ใบงาน ที่ 2.1 1 เรื่อง การดูแล รักษา เสื้อผ้าและเครื่อง ประกอบ การ แต่งกาย

ความหมายและประโยชน์ของการดูแลเสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน

การดูแลเสื้อผ้า หมายถึง การทำความสะอาดและเก็บรักษาเสื้อผ้า โดยวิธีขจัดรอยเปื้อน ซัก ตาก รีด เก็บ พับหรือแขวนในถุงเก็บเสื้อหรือในตู้เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่วางจำหน่ายทั่วไปในปัจจุบัน มีการออกแบบและตัดเย็บจากผ้าหลายประเภท บางครั้งตกแต่งด้วยเลื่อมลูกปัดให้ดูหรูหรา ซึ่งการที่ผ้าแต่ละประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกัน และมีการตกแต่งหรูหราส่งผลให้ต้องดูแลอย่างถูกวิธีและใช้ความประณีตร่วมด้วย

การดูแลเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีและประณีตมีความสำคัญ ดังนี้

1. ทำให้เสื้อผ้าสะอาดไม่มีคราบสกปรกหรือมีกลิ่นเหม็นจากเหงื่อไคล

2. ป้องกันไม่ให้เกิดโรคผิวหนังอันเนื่องมาจากเสื้อผ้าสกปรก เช่น หิด กลาก เกลื้อน ผดผื่นคันเป็นต้น

3. ช่วยถนอมเนื้อผ้าให้ทนทานไม่เสื่อมสภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน

4. ส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้สวมใส่ให้ดูดีสง่างามเป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น

5. ผู้สวมใส่เกิดความมั่นใจ และภาคภูมิใจ

6. ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้เป็นคนรักความสะอาดมีระเบียบวินัยประณีตสวยงาม

1. การดูแลเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

1. ขณะสวมเสื้อผ้าต้องระมัดระวังไม่ให้เปรอะเปื้อนและการถูกของแหลมคมเกี่ยว

2. เมื่อถอดเสื้อควรแขวนไว้กับไม้แขวนเสื้อ ไม่ควรแขวนไว้บนตะขอหรือตะปูเพราะจะทำให้เสื้อ

เสียรูปทรงและฉีกขาดได้ง่าย แต่ถ้าเป็นเสื้อกันหนาวไม่ควรแขวนทิ้งไว้ เพราะว่าจะทำให้เสื้อยืดเสียรูปทรง

3. ในกระเป๋าเสื้อ ไม่ควรใส่ของที่หนักมาก เพราะจะทำให้กระเป๋าเสื้อเสียรูปทรงและฉีกขาดเร็ว

4. เมื่อถอดเสื้อผ้าออกจากตัว ควรตรวจดูรอนเปื้อน ถ้าเสื้อถูกรอยเปื้อนให้รีบขจัดรอยเปื้อนในทันที เพราะว่ารอยเปื้อนใหม่จะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าปล่อยทิ้งไว้นาน

5. หากพบว่าเสื้อผ้ามีส่วนที่ชำรุด ก่อนการนำไปทำความสะอาดควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน

6. เมื่อประกอบอาหารหรือทำกิจกรรมอื่นๆควรสวมผ้ากันเปื้อนทุกครั้ง

7. ก่อนการซักผ้าให้แยกผ้าสีและผ้า ควรแยกผ้าดังนี้

- ผ้าสีประเภทใยธรรมชาติ

- ผ้าสีประเภทใยสังเคราะห์

- ผ้าขาวประเภทใยธรรมชาติ

- ผ้าขาวประเภทใยสังเคราะห์

8. เสื้อผ้าที่สวมแล้วและเปียกเหงื่อ ควรแขวนไว้ให้หมดเหงื่อ หรือแขวนผึ่งไว้ในที่อากาศปลอดโปร่งเพื่อให้เหงื่อแห้ง ก่อนซัก

9. ถุงเท้าเมื่อสวมใส่แล้วต้องทำความสะอาดทุกครั้ง

10. เครื่องประกอบการแต่งกายควรทำความสะอาดอยู่เสมอ

2. การทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

1. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลรักษาเสื้อผ้า

1) สารซักฟอก สารซักฟอกที่เป็นทั้งผงและเป็นน้ำ ได้แก่ ผงซักฟอกและน้ำยาซักฟอก ใช้สำหรับซักผ้าหรือทำความสะอาดอื่นๆ

