เฉลย ใบงานที่ 7 เรื่อง การสรุป หลักการพูดแสดงความรู้และความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู

ใบความรู้  ครั้งที่ 1

เรื่อง  สรุปความ จับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู

การฟังและดูเพื่อจับประเด็นและสรุปความ

          การจับประเด็นหมายถึง การจับข้อความสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่อง

ความหมายของการสรุปความ

          การสรุปความ  คือ  การหยิบยกเอาความคิดหลักหรือประเด็นที่สำคัญของเรื่องมากล่าวย้ำให้เด่นชัด โดยใช้ประโยคสั้นๆ แล้วเรียบเรียงให้เป็นระเบียบ

มารยาทในการฟังและดู

          1.  มองสบตาผู้พูด  ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น  อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูดและไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟังหรือดู

          2.  รักษาความสงบ ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น  ไม่เอาของขบเคี้ยวเข้าไปทำลายสมาธิของผู้อื่น  การชมภาพยนตร์ควรปิดโทรศัพท์มือถือจะได้ไม่รบกวนความสุขของผู้อื่น  ไม่ควรพาเด็กเล็กๆไปในโรงภาพยนตร์หรือในที่ที่ต้องการความสงบ

          3.  แสดงกิริยาอาการที่เหมาะสม  วัยรุ่นไม่ควรนั่งเกี้ยวพาราสีกันในที่สาธารณชนที่ต้องการความสงบในการฟังและการดู  เพราะนอกจากจะรบกวนสายตาคนอื่นแล้วยังเป็นการแสดงกิริยาที่ขัดต่อขนบธรรมเนียมของไทยอีกด้วย

          4.  ในการดูภาพไม่ควรขีดเขียนหรือฉีกภาพซึ่งแสดงถึงความไม่มีวัฒนธรรมที่ดีงาม

หลักการฟังและดูเพื่อสรุปความและจับประเด็น

          การฟังและดูเพื่อจับประเด็นและสรุปความ เป็นทักษะเบื้องต้นที่ทุกคนจะต้องฝึกฝน  เราจะต้องติดตามฟัง ดูเรื่องราวโดยตลอด  ดังนั้นจึงต้องมีสมาธิในการฟังและสามารถแยกแยะได้ว่าข้อความใดเป็นใจความสำคัญ และข้อความใดเป็นพลความ  ถ้าเราเข้าใจเรื่องราวได้โดยตลอดแล้วเราย่อมจดจำเรื่องราวที่ฟังและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นฟังได้ด้วย

          ในการฟังแต่ละครั้ง  เราต้องจับประเด็นของเรื่องที่ฟังได้ คือ รู้ว่าผู้พูดต้องการสื่อสารอะไร เป็นประเด็นสำคัญ  และรู้จักว่าอะไรคือประเด็นรองซึ่งขยายประเด็นสำคัญ  การฟังเช่นนี้เป็นการฟังเพื่อจับใจความสำคัญและใจความรองและรายละเอียดของเรื่อง  มีวิธีการฟังดังนี้

          1. ฟังเรื่องราวให้เข้าใจ  พยายามจับใจความสำคัญของเรื่องเป็นตอนๆ ว่าเรื่องอะไร  ใครทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร

          2. ฟังเรื่องราวที่เป็นใจความสำคัญแล้วหารายละเอียดของเรื่องที่เป็นลักษณะปลีกย่อยของใจความสำคัญ  หรือที่เป็นส่วนขยายใจความสำคัญ

สรุปความโดยรวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญอย่างครบถ้วน

          วิธีการสรุปความจากการฟังนั้น  เราจะต้องค้นหาให้พบว่าสารใดเป็นความคิดสำคัญในเรื่องนั้นๆ  แล้วสรุปไว้เฉพาะใจความสำคัญ  โดยเขียนชื่อเรื่อง  ผู้พูด  โอกาสที่ฟัง  วัน  เวลา  และสถานที่ที่ได้ฟังหรือดูไว้เป็นหลักฐานเครื่องเตือนความทรงจำต่อไป

          การฟังและดูเพื่อจับประเด็นและสรุปความ  เป็นการฟังในชีวิตประจำวันเพื่อให้ได้สาระสำคัญของเรื่องที่ฟัง  เช่น  ฟังการสนทนา  ฟังเรื่องราวข้อมูลข่าวสารต่างๆ  ฟังโทรศัพท์  ฟังประกาศ  ฟังการบรรยาย  ฟังการอภิปราย  ฟังการเล่าเรื่อง  เป็นต้น

วิธีสรุปความตามลำดับขั้น

          1.  ขั้น อ่าน  ฟัง  และดู

                   - อ่าน  ฟังและดูให้เข้าใจอย่างน้อย  2  เที่ยว  เพื่อให้ได้แนวคิดที่สำคัญ

          2. ขั้นคิด

                   -  คิดเป็นคำถามว่าอะไรเป็นจุดสำคัญของเรื่อง

                   -  คิดต่อไปว่า  จุดสำคัญของเรื่องมีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง  จดสิ่งนั้นๆ  ไว้เป็นข้อความสั้นๆ

                   -  คิดวิธีที่จะเขียนสรุปความให้กะทัดรัดและชัดเจน

          3. ขั้นเขียน

                   - เขียนร่างข้อความสั้นๆที่จดไว้

                   - ขัดเกลาและตบแต่งร่างข้อความที่สรุปให้เป็นภาษาที่ดีสื่อความหมายได้แจ่มแจ้งชัดเจน

ตัวอย่างการสรุปความ    เรื่อง  เราคือบทเรียนของเด็ก

          การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต  ทุกคนเกิดมาจะโง่  จะฉลาด  จะดีจะชั่วขึ้นอยู่กับการศึกษา  พ่อแม่ทุกคนปรารถนาจะให้บุตรหลานของตนเป็นคนดี  จนถึงกับยอมทนลำบากตรากตรำทำการงานหาทรัพย์สินเงินทองมาเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของบุตรหลาน  นับว่าเป็นหน้าที่และสิ่งที่ควรได้รับการยกย่องในการเสียสละนั้น

          แต่ยังมีสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิตเด็ก  ก็คือบทเรียนอันเป็นจริยศึกษาซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ผู้ปกครองของเด้ก นั่นคือการประพฤติปฏิบัติดีงาม  เพราะสิ่งที่เด็กได้ยินได้ฟัง  ได้รู้ได้เห็นจากพ่อแม่ผู้ปกครองของตน  เช่นการพูดจาไพเราะ  การงานเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นต้น  สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนอย่างสำคัญ ที่จะซึมซาบเข้าไปในจิตใจของเด็กดียิ่งกว่าหนังสือบทเรียนอื่นๆ นั้นเป็นการให้การศึกษาที่มีค่ายิ่ง เป็นการปลูกสร้างนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก

          ถ้าพ่อแม่  ผู้ปกครองเป็นคนดี  มีนิสัยดี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีเมตตา  มีความยุติธรรม  มีความรัก  ความสามัคคีในครอบครัว  เป็นแบบอย่างที่ดี  ก็จะทำให้เด็กเอาอย่างในทางดี  เป็นคนดีของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง  สมความปรารถนาทุกประการ  ถ้าปรารถนาดี  หวังดีต่อบุตรหลาน  อย่าเพียงแต่จะให้ทุนการศึกษาอย่างเดียว  ต้องทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี  เป็นบทเรียนที่มีค่าของบุตรหลานด้วย  แล้วความปรารถนาของเราก็จะสมหวัง  :  จาก  “แสงธรรม”  ของมูลนิธิ  ก.ศ.ม.

