�ำเนินงาน
  1. โครงการเฝ้าระวังมารดาตายและห้องคลอดคุณภาพ พบปัญหาเรื่องภาวะซีดตั้งแต่ วัยรนุ่ จนถึงต้งั ครรภ์ เนอื่ งจากขาดสารอาหารเพราะยากจน และมปี ญั หาด้านวฒั นธรรมและความเชื่อ ในทอ้ งถิน่ ทีอ่ งิ กับหลกั ค�ำสอนทางศาสนาในเรือ่ งการคมุ กำ� เนดิ เพอ่ื เว้นระยะหา่ งการมีบตุ ร ทำ� ให้ต้อง คลอดซ้�ำบ่อย ๆ และเส่ียงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดและคลอดบุตรด้อยคุณภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ ในพ้ืนท่ีห่างไกลยังมีความเชื่อท่ีผิดต่อการมาฝากครรภ์แต่เน่ิน ๆ กลุ่มแรงงานย้ายถิ่นฝากครรภ์ ไม่ต่อเน่ือง จึงเส่ียงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะคลอดและหลังคลอด นอกจากน้ี ยังพบหญิงต้ังครรภ์ และทารกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งการติดเชื้อและการ เสยี ชีวิตเพม่ิ ขึ้น
  2. โครงการดูแลหลังคลอดและการวางแผนครอบครัว พบปัญหาเรื่องการติดตาม เย่ียมหลงั คลอดในชุมชน ท่มี ปี ระชากรแฝงและยา้ ยถ่นิ พกั อาศยั ในสถานทท่ี ีเ่ ข้าถงึ ยาก เช่น หอพกั และคอนโดมีเนียม วัยรุ่นไม่มารับบริการคุมก�ำเนิดและข้อห้ามทางศาสนาต่อการฝังยาคุมก�ำเนิด ท�ำใหก้ ลุ่มแม่หลงั คลอดมีโอกาสตง้ั ครรภ์ซ้�ำได้สงู
  3. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ พบปัญหาเรื่องข้อก�ำหนดในสิทธิการลาคลอด และเล้ียงดบู ุตรท่ไี มเ่ อ้อื ต่อการเลย้ี งบตุ รดว้ ยนมแม่ 6 เดือน การลาหยดุ งานของสามีเพ่ือช่วยเลี้ยง ดูบุตรท�ำได้ยากเพราะส่งผลต่อการขาดรายได้ เจ้าของสถานประกอบการไม่ให้ความส�ำคัญต่อ การจัดมมุ นมแม่เพราะเกรงว่าจะกระทบตอ่ กระบวนการผลิต เดก็ ไดร้ บั การเลยี้ งดูโดยแม่ไมถ่ งึ 6 เดือน แล้วถูกส่งให้ปู่ ย่า ตา ยายเป็นผู้เลี้ยงดู ซ่ึงส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเร่ืองการเตรียมนมแม่ จึงใช้ นมผงแทนซง่ึ สะดวกกวา่
  4. คลินิกสุขภาพเด็กดีและส่งเสริมพัฒนาการ พบปัญหาเรื่องการไม่พาบุตรไปรับ บริการต่อเนื่อง เพราะยา้ ยไปประกอบอาชีพตา่ งพื้นท่ี และบางส่วนไดร้ บั ผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ท�ำใหม้ คี วามยากล�ำบากในการเขา้ รบั บริการ
  1. คลนิ กิ ใหค้ ำ� ปรึกษาคู่สมรสและรักษาผมู้ ีบุตรยาก พบปญั หาเรอ่ื งการเขา้ ไมถ่ งึ บรกิ าร ท้ังในส่วนของการตรวจคัดกรองสุขภาพ และการเข้าถึงการรักษาภาวะมีบุตรยาก เน่ืองจาก มีค่าใช้จ่ายสูง รัฐยังไม่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองและรักษาบางรายการ เน่ืองจาก ไมอ่ ยใู่ นสิทธปิ ระโยชน์ 3. การประเมนิ ผล ผลผลติ และผลลพั ธ์ ความครอบคลุมของการด�ำเนินงานในภาพรวมยังต่�ำมาก เม่ือเทียบกับจ�ำนวนโครงการ ทร่ี ะบุไวใ้ นแผนปฏบิ ตั กิ าร ส่วนหน่ึงมาจากการเขยี นแผนเป็นการคาดการณล์ ่วงหน้า แต่งบประมาณ ทีไ่ ด้รับการจัดสรรไม่ได้เป็นไปตามท่ีเขยี นไว้ ทำ� ใหห้ ลายโครงการตอ้ งปรบั แผน บางกิจกรรมไมไ่ ด้ ดำ� เนินการ บางกิจกรรมด�ำเนินการเพียงคร้งั เดยี วและไมต่ อ่ เน่อื ง มโี ครงการจ�ำนวนมากทต่ี อบสนอง ยุทธศาสตร์ท่ี 2 และ 3 มีความครอบคลุมการได้รับบริการจากสถานบริการสาธารณสุขของกลุ่ม เป้าหมายราว 1 ใน 3 กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่พึงพอใจต่อบริการสาธารณสุขโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลางถึงมาก ในด้านความสะดวกในการเข้าถึงบริการ ความเพียงพอของบุคลากร อปุ กรณ์ ยา เวชภณั ฑ์ คุณภาพของบริการ และราคา/สทิ ธกิ ารรักษาพยาบาล กลมุ่ เปา้ หมายเพยี ง 1 ใน 4 ที่เคยได้รับบริการด้านการจัดสวัสดิการสังคม และรู้สึกพึงพอใจมากต่อการได้รับเงิน อดุ หนุนเด็ก แรกเกดิ เพ่ือเลี้ยงดบู ตุ ร และศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ /สถานพฒั นาเด็กปฐมวัย กลุ่มเปา้ หมาย มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการดูแลตนเองระหว่างต้ังครรภ์และการเล้ียงดูบุตรเป็นอย่างดี เพราะได้รับคำ� แนะน�ำจากบคุ ลากรสาธารณสขุ เมื่อไปฝากครรภ์ ไดร้ ับคำ� อธิบายการใช้สมดุ สุขภาพ แม่และเด็กสชี มพู ชว่ งหลงั คลอดได้รับคำ� แนะน�ำเร่อื งการเลย้ี งดูบตุ ร นมแม่ การพาบุตรมารับวคั ซนี และพัฒนาการของบุตร ส่วนสามีและสมาชิกคนอ่ืนในครอบครัวยังไม่ได้รับความรู้และค�ำแนะน�ำ การใช้สมุดคู่มือสีชมพู กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในมาตรการและสิทธิประโยชน์ เรื่องการได้รับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานและโครงการเงินอุดหนุนเพ่ือเล้ียงดูบุตร ขณะท่ียังไม่ทราบสิทธิ การลาช่วยเลีย้ งดบู ตุ รของสามี และการได้รบั วิตามินเสริมธาตเุ หลก็ และโฟลกิ ฟรี

ข้อเสนอแนะเพื่อการด�ำเนินงานตอ่ ในระยะครง่ึ หลงั

ภาพรวมของการด�ำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ยังมีความ ส�ำเร็จในระดับต่�ำ ท้ังในส่วนของการเพิ่มจ�ำนวนการเกิด คุณภาพการเกิด และการเจริญเติบโต ของเด็ก แม้จะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อการขับเคล่ือน การด�ำเนินงานก็ตาม ดังนั้นหากจะขับเคลื่อนให้เห็นผลการด�ำเนินงานท่ีชัดเจนในคร่ึงหลังของ แผนยุทธศาสตร์ฯ รัฐบาลจึงควรจัดท�ำเป็นวาระเร่งด่วนของชาติโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ความส�ำคัญกับการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้น สั่งการให้หน่วยงานหลักระดับกระทรวง เข้ามารับผิดชอบด�ำเนินงานร่วมกันอย่างจริงจัง เพ่ือให้เกิดความครอบคลุมของการด�ำเนินงาน ทุกกลุ่มเป้าหมาย อย่างเท่าเทียม ไม่ท้ิงใครไว้ข้างหลัง เพราะหากด�ำเนินการภายใต้งบประมาณ ของหน่วยงานใดหน่วยงานหน่ึง คงไม่สามารถด�ำเนินการให้ครอบคลุมและมีผลกระทบเชิงบวก ในภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรมได้ หน่วยงานระดับกระทรวงต้องร่วมระดมสมองเพ่ือปรับเปลี่ยน มาตรการหรือหาแนวทางร่วมกัน เพ่ือเร่งด�ำเนินการให้แล้วเสร็จในระยะเวลาท่ีเหลืออยู่ ซ่ึงผู้วิจัย มีขอ้ เสนอแนะเพอ่ื การขบั เคลื่อนการดำ� เนินงานต่อไป สรุปได้ดงั น้ี 1. คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ที่มีผู้บริหารจากกระทรวงและ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งสั่งการให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจ ในการท�ำงานกับกล่มุ บคุ ลากรในสังกัด 2. รัฐบาลควรประกาศเป็นนโยบายสาธารณะที่ชัดเจนและปฏิบัติได้ เพ่ือให้ประชาชน เป้าหมายได้รับสิทธิและเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ท้ังในส่วนของบริการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค บริการรักษาและการฟื้นฟู รวมถึงบริการด้านการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อส่งเสริม การเกิดและการเจริญเตบิ โตอยา่ งมคี ุณภาพ

