พร บ คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 9 ตัวอย่าง

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมาก เทคโนโลยีถือว่ามีบทบาทในชีวิตประจำวัน คนมีการใช้คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน เพื่อการทำงาน ติดต่อสื่อสาร สร้างความบันเทิง แต่บางคนอาจใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการทำร้ายผู้อื่น เมื่อสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไป และการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มีมากขึ้น กฎหมายที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันจึงอาจไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำลักษณะนี้ไว้ (เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ)

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฯ คืออะไร

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฯ คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยคำว่า “คอมพิวเตอร์” นั้น หมายความรวมถึง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(PC) โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน และรวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันและควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์ และหากใครกระทำความผิดตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ ก็ต้องรับโทษตามกฎหมาย

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ควรรู้

พร บ คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 9 ตัวอย่าง

1. ความผิดเกี่ยวกับการแฮ็คข้อมูลหรือบัญชีผู้ใช้ของผู้อื่น หรือการขโมยข้อมูลของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาต

1.1 เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 5)

1.2 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 6) เช่น การนำ Password ไปบอกแก่ผู้อื่น

1.3 เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 7)

1.4 ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 8) เช่น การใช้เครื่องแสกนเนอร์ขโมยรหัสผ่านและข้อมูลของบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม

พร บ คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 9 ตัวอย่าง

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี

ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม

2. ความผิดเกี่ยวกับการทำลาย แก้ไขข้อมูล หรือระงับ ขัดขวางระบบคอมพิวเตอร์

2.1 ทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 9) เช่น การปล่อยไวรัสเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นให้ข้อมูลถูกทำลาย หรือเสียหายไป

2.2 กระทำโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 10)

3. ความผิดเกี่ยวกับการทำสแปม (Spamming)

3.1 ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 แสนบาท (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 11 วรรคแรก)

3.1 ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง) ตัวอย่างเช่นอีเมลขายของ แจ้งข่าวสารที่ส่งหาลูกค้าหรือสมาชิก โดยไม่เปิดโอกาสให้คนรับกดยกเลิก

4. ความผิดเกี่ยวกับการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

4.1 โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)) เช่น การโพสต์ข้อความเท็จ การโพสต์หลอกลวงให้ผู้อื่นลงทุน เป็นต้น ซึ่งการจะเป็นความผิดตามข้อนี้นั้น ต้องปรากฏว่าผู้กระทำมีเจตนาโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงด้วย หากขาดเจตนาดังกล่าวย่อมไม่เป็นความผิด

ตัวอย่างคดี

“คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2562 จำเลยเป็นผู้นำข่าวอันเป็นเท็จลงในเว็บไซต์ที่จำเลยเป็นผู้ดูแลโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเรื่องการกระทำโดยทุจริตหรือหลอกลวง แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (เดิม) แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (ที่แก้ไขใหม่) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 จึงเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง”

ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) นี้ ไม่ได้กระทำต่อประชาชน แต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 วรรท้าย)

4.2 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2)) เช่น การโพสต์ข้อความตามกระทู้ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นภัยกระทบต่อความมั่นคง

4.3 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3))

4.4 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(4)) กรณีเช่นนี้ต้องปรากฏว่าข้อมูลที่มีลักษณะลามกนั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ด้วย เช่น การโพสต์ลงเฟสบุ๊กหรือบนเว็บไซต์ หากเป็นเพียงการส่งให้อีกฝ่ายดูเท่านั้น โดยประชาชนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงได้ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2561)

4.5 เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(5)) เช่น การแชร์โพสต์อันเป็นเท็จ โดยที่ทราบอยู่แล้วว่าข้อความในโพสต์นั้นเป็นเท็จ

นอกจากที่กระทำความผิดฐานผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย คือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 15) เช่น เจ้าของเว็บบอร์ดที่ยินยอมให้มีการโพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยที่ตนทราบถึงความเท็จนั้นอยู่แล้ว

4.6 การโพสต์ภาพตัดต่อที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 16 วรรคหนึ่ง)

หากกระทำต่อภาพผู้ตาย และอาจทำให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูก

ดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 16 วรรคสอง)