Www 1213 or th ทางด่วน แก้หนี้ ลงทะเบียน

“มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์” ขยายเวลาถึง 31 ม.ค.66 หลังลงทะเบียนทะลุ 1.2 แสนคน พร้อมเพิ่มประเภทสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ซึ่งมีการเปิดลงทะเบียน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์” ซึ่งเดิมจะหมดระยะเวลาการลงทะเบียน ในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่มีประชาชนสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จึงได้ขยายเวลาการลงทะเบียนออกไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 66

Www 1213 or th ทางด่วน แก้หนี้ ลงทะเบียน
Www 1213 or th ทางด่วน แก้หนี้ ลงทะเบียน

โดยลงทะเบียนได้ที่ www.bot.or.th/debtfair เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงโครงการได้อย่างครอบคลุมและสอดคล้องกับการจัดงานมหกรรมสัญจร ซึ่งจะสิ้นสุดสิ้นเดือนมกราคม นี้เช่นกัน

ปัจจุบัน มีลูกหนี้ธนาคารของรัฐ ลงทะเบียนออนไลน์เข้าร่วมโครงการแก้ไขหนี้แล้วกว่า 1.2 แสนคน ซึ่งขั้นตอนต่อไปกระทรวงการคลังจะคัดกรองอีกครั้งว่าเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินแห่งใดจากนั้นจะให้ลูกค้าเลือกว่าจะเดินทางมาที่บูธในงาน หรือเข้ารับการแก้ไขหนี้ที่สาขาธนาคาร หากมาที่งานก็จะได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ จากธนาคารที่เข้าร่วม

ทั้งนี้มีการเพิ่มประเภทสินเชื่อธุรกิจ (office) วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (house) วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้ตั้งแต่ 31 วันขึ้นไปก่อนวันที่ 31 ตุลาคม 65

นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า ขอเชิญชวนประชาชนที่มีปัญหาการชำระหนี้ ลงทะเบียน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์” ซึ่งมีสถาบันการเงิน/ผู้ให้บริการทางการเงิน ภาคเอกชนและภาครัฐ (SFIs) กว่า 60 แห่ง ครอบคลุม หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ จำนำทะเบียนรถ ที่อยู่อาศัย นาโนไฟแนนซ์ สินเชื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ หนี้ค่าประกันชดเชย บสย. หนี้ที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) และสินเชื่อของผู้ให้บริการทางการเงินภาครัฐ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร 1213 หรือจาก www.bot.or.th/debtfair

แบงก์ชาติสนับสนุนให้สถาบันการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึงในการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงของลูกหนี้

ในช่วงมาตรการเว้นระยะเพื่อลดการแพร่เชื้อ (social distancing) อาจทำให้การติดต่อกับสถาบันการเงินโดยตรงทำได้ไม่สะดวก "ทางด่วนแก้หนี้" เป็นช่องทางเสริมสำหรับประชาชนและธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ที่กำลังเดือดร้อนจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยแบงก์ชาติจะช่วยรับเรื่องและเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ติดต่อ หรือเจรจากับสถาบันการเงินในกรณีจำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้จากปัญหาโควิด 19

ใครที่ควรใช้ช่องทางนี้

ลูกหนี้ประชาชนและธุรกิจ SMEs ทั้งที่มียังเป็นลูกหนี้ดีสถานะปกติแต่ขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือเป็นหนี้เสีย หรือปรับโครงสร้างหนี้แล้ว

  • พยายามติดต่อสถาบันการเงินแล้วแต่ไม่สามารถติดต่อได้ เพราะช่วงนี้อาจมีผู้โทรติดต่อเข้าไปมาก
  • ติดต่อสถาบันการเงินแล้ว แต่เรื่องไม่คืบหน้า หรือข้อเสนอยังไม่ช่วยลดภาระได้จริง หรือยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกับสถาบันการเงินได้

ขั้นตอนการใช้งาน

  • แจ้งผ่านทางเว็บไซต์ทางด่วนแก้หนี้ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ลูกหนี้ต้องกรอกข้อมูล 1 รายการคำขอ ต่อสถาบันการเงิน 1 แห่ง
  • ให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และให้เบอร์ที่สามารถติดต่อกลับได้
  • หากไม่ได้รับการติดต่อกลับภายใน 15 วันหลังยื่นเรื่อง ให้โทรสอบถามศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213

ทั้งนี้ เมื่อลูกหนี้แจ้งข้อมูลผ่านเว็บไซต์ “ทางด่วนแก้หนี้” แล้ว เรื่องจะถูกส่งให้สถาบันการเงินเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามดุลยพินิจ หรือหากจำเป็นในบางกรณีแบงก์ชาติอาจช่วยหารือและไกล่เกลี่ยหาแนวทางที่พอจะทำได้ เพื่อช่วยให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ประโยชน์ร่วมกัน

 ทางด่วนแก้หนี้

FCCPageContent1

โปรดไปยังหน้าทางด่วนแก้หนี้ที่ปรับปรุงใหม่ >> https://www.1213.or.th/App/DebtCase/

FCCPageContent2

FCCPageContent3

FCCPageContent4

FCCPageContent5

ผู้จัดการบริการ

 

  • Your Name:*
  • Your Email:*
  • Your friend's Email:*
  • The Message text:
  • Additional text:

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ส่งผลให้รายได้ของประชาชนและภาคธุรกิจปรับลดลงอย่างมาก ดังนั้น การที่ผู้ให้บริการทางการเงิน (ผู้ให้บริการ) และลูกค้าสามารถตกลงและได้ข้อสรุปร่วมกัน ในเรื่องการผ่อนชำระหนี้ที่สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ในการนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงเปิดช่องทาง “ทางด่วนแก้หนี้” ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางเสริมสำหรับให้ประชาชนหรือธุรกิจแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการผ่อนชำระหนี้ โดย ธปท. จะส่งข้อมูลที่ได้รับไปยังผู้ให้บริการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป ขณะเดียวกันขอให้ผู้แจ้งขอความช่วยเหลือเตรียมพร้อมรับการติดต่อกลับด้วย

อย่างไรก็ตาม หากท่านประสงค์จะร้องเรียน แจ้งเบาะแส หรือสอบถามเรื่องอื่น สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 1213 อีเมล [email protected] หรือหน้าเว็บไซต์ www.1213.or.th