3. ควรมีมาตรการท่ีช่วยในการเพิ่มจ�ำนวนการเกิดอย่างย่ังยืน เช่น การส่งเสริมการใช้ ชีวิตคู่ในกลุ่มคนโสดรุ่นใหม่ เพิ่มสิทธิการรักษาภาวะมีบุตรยากให้อยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพิ่มการให้เงินอุดหนุนบุตรแรกเกิดเป็น 1,000 บาท จนถึงอายุ 6 ปี การลดภาษี แบบก้าวหน้าในครอบครัวทมี่ ีบุตรมากกวา่ 1 คน การสนับสนุนการศึกษาภาคบังคบั ฟรีจนถงึ 12 ปี การสง่ เสรมิ การจดั ตงั้ สถานพฒั นาเดก็ ปฐมวัย อายตุ ำ�่ กวา่ 3 ปี เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง โครงสรา้ งทางประชากร รองรับสงั คมสงู วัย และลดภาระพึง่ พิงวัยแรงงานในอนาคต 4. ควรมีการทบทวนสิทธิประโยชน์ระบบประกันสุขภาพของไทย ได้แก่ ระบบสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อลด ความเหล่อื มล้�ำ สามารถเข้าถึงบริการทจ่ี ำ� เปน็ ตอ่ การส่งเสริมสขุ ภาพและป้องกันโรค เพือ่ ลดภาระ คา่ ใชจ้ ่ายในการรกั ษาพยาบาล 5. ควรมีคณะทำ� งานจากภาคเี ครือขา่ ยทีเ่ กย่ี วขอ้ ง เพ่ือจดั ท�ำแผนงาน/โครงการทีบ่ รู ณาการ การท�ำงานร่วมกัน เน้นทิศทางของการพัฒนาเชิงระบบโดยบูรณาการการท�ำงานร่วมกัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ร่วมกันวางแผนจัดล�ำดับความส�ำคัญ ของการด�ำเนินงานในโครงการท่ี มุ่งเป้ายุทธศาสตร์ยุบรวมโครงการย่อยๆ เข้าด้วยกัน โดยจัดท�ำ เป็นชุดโครงการ ใน 3 ระยะ ต้ังแต่ระยะ ก่อนต้ังครรภ์ ระยะต้ังครรภ์ ระยะคลอด และระยะ หลังคลอด จนถึงช่วงปฐมวัย 5 ขวบปีแรก และน�ำเอาแผนงาน/โครงการท่ีแต่ละกระทรวงมีอยู่แล้ว และสอดคล้องกับมาตรการในนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2ฯ มาจัดหมวดหมู่ และผนวกมาตรการในยุทธศาสตร์เข้ากับงานท่ีแต่ละกระทรวงมีอยู่ เพ่ือลดความซ้�ำซ้อนของการท�ำงานระหว่างกระทรวง มีผู้รับผิดชอบหลักและงบประมาณสนับสนุน เช่น กระทรวงสาธารณสุขเน้นบทบาทของการให้บริการตามสิทธิประโยชน์ในเร่ืองการเตรียมความพร้อม ก่อนมีบุตรด้วยวิตามินโฟลิก ตรวจคัดกรองและให้ความรู้คู่สมรส การจัดการภาวะมีบุตรยาก เน้นการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของพ่อแม่มือใหม่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์เน้นเร่ืองของการจัดระบบสวัสดิการการเลี้ยงดูบุตรและความรอบรู้เร่ืองการเล้ียงดูบุตร

โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง กระทรวงมหาดไทยควรเน้นการจัดสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการส่งเสริม และเล้ียงดูบุตรให้มีพัฒนาการสมวัย เช่นจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนส�ำหรับเด็กปฐมวัย ในพ้ืนที่ใกล้บ้าน 6. ควรมีเวทรี ะหว่างภาคส่วนที่เก่ียวข้อง เพอื่ แลกเปลีย่ นเรียนรู้ ติดตามกำ� กับงานทตี่ อ่ เนอื่ ง รวมท้ังรายงานผลการด�ำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค เพ่ือร่วมกันวางแผนจัดการแก้ไขร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ ควรมีระบบพ่ีเลี้ยงเก้ือหนุนการท�ำงานกับบุคลากรใหม่ โดยมีคู่มือท่ีเป็นแนวปฏิบัติ หรือผังการท�ำงานท่ีชัดเจนและปฐมนิเทศ ให้รับรู้ รวมทั้งการติดตามก�ำกับป้อนข้อมูลกลับ เพ่อื สรา้ งการเรียนร้รู ว่ มกัน 7. กระทรวงสาธารณสุข ควรเน้นกลไกการสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ และสิทธิประโยชน์ เพ่ือสร้างการรับรู้และความเข้าใจในสังคม ท่ีคนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึง เช่น ผ่านโซเชยี ลมีเดยี ในรปู ของคลิปวีดโี อสน้ั ทสี่ อ่ื สารเขา้ ใจงา่ ย เพ่อื สร้างความตระหนักตอ่ ความส�ำคัญ ของการเกิดและ การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เน้นการเตรียมความพร้อมก่อนต้ังครรภ์ ประโยชน์ของการรับประทานวิตามินโฟลิกในการป้องกันความพิการแต่ก�ำเนิด การฝากครรภ์ คณุ ภาพ และการเลยี้ งดูบตุ รให้มีการเจริญเตบิ โตและพฒั นาการสมวัย โดยในส่วนของกรมอนามยั ซ่ึงเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน ประกอบด้วย ส�ำนักอนามัย การเจริญพันธุ์ ส�ำนักส่งเสริมสุขภาพ ส�ำนักโภชนาการ ส�ำนักทันตสาธารณสุข สถาบันพัฒนา อนามัยเดก็ แห่งชาติ กองกจิ กรรมทางกาย ควรร่วมมอื กันวางแผนกำ� หนดทิศทางการด�ำเนนิ งานใน ช่วงครึ่งแผนหลังของนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2ฯ ภายใต้คลสั เตอร์ ทีม่ ีอธิบดีกรมอนามัยสงั่ การภาพรวม และควรเลือกโครงการ/กจิ กรรมการด�ำเนินงาน ในเชิงผลักดันนโยบายท่ีลงไปด�ำเนินการร่วมกันในชุมชน โดยก�ำหนดกลุ่มเป้าหมายท่ีชัดเจน เลือกตัวช้ีวัดหลักท่ีส�ำคัญบางตัวไว้ติดตาม ก�ำกับงาน เพ่ือลดความซ้�ำซ้อน ประหยัดงบประมาณ มคี วามเป็นเอกภาพและสะดวกต่อการตดิ ตามและประเมินผล

8. กระทรวงศึกษาธิการ ควรผนวกเรื่องการพัฒนาประชากรรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ การดูแล สุขภาพในแต่ละช่วงวัย โดยบรรจุสาระการเรียนรู้เร่ือง การส่งเสริมการเกิดและเจริญเติบโตท่ีมี คุณภาพในรายวิชาสุขศกึ ษา 9. กระทรวงมหาดไทยควรผลักดันงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถ่ิน หรือพน้ื ที่ เพอ่ื การดำ� เนนิ งาน ในโครงการท่สี �ำคัญ เชน่ โครงการววิ าห์สรา้ งชาติ โครงการมหศั จรรย์ 1,000 วัน โครงการพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือโครงการที่เอ้ือต่อการส่งเสริมการเกิด และการเจริญเติบโตอย่างต่อเน่ือง เพื่อช่วยผลักดันให้การด�ำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามยั การเจรญิ พนั ธแ์ุ หง่ ชาติ ฉบบั ที่ 2ฯ มีประสทิ ธิภาพและครอบคลมุ กลุม่ เปา้ หมาย 10. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ควรจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพ่ือจัดบรกิ ารด้านสวัสดกิ ารสังคมที่สำ� คญั ได้แก่ เงนิ อดุ หนุนเด็กแรกเกิด บ้านพักเดก็ และครอบครวั และการจดั หาครอบครัวทดแทน และควรประกาศเป็นนโยบายสาธารณะทช่ี ดั เจนและปฏิบัติได้ 11. กระทรวงแรงงานควรส่งเสริมเลี้ยงการเล้ียงดูบุตรคุณภาพ ทั้งสิทธิการลาเลี้ยงดูบุตร มุมนมแม่ในสถานประกอบการ โดยออกเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หรือ แนวปฏิบัติ ท่ีสถาน ประกอบการต้องจัดให้พนักงาน มีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการที่จัดมุมนมแม่ โดยคัดเลือกผู้ประกอบการดีเด่นมอบเกียรติบัตรให้เป็นสถานประกอบการต้นแบบและประกาศ สู่สาธารณะ ควรจัดการฝึกฝนอาชีพแก่แม่วัยรุ่นเพ่ือสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและสามารถ เลยี้ งดูบุตรด้วยตนเองได้ 12. กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร ควรประชาสมั พนั ธเ์ พื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ถึงสิทธกิ ารลดหยอ่ นภาษขี องผมู้ ีรายได้และมีบุตร 13. หนว่ ยงานภาคีเครอื ขา่ ยในระดบั จังหวดั ควรรว่ มกันวางแผนจัดท�ำโครงการแบบบูรณาการ ขอรับการสนับสนนุ งบประมาณจากกองทนุ หลักประกันสุขภาพระดับท้องถน่ิ (สปสช.) เพอื่ ด�ำเนนิ งาน

ในโครงการผลักดันเชิงนโยบาย ภายใต้กลไกการท�ำงานของคณะกรรมการระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง และควรแสวงหาแหล่งทนุ สนบั สนุนเพ่มิ เตมิ เชน่ สำ� นกั งานกองทนุ สนับสนุนการสร้างเสริมสขุ ภาพ (สสส.) หรือจากหน่วยงานภาคเอกชน โดยเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุน ก�ำหนดให้ การเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเป็นวาระส�ำคัญของจังหวัด และใช้งบพัฒนาจังหวัด เพื่อดำ� เนนิ การ โดยจดั สรรงบประมาณเพ่อื การดำ� เนินงานเชงิ รกุ เชน่ การสง่ เสริมการรับประทาน วิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกก่อนต้ังครรภ์ในกลุ่มหญิง วัยเจริญพันธุ์ท่ีต้องการมีบุตร ผ่านทาง รพ.สต. เพ่ือป้องกันความพิการแต่ก�ำเนิด/แจกจ่ายวิตามินโฟลิกให้นักเรียนหญิงวัยรุ่นในโรงเรียน เพอ่ื ปอ้ งกันภาวะซีด เปน็ ตน้ 14. หน่วยงานภาคีเครือข่ายการท�ำงานในระดับพื้นที่ ควรมีการจัดท�ำแผนปฏิบัติการ เพ่ือก�ำหนดเป้าหมายและภารกิจร่วมกัน ภายใต้รูปแบบของคณะกรรมการระดับต�ำบล/ระดับอ�ำเภอ/ ระดับจังหวัด โดยมี ผู้ว่าราชการเป็นประธาน เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันท้ังบุคลากร อุปกรณ์ และ งบประมาณ และควรมีคู่มือหรือแนวปฏิบัติเพ่ือสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้บุคลากรใช้ประกอบ การด�ำเนนิ งานตามนโยบายและยทุ ธศาสตร์เพ่ือใหม้ ที ิศทางเดียวกนั

บทท่ี 1

ความเป็นมา ของการประเมนิ ผล

1.1 หลักการและเหตุผล

ความส�ำเร็จของการด�ำเนินงานวางแผนครอบครัวในประเทศไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ท�ำให้อัตราการเจริญพันธุ์ของไทยลดลงเหลือต�่ำกว่า 1.5/1,000 ประชากรในปัจจุบัน [1] แม้ว่า อตั ราการเกิดจะลดลงอย่างตอ่ เนอื่ ง แตก่ ลบั พบวา่ ในการเกดิ ดังกล่าวถึงกว่าร้อยละ 25 เป็นการเกิด ที่ไม่ได้ต้ังใจหรือไม่มีความพร้อม และในจ�ำนวนน้ีเป็นการเกิดท่ีมาจากมารดาวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ถงึ รอ้ ยละ 47 โดยปีพ.ศ. 2562 พบอัตราการเกดิ มีชพี ในเดก็ หญิงอายุ 10-14 ปีเท่ากับ 1.1/1,000 และหญิงวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี พบ 31.1/1,000 ประชากรหญิงวัยเดียวกัน [2] ขณะที่การท�ำแท้ง พบถึงร้อยละ 55.8 ซ่ึงส่วนใหญ่อยู่ในวัย 30 ปีข้ึนไปโดยร้อยละ 60 ระบุเหตุผลว่ามาจากปัญหา ทางเศรษฐกิจ [3] และในกลุ่มมารดาอายุมาก 40-44 ปีที่ไม่ต้องการมีบุตรพบร้อยละ 32 [4] สถานการณ์การเกิดท่ีลดลง ร่วมกับสภาวการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อวิถีชีวิตของสตรีไทยท่ีต้องออกไปท�ำงานนอกบ้าน มีการศึกษาสูงข้ึน พึ่งพาตนเองและอยู่ เป็นโสดหรือแต่งงานช้าลง ค่านิยมและการใช้ชีวิตท่ีเปล่ียนไปของคนในสังคมที่เน้นการท�ำงาน หารายได้สร้างความม่ันคงในชีวิตมากกว่าการแต่งงานมีบุตร เพราะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ในการเล้ียงดูบุตร ส่งผลต่อการมีบุตรช้าหรือไม่อยากมีบุตร หรือในรายท่ีต้องการมีบุตร เม่ือมีความพร้อมและมั่นคงทางเศรษฐกิจแต่พบปัญหามีบุตรยากเนื่องจากอายุท่ีมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การคลอดที่ไม่ปลอดภัยพบการตายของท้ังมารดาและทารกท่ีมาจาก ภาวะเสี่ยงขณะต้ังครรภ์ การคลอดและหลังคลอด โดยสาเหตุการตายของทารกราวครึ่งหนึ่งมา จากความพิการแต่ก�ำเนิดจากสถานการณ์การคลอดของประเทศไทยมีทารกคลอดใหม่ประมาณ 500,000 คน ในจำ� นวนนี้พบทารกคลอดพกิ ารประมาณ 24,000 - 40,000 รายต่อปี และรอ้ ยละ 40 มแี นวโน้มทจ่ี ะเสียชวี ิตได้สูงในขวบปีแรกของชวี ติ [5] เมอ่ื ติดตามสถานการณพ์ ัฒนาการเด็กปฐมวัย ของประเทศไทย ยังมีปัญหาท่ีสืบเน่ืองจากการเกิด ได้แก่ คลอดก่อนก�ำหนด มีน้�ำหนักตัวน้อย

3

โดยในปีพ.ศ. 2563 พบร้อยละ 6.7 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5.63 ในปีพ.ศ. 2559 และมีภาวะ แทรกซ้อนหลังคลอด เส่ียงต่อภาวะทุพโภชนาการท้ังอ้วนเกินไปและแคระแกร็น เน่ืองจากการบริโภค อาหารท่ีไม่ได้สัดส่วน พบว่า 1 ใน 10 มีภาวะอ้วน ร้อยละ 5.4 มีภาวะผอม และร้อยละ 10.5 ประสบภาวะทุพโภชนาการเร้ือรังปานกลางหรือรุนแรง [6] ส่งผลต่อความเจ็บป่วยเรื้อรัง ฟันน�้ำนมผุ และมีพัฒนาการล่าช้าเน่ืองจากการเล้ียงดูที่ด้อยคุณภาพ อันมาจากหลายปัจจัย เช่น ครอบครัว มีฐานะยากจน พ่อแม่ขาดการศึกษาขาดความรู้ในการเล้ียงดูและกระตุ้นพัฒนาการบุตร ส่งผลให้ เด็กขาดความพร้อมที่จะเข้าโรงเรียนและเติบโต เป็นก�ำลังส�ำคัญของการพัฒนาประเทศอย่าง ดอ้ ยคณุ ภาพ ด้วยสถานการณ์ปัญหา “เกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ” ดังกล่าว ท�ำให้รัฐบาลตระหนักถึง ความส�ำคัญของการส่งเสริมการเกิดท่ีมีคุณภาพ เพื่อเป็นรากฐานส�ำคัญของการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ท่ีมีคุณภาพ สร้างความเข้มแข็งของการพัฒนาประเทศและผลผลิตมวลรวมประชาชาติท่ีนำ� ประเทศไปสู่ม่ันคงและย่ังยืนทัดเทียมประเทศอื่น จึงได้จัดท�ำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา อนามัยการเจรญิ พนั ธุ์แห่งชาติ ฉบบั ท่ี 2 (พ.ศ. 2560-2569) [7] โดยมีหลักแนวคดิ ท่ีส�ำคญั ดงั น้ี

  1. พัฒนาและส่งเสรมิ อนามยั การเจริญพันธุ์ของประชากรต้งั แตก่ อ่ นวัยเจริญพนั ธุ์ ลดการสมรส และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส่งเสริมการคุมก�ำเนิดกึ่งถาวรเพ่ือชะลอการมีบุตรในการต้ังครรภ์ถัดไป จนกว่าจะมีอายุ 20 ปีข้ึนไป สนับสนุนการเรียนต่อให้เลี้ยงดูตัวเองได้ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เรื่องการคุมก�ำเนิด ทางเลือกและการตัดสินใจเรื่องการมีบุตร รวมท้ังจัดบริการให้ค�ำปรึกษาและ รกั ษาในผู้มบี ตุ รยาก
  2. สร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการสร้างครอบครัวและมีบุตร สร้างสภาพการท�ำงาน ที่ยืดหยุ่นเกื้อกูลต่อการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวและมีบุตร สร้างสมดุลชีวิตครอบครัวและการท�ำงาน ส่งเสริมบทบาทหญิงชายในครอบครัว สร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการท�ำงานของหญิงท�ำงานท่ีต้ังครรภ์ ครอบคลมุ ถงึ สถานดูแลเด็กในท่ีท�ำงาน การเพิม่ วันลาพกั ของทั้งพอ่ แม่เพื่อการเลยี้ งดูบุตร

4

  1. พัฒนาคณุ ภาพประชากรตง้ั แต่ก่อนตั้งครรภ์ คลอดและเลี้ยงดูจนเตบิ โต
  2. ส่งเสริมความเท่าเทียมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพ่ือให้ประชากรทุกคนมีทางเลือก ที่จะมบี ุตรตามจ�ำนวนทีต่ ้องการโดยไมม่ อี คติหรือขอ้ จำ� กัดทางสังคมและเศรษฐกจิ ท้งั น้หี ลักแนวคิดดังกล่าวได้คำ� นึงถงึ หลักสิทธิมนุษยชน และความสอดคล้องกับแผนแม่บท ของการพัฒนาประเทศในด้านตา่ ง ๆ และสอดคล้องกบั สนธิสญั ญาและแนวปฏิบัตใิ นระดบั นานาชาติ จึงเป็นท่ีมาของการจัดท�ำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมี เป้าประสงค์หลักเพ่ือส่งเสริมการเกิดด้วยความสมัครใจให้เพียงพอต่อการทดแทนประชากรโดยที่ การเกิดทุกรายตอ้ งมีการวางแผน มีความตง้ั ใจและความพรอ้ มในทกุ ด้าน นำ� ไปสู่การคลอดท่ีปลอดภัย ทารกมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา อนามยั การเจรญิ พนั ธแ์ุ หง่ ชาติ ฉบับที่ 2ฯ นี้ประกอบด้วย 4 ยทุ ธศาสตร์ ได้แก่