การสรุปความ

          1. ขั้นอ่าน  ฟัง และ คิด  จับแนวคิดได้ดังนี้  “ พ่อแม่ หาเงินทองมาให้ลูกเรียนอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกด้วยจึงจะนับว่าได้ให้การศึกษาที่ถูกต้องแก่ลูก”

          2. ขั้นเขียน

                   2.1  ข้อความที่จดไว้ช่วยจำ  “การศึกษา  เรื่องสำคัญ – คนจะดีจะชั่ว  โง่ ฉลาดเพราะการศึกษา  พ่อแม่หาเงินมาให้ลูกเรียนเสียสละควรยกย่อง  สิ่งที่มีค่าต่อเด็ก – บทเรียนจริยศึกษา  คุณธรรม  การปฏิบัติตนดีงาม เป็นตัวอย่างที่ดี   รักลูกต้องทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย”

                   2.2  ข้อความที่สรุปแล้ว  “การศึกษามีความสำคัญต่อชีวิตเด็ก  เพราะสามารถทำให้เด็กฉลาดและเป็นคนดีได้ พ่อแม่ที่รักลูก  อยากให้ลุกเป็นคนดีนั้น ไม่ควรจะพอใจเพียงการทำหน้าที่หาเงินมาให้ลูกเรียนเท่านั้น  แต่ควรคำนึงถึงบทเรียน จริยศึกษาอันมีคุณค่ายิ่งต่อชีวิตของเด็ก  อันได้แก่การที่พ่อแม่เป็นผู้มีคุณธรรมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในทางที่ดีงามแก่ลูกด้วย”    

ที่มา  :  http://www.kr.ac.th/ebook/songsri/b4.htm

ใบงาน  ครั้งที่ 1

เรื่อง  สรุปความ จับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู

คำชี้แจง  ให้นักศึกษา กศน.ตำบล  เรียนรู้จากใบความรู้  หรือศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นที่สนใจ และตอบคำถามในใบงานดังต่อไปนี้

1. ให้นักศึกษาวิเคราะห์หลักสำคัญของการ “จับประเด็นสำคัญของการฟังและการดู” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 1 ตัวอย่าง

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ชื่อ................................................................... ระดับชั้น  ................................ วันที่ ...........................................

ใบความรู้  ครั้งที่ 2

เรื่อง  การวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น  และสรุปความ

1. การวิเคราะห์ผู้ฟัง (Audience Analysis)

          ผู้พูดจะต้องรู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร สนใจเรื่องใดและมีความสามารถในการฟังมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้เตรียมเนื้อหาสาระ การใช้ถ้อยคำและวิธีการพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟังต่อไปการวิเคราะห์ผู้ฟังควรพิจารณาสิ่งสำคัญ ดังนี้

                   ก. วัย  เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการวิเคราะห์ผู้ฟัง ผู้พูดต้องทราบก่อนว่ากลุ่มผู้ฟังอยู่ในวัยไหน เพราะวัยช่วยชี้ขอบข่ายประสบการณ์ ความสนใจ และความต้องการได้เป็นอย่างดี คนแต่ละวัยจะมีความสนใจ ความต้องการ และความสามารถในการรับรู้เรื่องราวต่างกัน

                   ข. เพศ  ผู้พูดต้องวิเคราะห์ดูว่าผู้ฟังเป็นเพศหญิงหรือเพศชายหรือมีทั้งหญิงและชายและเพศใดมีจำนวนมากกว่ากัน ทั้งนี้เพราะเพศหญิงและเพศชายจะมีความคิด ความสนใจ และรสนิยมต่างกัน

                   ค. จำนวนผู้ฟัง ถ้ากลุ่มผู้ฟังเป็นกลุ่มเล็ก ผู้พูดต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์กับผู้ฟังเป็นอย่างมาก แต่ถ้าผู้ฟังเป็นกลุ่มใหญ่จำนวนมาก ผู้พูดอาจสร้างความสัมพันธ์กับผู้ฟังให้น้อยลง คนฟังที่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่เพียงใด ความเป็นตัวของตัวเองจะลดน้อยลงตามลำดับเมื่อมีอารมณ์ร่วมของกลุ่ม ถ้าจัดให้ผู้ฟังรวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่นจะดีกว่านั่งฟังกระจัดกระจายห่างกัน (วิจิตร  อาวะกุล, 2544 :13) นอกจากนี้ถ้ามีเอกสารแจก การทราบจำนวนผู้ฟังจะทำให้สามารถนำเอกสารไปแจกได้อย่างทั่วถึง

                   ง. อาชีพ อาชีพและรายได้เป็นส่วนหนึ่งที่สัมพันธ์กับความรู้ความสนใจของผู้ฟัง ผู้พูดต้องพิจารณาอาชีพของกลุ่มผู้ฟัง เพื่อจะเลือกเรื่องที่ตรงกับความสนใจ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน และในชีวิตประจำวันได้โดยตรง ผู้ฟังที่มีอาชีพเดียวกันจะมีความสนใจในเรื่องต่าง ๆ คล้ายกัน

                   จ. ระดับการศึกษา การพิจารณาระดับการศึกษาของผู้ฟัง จะทำให้ทราบประสบการณ์ความสนใจ ความรู้สึกนึกคิด และความสามารถในการฟัง ผู้ที่มีการศึกษาต่างกันจะสนใจเรื่องต่างกัน ผู้ที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันจะเข้าเรื่องที่ฟังได้ช้าหรือเร็วไม่ต่างกันมากนัก และมีแนวโน้มว่าผู้ที่มีการศึกษาสูง ประสบการณ์มาก จะรับรู้และเข้าใจเรื่องราวได้เร็ว แต่อาจโน้มน้าวใจยากกว่าผู้มีการศึกษาน้อย การพูดให้ผู้มีการศึกษาสูงฟัง ควรหาเหตุผล ทฤษฎีและหลักการมากกว่าผู้มี การศึกษาน้อย ซึ่งผู้มีการศึกษาน้อยอาจยกเหตุผล ทฤษฎีและหลักการพอสมควร แต่เน้นเรื่อง จิตวิทยาให้มาก

                   ฉ. ทัศนคติ ทัศนคติของผู้ฟังมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จในการพูด ซึ่งสามารถแยกได้ 2 ประเด็น คือ ทัศนคติต่อเรื่องที่พูด และทัศนคติต่อตัวผู้พูด ถ้าผู้ฟังมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องที่พูด และต่อตัวผู้พูด จะทำให้บรรยากาศในการพูดเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่มุ่งหวังไว้ได้ง่าย ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ฟังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อเรื่องที่พูดและต่อตัวผู้พูดแล้ว ผู้ฟังจะไม่สนใจและไม่ให้ความร่วมมือในการฟัง ซึ่งจะทำให้การพูดประสบความสำเร็จได้ยาก

                   ช. ความมุ่งหวัง ความมุ่งหวังเป็นวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งของผู้ฟัง ซึ่งแต่ละคนย่อมมีความมุ่งหวังบางสิ่งบางอย่างจากการฟัง เช่น ต้องการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ต้องการฟังเพื่อผ่อนคลายสบายใจ หรือต้องการฟังเพื่อทราบความคิดเห็นของผู้พูด ถ้าผู้ฟังไม่ได้รับการตอบสนองตามสิ่งที่มุ่งหวังย่อมจะไม่สนใจฟัง หรือเกิดความรู้สึกในด้านลบต่อผู้พูดได้ ดังนั้นผู้พูดต้องวิเคราะห์ความมุ่งหวังของกลุ่มผู้ฟัง เพื่อจะได้เตรียมเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับความมุ่งหวังของกลุ่มผู้ฟังให้มากที่สุด

                   ซ. ขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้ฟังแต่ละคนจะมีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ผู้พูดต้องศึกษาวิเคราะห์ให้ดีก่อนพูด เพราะการพูดที่ไม่ระมัดระวัง ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ หรือ ค่านิยมของผู้ฟัง จะทำให้ผู้ฟังมีทัศนคติที่ไม่ดี หรือทำให้การพูดล้มเหลวทันที ในทางตรงกันข้ามถ้าสามารถ

พูดให้ ผู้ฟังรู้สึกว่าผู้พูดมีความเชื่อและค่านิยมที่เหมือนกันหรือคล้ายกับผู้ฟัง จะทำให้ผู้ฟังพอใจและบรรลุผลสำเร็จในการพูดง่ายขึ้น

          วิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด  การวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูดควรพิจารณาสิ่งสำคัญ ดังนี้

                   ก. โอกาส ผู้พูดต้องวิเคราะห์ดูว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดในโอกาสต่างกันย่อมมีวิธีการพูดที่ไม่เหมือนกัน เช่น พูดในโอกาสที่เป็นทางการ ภาษาที่ใช้ต้องเป็นทางการ มุขตลกหรืออารมณ์ขันต้องน้อยลง แต่ต้องสุภาพ สำรวมให้มากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การกล่าวปิดงาน และการแสดงปาฐกถา เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ อาจใช้ภาษากึ่งทางการมีลีลาการพูดที่สนุกสนานมากขึ้น

                   ข. ระยะเวลา เรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญ ผู้พูดควรพูดตามเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดไม่ควรจบก่อนเวลามากเกินไปและไม่ควรพูดเกินเวลาที่กำหนดไว้ การพูดเกินเวลาจะมีผลกระทบต่อผู้พูดคนอื่นที่รอคอยอยู่ หรือถ้าจบก่อนเวลาอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าผู้พูดเตรียมข้อมูลมาน้อย อย่างไรก็ตามควรพิจารณาช่วงเวลาในการพูดด้วย ช่วงเวลาที่ต่างกันจะมีผลต่อการรับรู้ของผู้ฟัง เช่น  ช่วงเช้าผู้ฟังส่วนใหญ่ยังสดชื่น สมองปลอดโปร่ง สามารถรับรู้เรื่องราวได้ดี ช่วงเที่ยงคนฟังส่วนใหญ่จะขาดสมาธิ กระสับกระส่ายเนื่องจากถึงเวลารับประทานอาหาร ช่วงบ่ายบางคนเริ่มอ่อนเพลีย ง่วงและเบื่อหน่าย ดังนั้นผู้พูดต้องเตรียมข้อมูล มุขตลก และลีลาการพูดที่น่าสนใจเพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

                   ค. สถานที่  สถานที่ที่จัดให้พูดมีความสำคัญต่อผู้พูด ผู้พูดต้องทราบล่วงหน้าว่าจะไปพูดที่ไหน สถานที่นั้นเป็นอย่างไร มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากน้อยเเค่ไหน เพื่อจะเตรียมโสตทัศนูปกรณ์ให้เหมาะกับสถานที่นั้น เช่น ถ้าพูดที่โรงแรมหรือห้องประชุมของหน่วยงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก สามารถเตรียมอุปกรณ์หรือสื่ออิเล็คทรอนิคไปได้เกือบทุกชนิด แต่ถ้าในชนบทที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงหรือที่กลางแจ้ง การใช้สื่ออิเล็คทรอนิคบางชนิดจะไม่สะดวก อาจใช้เครื่องขยายเสียงเป็นหลัก

2. การวางแผนการพูด

          การวางแผนการพูด เป็นการนำผลจากการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ วิเคราะห์ผู้ฟังและวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด มาพิจารณาดูว่าจะนำเสนอเรื่องใดจึงจะเหมาะสม จะหาข้อมูลด้วยวิธีการใดจึงจะได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งกว้างขวาง แล้ววางโครงเรื่อง จัดลำดับขั้นตอนการพูด และเขียนต้นฉบับการพูดต่อไป

          2.1 การเลือกเรื่องและค้นคว้าข้อมูล  การเลือกเรื่องในการพูดมีแนวทางสำคัญดังนี้

                   1. เลือกเรื่องที่เหมาะกับผู้ฟังและสถานการณ์ในการพูด

                   2. เลือกเรื่องที่ผู้พูดมีความรู้ ความชำนาญ และมีประสบการณ์อย่างเพียงพอ

                   3. เลือกเรื่องที่น่าสนใจ มีคุณค่ามีสาระประโยชน์ ถ้าเป็นการแสดงทรรศนะควรเป็นทรรศนะในเชิงสร้างสรรค์ ที่มีผลดีต่อส่วนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นทรรศนะที่แปลกใหม่จะน่าสนใจมากขึ้น

                   4. เรื่องที่พูดต้องมีเนื้อหาไม่กว้างจนเกินไป เพราะการพูดมีเวลาจำกัดไม่สามารถพูดได้อย่างกว้างขวางทุกประเด็น

                   5. เรื่องที่พูดต้องมีกรอบหรือขอบเขตที่พอเหมาะ ทั้งนี้เพราะผู้ฟังแต่ละกลุ่มจะมีความสามารถในการฟังไม่เท่ากัน ผู้มีความรู้สูงประสบการณ์มากจะสามารถรับฟังเรื่องที่ลึกซึ้งกว้างขวางมากกว่าผู้ที่มีความรู้น้อยหรือมีประสบการณ์ไม่มากนัก

                   6. ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาค้นคว้า จะต้องสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้เมื่อผู้พูดเลือกเรื่องในการพูดได้แล้ว จะต้องค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และความคิด เพื่อใช้ในการพูดต่อไป โดยจะต้องค้นคว้าข้อมูลอย่างลึกซึ้งกว้างขวาง ยิ่งได้ข้อมูลมากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น เพื่อจะได้เลือกข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด มีเหตุมีผล สามารถนำไปอ้างอิงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นข้อมูลที่ทันสมัยทันเหตุการณ์ จะน่าสนใจมากขึ้น ข้อมูลต่าง ๆ  เหล่านี้จะทำให้เนื้อหาสาระมีความชัดเจน และเข้าใจง่าย

          2.2  การวางโครงเรื่อง  เมื่อเลือกเรื่องและค้นคว้าข้อมูลที่จะใช้พูดแล้ว จึงวางโครงเรื่องเพื่อช่วยกำหนดกรอบหรือแนวทางการพูดว่า เรื่องที่พูดมีหัวข้อใดบ้าง มีประเด็นสำคัญหรือรายละเอียดปลีกย่อยอย่างไร เพื่อให้การพูดมีความกระชับรัดกุม ตรงประเด็น และมีเนื้อหาครบถ้วนตามที่ต้องการ

          2.3  การจัดลำดับขั้นตอนการพูด การจัดลำดับขั้นการพูดที่เหมาะสม จะทำให้ผู้ฟังติดตามเรื่องและเข้าใจเรื่องได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนการพูดมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

                   ก. คำปฏิสันถาร

                   ข. คำนำ

                   ค. เนื้อเรื่อง

                   ง . บทสรุป

                   จ. คำลงท้าย (จะมีหรือไม่มีก็ได้)

ก. คำปฏิสันถารหรือคำทักทาย (Greeting the Audience)  

          ก่อนพูดทุกครั้งผู้พูดต้องกล่าวคำปฏิสันถารหรือทักทายผู้ฟังเสมอ การปฏิสันถารก่อนพูดถือเป็นมารยาทอย่างหนึ่งในสังคม เป็นการยกย่องให้เกียรติ และช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้รู้สึกคุ้นเคยเป็นกันเองมากขึ้นไม่ประหม่าหรือตื่นเต้นมากนัก และช่วงเวลาที่กล่าวคำปฏิสันถารผู้พูดยังมีโอกาสคิดเรียบเรียงข้อความประโยคแรกที่จะกล่าวในคำนำ ซึ่งจะช่วยให้การขึ้นคำนำดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้การปฏิสันถารที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดี  คำปฏิสันถารสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ คำปฏิสันถารที่เป็นพิธีการและคำปฎิสันถารที่ไม่เป็นพิธีการ