2) สารปรับผ้านุ่ม

3) สารฆ่าเชื้อโรค นิยมนำมาทำความสะอาดเสื้อผ้า เช่น น้ำมันสน สารฟอกขาว คลอรีน นิยมใช้ซักผ้าในห้องน้ำ ซักผ้าผู้ป่วยเป็นต้น

4) สารเพิ่มความขาวและสดใสของผ้า โดยนำครามไปผสมกับน้ำสุดท้ายเวลาซัก

5) สารตกแต่งผ้าให้แข็ง นิยมใช้กับผ้าที่ต้องการความคงรูป

6) สารกำจัดร้อยเปื้อน เช่น สารประเภทกรด จะทำลายผ้าที่ทอจากใยพืช ดังนั้น ในการใช้สารกำจัดรอยเปื้อน ควรเลือกใช้อย่างเหมาะสม

2. วิธีการกำจัดรอยเปื้อน

1) รอยเปื้อนหมึกดำ ถ้าเป็นรอยเปื้อนใหม่ๆ ให้ขยี้ในน้ำผสมสารซักฟอก ถ้ายังมีรอยเปื้อนตกค้างอยู่ให้ใช้กรดออกซาลิกผสมน้ำ หรือใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยแช่เฉพาะส่วนที่เปื้อน บีบมะนาวลงไปให้ชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที และนำไปผึ่งแดดประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปซักตามวิธีปกติ

2) รอยเปื้อนลิปสติก เช็ดด้วยคาร์บอนเตตราคลอไรด์ โดยกลับเอาด้านในออกด้านล่างรองด้วยผ้าฝ้ายซึมน้ำได้ดี และเช็ดทางด้านผิด แล้วนำไปซัก ด้วยน้ำร้อนผสมผงซักฟอก

3) รอยเปื้อนชา กาแฟ ถ้ารอยเปื้อนยังไม่แห้ง ให้นำแป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งฝุ่นโรยลงบนรอยเปื้อน เพื่อให้แป้งดูดซับรอยเปื้อนและทิ้งไว้ให้แห้ง ใช้แป้งปัดแป้งออกแล้วนำไปซักด้วยสารซักฟอกตามปกติหรือถ้าเป็นผ้าไหมหรือขนสัตว์ ให้เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ก็ได้

4) รอยเปื้อนเลือด ถ้าเป็นผ้าฝ้ายหรือลินินให้แช่น้ำ และใช้แอมโมเนียเจือจางเช็ดแล้วนำไปซัก หรือใช้แป้งมันผสมน้ำให้เข้มเหมือนแป้งเปียก ทาตรงส่วนรอยเปื้อน ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง แป้งมันจะทำหน้าที่ดูดซับรอบเปื้อน และนำไปซักตามปกติ

5) รอยเปื้อนหมากฝรั่ง ให้ใช้น้ำแข็งถูให้หมากฝรั่งจับตัว และใช้สันมีดขูดออก แล้วเช็ดด้วยสารละลายเปอร์คลอโรเอทิลีนหรือคาร์บอนเตตราคลอไรด์ หรือสารละลายอื่น

6) รอยเปื้อนน้ำผลไม้ กำจัดรอยเปื้อนด้วยสารฟอกขาวไฮเปอร์คลอไรด์หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือแช่ในน้ำร้อนแล้วซักด้วยสารซักฟอกตามปกติ

7) รอยเปื้อนน้ำมัน เช็ดออกด้วยเปอร์คลอโรเอทิลีนและซักในน้ำสบู่ หรือสารละลายอื่น หรือใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าฝ้ายที่ดูดซึมน้ำได้ดีรองด้านล่าง แล้วเทคาร์บอนเตตราคลอไรด์ลงไปที่รอยเปื้อนแล้วเช็ดด้วยสำลีหรือผ้าแห้ง และนำไปซักกับน้ำอุ่นที่ผมสารซักฟอก

8) รอยเปื้อนไอศครีม ให้เช็ดออกด้วยแอลกอฮอล์หรือต้มในน้ำผสมสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟต หรือนำไปซักในน้ำอุ่นผสมด้วยผงซักฟอก ถ้ายังเช็ดไม่หมดให้ใช้คาร์บอนเตตราคลอไรด์

9) ราใช้ผงชอล์กละลายน้ำทิ้งไว้ แล้วนำไปซักโดยวิธีปกติ หรือเช็ดออกด้วยสารฟอกขาวไฮเปอร์คลอไรด์