ยทุ ธศาสตร์ที่ 1: พฒั นากฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตรท์ ่เี กี่ยวขอ้ ง ยุทธศาสตร์ท่ี 2: พฒั นาระบบบริการสาธารณสุขและสรา้ งการเข้าถึงบรกิ ารอย่างเท่าเทียม ยุทธศาสตรท์ ่ี 3: พฒั นาระบบการจดั สวัสดกิ าร ยุทธศาสตรท์ ี่ 4: พฒั นาระบบสารสนเทศและการสอื่ สารสังคม ส�ำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานหลัก มีหนา้ ทรี่ บั ผดิ ชอบนำ� นโยบายและยุทธศาสตรก์ ารพฒั นาอนามยั การเจริญพนั ธ์แุ ห่งชาติ ฉบบั ท่ี 2ฯ น้ี ไปด�ำเนินการ ภายใต้ร่วมมือกับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศกึ ษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงดจิ ทิ ลั

5

เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ส�ำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข กรงุ เทพมหานคร และภาคเครอื ขา่ ยทกุ ภาคสว่ น ซ่ึงการด�ำเนนิ งานตามมาตรการภายใต้ระบบและ กลไกของหน่วยงานที่เก่ียวข้องได้ด�ำเนินการมาเป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปี ดังนั้นจึงเป็นเร่ืองจ�ำเป็น ที่จะต้องมีการติดตามก�ำกับและประเมินผลการด�ำเนินงานในระยะคร่ึงแผน เพ่ือติดตามก�ำกับ มาตรการและกระบวนการท�ำงานที่บ่งช้ีความก้าวหน้าของการท�ำงาน ท่ีจะน�ำไปสู่ความส�ำเร็จ ของการด�ำเนินงานตามเป้าหมายของนโยบายและยุทธศาสตร์ท่ีต้ังไว้ การประเมินผลในระยะคร่ึงแผนน้ี จะอาศัยทฤษฎีการเปล่ียนแปลง (Theory of change) มาใช้เป็นกรอบ เพ่ือประเมินผล ของการดำ� เนนิ การทีแ่ สดงความเช่ือมโยงแบบตรรกะ (Logical model) ของปัจจยั นำ� เขา้ (Inputs) ท่ีใช้เพื่อจัดกิจกรรม/กระบวนการ (Activities/Processes) ของการให้บริการภายใต้ความรับผิดชอบ ของหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องที่น�ำไปสู่ผลการด�ำเนินงานตามแผนงานหรือมาตรการท่ีก�ำหนดไว้ ในยุทธศาสตร์ (Outputs/outcomes) ได้แก่ ความครอบคลมุ ของการดำ� เนนิ งาน ความรู้ความเขา้ ใจ เจตคติ และการปฏิบัตติ นของกล่มุ เปา้ หมาย ความพึงพอใจของผมู้ ารบั บรกิ ารตอ่ บรกิ ารสาธารณสุข ท่ีได้รับและต่อสวัสดิการสังคมในด้านท่ีเกี่ยวข้อง และผลผลิตของการให้บริการ รวมท้ังการประเมนิ บริบทหรือเงื่อนไขการด�ำเนินงาน เช่น การมีส่วนร่วมของหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความส�ำเร็จ/ปัญหาอุปสรรคหรือความเสี่ยงที่จะท�ำให้การด�ำเนินงานบรรลุผลตามเวลาท่ีก�ำหนดหรือ ล่าช้ากว่าที่ควรเป็น เพ่ือได้ข้อมูลพื้นฐานท่ีหน่วยงานท่ีท�ำหน้าที่รับผิดชอบหลักและภาคีเครือข่าย น�ำไปใช้ประกอบการวางแผนปรับเปลี่ยนกลวิธี/มาตรการด�ำเนินงาน และเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของระบบและกลไกการดำ� เนินงานท่ปี ระสบผล เพื่อให้การด�ำเนนิ งานบรรลตุ ามเป้าหมายทีก่ �ำหนด และใชป้ ระกอบการวางแผนก�ำหนดทศิ ทางหรือกลไกการท�ำยทุ ธศาสตร์ในวงรอบตอ่ ไป

6

1.2 วัตถุประสงคข์ องการประเมินผล

เพ่ือติดตามและประเมินผลกระบวนการ/กิจกรรมการด�ำเนินงาน ในโครงการที่ส�ำคัญ ตามนโยบายและยทุ ธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพนั ธ์แุ หง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 2ฯ ในระยะครง่ึ แผน ในประเด็นทเ่ี กีย่ วขอ้ งดังนี้ 1. ปัจจัยน�ำเข้า (Inputs) หรือระบบและกลไกการด�ำเนินงาน ได้แก่ หน่วยงานรับผิดชอบ ในการด�ำเนินงาน ความพร้อมของงบประมาณ ก�ำลังคน การรับรู้ต่อนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ บทบาทหน้าที่ ความเช่ยี วชาญและประสบการณ์ และภาคเี ครือขา่ ยด�ำเนินงาน 2. กลวธิ ี กจิ กรรม หรอื มาตรการด�ำเนนิ งาน (Activities/Processes) ทห่ี น่วยงานรับผดิ ชอบ ดำ� เนนิ งาน 2.1 ความสอดคล้องของการดำ� เนินงานกับมาตรการในนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา อนามัยการเจรญิ พนั ธุ์แห่งชาติ ฉบบั ท่ี 2ฯ 2.2 การมสี ่วนรว่ มของกลมุ่ เปา้ หมาย การนเิ ทศติดตามก�ำกับงาน ปัญหาและอุปสรรค ในการใหบ้ ริการ จุดอ่อน/จุดแข็งของมาตรการ และแนวทางจดั การแก้ไข 2.3 การผนวกเขา้ กบั งานประจำ� นวตั กรรมการท�ำงาน (Good practices) การขยายผล ใหย้ งั่ ยนื 3. ผลผลติ ของการดำ� เนินงาน (Outputs) ไดแ้ ก่ 3.1 ความครอบคลมุ ของการใหบ้ ริการ (Coverage) 3.2 ความพึงพอใจของผู้มารับบริการ (Client satisfaction) ต่อบริการสาธารณสุข โดยภาพรวม และตอ่ สวสั ดกิ ารทางสังคมทไี่ ดร้ บั

7

4. ผลลพั ธต์ อ่ กลุ่มเปา้ หมาย (Effects) ไดแ้ ก่ ความรู้ ทกั ษะและพฤติกรรมการปฏบิ ัติตน ของกลุ่มเป้าหมายที่เก่ียวข้องกับการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ ในโครงการ ท่ีส�ำคัญ ได้แก่ โครงการวิวาห์สร้างชาติเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการหญิงวัยเจริญพันธุ์ด้วย ธาตุเหลก็ และโฟเลต โครงการเตรยี มความพรอ้ มก่อนมบี ุตรของค่สู มรส โครงการมหศั จรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต โครงการเฝ้าระวังการตายของมารดา โครงการพัฒนาห้องคลอดคุณภาพ โครงการสง่ เสริมการเลย้ี งดูบุตรดว้ ยนมแมน่ าน 6 เดือน และโครงการส่งเสริมการเจรญิ เตบิ โตและ พฒั นาการเด็ก 2-6 ปี

1.3 ขอบเขตการประเมนิ ผล

การติดตามและประเมินผลในระยะครึ่งแผนฯ มีเป้าหมายหลักท่ีการประเมินผลกิจกรรม/ กระบวนการ (Activity/Process evaluation) ของโครงการทสี่ �ำคัญภายใต้ปจั จัยนำ� เขา้ ทนี่ ำ� ไปสู่ ผลผลติ และผลลัพธข์ องการด�ำเนินงานจำ� แนกรายยทุ ธศาสตร์ ดงั นี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนากฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เก่ียวข้อง มีโครงการ/ กิจกรรมที่ส�ำคัญ 3 โครงการ ได้แก่ 1) การบังคับใช้กฎหมายควบคุมคุณภาพการผลิต โฆษณา การตลาดและจำ� หนา่ ยผลติ ภัณฑ์โภชนาการของมารดาทารกและเดก็ 2) การด�ำเนนิ งานตาม พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการต้ังครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และ 3) การผลักดันเร่ืองลดหย่อน ภาษสี �ำหรับพ่อแมท่ ี่มบี ุตร ตามจำ� นวนบตุ รคนละ 30,000 บาท ยุทธศาสตร์ท่ี 2: พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและสร้างการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม มโี ครงการ/กิจกรรมทีส่ �ำคญั 7 โครงการ ไดแ้ ก่ 1) โครงการววิ าหส์ ร้างชาติ 2) โครงการส่งเสริม ภาวะโภชนาการหญิงวยั เจริญพนั ธุด์ ว้ ยธาตเุ หลก็ และโฟเลต 3) โครงการมหศั จรรย์ 1,000 วันแรก

8

ของชีวิต 4) โครงการเฝ้าระวังการตายของมารดา 5) โครงการพัฒนาห้องคลอดคุณภาพ

  1. โครงการส่งเสริมการเล้ียงดูลูกด้วยนมแม่ และ 7) โครงการส่งเสริมการเจริญเติบโตและ พฒั นาการเดก็ 2-6 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3: พฒั นาระบบการจดั สวัสดกิ าร มโี ครงการ/กิจกรรมทส่ี ำ� คญั 4 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2) โครงการพัฒนาสถานเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
  2. โครงการสวสั ดกิ ารมารดาวัยรนุ่ และครอบครัว และ 4) โครงการครอบครวั อุปถมั ภ์ ยุทธศาสตร์ท่ี 4: พัฒนาระบบสารสนเทศและการส่ือสารสังคม มีโครงการ/กิจกรรมการ จัดท�ำแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณพ์ กพาเพอ่ื ส่งเสรมิ สุขภาพและพฒั นาการเดก็ โดยอาศัยการเก็บข้อมูลแบบผสมผสานท้ังข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากรายงาน ผลการด�ำเนนิ งาน แบบสอบถาม การสนทนากลมุ่ การสมั ภาษณแ์ บบเจาะลึก ร่วมกับการลงพน้ื ท่ี เพื่อเยี่ยมส�ำรวจ สังเกตกระบวนการด�ำเนินงานและสนทนากับกลุ่มเป้าหมายท้ังผู้ให้บริการและ ผรู้ บั บรกิ าร ในระหวา่ งเดอื นมกราคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2564

1.4 ข้อตกลงเบ้อื งต้น

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายพ้ืนท่ี การคัดเลือก พ้ืนท่ีเพ่ือเย่ียมส�ำรวจและติดตามผลการด�ำเนินงานในกลุ่มเป้าหมาย อาศัยการคัดเลือกจากพ้ืนท่ี ท่ีเป็นเครือข่ายการด�ำเนินงานของส�ำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ หน่วยงานในพ้ืนท่ียินดีให้ผู้วิจัย ลงเย่ียมส�ำรวจเพื่อเก็บข้อมูล และทีมงานของส�ำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ สามารถประสานงาน เพื่อใหก้ ารดำ� เนนิ การบรรลตุ ามเป้าหมาย

9

1.5 การทบทวนวรรณกรรม

1.5.1 ความหมาย ความส�ำคญั ของการเกิดทม่ี ีคุณภาพ นโยบายและยุทธศาสตรพ์ ัฒนาอนามัยการเจรญิ พนั ธแ์ุ ห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ให้นิยามของการเกิดท่ีมีคุณภาพว่า การเกิดด้วยความสมัครใจที่ต้องมีการวางแผนเตรียมความพร้อมต้ังแต่ก่อนต้ังครรภ์ และได้รับ ความช่วยเหลือในการมีบุตร ส่งเสริมให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ได้รับการดูแลหลังคลอดที่ดี เด็กได้รับการเลี้ยงดูในส่ิงแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย พร้อมที่จะเรียนรู้ ในชว่ งวัยต่อไปอย่างม่ันคง [7] ท้ังนี้ กรมอนามัยได้จัดโครงการ/กิจกรรมที่ตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2ฯ ในหลายด้าน [8] ได้แก่ การส่งเสริมให้ หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-34 ปี ทุกคนที่พร้อมตั้งใจและวางแผนที่จะมีบุตรได้เข้าถึงบริการ เตรียมความพร้อมก่อนสมรสและมีบุตร การฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ การเฝ้าระวังมารดาตาย การดูแลหลังคลอดท่ีมีคุณภาพท้ังมารดาและทารก การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย รวมทั้ง การจดั ท�ำโครงการ “สาวไทยแกม้ แดง” “วิวาหส์ ร้างชาต”ิ และ “มหศั จรรย์ 1,000 วันแรกของชวี ิต” นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้ประชากรกลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาส ได้เข้าถึงบริการวางแผนครอบครัว สร้างระบบบริการที่ครอบคลุมให้ค�ำปรึกษาความรู้ บริการคุมก�ำเนิดที่เข้าถึงง่าย และระบบ การดูแลช่วยเหลือส่งต่อเมื่อเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ลดปัญหาการยุติการต้ังครรภ์ ที่ไม่ปลอดภัย การป้องกันการต้ังครรภ์ซ้�ำในวัยรุ่นด้วยการสนับสนุนบริการคุมก�ำเนิดชนิดกึ่งถาวร ดว้ ยการใส่หว่ งอนามัยและฝงั ยาคุมก�ำเนดิ แก่วยั รุ่นทีม่ อี ายตุ ่ำ� กว่า 20 ปี ใหก้ ับสถานบรกิ ารเครือขา่ ย ของสำ� นกั งานหลักประกนั สขุ ภาพแห่งชาติ (สปสช.)

10

1.5.2 นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2 ว่าด้วย การส่งเสริมการเกดิ และการเจรญิ เติบโตอยา่ งมคี ณุ ภาพ (พ.ศ. 2560-2569) [7]

1. แนวคิดและหลักการ สังคมไทยกา้ วเข้าส่สู ถานการณก์ ารเปลย่ี นแปลงโครงสรา้ ง ประชากรอย่างรวดเร็ว มีจ�ำนวนการเกิดน้อยลง ส่วนหน่ึงเป็นการเกิดท่ีขาดความพร้อม และไม่เป็น ท่ีต้องการ ประชากรวัยท�ำงานมีแนวโน้มใช้ชีวิตอยู่เป็นโสดมากข้ึน แต่งงานหรือใช้ชีวิตคู่ช้าลง ชะลอการมีบุตร ต้องการบุตรจ�ำนวนน้อยลงเพียงหนึ่งหรือสองคน หรือไม่ต้องการมีบุตรเลย ประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น และเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 คือ มีประชากรสูงวัย ประมาณรอ้ ยละ 20 ประเทศไทยมีสถานการณท์ ค่ี ลา้ ยคลึงกับหลายประเทศ เชน่ ญีป่ นุ่ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ บทเรียนจากประเทศเหล่านี้ช้ีให้เห็นว่า การเพิ่มจ�ำนวนประชากรทําได้ยากหากมี อัตราการเจริญพันธุ์รวมของประชากรอยู่ในระดับตํ่ามาก ซ่ึงปัจจุบันอัตราเจริญพันธุ์รวมในหญิง วยั เจรญิ พนั ธุ์ เท่ากับ 1.53 ซ่งึ ต�่ำกว่าระดบั ทดแทนประชากร มาตรการทางสงั คมและสวสั ดกิ ารตา่ ง ๆ ท่ีมีอยู่อาจไม่ช่วยกระตุ้นการเพ่ิมจ�ำนวนบุตรเพื่อทดแทนจ�ำนวนประชากรของประเทศได้ ประเทศไทยไม่เพียงแต่ประสบกับปญหาจากอัตราเจริญพันธุ์ท่ีลดลงเท่านั้น แต่ยังพบปัญหาด้าน ของคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยดวย หรือสรุปไดวาประเทศไทยกําลัง เผชิญปญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” ดังน้ัน หน่วยงานท่ีรับผิดชอบจึงจัดท�ำนโยบายและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุแหงชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2569) วาดวยการ สงเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอยางมีคุณภาพ เพื่อมุงเนนที่จะรักษาอัตราการเจริญพันธุรวม ไมใหตํ่ากว่า 1.6 และสงเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอยางมีคุณภาพ เพ่ือให้เด็กเกิดรอด แมป ลอดภัย มีพฒั นาการสมวยั เจริญเติบโตดี สามารถเปน กาํ ลงั สาํ คัญในการพฒั นาประเทศชาติ ตอไปในอนาคต โดยนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2ฯ มหี ลักแนวคดิ ดังน้ี

11

  1. พัฒนาและส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุของประชากรตั้งแต่ก่อนวัยเจริญพันธุ ลดการสมรสในวัยที่มีอายุน้อย และลดการต้ังครรภในวัยรุน โดยส่งเสริมการคุมก�ำเนิดกึ่งถาวร เพ่ือป้องกันการตั้งครรภ์และการต้ังครรภ์ซ้�ำ สนับสนุนให้วัยรุ่นท่ีต้ังครรภ์ได้รับการศึกษาในรูปแบบ ทเ่ี หมาะสม
  2. สรางสภาพแวดลอมท่ีเอื้อตอการสรางครอบครัวและมีบุตร โดยเริ่มตั้งแต่การจัด บริการให้ค�ำปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร ทั้งเร่ืองจ�ำนวนบุตร ระยะห่างการมีบุตร ชว่ งเวลาท่เี หมาะสมตอ่ การมีบตุ ร สรางสภาพการทํางานทีย่ ืดหยนุ เก้อื กลู ตอการเริ่มตนชีวิตครอบครวั และมีบุตร สรางสมดุลระหวางชีวิตครอบครัวและการทํางาน (Work Life Balance) สรางสมดุล ของบทบาทหญิงชายในครอบครัว ท้ังงานบา นและการเลย้ี งดบู ตุ ร (Gender Equality) สรางทัศนคติ ทางบวก และสภาพแวดลอมท่ีเอ้ือตอผูหญิงทํางานท่ีตั้งครรภ เพิ่มความครอบคลุมและปรับปรุง คุณภาพสถานดูแลเด็กในที่ทํางาน เพ่ือใหผูหญิงทํางานยังสามารถเลี้ยงดูบุตรไดโ ดยไมตองลาออกงาน สนบั สนนุ การเพิ่มวนั ลาพักระหวา งคลอดของบดิ าและมารดาเพื่อการเล้ียงดูบุตร
  3. พัฒนาคณุ ภาพประชากรนบั ต้งั แตกอนการตัง้ ครรภ การตงั้ ครรภ์ การคลอด และการเลี้ยงดูจนเตบิ โต
  4. ส่งเสริมความเทาเทียมและการพัฒนาที่ย่ังยืน ไมท้ิงใครไวเบ้ืองหลัง เพื่อให ประชากรทุกคนมีทางเลือกที่จะสามารถมีบุตรตามจํานวนท่ีตนตองการท่ีสมเหตุสมผล ปราศจาก อคตทิ เ่ี กิดจากขอจาํ กดั ทางสังคมและเศรษฐกจิ ของบุคคล ทั้งนีส้ อดคล้องในหลกั การ ทส่ี ำ� คัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรก การคำ� นึงถึงหลัก สิทธิมนุษยชนท่ีเกี่ยวข้องกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ ด้านที่สอง ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ เช่น แผนพัฒนาประชากร แผนสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย แผนยุทธศาสตร์พัฒนาเด็กและ เยาวชนแห่งชาติ หรือแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็ก ปฐมวัย ฯลฯ และด้านที่สามความสอดคล้อง

12

กับสนธสิ ัญญา นโยบายและค�ำรับรองในระดบั นานาชาติ เช่น อนุสญั ญาว่าด้วยสิทธเิ ดก็ อนุสัญญา ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสตรี และเป้าหมายของการพัฒนาที่ย่ังยืนในระดับโลก เปน็ ต้น 2. สาระส�ำคัญของนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2560-2569) วา่ ด้วยการสง่ เสรมิ การเกิดและการเจริญเตบิ โตอยา่ งมีคณุ ภาพ “รัฐบาลสนับสนุนและสงเสริมการเกิดเพิ่มขึ้นดวยความสมัครใจ เพื่อเพียง พอสําหรับทดแทนประชากร และการเกิดทุกรายมีการวางแผน มีความตั้งใจและมีความพรอม ในทุกดาน นําไปสูการคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง พรอมท่ีจะเจริญเติบโต อยางมีคณุ ภาพ” กลมุ่ เปา้ หมาย ประกอบดว้ ย หญิง ชาย วัยเจริญพันธ์ุ หญงิ ตงั้ ครรภ์ และเดก็ อายุ 0-5 ปี เปา้ ประสงค์ มี 3 ขอ้ ดังนี้

  1. รกั ษาระดบั อัตราการเจริญพนั ธุรวมไมต่ํากวา 1.6
  2. การเกิดทุกรายมีการวางแผน มีการเตรียมความพรอมต้ังแตกอนตั้งครรภ และไดร บั ความชวยเหลอื ในการมีบุตร
  3. สงเสริมใหลูกเกิดรอด แมปลอดภัย ไดรับการดูแลหลังคลอดท่ีดี เด็กไดรับ การเลี้ยงดูในส่ิงแวดลอมที่เอ้ือตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย พรอมที่จะเรียนรูในชวงวัย ตอไปอยางมัน่ คง

13

ตวั ชว้ี ัดเปา้ ประสงค์ ประกอบดว้ ย 12 ตัวช้ีวดั หลัก ดังนี้ เปา้ ประสงคท์ ่ี 1: มีการเกิดท่ีมคี วามสมัครใจเพิ่มขน้ึ เพ่ือทดแทนจำ� นวนประชากร มี 3 ตวั ชวี้ ัด

  1. จ�ำนวนการเกดิ ไม่นอ้ ยกวา่ ปีละ 700,000 คน
  2. อตั ราการเจรญิ พันธุ์รวมไม่ตำ�่ กวา่ 1.6
  3. อตั ราคลอดมีชีพในหญงิ อายุ 20-34 ปี เป้าประสงค์ท่ี 2: การเกิดทกุ รายมคี วามพรอ้ ม มี 5 ตัวชี้วัด
  4. รอ ยละของหญงิ อายุ 20-24 ปที่ใชช ีวติ คูอ ยูกินฉันสามีภรรยา (กอนอายุ 15 ป และกอนอายุ 18 ปี)
  5. อัตราการคลอดมีชีพในวัยรุน (อายุระหวาง 10-14 ป และอายรุ ะหวาง 15-19 ป)
  6. รอ ยละของหญิงวัยเจรญิ พันธุ (อายุระหวาง 15-19 ป) ที่มคี วามพงึ พอใจตอ ความตองการใชวิธกี ารคุมกาํ เนดิ สมยั ใหม่
  7. รอ ยละของการตง้ั ครรภท่ีมีการวางแผนมากอ น
  8. อัตราสว นการตายมารดา เปา้ ประสงค์ที่ 3: ทารกเกิดแข็งแรง พรอ้ มเตบิ โตอยา่ งมีคุณภาพ มี 4 ตัวช้ีวดั
  9. อตั ราตายทารกแรกเกดิ
  10. รอ้ ยละทารกแรกเกิดน้�ำหนกั ตำ�่ กว่าเกณฑ์
  11. ร้อยละเดก็ อายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
  12. รอ้ ยละเดก็ อายุ 0-5 ปี สงู ดี สมส่วน ยทุ ธศาสตร์ มาตรการ ตัวชว้ี ัด เป้าหมาย และหน่วยงานที่รับผดิ ชอบ ประกอบด้วย 4 ยทุ ธศาสตร์ ดังน้ี ยุทธศาสตรท์ ่ี 1: พฒั นากฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ท่ีเก่ยี วขอ้ ง ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและสร้างการเข้าถึงบริการ อยา่ งเทา่ เทียม

14

ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาระบบจัดสวัสดกิ ารสงั คม ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4: พัฒนาระบบสารสนเทศและการสือ่ สารสงั คม โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีรายละเอียดของวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด มาตรการในการ ดำ� เนินงาน และหน่วยงานทรี่ บั ผิดชอบ ดงั น้ี ยทุ ธศาสตร์ที่ 1: พัฒนากฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ทีเ่ กี่ยวขอ้ ง วัตถุประสงค์ เพ่ือพัฒนา ปรับปรุง แกไข และผลักดันใหกฎหมาย ระเบียบ ขอบงั คับ นโยบายและยุทธศาสตร ใหเออ้ื ตอ การเกดิ และการเจริญเติบโตอยา งมีคุณภาพ ตวั ช้วี ัด มกี ารพัฒนา ปรบั ปรงุ แกไ ข และผลกั ดันกฎหมาย ระเบียบ ขอบังคับ นโยบายและยทุ ธศาสตรท ี่เก่ียวขอ ง มาตรการ 1. พัฒนาปรับปรุง แกไขและผลักดัน กฎหมาย ระเบียบ ขอบังคับ นโยบาย และยทุ ธศาสตรท์ เ่ี ก่ียวขอ ง เชน - ปรับปรุง พัฒนา และบังคับใชกฎหมาย เพ่ือควบคุมคุณภาพ การผลิต การจําหนาย การสงเสริม การขาย การโฆษณา การตลาด อาหารและผลิตภัณฑทุกชนิดท่ีสงผล กระทบตอโภชนาการของมารดา ทารก และเด็ก 2. สงเสริม สนับสนุนใหมีการบังคับใชกฎหมาย ระเบียบขอบังคับ นโยบาย และยทุ ธศาสตรท เี่ ก่ียวของอยา งเปนรปู ธรรม เชน - ผลกั ดนั ขอปฏิบตั ิสําคัญท่เี ก่ยี วของใหเปน กฎหมาย เชน หลักเกณฑวาดว ย การตลาดอาหาร สําหรับทารกและเด็กเลก็ และผลติ ภณั ฑท เ่ี ก่ยี วของ - ผลักดันการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติการปองกันและแกไขปญหา การตง้ั ครรภในวัยรนุ พ.ศ. 2559 3. เสริมสรางความรู ความเขาใจและการรับรู กฎหมาย ระเบียบขอบังคับ นโยบายและยทุ ธศาสตร์ทเี่ กีย่ วขอ ง

15

4. ผลักดันใหมีการปรับปรุง แกไขสิทธิการรักษาพยาบาล ใน 3 ระบบ คือ สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของขาราชการ สิทธิประกันสังคม และสิทธิหลักประกันสุขภาพ ใหเอ้อื ตอ การสง เสรมิ การเกดิ และการเจรญิ เติบโตอยางมีคณุ ภาพ 5. ผลักดันมาตรการทางภาษีในการสงเสริมการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ ท่เี ก่ียวของ ท่ีมีคณุ ภาพและปลอดภัย หน่วยงานรับผิดชอบ ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแหงชาติ กระทรวงมหาดไทย สํานักงาน หลักประกันสุขภาพแหงชาติ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรา งเสริมสุขภาพ กระทรวงพาณิชย และกระทรวงอตุ สาหกรรม ยุทธศาสตร์ท่ี 2: พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและสรางการเขาถึงบริการ อยางเทา เทียม วัตถุประสงค์ เพ่ือพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานและสร้างการเข้าถึง บรกิ ารอย่างเทา่ เทียม ซงึ่ จะส่งผลใหก้ ารเกดิ ทกุ ราย เกดิ รอดปลอดภยั ทงั้ แม่และลกู 2.1 ระยะกอ่ นสมรสและกอ่ นตงั้ ครรภ์ ตัวชี้วดั 1. อตั ราการคุมกำ� เนดิ 2. รอ้ ยละของหญิงหลังคลอดทตี่ งั้ ครรภโ์ ดยไมไ่ ด้วางแผนมาก่อน 3. รอ้ ยละของค่สู มรสทไี่ ด้รับการตรวจสุขภาพก่อนตง้ั ครรภ์ 4. รอ้ ยละของหญิงชายไดร้ บั การตรวจคดั กรองโรคธาลสั ซีเมียก่อนมีบตุ ร 5. ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการมีบุตรได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก และกรดโฟลิกกอ่ นการตงั้ ครรภ์ 12 สัปดาห์ 6. ร้อยละของหญิงวยั เจรญิ พันธ์มุ ีภาวะโลหติ จาง