          1. คำปฏิสันถารที่เป็นพิธีการ จะใช้ในงานพิธีการหรืองานที่เป็นทางการ เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การกล่าวคำปราศรัย เป็นต้น นิยมเรียกเฉพาะตำแหน่งของผู้ร่วมงานโดยไม่ใส่คำแสดงความรู้สึก ที่เคารพ ที่นับถือ หรือที่รัก เช่น "ท่านประธานและแขกผู้มีเกียรติ" หรือ "ท่านประธานและสมาชิกทุกท่าน" เป็นต้น

          2. คำปฏิสันถารที่ไม่เป็นพิธีการ จะใช้ในงานที่ไม่เป็นทางการ เช่น การกล่าวแสดงความยินดีโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น คำปฏิสันถารที่ไม่เป็นทางการมักจะใส่คำแสดงความรู้สึกในช่วงท้าย เช่น "สมาชิกที่เคารพ" หรือ "พี่น้องเพื่อนร่วมงานที่รักทุกท่าน" เป็นต้น

วิธีการปฏิสันถาร  การปฏิสันถารมีวิธีการที่สำคัญ ดังนี้

          1. พยายามพูดให้สั้นและกระชับที่สุด โดยเรียงลำดับความสำคัญ เช่น "ท่านประธานและสมาชิกทุกท่าน" หรือ "ท่านคณบดีและคณาจารย์ที่เคารพ"

          2. ใช้สรรพนามแทนผู้ฟังไม่เกิน 3 กลุ่ม ถ้ามี 2 กลุ่ม ใช้คำว่า "และ" เชื่อมระหว่างกลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 2 เช่น "ท่านนายกสมาคมและแขกผู้มีเกียรติ" ถ้ามี 3 กลุ่ม ใช้ "และ" เชื่อม ระหว่างกลุ่มที่ 2 กับ กลุ่มที่ 3 เช่น "ท่านประธาน ท่านรองประธาน และแขกผู้มีเกียรติ"

          3. ถ้ามีพระภิกษุสงฆ์ร่วมฟังด้วย ต้องกล่าวปฏิสันถารพระภิกษุสงฆ์ก่อนแล้วจึงทักทายผู้ฟังทั่วไป โดยใช้คำปฏิสันถารว่า "นมัสการพระคุณเจ้า" หรือ "พระคุณเจ้า" เช่น "พระคุณเจ้า ท่านประธานและสมาชิกที่เคารพ"

          4. คำปฏิสันถารโดยทั่วไปไม่ใช้คำว่า "เรียน" หรือ "กราบเรียน" ทั้ง 2 คำนี้จะใช้เมื่อต้องการกล่าวรายงานเท่านั้น

          5. คำปฏิสันถาร "สวัสดี" อาจใช้ในการพูดที่ไม่เป็นพิธีการแต่การพูดที่เป็นพิธีการจะไม่นิยมใช้

ข. คำนำ (Introduction)

          คำนำเป็นการเกริ่นนำหรือนำผู้ฟังเข้าสู่เรื่อง เพื่อเรียกร้องให้ผู้ฟังสนใจเรื่องที่พูด "การเรียกร้องความสนใจหรืออารัมภบท บางทีก็เรียกว่าการเบิกโรงหรือจุดประทัดของ การพูด คือ การจุดไฟของการพูดให้ลุกขึ้น แล้วกระพือความกระตือรือร้นให้ถึงจุดสุดยอด โดยมีหลักการว่า ถ้าจะพูดเรื่องใด เราจะไม่รีบพูดเข้าตัวเรื่องเลย แต่ควรจะเตรียมผู้ฟัง เร้าอารมณ์เรียกความสนใจของผู้ฟังเสียก่อน เพื่อให้เป็นการเริ่มเรื่องและนำเข้าสู่เรื่อง เพราะถ้าสามารถทำให้ผู้ฟังได้สนใจ ในจุดนี้ได้แล้ว ก็จะสามารถดึงความสนใจของผู้ฟังในเรื่องที่เราจะพูดต่อไปได้ดี" (วิจิตร อาวะกุล, 2544 : 32)

ข้อควรระวังในการขึ้นคำนำ  การขึ้นคำนำมีข้อควรระวังที่สำคัญ ดังนี้

                   1. ไม่พูดออกตัว เพราะจะทำให้ผู้ฟังขาดความมั่นใจในตัวผู้พูด

                   2. ไม่กล่าวคำขอโทษหรือพูดในทำนองว่าการพูดครั้งนี้อาจไม่ดีนัก เพราะจะทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธาและรู้สึกผิดหวังตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มฟัง

                   3. ไม่พูดถ่อมตัวมากเกินไป จนทำให้ผู้ฟังขาดความเลื่อมใสศรัทธาในตัวผู้พูด

                   4. ไม่พูดวกวน เกริ่นนำไกลตัวหรือดูนอกเรื่อง จนโยงเข้าสู่เรื่องได้ยาก

                   5. ไม่ก้าวร้าวดูหมิ่นผู้ฟัง การพูดลักษณะนี้จะทำให้ผู้ฟังไม่พอใจและไม่ประสงค์จะฟังเรื่องที่พูด

ค. เนื้อเรื่อง (Body)

          เนื้อเรื่องเป็นส่วนสำคัญในการพูด ผู้พูดต้องเตรียมเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์ในการพูด โดยใช้เวลาประมาณ  80 – 85 เปอร์เซ็นต์  เนื้อเรื่องต้องมีความเหมาะสมกลมกลืนกับคำนำและบทสรุป มีเป้ าหมายในการพูด ดำเนินเรื่องเป็นขั้นตอนเข้าใจง่าย สามารถเน้นประเด็นสำคัญได้อย่างชัดเจน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่เน้นรายละเอียดมากกว่าสาระสำคัญ และไม่พูดวกวนไปมา อย่างไรก็ตาม โดยปกติผู้พูดมักให้ความสนใจเนื้อเรื่องน้อยกว่าคำนำและบทสรุป  การเตรียมเนื้อเรื่องจะต้องเตรียมไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด ให้ยืดหยุ่นได้ตามเวลา และเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นขณะพูด ซึ่งมีแนวทางสำคัญสรุปได้ดังนี้ (ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์, 2543: 54-55)

          1. พูดไปตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ อย่าวกวนกลับไปกลับมาจนจับต้นชนปลายไม่ถูก

          2. เน้นจุดมุ่งหมายของเรื่องเพียงจุดเดียว อย่ายกเหตุผลค้านกันเองในตัว ผู้ฟังจะไม่เข้าใจว่าต้องการอะไรกันแน่

          3. เร้าความรู้สึกของผู้ฟังให้มากขึ้น ๆ ตามลำดับ โดยเรียงลำดับเหตุการณ์หรือยกตัวอย่างอุทาหรณ์ที่เบา ๆ ไว้ตอนต้น และหนักขึ้น ๆ เรื่องที่คิดว่าจะเร้าความสนใจได้สูงสุดให้เก็บไว้ตอนท้าย ๆ

          4. อย่าออกนอกประเด็นหรือนอกเรื่องที่ตั้งไว้ ในขณะเตรียมต้องเหลือบดูหัวข้อย่อย ๆ ว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไรอยู่

          5. พร้อมที่จะตัดทอนหรือเพิ่มเติมขยายความได้ในกรณีจำเป็น โดยที่เนื้อเรื่องไม่เสีย วิธีการคือ จดเฉพาะหัวข้อเพื่อช่วยความจำ จะขยายความมากหรือน้อยแล้วแต่เวลาและเหตุการณ์เฉพาะหน้า

ง. การสรุป (Conclusion)

          การสรุปเป็นการปิดเรื่องราวที่พูดมาทั้งหมด เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ จดจำเรื่องที่ฟังได้ตลอดไป บทสรุปจะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับคำนำและเนื้อเรื่อง การสรุปที่ดีต้องเป็นการจบที่สมบูรณ์และราบรื่น สรุปจบได้พอเหมาะกับเวลาที่กำหนด โดยอาจยุติก่อนเวลาเล็กน้อยแต่ไม่ควรพูดเกินเวลาเป็นอันขาดการสรุปไม่ใช่การทบทวนเรื่อง การสรุปไม่ใช่การย่อความเรื่องที่พูดมาทั้งหมด การสรุปไม่ใช่การกระทำเพราะสาเหตุของการหมดเวลา แต่การสรุปคือ การจบตามแบบแผนหรือโครงสร้างการพูดที่วางไว้ (จิตรจำนงค์ สุภาพ, 2528 : 94)

ข้อควรระวังในการสรุป  การสรุปมีข้อควรระวังที่สำคัญ ดังนี้

          1. ไม่พูดออกตัวหรือกล่าวคำขอโทษ ผู้พูดบางคนไม่ได้พูดออกตัวหรือกล่าวคำขอโทษในการขึ้นคำนำ แต่มากล่าวในการสรุป

          2. ไม่นำเรื่องใหม่มากล่าวเพิ่มเติม การสรุปคือการสรุปสิ่งที่กล่าวมาแล้วสิ่งที่ไม่ได้กล่าวในเนื้อเรื่อง ไม่ควรนำมากล่าวในบทสรุป

          3. ไม่กล่าวในทำนองว่าเรื่องที่พูดจบแล้ว จะสรุปอะไรก็พูดตามที่เตรียมมาเพราะผู้ฟังจะทราบอยู่แล้ว

          4. ไม่กล่าวแสดงความหวังว่าผู้ฟังได้รับประโยชน์จากการฟัง เพราะทุกคนที่ฟังอยู่ต้องได้ประโยชน์อย่างแน่นอน

          5. ไม่จบอย่างกระทันหันหรือเยิ่นเย้อวกวน การจบอย่างกระทันหันจะทำให้การพูดขาดความประณีตนุ่มนวล แต่การเยิ่นเย้อวกวนหรือที่เรียกว่าหาลานบินลงไม่ได้ ทำให้ยืดยาวน่าเบื่อหน่าย

จ. คำลงท้าย (Conclusion)

          คำลงท้ายเป็นคำกล่าวหลังจากสรุปเรื่องราวแล้ว การกล่าวคำลงท้ายนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายว่าตัวจะต้องกล่าวหรือไม่ ถ้ามีก็อาจใช้ว่า "ขอบคุณ" หรือ "สวัสดี" ถ้าไม่มีก็อาจจบด้วยถ้อยคำที่เตรียมมาในบทสรุป แล้วก้าวลงจากเวที

          2.4 การเขียนต้นฉบับการพูด เมื่อผู้พูดได้วางโครงเรื่อง จัดลำดับขั้นตอนการพูดแล้ว จึงเขียนต้นฉบับการพูดเพื่อใช้พูดจริง วิธีการเขียนต้นฉบับ การเขียนต้นฉบับการพูดมีแนวทางสำคัญ ดังนี้

                   1. เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อเรื่อง ชื่อผู้พูด วัน เวลา สถานที่ วัตถุประสงค์หรือโอกาสในการพูด

                   2. เขียนเรื่องที่จะพูดทั้งหมดตั้งแต่การปฏิสันถาร คำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป

                   3. อ่านทบทวนเรื่องที่เขียน 2-3  รอบ เพื่อพิจารณาดูว่าเรื่องที่เขียนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์     มีความชัดเจนมากน้อยเพียงใด คำนำสามารถโน้มน้าวใจ และบทสรุปสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้หรือไม่ ถ้อยคำที่ใช้ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด ถ้ายังมีข้อบกพร่องในเรื่องต่างๆ ก็พยายาม  แก้ไขให้ดีขึ้น  แล้วอ่านทบทวน   อีกครั้ง

                   4. ถ้าต้นฉบับมีการแก้ไขมีรอยขีดฆ่าหรือลบหลายครั้งจนทำให้สกปรก ควรคัดลอกใหม่ให้สะอาดสวยงาม เพื่อจะได้อ่านง่ายชัดเจน

                   5. เมื่อจัดทำต้นฉบับเสร็จแล้วลองอ่านออกเสียงดังๆ หรือพูดเหมือนกับที่จะนำเสนอจริง ถ้ามีข้อบกพร่องจะต้องแก้ไขอีกครั้ง ข้อบกพร่องในช่วงนี้อาจเป็นปัญหาเรื่องความต่อเนื่องของประโยค การเว้นวรรคตอน หรือการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น

3. การฝึกซ้อมก่อนพูดจริง (Rehearsal)

          ก่อนการพูดจริงทุกครั้ง จะต้องมีการฝึกซ้อมเป็นอย่างดี การฝึกซ้อมจะช่วยให้เกิดความพร้อมและมีความมั่นใจในตนเอง ช่วยพิจารณาเพิ่มเติมหรือตัดทอนเรื่องราวให้เหมาะสมกับเวลา และช่วยปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการพูด เช่น รายละเอียดของเนื้อหาสาระที่ไม่ชัดเจน การใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม หรือการเว้นวรรคตอนผิด และที่สำคัญการฝึกซ้อมทำให้เกิดความชำนาญและคุ้นเคยกับสิ่งที่พูด ผู้พูดจะสามารถพูดได้อย่างราบรื่นตั้งแต่ต้นจนจบ

4. การนำเสนอจริง (Delivery of the speech)

          การนำเสนอจริง เป็นการพูดตามที่เตรียมมา หลังจากมีการวิเคราะห์ วางแผน และฝึกซ้อมการพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้พูดต้องพูดด้วยความมั่นใจ มีความกระตือรือร้น ใช้น้ำเสียง สายตาและกิริยาท่าทางอย่างเหมาะสม พยายามพูดให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างสุขุมรอบคอบระมัดระวัง ไม่ตื่นเต้นและไม่รีบร้อนในการพูด ทั้งนี้    ผู้พูดควรยึดถือข้อปฏิบัติก่อนขึ้นพูด ในขณะพูด และหลังการพูดเสร็จสิ้นลงแล้ว ดังนี้

          4.1  ข้อปฏิบัติก่อนขึ้นพูด

                   ก. ไปถึงสถานที่พูดก่อนเวลาเล็กน้อย นั่งในที่ที่เจ้าภาพจัดเตรียมไว้ให้

                   ข. สำรวจเครื่องแต่งกาย ผม เข็มขัด ว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยดีหรือไม่ ทุกอย่างควรจัดให้เรียบร้อยก่อนขึ้นเวที กระดุมควรกลัดทุกเม็ด กระเป๋าเสื้อไม่ควรใส่ของจนตุงเกินไป  เนคไทผูกให้แน่น การแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อยนี้จะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้กับผู้พูดได้เสมอ

                   ค. พิจารณาดูว่าจะกล่าวคำปฏิสันถารอย่างไร ผู้ฟังมีกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มเป็นใครพร้อมกับคิดทบทวนข้อความที่จะเกริ่นนำ ดำเนินเรื่อง และการสรุปจบในช่วงท้าย

                   ง. ถ้ามีผู้พูดคนอื่นพูดก่อน จะต้องตั้งใจฟังอย่างสุขุมและสำรวม ไม่พะวักพะวงกับการเตรียมการพูดของตนเอง ถ้าเกิดอาการประหม่าตื่นเต้นขณะรอพูด ให้สูดลมหายใจลึก ๆ แล้วค่อย ๆ ผ่อนออก ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้ง หรืออาจเปลี่ยนอิริยาบทบ้าง

                   จ. เมื่อพิธีกรกล่าวเชิญขึ้นเวที ควรลุกขึ้นทำความเคารพผู้ที่นั่งร่วมชุดรับแขกเดียวกัน เพื่อขออนุญาต แต่ถ้านั่งคนเดียวให้ลุกขึ้นทำความเคารพผู้ฟังแล้วจึงเดินขึ้นเวที

          4.2  ข้อปฏิบัติในขณะพูด

                   ก. เดินขึ้นเวทีด้วยความมั่นใจ มีท่าทีกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง และยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่อถึงโพเดียมหรือแท่นบรรยาย ควรจัดท่ายืนให้เรียบร้อย ให้มีความรู้สึกผ่อนคลายและสบายที่สุดแล้วทำความเคารพประธานในพิธี หลังจากนั้นจึงเริ่มปฎิสันถารผู้ฟัง

                   ข. สูดลมหายใจเข้าปอดลึกๆ ประสานสายตากับผู้ฟัง แล้วพูดตามที่เตรียมมาโดยใช้น้ำเสียงที่สดใส มีชีวิตชีวา มีจังหวะการพูดที่ดี มีการเน้นเสียงหนัก-เบาพยายามเน้นสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจน อย่าเน้นรายละเอียดหรือประเด็นปลีกย่อยมากเกินไปค. พยายามสบตาผู้ฟังตลอดเวลา มองผู้ฟังให้ทั่วถึง ให้ผู้ฟังรู้สึกว่าผู้พูดพูดอยู่กับทุกคน อย่าหลบตา เหม่อลอย มองออกไปนอกห้องหรือมองผู้ฟังเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

                   ง. มีบุคลิกดี ยืนตัวตรง น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าทั้งสองข้าง อย่าพิง หาหลักเกาะ หรือโยกตัวไปมา มือทั้งสองข้างควรปล่อยลงข้างตัว อย่าล้วง แคะ แกะ เกา จับไมโครโฟน จับกระดุมเสื้อล้วงกระเป๋ า หรือทำกิริยาใด ๆ โดยปราศจากความหมายและไม่น่าดู นอกจากนี้การใช้กิริยาท่าทางประกอบการพูดไม่ควรใช้ซ้ำซากหรือบ่อยจนเกินไป

                   จ. ถ้ามีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะ ควรหยุดสักครู่ ให้เสียงเหล่านั้นค่อยๆ เงียบลงแล้วจึงพูดต่อ เพราะถ้าพูดต่อผู้ฟังจะไม่สนใจฟัง

                   ฉ. ถ้าเกิดอุปสรรคในขณะพูด เช่น ผู้ฟังต่อต้านไม่สนใจฟัง ต้องควบคุมอารมณ์และสถานการณ์ให้ได้ พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะหรือโต้แย้งอย่างรุนแรง นอกจากนี้ถ้าพูดผิดหรือลืมเนื้อหาบางตอนที่ไม่สำคัญนัก ควรผ่านเลยไปไม่ต้องกลับมาพูดใหม่ เพราะผู้ฟังอาจไม่ทันฟัง แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญ เช่น กล่าวชื่อบุคคลหรืออ้างอิงตัวเลขผิดพลาด ต้องขออภัยผู้ฟังแล้วแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องแล้วจึงพูดต่อ

                   ช. พูดให้พอเหมาะกับเวลาที่กำหนดไว้ โดยยุติการพูดก่อนเวลา 15 นาที เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถาม ขณะที่ผู้ฟังซักถามต้องตั้งใจฟังคำถามและตอบคำถามให้ตรงประเด็น ถ้าผู้ฟังประสงค์จะร่วมแสดงความคิดเห็น ก็ต้องใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้ฟังด้วยเสมอ

                   ซ. ในช่วงสุดท้ายพยายามสรุปลงด้วยถ้อยคำที่เตรียมมา ใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นจริงจัง เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง หลังจากนั้นค่อยๆ ถอยหลัง 1-2 ก้าว โค้งคำนับผู้ฟัง  แล้วเดินลงจากเวทีด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส

          4.3 ข้อปฏิบัติหลังการพูดเสร็จสิ้นลงแล้ว

                   ก. เดินกลับมายังที่นั่งเดิมด้วยกิริยาท่าทางที่สง่างาม ทั้งนี้ไม่ว่าผลการพูดจะเป็นเช่นไรก็ตาม อย่าแสดงกิริยาท้อแท้หรือไม่สบายใจ

                   ข. ถ้าพิธีกรหรือเจ้าภาพกล่าวขอบคุณต้องตั้งใจฟังอย่างสุภาพสำรวม

                   ค. ประเมินผลการพูดของตนเองด้วยใจเป็นกลาง ไม่ควรถามคนอื่นที่นั่งข้างๆ หรือผู้พูดท่านอื่นที่นั่งใกล้กันว่าพูดดีหรือไม่อย่างไร การถามเช่นนั้นแสดงว่าไม่มั่นใจในตนเองและคงไม่มีใครกล้าพูดความจริงว่าพูดไม่ดี

ใบงาน  ครั้งที่ 2

เรื่อง  การวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น  และสรุปความ

คำชี้แจง  ให้นักศึกษา กศน.ตำบล  เรียนรู้จากใบความรู้  หรือศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นที่สนใจ และตอบคำถามในใบงานดังต่อไปนี้

1. นักศึกษามีวิธีการเตรียมตัวในการพูดอย่างเป็นทางการอย่างไรบ้าง  ให้อธิบายโดยละเอียด

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. นักศึกษามีวิธีป้องกันความผิดพลาดในการพูดอย่างเป็นทางการอย่างไร

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ชื่อ........................................................... ระดับชั้น  ................................ วันที่ .........................................................

ใบความรู้  ครั้งที่ 3

เรื่อง  มารยาทในการฟังและการดู

มารยาทในการฟังและการดู

          มารยาทในการฟัง  ถือเป็นวัฒนธรรมประจำ ชาติอย่างหนึ่งที่ผู้ฟังควรยึดถือและปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม การมีมารยาทในการฟังย่อมแสดงให้เห็นว่า บุคคลนั้นได้รับการอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นผู้มีวัฒนธรรมอันดีงาม การมีมารยาทที่ดี ถือเป็นการให้เกียรติต่อผู้พูด ให้เกียรติ ต่อสถานที่และให้เกียรติต่อชุมชน มารยาทเหล่านี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนควรยึดถือ และปฏิบัติโดยเคร่งครัด

ความหมายของการฟัง

          การฟัง หมายถึงการรับสาร หรือเสียงที่ได้ยินทางหู การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย มีมารยาทและรู้จักพินิจพิเคราะห์เนื้อหาของสาร ที่รับว่ามีข้อเท็จจริง อย่างไร รู้จักจับใจความสำคัญ ใจความย่อย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้รับสาร ได้ประโยชน์จากการฟังอย่างเต็มที่

หลักการฟังที่ดี มีดังนี้

          การฟังต้องมีจุดมุ่งหมาย  ในการฟังเรื่องใดๆ ก็ตาม ผู้ฟังควรตั้งจุดมุ่งหมาย ในการฟัง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ

          1) ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่เป็นวิชาการ ข่าวสารและข้อแนะนำต่างๆ การฟังเพื่อความรู้ จำเป็นต้องฟังให้เข้าใจและจดจำสาระสำคัญให้ได้

          2) ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน คือ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากภารกิจการงานและสิ่งแวดล้อม

          3) ฟังเพื่อให้ได้รับคติหรือความจรรโลงใจ คือ การฟังเรื่องที่ทำให้เกิดแนวคิด และสติปัญญา เกิดวิจารณญาณ ขัดเกลาจิตใจให้มีคุณธรรม การฟังประเภทนี้ต้องรู้จักเลือกฟัง และเลือกเชื่อในสิ่งที่ถูกที่ควรซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟัง มีคติในการดำเนินชีวิตไปในทางดีงาม และรู้จักสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคม

          การฟังทั้ง 3  ประการ อาจรับฟังได้จากสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ การประชุม ปาฐกถา ฯลฯ นอกจากนี้การฟังในแต่ละครั้ง ผู้ฟังอาจได้รับประโยชน์ทั้ง 3 ด้าน หรือด้านใด ด้านหนึ่ง เฉพาะด้านซึ่งเป็นการฟังเพื่อประโยชน์ของตนเอง

          การฟังต้องมีความพร้อม

          ซึ่งหมายถึงความพร้อมทางกาย คือมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ความพร้อมทางใจ คือมีจิตใจพร้อมที่จะรับฟัง ไม่วิตกกังวลในเรื่องอื่น และมีความพร้อม ทางสติปัญญา หมายถึง มีการเตรียมตัวที่จะใฝ่หาความรู้เป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะรับฟังเพราะเรื่องบางเรื่องอาจต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิม หรือคำศัพท์ ทางวิชาการ เป็นต้น ถ้าผู้ฟัง ไม่มีความรู้มาก่อน อาจฟังไม่รู้เรื่องหรือจับใจความไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเบื่อหน่ายไม่ได้ประโยชน์จากการรับฟังเท่าที่ควร

          การฟังต้องมีสมาธิ

          ในการฟังหรือการกระทำสิ่งใดก็ตาม จำเป็นต้องมีสมาธิ คือมีจิตใจจดจ่อในเรื่องนั้น ๆ ในการฟัง หากผู้ฟัง ฟังอย่างใจลอย หรือไม่ตั้งใจฟังเท่าที่ควร ก็ไม่สามารถจับใจความที่ฟังได้หมดครบถ้วน อาจทำให้เข้าใจไขว้เขว หรือไม่ได้เนื้อหาสมบูรณ์ การมีสมาธิในการฟังผู้ฟังต้องฝึกฝนตนเองให้รู้จักควบคุมจิตใจ โดยเอาใจจดจ่อในเรื่องที่ฟังเป็นพิเศษ

          การฟังต้องมีความกระตือรือร้น

          คือสนใจและเล็งเห็นประโยชน์จากการฟังอย่างแท้จริง ไม่ใช่ฟังด้วยจำใจหรือถูกบังคับ

          การฟังต้องไม่มีอคติ

          การมีอคติ ได้แก่ การลำเอียง อาจจะเป็นลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะโกรธ ลำเอียงเพราะหลง การลำเอียงทำให้แปลเจตนาในการฟังผิดความหมาย หรือคลาดเคลื่อนจากที่เป็นจริงได้ ถ้าผู้เรียนยึดถือ หลักการฟังทั้ง 5 ข้อนี้ ก็จะเป็นผู้รับสารด้วยการฟัง ได้ครบถ้วนตามความมุ่งหมาย

          มารยาทในการฟัง

          ผู้มีมารยาท ในการฟังควรปฏิบัติตน ดังนี้

          1. เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยามารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง

          2. การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบเรื่อง

          3. จดบันทึกข้อความที่สนใจหรือข้อความที่สำคัญ หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เมื่อจะซักถามต้องเลือกโอกาสที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม หรือยกมือขึ้นขออนุญาตหรือแสดงความประสงค์ในการซักถาม ถามด้วยถ้อยคำสุภาพ และไม่ถามนอกเรื่อง

          4. มองสบตาผู้พูด ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูด และไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟัง หรือนำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานระหว่างฟัง

          5. ฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองกับผู้พูด แสดงสีหน้าพอใจในการพูด ไม่มีแสดงกิริยาก้าวร้าว เบื่อหน่าย หรือลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็นขณะฟัง

          6. ฟังด้วยความสุขุม ไม่ควรก่อความรำคาญให้บุคคลอื่น ควรรักษามารยาทและสำรวมกิริยา ไม่หัวเราะเสียงดังหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือเป่าปาก

          7. ฟังด้วยความอดทนแม้จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ควรมีใจกว้างรับฟังอย่างสงบ

          8. ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง ควรฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยซักถามหรือแสดงความคิดเห็น

          9. ควรให้เกียรติวิทยากรด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัวผู้พูด ภายหลังการแนะนำ และเมื่อวิทยากร พูด จบ

ประโยชน์ของการฟัง

        1. ประโยชน์ส่วนตน

                    1.1  การฟังเป็นเครื่องมือของการเขียน ผู้ที่เรียนหนังสือได้ดีต้องมีการฟังที่ดีด้วย คือ ต้องฟังคำอธิบายให้รู้เรื่องและจับใจความสำคัญให้ได้จึงจะทำให้การเรียนมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำอธิบายในห้องเรียน การฟังอภิปราย การฟังบทความ ล้วนแต่ช่วยพัฒนาสติปัญญาทำให้เกิดความรู้และเกิดความเฉลียวฉลาดจากการฟัง

                   1.2  การฟังช่วยให้ผู้ฟังพัฒนาความสามารถในการพูด พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษา เพราะการฟังทำให้ผู้ฟังมีความรู้กว้างขึ้นและมีประสบการณ์มากขึ้น

                   1.3  การฟังช่วยปูพื้นฐานความคิดที่ดีให้กับผู้ฟัง ซึ่งจะได้จากการฟังเรื่องราวที่มีคุณค่ามีประโยชน์จากผู้อื่น ช่วยพัฒนาสติปัญญาแก่ผู้ฟัง การได้รับข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ ได้

                   1.4  การฟังช่วยให้ผู้มีมารยาทในการฟัง สามารถเข้าสังคมกับผู้อื่นได้เช่น รู้จักฟังผู้อื่น รู้จักซักถามโต้ตอบได้ตามกาลเทศะ

         2. ประโยชน์ทางสังคม

                   2.1  การฟังทำให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น การฟังประกาศ ฟังปราศรัย ฟังการอภิปราย เป็นต้น

                   2.2  การฟังช่วยให้ประพฤติดี ปฏิบัติให้สังคมเป็นสุข เช่น ฟังธรรม ฟังเทศนา ฟังคำแนะนำ การอบรม เป็นต้น

การพัฒนาสมรรถภาพการฟัง

          1. สร้างความสนใจและความต้องการที่จะฟัง ผู้ฟังที่ดีต้องให้ความสนใจกับเรื่องที่ฟังแม้ว่าเรื่องที่ฟังจะ ไม่ตรงกับความสนใจของตนเองก็ตาม ผู้ฟังต้องรู้หัวข้อเรื่องรวมทั้งจุดประสงค์ว่าฟังเพื่ออะไร

          2. ฟังด้วยความตั้งใจ เป็นการฟังอย่างมีสมาธิ จิตใจจดจ่อกับเรื่องที่ฟัง

          3. จับใจความสำคัญของเรื่องและคิดวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องราวที่ฟัง

          4. จับใจความให้ได้ว่า เรื่องที่ฟังเป็นเรื่องอะไร เกิดที่ไหน เรื่องเป็นอย่างไร

          5. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องราวที่ฟังว่าเป็นอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ ผลเป็นอย่างไร

          6. แยกแยะข้อความว่าตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ตอนใดเป็นข้อคิดเห็น