10) นม ครีม เช็ดออกด้วยสารฟอกขาวไฮเปอร์คลอไรด์ และซักในน้ำอุ่นผสมสารซักฟอก

11) ยางผลไม้ ให้ใช้สารส้มถูบริเวณรอยเปื้อน และนำไปซักด้วยสารซักฟอก

3. การซักผ้า

1. การซักผ้าด้วยมือ

วิธีนี้ใช้เวลา แรงงานมากกว่าซักด้วยเครื่องซักผ้าซึ่งข้อดีของการซักผ้าด้วยมือ คือ สามารถทำความสะอาดเฉพาะส่วนได้ดี

2. การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า

ปัจจุบันนิยมกันมาก เพราะว่าช่วยประหยัดเวลาและพลังงาน มีอยู่หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับผ้าที่ไม่พิถีพิถันในการซักหรือผ้าที่สกปรกมาก แต่ถ้าต้องการซักผ้าที่สกปรกมากให้สะอาด ก่อนการใช้เครื่องซักผ้าควรแปรงหรือขยี้ผ้าด้วยมือ หรือทาด้วยน้ำยาขจัดรอยเปื้อน เฉพาะส่วนที่สกปรกมาก

4. การปฏิบัติการซักผ้า

1. ก่อนการซักผ้า ให้สำรวจกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกงทุกตัว หากมีวัตถุสิ่งของตกค้างอยู่ให้เอาออกจากกระเป๋า หากมีเสื้อที่ชำรุดให้แยกออก และทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนนำไปซัก

2. แยกผ้าขาว ผ้าสี ออกจากกัน เสื้อเด็กและเสื้อผู้ใหญ่ควรแยกซัก เพราะเสื้อเด็กสกปรกมากกว่าเสื้อผู้ใหญ่

3. นำน้ำเปล่าผสมสารซักฟอกอย่างอ่อนใส่กะละมัง แช่ผ้าทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที โดยแยกระหว่างผ้าสีและผ้าขาว เพื่อให้น้ำผสมสารซักฟอกซึมเข้าไปในเนื้อผ้าและใยผ้าคายความสกปรกออกมา ในการแช่ผ้าไม่ควรนำกางเกงใน ถุงเท้า แช่ปนกับเสื้อ

4. ขยี้หรือแปรงเสื้อผ้าให้ทั่ว ส่วนที่สกปรกมากได้แก่ ปกเสื้อ ส่วนพับปลายแขน ขอบกางเกง ปากกระเป๋าให้แปรงขยี้จนสะอาด

5. บีบผ้าเอาน้ำสารซักฟอกออกมาควรบิดผ้าแรงๆ

6. ซักผ้าที่แปรงแล้ว 3-4 ครั้ง จนหมดน้ำสารซักฟอก

การซักผ้าขาว

ในการซักผ้าขาวควรแยก

ซักกับผ้าสี

1. น้ำเปล่าหรือน้ำผสมผงซักฟอกอ่อนๆใส่กะละมัง แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 -20 นาที

2. ศึกษาคุณสมบัติของผ้าก่อนทำการซัก ผ้าบางชนิดผสมใยสังเคราะห์ เมื่อถูกสารฟอกขาวจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ผ้าบางชนิดเมื่อขยี้แรงๆหรือถูไปมาแรงๆเนื้อผ้าจะเสียรูปทรงได้

3. สำหรับเสื้อผ้าที่สามารถแปรงได้ ให้ใช้แปรงเบาๆหลายครั้งในส่วนที่สกปรกมากให้ทั่ว ถ้าเป็นเสื้อเชิ้ตผู้ชายควรใช้วิธีแปรง ถ้าใช้วิธีขยี้จะทำให้ปกเสื้อเสียรูปทรง และในการแปรงผ้าถ้าแปรงแรงมากจะทำให้ผ้าขาดง่ายและเสียรูปทรง ส่วนผ้าที่เนื้อบางให้ใช้วิธีขยำ ถ้าจำเป็นต้องขยี้จะต้องขยี้ให้เบามือที่สุด

4. เมื่อซักสะอาดโดยการซักให้หมดสารซักฟอกแล้ว จึงลงสารแต่งผ้าตามต้องการและนำไปตากแดดโดยกลับเอาด้านในออก

การซักผ้าสี

1. เพื่อป้องกันสีตกและทำให้ผ้ามีสีสดใสขึ้น ให้นำน้ำเปล่าผสมเกลือ คนให้เกลือละลาย และนำผ้าลงแช่ประมาณ1ชั่วโมงโดยใช้น้ำประมาณ 4 ลิตร ต่อเกลือ1ช้อนโต๊ะ

2. นำผ้าไปแช่ในน้ำผสมสารซักฟอกอ่อนๆในกะละมัง แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15-20นาที