16

7. ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธ์มุ ีดัชนมี วลกายทเ่ี หมาะสม 8. รอ้ ยละความต้องการทย่ี ังไม่สัมฤทธ์สิ ำ� หรบั การคุมก�ำเนิด 9. จ�ำนวนคสู่ มรสท่มี คี วามพรอ้ มได้รับค�ำแนะนำ� ในการมบี ตุ ร 10. จ�ำนวนสถานพยาบาลทมี่ ีการจัดระบบบรกิ ารสำ� หรบั ผู้มบี ุตรยาก มาตรการ 1. จัดให้มีบริการให้การปรึกษาการวางแผนชีวิตครอบครัว การประเมิน ภาวะโภชนาการ การตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ และการตรวจสุขภาพ 2. ผลักดันนโยบายการให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกในหญิง วัยเจริญพนั ธท์ุ ี่ต้องการมีบุตรในระยะกอ่ นการต้ังครรภ์ 3. รณรงค์เรอ่ื งการมีบตุ รเม่อื พร้อม และใหผ้ ทู้ ม่ี คี วามพรอ้ มมีบตุ รมากขึน้ 4. จัดบรกิ ารใหก้ ารปรกึ ษาและรักษาผมู้ ภี าวะมบี ุตรยาก 2.2 ระยะตั้งครรภ์ ตวั ชีว้ ดั 1. ร้อยละของหญงิ ตัง้ ครรภฝ์ ากครรภ์คร้ังแรกกอ่ น 12 สปั ดาห์ 2. ร้อยละของหญงิ ตัง้ ครรภท์ ม่ี ีการฝากครรภอ์ ย่างนอ้ ย 1 ครงั้ 3. รอ้ ยละของหญิงตั้งครรภท์ ี่มกี ารฝากครรภค์ รบ 5 ครั้ง 4. รอ้ ยละของหญิงตั้งครรภ์ทีม่ ภี าวะซีด 5. รอ้ ยละของหญิงต้ังครรภท์ ีไ่ ด้รบั ยาเม็ดเสริมไอโอดนี เหล็ก และกรดโฟลกิ ตลอดการตั้งครรภ์จนถงึ หลังคลอด 6 เดือน 6. ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ ไม่น้อยกว่า 150 ไมโครกรมั /ลติ ร 7. ร้อยละหญงิ มคี รรภ์มนี ํ้าหนกั น้อย 8. ร้อยละหญงิ ตัง้ ครรภ์มีแนวโน้มเพิม่ นํ้าหนกั ดี 9. ร้อยละหญิงต้ังครรภไ์ ดร้ ับการตรวจคัดกรองธาลสั ซเี มีย

17

10. ร้อยละของคู่สมรสท่ีผลตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียผิดปกติได้รับการตรวจ Hb. Typing 11. คู่สมรสท่ีทารกมีความเสี่ยงจะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้รับการตรวจวินิจฉัย ก่อนคลอด 12. รอ้ ยละของหญิงตง้ั ครรภท์ ไี่ ดร้ บั การตรวจหาการตดิ เชอื้ เอชไอวี 13. ร้อยละของหญิงต้ังครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกัน การถ่ายทอดเชอื้ จากแมส่ ู่ลูก 14. ร้อยละของการต้งั ครรภซ์ ํา้ ในหญิง อายุนอ้ ยกว่า 20 ปี 15. ร้อยละของหญงิ ต้งั ครรภท์ ี่ได้รบั การตรวจสขุ ภาพช่องปาก มาตรการ 1. พัฒนาระบบบริการอนามัยแม่และเด็กให้ได้มาตรฐานและการเข้าถึง บรกิ ารอยา่ งเทา่ เทียม 2. ขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพหญิงต้ังครรภ์โดยคณะกรรมการพัฒนาอนามัย แม่และเดก็ ในระดบั ส่วนกลาง เขตบรกิ ารสุขภาพจงั หวดั และอ�ำเภอ 3. ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเข้ารับความรู้ และทักษะการดูแล สขุ ภาพดว้ ยตนเอง โดยใช้สมดุ บันทึกสขุ ภาพแม่และเดก็ 4. จัดบริการให้หญิงต้ังครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังน้ําหนัก เพื่อให้มีน้ําหนัก เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ และได้รับอาหารที่เหมาะสมตลอดการตัง้ ครรภ์ 5. จัดบรกิ ารใหห้ ญงิ ตงั้ ครรภ์ได้รบั ยาเมด็ เสรมิ ไอโอดนี เหล็ก และกรดโฟลิก ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงหลงั คลอด 6 เดอื น 2.3 ระยะคลอด ตัวชว้ี ดั 1. อตั ราส่วนการตายมารดา 2. อตั ราตายทารกแรกเกดิ

18

3. รอ้ ยละของมารดาทเี่ สยี ชีวติ จากสาเหตทุ ป่ี อ้ งกันได้ 4. ร้อยละความพกิ ารแตก่ ำ� เนิด 5. รอ้ ยละของทารกแรกเกิดท่มี ีภาวะขาดออกชเิ จน 6. ร้อยละของทารกเกดิ กอ่ นกำ� หนด 7. ร้อยละของทารกแรกเกิดนํ้าหนกั น้อยกว่า 2,500 กรัม 8. รอ้ ยละของหอ้ งคลอดคุณภาพ มาตรการ 1. จดั ระบบการคลอดคุณภาพตามมาตรฐาน 2. จัดใหม้ ีระบบการส่งต่อหญิงคลอดภาวะฉุกเฉิน 3. พัฒนาศกั ยภาพบุคลากรท่ีใหบ้ รกิ ารคลอด 4. จัดให้มีระบบการเฝา้ ระวังมารดาและทารกตาย 2.4 ระยะหลงั คลอด ตัวชวี้ ดั 1. รอ้ ยละของเด็ก อายุ 0-5 ปี มพี ฒั นาการสมวยั 2. ร้อยละเด็ก อายุ 9, 18, 30, 42 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรอง พฒั นาการ 3. ร้อยละเด็ก อายุ 0-5 ปี ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้น พัฒนาการ 4. อัตราการเล้ียงลกู ดว้ ยนมแม่อย่างเดียว 6 เดอื น 5. รอ้ ยละเดก็ อายุ 6 เดอื น - 5 ปี ได้รบั อาหารทีเ่ หมาะสมตามวัย 6. รอ้ ยละของเด็ก อายุ 0-5 ปี สูงดสี มสว่ น 7. รอ้ ยละของเดก็ อายุ 0-5 ปี มีภาวะเตี้ย 8. ร้อยละของเดก็ อายุ 0-5 ปี มีภาวะผอม 9. รอ้ ยละของเดก็ อายุ 0-5 ปี ท่มี ภี าวะเริ่มอว้ น และอว้ น

19

10. รอ้ ยละเด็ก อายุ 6 เดอื น - 5 ปี ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก 11. รอ้ ยละของเดก็ อายุต่ํากว่า 5 ปี ได้รับวัคซนี ตามเกณฑ์ 12. ร้อยละของหญิงให้นมบุตรจนถึง 6 เดือน ที่ได้รับยาเสริมไอโอดีน ธาตุเหลก็ และกรดโฟลิก 13. ร้อยละของเด็ก อายุ 0-5 ปี ได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และปอ้ งกันโรคฟันผุ 14. ร้อยละของพ่อ หรือแม่ หรือผู้เล้ียงดูเด็กหลัก ได้รับความรู้ ทักษะ การเลยี้ งดเู ด็กตามกระบวนการโรงเรียนเตรยี มพอ่ แม่คณุ ภาพ 15. รอ้ ยละของการตั้งครรภ์ซํา้ ในหญงิ อายุน้อยกวา่ 20 ปี 16. ร้อยละของหญิง อายุน้อยกว่า 20 ปี ท่ีได้รับบริการคุมก�ำเนิดด้วยวิธี สมัยใหม่หลังคลอดหรือหลงั แทง้ 17. ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี หลังคลอดหรือหลังแท้งที่คุม ก�ำเนดิ ไดร้ บั การคมุ กำ� เนดิ ดว้ ยวิธีการกึง่ ถาวร 18. ร้อยละของสถานบรกิ ารที่ผา่ นมาตรฐานคลนิ ิกเด็กดคี ณุ ภาพ 19. ร้อยละของหญิงมีครรภ์หรือคนในครอบครัวใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และ เด็กไดเ้ อง มาตรการ 1. จัดให้มีระบบเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กตามเกณฑ์ มาตรฐาน 2. จดั บรกิ ารดูแลมารดาและทารกหลังคลอดตามมาตรฐานท่ีก�ำหนด 3. ส่งเสริมการเล้ียงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน หลังจากน้ันให้ กินนมแมค่ วบคู่กับอาหารตามวยั จนถงึ 2 ปี หรือนานกวา่ นั้น 4. ส่งเสริมให้เด็ก อายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับอาหารที่เหมาะสมตามวัย ในครอบครวั ศูนยเ์ ด็กเลก็ และโรงเรียน

20

5. จัดบริการให้เด็ก อายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับยานํ้าเสริมธาตุเหล็ก สปั ดาห์ละ 1 คร้งั กรณที ารกแรกเกดิ นา้ํ หนักน้อยใหเ้ รม่ิ ยาน้ําเสริมธาตเุ หล็กวันละคร้งั ตัง้ แตอ่ ายุ 2 เดือน จนถึงอายุ 6 เดือน จึงปรับเป็นสัปดาหล์ ะคร้ัง 6. จัดบรกิ ารให้เดก็ ได้รบั วัคซีนตามเกณฑท์ กี่ �ำหนด 7. เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ สุขภาพช่องปากและพัฒนาการลูกโดยพ่อแม่ หรอื ผ้เู ลีย้ งดูเด็กดว้ ยสมุดบนั ทกึ สุขภาพแมแ่ ละเด็ก 8. ผลักดันให้มีการใช้เคร่ืองมือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ ในวิทยาลัย พยาบาลทกุ สงั กัด 9. จัดบริการเตรียมพ่อแม่คุณภาพ ให้ พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กได้รับ ความรู้ ฝึกทกั ษะการเล้ียงดูเดก็ ตามกระบวนการโรงเรยี นเตรียมพ่อแมค่ ณุ ภาพ 10. จัดบริการให้การปรึกษาและวางแผนครอบครัว โดยเน้นการคุมก�ำเนิด ท่ีหลากหลายในช่วงหลงั คลอด หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวง มหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ ส�ำนักงาน หลักประกนั สุขภาพแหง่ ชาติ ส�ำนักงานกองทนุ สนับสนนุ การสรา้ งเสรมิ สุขภาพ กรงุ เทพมหานคร ยุทธศาสตรท์ ่ี 3: พฒั นาระบบการจดั สวัสดิการสงั คม วัตถปุ ระสงค์ พัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดสวสั ดิการสงั คม เพอ่ื เอือ้ ให้ครอบครัว พร้อมจะมีบุตร ให้หญิงได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะก่อนสมรส ระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะต้ังครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รวมท้ังการจัดสวัสดิการในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ และอ�ำนวยความสะดวกแกค่ รอบครวั ในการเลย้ี งดบู ตุ ร ตัวชีว้ ัด 1. มกี ารดำ� เนนิ การพัฒนาและปรบั ปรุงระบบการจดั สวสั ดิการสงั คมในด้านต่าง ๆ ตามมาตรการท่กี ำ� หนดไว้ในนโยบายและยุทธศาสตรฉ์ บบั นี้

21

2. ร้อยละศูนยเ์ ดก็ เลก็ ท่ผี า่ นเกณฑ์มาตรฐานศนู ย์เดก็ เล็กแห่งชาติ มาตรการ 1. การสนับสนนุ ให้คู่สมรสสามารถมที ่อี ยอู่ าศยั เปน็ ของตนเอง เช่น - มาตรการดา้ นภาษี - การใหส้ ินเช่ือเพอื่ ซอื้ ที่อยอู่ าศยั 2. การดแู ลสขุ ภาพต้ังแตร่ ะยะก่อนตง้ั ครรภจ์ นถงึ หลังคลอด ผลักดันให้ชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทนุ ประกนั สงั คม และกองทนุ สวสั ดกิ ารรกั ษาพยาบาลขา้ ราชการ ครอบคลมุ การใหก้ ารบริการ ดแู ลรักษาสุขภาพในระยะต่าง ๆ ของการตง้ั ครรภ์ ดังตอ่ ไปน้ี 2.1 ระยะก่อนสมรสและก่อนต้ังครรภ์ เช่น - การใหค้ �ำปรกึ ษากอ่ นสมรสและกอ่ นต้งั ครรภ์ - การวางแผนครอบครัว รวมทั้งการเข้าถึงบริการคุมก�ำเนิดด้วยวิธีสมัย ใหม่ท่ีมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะทางเลือกในการคุมก�ำเนิดด้วยวิธีแบบก่ึง ถาวร ได้แก่ ห่วงอนามยั และยาฝงั คุมกำ� เนดิ - การตรวจหาปัจจัยเส่ยี งต่อการตง้ั ครรภร์ วมทัง้ การใหก้ ารดูแลรักษา - การให้ยาเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ในระยะก่อน การต้งั ครรภ์ - การตรวจหาสาเหตแุ ละให้การรักษาผู้มบี ุตรยาก 2.2 ระยะตง้ั ครรภ์ เชน่ - การฝากครรภ์ - การเข้าถึงบริการยุติการต้ังครรภ์ที่ปลอดภัยในกรณีท่ีมีข้อบ่งช้ี อยา่ งถกู ตอ้ งตามกฎหมายและข้อบังคบั ต่าง ๆ ท่เี ก่ยี วขอ้ ง - การตรวจคัดกรองหญิงต้ังครรภ์ท่ีติดเช้ือเอชไอวี และให้ยาเพื่อป้องกัน การถ่ายทอดเชอ้ื จากแม่สลู่ กู

22

- การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและภาวะท่ีทารกมีความพิการ แตก่ �ำเนดิ - การตรวจหาภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ รวมท้ังการให้ การดแู ลรักษา - การใหธ้ าตเุ หลก็ กรดโฟลิก และไอโอดนี เสริมในระหว่างต้ังครรภ์ 2.3 ระยะคลอด เช่น - การคลอดบุตร - การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทเี่ กิดขน้ึ ในระหว่างการคลอด - การดูแลทารกแรกเกิด รวมทั้งการให้การรักษาภาวะแทรกซ้อน ทเ่ี กดิ ข้นึ ในระหวา่ งการคลอด 2.4 ระยะหลงั คลอด เช่น - การดูแลมารดาและทารกแรกเกิด - การให้บริการคมุ ก�ำเนดิ หลงั คลอด - การให้วคั ซีนในเด็ก 3. การสนับสนนุ คา่ ใช้จา่ ยในการเล้ียงดบู ตุ ร เชน่ - เพ่มิ การหักลดหย่อนภาษเี งนิ ได้ส�ำหรับคา่ ใชจ้ า่ ยของบุตร - ใหเ้ งินสงเคราะห์บตุ ร - สทิ ธใิ นการได้รบั การศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน โดยไมม่ คี ่าใชจ้ า่ ยของบตุ ร - สิทธใิ นการได้รับการรกั ษาพยาบาล โดยไมม่ ีคา่ ใชจ้ า่ ยของบตุ ร 4. การสง่ เสรมิ การทำ� งานของครอบครวั ที่มีบตุ ร เชน่ - ใหม้ ารดาลาหยุดเพอ่ื ฝากครรภไ์ ด้ โดยไมถ่ ือเป็นวันลาและไมถ่ ูกหกั คา่ แรง - เพม่ิ สทิ ธกิ ารลาคลอด - อนญุ าตให้บิดาและมารดาลาหยุดงานเพ่อื ดแู ลบุตร โดยไดร้ บั เงินเดอื นเต็ม - การจัดต้ังสถานรับเล้ยี งเด็กอ่อนที่รฐั ให้เงินอุดหนุน

23

- สง่ เสรมิ ใหห้ น่วยงานภาครฐั และภาคเอกชน มีมมุ นมแม่หรอื สถานที่ดแู ลบตุ ร ของบคุ ลากรในหน่วยงาน - ส่งเสริมอาชพี ในชมุ ชนโดยเฉพาะอาชพี ท่ีท�ำงานอยกู่ บั บ้านได้ 5. การใหค้ วามดแู ลสตรที ี่ต้งั ครรภแ์ ละไมม่ คี วามพร้อมในการเล้ียงดูบุตร เชน่ - สนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถให้ บริการปรึกษาทางเลือกส�ำหรบั หญิงท่ตี ้ังครรภโ์ ดยไม่ได้ตง้ั ใจ - สนับสนุนการให้การดูแลและช่วยเหลือหญิงท่ีตั้งครรภ์โดยไม่ได้ต้ังใจ และ ตดั สินใจตงั้ ครรภต์ ่อไป - ความช่วยเหลอื ด้านทีอ่ ย่อู าศัย - ความช่วยเหลือด้านการศึกษาต่อ ในกรณีที่หญิงต้ังครรภ์ยังอยู่ในระหว่าง การศกึ ษา - ความชว่ ยเหลอื ดา้ นการฝึกอาชีพ และการจัดหางาน - การจดั หาครอบครัวอุปถมั ภ์ 6. การพฒั นาศนู ย์เด็กเลก็ ตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแหง่ ชาติ หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง มหาดไทย กรงุ เทพมหานคร องคก์ รสาธารณะประโยชน์ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4: พัฒนาระบบสารสนเทศและการสอ่ื สารสงั คม วัตถุประสงค์ เพ่ือให้มีข้อมูล องค์ความรู้ท่ีทันสมัย เช่ือถือได้ เพียงพอต่อการ ใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการด�ำเนินงาน การติดตาม การประเมินผล และการ ส่อื สารสังคม ตัวชว้ี ดั 1. มีฐานข้อมูลกลาง ระบบสารสนเทศ และระบบเฝ้าระวังที่ได้มาตรฐาน สำ� หรับใช้ในการวางแผนการดำ� เนินงาน การตดิ ตามและการประเมินผลตามมาตรการต่าง ๆ

24

2. มีชอ่ งทางการสอ่ื สารสงั คมที่หลากหลาย มาตรการ 1. แต่งต้ังคณะท�ำงานร่วมระหว่างหน่วยงานที่เก่ียวข้อง เพ่ือศึกษาข้อมูล ความเป็นไปได้และผลกระทบประกอบการผลักดัน ปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ สิทธปิ ระโยชน์ในประเดน็ ต่าง ๆ 2. พัฒนาฐานข้อมูลกลาง ระบบสารสนเทศ ระบบการเฝ้าระวัง และก�ำหนด ตัวชี้วดั ให้ได้มาตรฐานมีความต่อเนอื่ งและสามารถเชอื่ มโยงกนั ไดใ้ นทุกระดบั 3. พัฒนาระบบการจดั การความรู้ การวิจัย การนำ� ความรเู้ พ่อื การส่อื สารสังคม และช่องทางการส่ือสารเชิงรุก เพ่ือการเรียนรู้และจัดการความเสี่ยงอย่างทันการณ์ ให้ครอบคลุม ท้งั ในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและทอ้ งถน่ิ 4. พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าท่ีผู้ปฏิบัติงานทุกระดับให้สามารถน�ำระบบ สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชนอ์ ย่างสงู สดุ 5. รณรงค์สร้างกระแสสังคม สื่อสารสาธารณะ ด้านโภชนาการ เพ่ือให้เกิด ความรู้ ความเช่อื คา่ นิยมท่ีถกู ต้อง หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส�ำนักงาน สถิติแห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาพ ส�ำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วน ทอ้ งถน่ิ ภาควชิ าการและภาคีอนื่ ๆ

1.5.3 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกบั การประเมินผล

ความหมาย การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการด�ำเนนิ งานอย่างเปน็ ระบบ โดยมี

25