          7. พิจารณาจุดมุ่งหมายในการพูดของผู้พูด รวมทั้งเหตุผลที่นำมาสนับสนุนการพูด

          ในการฟัง ดู และพูด เรื่องราวต่างๆ จากการผ่านสื่อใดหรือโดยใครก็ตาม ผู้ฟัง ผู้ดูและผู้พูด จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ว่าเป็นไปได้อย่างไร แค่ไหนเพราะถ้าเชื่อทุกเรื่อง บางครั้งอาจจะตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่ปรารถนาดีได้ง่าย ผู้ฟังต้องวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูดว่าผู้พูดต้องการให้อะไรกับผู้ฟัง ข้อความตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ตอนใดเป็นข้อคิดเห็น ข้อเท็จจริง มีหลักฐานเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ข้อคิดเห็นนั้นมีเหตุผลมีความเป็นไปได้หรือน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

มารยาทในการดู

          ในขณะที่ดูสื่อต่างๆ  โอกาสและสถานการณ์ในการดูอาจจะแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามควรจะมีมารยาทในการดู เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่น ดังนี้

          1.  ตั้งใจดู  ด้วยความสนใจอย่างจริงจัง

          2.  สำรวมกิริยาอาการ  โดยไม่ส่งเสียงดังในขณะดู  ไม่แสดงกิริยาอาการที่ตื่นเต้นเกินไป หรือแสดงความรู้สึกออกมามากจนเกินไป

          3.  ไม่พูดแทรกเรื่องอื่นขึ้นมาในขณะที่ผู้ดูคนอื่นๆ กำลังสนใจดูสื่อนั้น

          4.  ไม่พูดหรือเล่าเรื่องล่วงหน้า ในขณะที่ผู้ดูคนอื่นๆ กำลังดูรายการนั้นอยู่

          5.  การดูสื่อที่ต้องมีเสียงด้วย  ไม่ควรเปิดเสียงดังจนเกินไป

          6.  การดูในสถานที่ประชุมหรือในที่สาธารณะ ควรดูด้วยความตั้งใจ  ไม่คุยกัน  ไม่รับประทานอาหารในขณะดู  ไม่ทำกิจกรรมอื่นใด  และไม่ลุกเดินเข้า-ออกบ่อยๆ ในขณะดู

          7.  การนั่งดูในสถานที่ประชุมหรือในที่สาธารณะ  ให้นั่งฟังด้วยท่าทางที่สุภาพ  ไม่ยกเท้าขึ้นพาดที่นั่งผู้อื่น  และไม่นั่งบังผู้อื่น

          8.  ห้ามสูบบุหรี่ในขณะที่ดู  เพราะเป็นการสร้างมลพิษให้แก่ผู้อื่นที่ร่วมดูอยู่ด้วย และขณะนี้มีกฎห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะด้วย

          9.  การวิพากษ์วิจารณ์สารที่ดู ควรใช้คำพูดที่สุภาพ  และปราศจากอคติส่วนตัว

          10.  หากเป็นการดูสารจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ควรมีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อชนิดนั้นพอสมควร  และหากเป็นสื่อสาธารณะ ก็ไม่ควรจับจองการใช้สื่ออยู่เพียงผู้เดียว

          การฟังและการดูเป็นการรับสารที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน การฟังและการดูมีความจำเป็นในการเรียนรู้  ผู้ที่มีสมรรถภาพในการฟังและการดูสูงคือ  ฟังเป็น  ดูเป็น  จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม 

          ในปัจจุบันนี้  มีโอกาสได้รับสารด้วยวิธีการดูจากสื่อหลายประเภท  โดยเฉพาะโทรทัศน์  จึงขอแนะนำให้นักศึกษาแสวงหาความรู้  ความบันเทิง  และแนวคิดอันเป็นประโยชน์จากการดูโทรทัศน์ดังต่อไปนี้

          1.  เลือกรายการ

          รายการที่ทางสถานีโทรทัศน์นำมาเผยแพร่นั้นมีมากมาย  ทั้งรายการที่ให้ข้อมูลข่าวสาร  ความรู้  ข้อคิด และความบันเทิง  นักศึกษาควรจะเลือกรายการที่เหมาะสมกับความสนใจ และที่สำคัญคือเป็นรายการที่มีคุณภาพเหมาะสมกับวัยของนักศึกษา  บางครั้งรายการที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นจำนวนมากอาจจะไม่ได้หมายความว่าเป็นรายการที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาเสมอไป  นอกจากนี้ควรดูรายการให้หลากหลาย  เช่น  ละคร  ภาพยนตร์  การ์ตูน  ข่าว  สารคดี  การเดินทางท่องเที่ยว  สารคดีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เกมที่ให้ความรู้  บทสัมภาษณ์  โฆษณา  กีฬา ฯลฯ

          2.  เลือกเวลา

          แม้ว่าได้เลือกรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาแล้ว  สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึง  คือ เวลาที่นำเสนอ  จึงควรเลือกรายการที่จัดช่วงเวลาแพร่ภาพไม่ดึกจนเกินไป  และมีช่วงเวลาไม่นานจนเกินไป  ทั้งนี้ช่วงเวลาที่ขอแนะนำในวัยเรียน  คือ  เวลาประมาณ  16.30 – 20.00  น.  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะนำเสนอรายการสำหรับเด็กและเยาวชนต่อเนื่องไปจนถึงการเสนอข่าวประจำวัน  สำหรับวันหยุดนั้นนักศึกษาสามารถจัดเวลาที่เหมาะสมได้หลายช่วง  อย่างไรก็ตาม  ก็ไม่ควรดูโทรทัศน์ในปริมาณที่มากเกินไป  จนทำให้สูญเสียเวลาที่ควรจะได้ฝึกพัฒนาการอ่าน  การเขียน และการพูด  การออกกำลังกาย  และการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

          3.  หาความเพลิดเพลิน

          นักศึกษาสามารถหาความเพลิดเพลินจากการดูรายการโทรทัศน์ได้ทุกประเภท  แม้ว่าจะเป็นข่าว  สารคดี  หรือรายการที่เกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการ  โดยฝึกตนเองให้มีจุดมุ่งหมายในการดู  มีใจรักและมีเจตคติที่ดีในการดู  นอกจากนี้การได้พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการที่ดูกับเพื่อนหรือผู้ที่มีความสนในร่วมกัน  ก็เป็นการส่งเสริมให้การดูนั้นเกิดความเพลิดเพลิน  และเกิดสติปัญญาไปด้วย

          4.  ประเมินคุณค่า

          นักศึกษาควรจะได้ฝึกการแสดงทรรศนะเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ที่ได้ดู  เพราะ การใช้ความคิดพิจารณา วิเคราะห์และประเมินคุณค่านั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา  การประเมินคุณค่านี้  นักศึกษาสามารถกระทำไปพร้อมๆ กับการดูรายการโทรทัศน์  หรือประเมินคุณค่าเมื่อดูจบแล้วก็ได้

          ผู้ดูที่รู้จักการเลือกดู  สังเกต  และคิดพิจารณา เกี่ยวกับสารที่ดูนั้น  ย่อมได้รับทั้งความรู้และความบันเทิง  ซึ่งเมื่อนักศึกษาหมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ ก็จะพัฒนาสมรรถภาพในการดูของนักศึกษาได้

ใบงาน  ครั้งที่ 3

เรื่อง  มารยาทในการฟังและการดู

คำชี้แจง  ให้นักศึกษา กศน.ตำบล  เรียนรู้จากใบความรู้  หรือศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นที่สนใจ และตอบคำถามในใบงานดังต่อไปนี้

1. มารยาทในการฟังและการดู มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง  ให้อธิบายตามความเข้าใจ

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.  การศึกษาเกี่ยวกับ “มารยาทในการฟังและการดู” มีประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสารหรือไม่ อย่างไร

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ชื่อ................................................................... ระดับชั้น  ................................ วันที่ ................................................