3. ซักวิธีเดียวกันกับการซักผ้าขาว แต่ไม่ต้องลงคราม

4. การตากผ้าสี ไม่ควรตากแดดจัด เพราะจะทำให้ผ้าสีซีดเร็ว ควรตากในที่ลมโกรกหรือที่มีแดดรำไร และกลับเอาผ้าด้านในออกเช่นเดียวกัน

5. การตากผ้า

1. แขวนเสื้อผ้าหรือกางเกงที่ต้องการ และใช้มือจัดรูปทรงดึงผ้าตึงเบาๆ เพื่อให้มีรอยยับน้อยที่สุดซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาในการรีด

2. เสื้อผ้าที่เป็นผ้าสี ควรตากในที่ล่มโกรก หรือแดดรำไร ไม่ควรตากแดดจัดเพราะว่าจะทำให้สีของผ้าเสื่อมสภาพ

3. การตากเสื้อยืด ถุงน่อง ไม่ควรตากโดยวิธีแขวน สำหรับเสื้อยืดควรวางพาดบนราวหลายเส้นเพราะว่าจะทำให้เสื้อไม่เสียรูปทรง

4. การตากผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัว ควรตากแดดและให้มีลมโกรก โดยวางพาดบนราวตากผ้าและให้ใช้ไม้หนีบไว้เพื่อกันการตกพื้น ซึ่งจะทำให้ผ้าไม่เหม็นอับชื้นและปราศจากเชื้อรา

5. รองเท้าผ้าใบสีขาว เพื่อป้องกันรอยด่างที่จะเกิดบนรองท้า เมื่อซักเสร็จแล้วก่อนตากควรนำกระดาษชำระสีขาววางปิดบนรองเท้า

6. การรีดผ้า

การรีดผ้าให้เรียบและมีอายุการใช้งานยาวนาน ควรยึดหลักการดังนี้

1. ในการรีดผ้า ควรรีดผ้าที่มีความชื้น เพราะว่าความชื้นจะทำให้เส้นใยอ่อนตัว เมื่อถูกความร้อนจึงทำให้ผ้าเรียบ

2. เตรียมผ้าและอุปกรณ์ให้พร้อม

3. เมื่อเสียบเตาไฟฟ้าใหม่ๆ อุณหภูมิเตรีดยังไม่ร้อนมาก เราสามารถรีดผ้าบางๆ ได้ก่อน4. ก่อนการีดผ้าควรปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับชนิดของผ้า เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าลินิน ซึ่งมีเนื้อหนาปานกลางให้รีดด้วยความร้อนปานกลาง หรือผ้าใยสังเคราะห์ควรรีดด้วยความร้อนต่ำ เป็นต้น

5. ในการรีดผ้าสีควรรีดด้านใน เพื่อป้องกันสีซีดหรือเก่าเร็ว

8. ก่อนการรีดผ้าขนสัตว์ ผ้าสักราด หรือเสื้อที่ทำด้วยไหมพรม ควรใช้ผ้าขาวปิดทับ

9. เมื่อรีดผ้า ควรรีดส่วนประกอบทีละส่วนตามลำดับ ดังนี้

- เมื่อรีดผ้า ควรรีดปก รีดตะเข็บ รีดตัว เสื้อด้านหน้า เสื้อด้านหลัง และแขนเสื้อ

- การรีดกางเกง ควรรีดขอบเอว กระเป๋าขา และตัวด้านหน้าและหลัง

- การรีดกระโปรง ควรรีดซับใน ขอบตะเข็บ และตัวระโปรงด้านหน้าและด้านหลัง

10.รีดผ้าครั้งละมากๆจะช่วยประหยัดกระแสไฟฟ้ามากกว่า

11.ถอดปลั๊กเตารีดเมื่อเสร็จแล้วทุกครั้ง ยังมีความร้อนสามารถรีดได้ประมาณ 1-2 ตัว

เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจะใช้ได้อย่างคุ้มค่าและยาวนานนั้น ผู้สวมใส่จะต้องรู้จักดูแลรักษาและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เริ่มตั้งแต่รู้จักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดได้อย่างเหมาะสม รู้จักกำจัดรอยเปื้อน รวมถึงสามารถซักรีดเสื้อผ้า ตากผ้าได้อย่างถูกวิธี อันจะส่งผลให้สามารถเลือกใช้เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายได้อย่างคุ้มค่าและยาวนาน

ที่มา: http://www.hartotop.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539568130หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด