Redmi note 7 video 60 fps ม ก นส นไหม

เพราะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ใช้อัตราภาพ 24fps มายาวนานเกือบร้อยปี (ก่อนหน้านั้น 18fps ยุคหนังขาวดำ หนังใบ้) ระยะเวลาเกือบร้อยปีนี้ สร้างความเคยชินให้กับผู้คนอย่างมหาศาล จนคนติดว่าภาพยนตร์ต้อง 24fps เท่านั้น พอมาเจอภาพที่เฟรมเรตสูงกว่าก็จะพาลคิดไปว่า ไม่สมจริง (จริงๆ ต้องบอกว่า ไม่เหมือนหนังที่เคยดู ถึงจะถูก) ทั้งหมดนี้เป็นเพราะความเคยชินล้วนๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสามารถของตามนุษย์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ใช้ 24fps ก็เพราะมันเป็นอัตราที่สิ้นเปลืองน้อยสุดและภาพยังดูต่อเนื่องอยู่ พูดง่ายๆ คือเป็น bare minimum เกินกว่านี้ก็ได้ แต่จะเปลืองฟิล์มมาก จุดนี้เป็นจุดที่สมดุลย์ที่สุดระหว่างต้นทุนการผลิตกับผลลัพท์ที่ได้ ปัจจุบันแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ฟิล์มในการฉายหนังแล้ว แต่ด้วยความเคยชินคนก็ยังนิยมใช้อัตรา 24fps กันอยู่ครับ

แล้วเลข 60fps นี้มาจากไหน

จริงๆ แล้วอัตราความเร็วภาพที่มนุษย์มองเห็นได้นั้นมีได้เป็นร้อยๆ fps ขึ้นอยู่กับการฝึกและความเคยชิน ตามที่คคห. 2 บอกเลย แต่เลข 60 นั้นมาจากข้อจำกัดของ "จอภาพ" ในปัจจุบัน เนื่องจากระบบโทรทัศน์ใช้ความถี่ 60 hz (ntsc) และ 50 hz (pal) นั่นแปลว่าจอภาพกระพริบ 60/50 ครั้งต่อวินาที เท่ากับแสดงผลภาพได้ 60/50 ภาพต่อวินาทีนั่นเอง หากเล่นหนังที่มี fps สูงกว่านั้นก็จะไม่เห็นความต่าง เพราะจอมันแสดงได้แค่นั้น แต่ปัจจุบันจอ PC ประเภท gaming ราคาสูงบางรุ่นสามารถแสดงภาพได้สูงถึง 120/144/200 hz จอพวกนี้ก็จะเห็นผลเวลาเล่นเกม หรือดูหนังที่มี fps สูงๆ ครับ

ย้ำอีกทีว่า 24fps นั้นไม่ได้สมจริงมากกว่า 60fps หรอกครับ ที่คุณคิดแบบนั้นเพราะคุณ "เคยชิน" กับหนังที่เคยดู ถ้าสมมติมีคนๆ หนึ่งไม่เคยดูหนังมาเลยทั้งชีวิต แล้วอยู่มาวันหนึ่งเราเอาหนัง 60fps ให้เขาดู ชายคนนี้จะไม่บอกหรอกครับว่าหนังนี้มัน "ไม่สมจริง" เพราะเขาไม่ได้ถูกความเคยชินกดไว้ กลับกัน เขาจะมองว่าหนัง 60fps นี้ดูลื่นไหล สบายตากว่าด้วยซ้ำ

มือใหม่หัดถ่าย vlog กับ “5 พื้นฐาน ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ” อย่างที่รู้กันว่าในปี 2021 คอนเทนต์แบบวีดีโอยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ใครหลายคนเริ่มสนใจการถ่าย vlog ถ่ายวิดีโอ สร้าง Chanel ของตัวเองกันมากขึ้น นอกจากคอนเทนต์ที่น่าสนใจแล้ว การใช้กล้องให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย

วันนี้เราก็เลยนำ “ 5 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ” กับค่าต่างๆที่ควรรู้มาฝากกันค่ะ

ความละเอียด (Resolution)

Redmi note 7 video 60 fps ม ก นส นไหม

ความละเอียด (Resolution)

ความละเอียดวิดีโอในกล้องส่วนใหญ่จะเรียงจากน้อยไปมากตามนี้เลยยย HD (720p) > Full HD (1080p) > 4K > 8K

– ยิ่งความละเอียดสูง ภาพก็จะยิ่งคมชัด เอาภาพไป Crop เจาะดีเทลเล็กๆ ก็ยังคงรายละเอียดภาพไว้ได้ดี

– กล้องส่วนใหญ่จะมีความละเอียดสูงสุดอยู่ที่ 4K

– ความละเอียดที่นิยมใช้ในงานทั่วไปจะอยู่ที่ 1080p (Full HD)

📍 Note: วิดีโอที่มีความละเอียดสูง ส่งผลให้ภาพมีความละเอียดมากขึ้นก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ไฟล์วีดีโอใหญ่ขึ้นเช่นกัน จึงต้องใช้อุปกรณ์ที่สามารถรองรับไฟล์ขนาดใหญ่เพื่อความลื่นไหลในการทำงาน

เฟรมเรท (Framerate)

Redmi note 7 video 60 fps ม ก นส นไหม

เฟรมเรท (Framerate)

เฟรมเรทของวิดีโอ คือ ความเร็วในการบันทึกภาพใน 1 วินาที (frame per second / fps) เช่น 50 fps = ในหนึ่งวินาทีกล้องบันทึกภาพได้ 50 ภาพ

– ยิ่งเฟรมเรทสูง ก็ยิ่งทำให้ภาพลื่นไหลมากขึ้น หากนำภาพมาทำสโลโมชั่นก็จะได้ภาพที่ละเอียด และสมูทมากขึ้นด้วย

– เฟรมเรทที่นิยมใช้ในงานทั่วไปจะอยู่ที่ 25, 30, 60 fps (60 fps ถือว่าเผื่อทำสโลว์แบบ Cinematic ได้ในระดับนึงเลย)

– หากเน้นงาน Slow motion สวยๆก็อาจใช้เฟรมเรทที่สูงขึ้น เช่น 120, 240 fps

ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

Redmi note 7 video 60 fps ม ก นส นไหม

ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

– สำหรับการ ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับเฟรมเรท เช่น เฟรมเรท 60 fps ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/120 หรือ เฟรมเรท 25 fps ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/50 เป็นต้น

– หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วเกินไปจะทำให้การเคลื่อนไหวดูแข็ง ไม่ต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน หากนำภาพเคลื่อนไหวมาแคปเป็นรูปก็จะได้ภาพที่นิ่งกว่านั่นเอง

Picture Profile

Redmi note 7 video 60 fps ม ก นส นไหม

Picture Profile

คือ ลักษณะของแสงและสีที่เราใช้ในวีดีโอ ซึ่งในปัจจุบันแต่ละค่ายก็ทำออกมาหลากหลาย เพื่อตอบสนองการใช้งานในรูปแบบต่างๆ แต่หลักๆก็จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

👉🏽 Picture Profile ที่มีในกล้อง

  • โปรไฟล์สำเร็จรูปที่กล้องมีมาให้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น
  • ใช้งานง่าย สะดวก สามารถนำไฟล์ไปใช้ได้เลย

👉🏽 Log Profile

  • ไฟล์วีดีโอที่เก็บรายละเอียดแสงได้มากกว่าปกติ เพื่อเอาไปเกรดสีต่อ
  • โทนสีที่ได้ในวีดีโอจะดูซีดๆ ต้องนำไปเกรดสีก่อนใช้งาน
  • มักใช้ในงานที่ซีเรียสกับโทนสี

นอกจากนี้ยังมี Picture Profile รูปแบบอื่นๆด้วย เช่น HLG ของ Sony ที่เป็นลูกผสมระหว่างการเก็บแสงแบบ VDO ปกติ กับ Log Profile

ระบบโฟกัส

Redmi note 7 video 60 fps ม ก นส นไหม

ระบบโฟกัส

👉🏼 Auto Focus = ระบบโฟกัสอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับการทำงานของกล้อง

  • ใช้งานง่าย สะดวกสบาย เหมาะกับมือใหม่
  • อาจมีหลุดโฟกัสบ้างเป็นบางครั้ง เช่น เมื่อมีวัตถุเข้ามาบัง กล้องก็จะเปลี่ยนมาโฟกัสที่วัตถุนั้นแทนตัวแบบ เป็นต้น
  • มักใช้กับงานวิดีโอทั่วไป การตั้งกล้องถ่ายเอง เป็นต้น

👉🏼 Manual Focus = ระบบโฟกัสที่เราควบคุมเองได้

  • สามารถควบคุมโฟกัสได้ตามต้องการ
  • โฟกัสได้แม่นยำ ช่วยทำงานในจุดที่ออโต้โฟกัสทำได้ไม่ดี เช่น โฟกัสไม่เข้า โฟกัสวืดวาดไม่คงที่ เป็นต้น
  • ต้องมีคนคอยควบคุม

เป็นอย่างไรกันบ้างกับค่าต่างๆที่เกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอ ซึ่งนอกจากค่าพวกนี้แล้วยังมีรายละเอียดอีกหลายๆอย่างที่มีส่วนทำให้งานวิดีโอของเรามีคุณภาพมากขึ้นไปอีก แต่สำหรับมือใหม่ก็ลองทำความเข้าใจค่าพื้นฐานเหล่านี้ให้เชี่ยวชาญก่อน แล้วค่อยเรียนรู้ต่อยอดเพิ่มขึ้นไปทีละขั้น ค่อยๆเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ รับรองว่างานต้องดีขึ้นเรื่อยๆแน่นอนน

สั่งซื้อกล้องและอุปกรณ์ดิจิตอลได้ที่ https://www.digital2home.com

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของเรา