ทำไม คนไทยมาจาก เทือกเขา อั ล ไต

"ชนชาติไทย" แท้จริงแล้วมาจากที่ไหน ยังเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ขณะที่หลายคนเชื่อว่า คนไทยนั้นมาจาก "เทือกเขาอัลไต" ดูจะเป็นแนวคิดที่ไม่สมเหตุผล

"ชนชาติไทย" แท้จริงแล้วมาจากที่ไหน ยังเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ขณะที่หลายคนเชื่อว่า คนไทยนั้นมาจาก "เทือกเขาอัลไต" ดูจะเป็นแนวคิดที่ไม่สมเหตุผล แต่กลับสร้างกรอบคิดและความเชื่อชุดหนึ่งที่ยังตกค้างมาสู่ปัจจุบัน แนวคิดเช่นนั้นคืออะไร แล้วส่งผลอย่างไรในปัจจุบัน

  คำถามที่ว่า "คนไทย" มาจากไหนยังคงเป็นคำตอบที่คลุมเครือ และยังไม่มีผู้ใดสามารถฟันธงได้อย่างแน่นอนว่าแท้จริงแล้วคนไทยมาจากไหน เป็นเวลานานหลายทศวรรษ ที่การศึกษาประวัติศาสตร์ชนชาติไทยยังไม่ได้รับการปรับปรุง หรือก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างจริงจัง เนื่องจากกรอบคิดชุดหนึ่งที่ว่าชนชาติไทยมาจาก "เทือกเขาอัลไต" นั้น ดูจะเป็นเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จนทำให้นักวิชาการรุ่นใหม่ปัดแนวคิดนี้ตกไปอย่างไม่ใยดี

"เทือกเขาอัลไต" เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ในบริเวณเอเชียกลาง มีพรมแดนติดต่อระหว่างประเทศมองโกเลีย รัสเซีย จีน และคาซัคสถาน หลายคนขนานนามอัลไตว่าเป็น "ภูเขาทอง" หรือ "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชียกลาง" ทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 2541 อีกด้วย

เเนวคิดว่าด้วยเรื่องเชื้อชาติไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตนั้น ถูกนำเสนอโดยนายวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ก่อนที่ขุนวิจิตรมาตรา จะนำแนวคิดดังกล่าวมาเผยแพร่ลงในหนังสือหลักไท ปี 2471 ซึ่งเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ลงมายังจีนตอนใต้ก่อนที่ ชาวจีนและชาวมองโกล ขับไล่ลงมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งยังเชื่อว่าคนไทยมีเชื้อสายมองโกลอีกด้วย

นักโบราณคดีจำนวนมาก กลับไม่เชื่อแนวคิดของดอดด์ และขุนวิจิตรมาตรา เนื่องจากการศึกษาทางโบราณคดี และภูมิศาสตร์ที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้เชื่อว่าการอพยพผ่านเทือกเขาอัลไต ซึ่งเป็นเขตแห้งแล้ง อากาศมีความหนาวเย็น ถ้าอพยพโยกย้ายลงมาก็ต้องผ่านทะเลทรายที่กว้างใหญ่ และทุรกันดารหลายพันกิโลเมตร จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่รอดลงมาถึงดินแดนสุวรรณภูมิได้

ด้านนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ชุดความคิดดังกล่าวเป็นหนึ่งในเครื่องมือของอุดมการณ์ชาตินิยมในสมัยสร้างชาติให้เป็นอารยะของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ของหลวงวิจิตรวาทการ และขุนวิจิตรมาตรา ที่พยายามอธิบายรากเหง้าว่า "ไทย" เป็นชาติที่แข็งแกร่งยิ่งใหญ่มากที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งยังผูกเรื่องราวของอาณาจักรโบราณของไทยที่ยิ่งใหญ่  ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ โดยมีศูนย์กลางที่ "กรุงเทพมหานคร" เข้ากับ "วาทะกรรมการเสียดินแดน" อีกด้วย

ประวัติศาสตร์นิพนธ์ชุดนี้ ยังถูกบรรจุลงในบทเรียนของกระทรวงศึกษาธิการและหนังสือแผนที่ภูมิศาสตร์ของทองใบ แตงน้อย ที่ผลิตซํ้ามาเป็นเวลาหลายทศวรรษถึงปัจจุบัน จนกลายเป็นความจริงชุดหนึ่ง ถึงแม้หลายฝ่ายจะไม่ปักใจเชื่อ แต่อุดมการณ์ชาตินิยมในเรื่องดินแดนอันยิ่งใหญ่ของไทยที่แฝงอยู่ ยังคงเป็นเกมการเมืองที่กลุ่มผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ นำมาใช้เพื่อการเคลื่อนไหวอย่างไม่ลดละ

ไม่เพียงแค่นั้น แนวคิดเรื่อง"เทือกเขาอัลไต" ยังเป็นการพูดในทำนอง "เสียดสี" ในสังคมออนไลน์ ต่อกลุ่มชาตินิยม ที่ต้องการเคลื่อนไหวทวงคืนดินแดนอย่างปราสาทพระวิหาร โดยชี้ว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เหตุใดพวกเขาจึงไม่ทวงคืน "เทือกเขาอัลไต" อันเป็นต้นกำเนิดของบรรพบุรุษไทยที่ยิ่งใหญ่เสียเลยเล่า

ท้ายที่สุด ปัจจุบันยังคงไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันที่มาที่ไปของชนชาติไทยได้ชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นไปได้มากที่สุด ที่เราๆ ท่านๆ มักหลงลืมไปนั่นก็คือ การอพยพเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน ถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลแล้ว

ถ้าคนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต แล้วคนไทยมาจากไหน

4 Min

179 Views

25 Jul 2022

คนไทยอพยพโยกย้ายมาจากอัลไตน่านเจ้า และถูกจีนรุกรานลงมาทางใต้

ความเชื่อนี้เคยถูกบรรจุไว้ในตำราเรียนวิชาสังคมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และอาจฝังหัวอยู่ในความทรงจำของคนไทยหลายๆ คน เช่นประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีของไทย ยังเคยประกาศความเข้าใจผิดผ่านการอวยพรในวันตรุษจีนปี 2558 มาแล้ว

แต่ที่สำคัญคือมันผิดนี่ล่ะ

แล้วความจริงคืออะไรกันแน่?

แกะแหล่งที่มาความเข้าใจผิด

ความเข้าใจผิดว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตมาจากหนังสือเรื่องหลักไทยเขียนโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.. 2471 หนังสือเล่มนี้ทำให้ชนชั้นนำสยามตื่นเต้นกันมาก ข้อมูลชุดนั้นลุกลามแพร่ไปสู่หนังสือแบบเรียน ท้ายที่สุดก็กระจายเข้าไปในความเชื่อของคนไทย

ขุนวิจิตรมาตราอ้างถึง หมอดอดด์ หรือ บาทหลวงวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) เจ้าของผลงาน ‘The Thai Race: The Elder Brother of the Chinese’ ซึ่งเผยแพร่ก่อนหน้านั้นในปี พ.. 2452 หรือช่วงปลายแผ่นดินรัชกาลที่ 5 โดยมีเนื้อหาสำคัญระบุว่า ไทยเป็นเชื้อสายมองโกล เก่าแก่กว่าจีน และเคยเป็นเจ้าของดินแดนจีน แนวคิดนี้ถูกนำไปขยายว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่ที่มองโกเลีย

ชาตินิยมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเชื่อฉบับ อัลไตน่านเจ้า ยิ่งทวีความเหนียวแน่นในความคิดของผู้คน 

ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 คณะราษฎรสถาปนากรมศิลปากร แล้วมอบหมายหน้าที่ให้เผยแพร่การเมืองชาตินิยมผ่านความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดี

ครั้นถึงปี พ.. 2482 ‘สยามได้แปรเปลี่ยนเป็นประเทศไทยเกิดเพลงประวัติศาสตร์แต่งโดย หลวงวิจิตรวาทการ มีเนื้อหาสำคัญตอนหนึ่งว่า

ชาติเรามีสมัญญาว่าชาติไทย เป็นชาติใหญ่แต่โบราณนานนักหนา ภูมิลำเนาของเราแต่ก่อนมา อยู่ท่ามกลางพสุธาของเอเชีย เมื่อชาติจีนรุกร้นร่นลงใต้ เข้าแย่งไทยทำกินถิ่นก็เสีย จีนไล่ไทยเหมือนไฟไหม้ลามเลีย ไทยต้องเสียดินแดนแคว้นโบราณ ถูกแย่งที่หนีร่นลงทางใต้ ไทยมาตั้งเมืองไทยอย่างไพศาล…”

สุจิตต์ วงษ์เทศ อดีตบรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม กับ ขรรค์ชัย บุนปาน นักเขียนรางวัลศรีบูรพา เน้นย้ำผ่านรายการขรรค์ชัยสุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยวว่า แนวคิดเรื่องเชื้อชาติเพิ่งมีในยุโรปเมื่อ 200 กว่าปีมานี้แล้วแผ่มายังรัตนโกสินทร์ ขณะที่ไทยเพิ่งรับมาในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนสมัยสุโขทัย อยุธยา ไม่มีเชื้อชาติไทย

แต่ถ้าหากแนวคิดคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตเป็นเพียงความเข้าใจผิดที่ถูกโปรโมตจากอุดมการณ์รัฐชาติ อย่างนั้นความจริงแล้วคนไทยมาจากไหนกันล่ะ?

โชคดีที่เทคโนโลยีสมัยใหม่กับหลักฐานที่เพิ่มพูนมาตามกาลเวลาช่วยให้เราได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น

คนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขา แต่มาจาก…?

สุจิตต์ วงษ์เทศ กับ ขรรค์ชัย บุนปาน ร่วมกันอธิบายว่า บรรพชนไทยสามารถแบ่งออกกว้างๆ อย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ

1. มาจากโซเมีย ทางภาคใต้ของจีน กระจายลงมาข้างล่าง

2. มาจากร้อยพ่อพันแม่ในอุษาคเนย์

และ

3. มาจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย ลังกา อิหร่าน ยุโรป แม้กระทั่งอเมริกา

สุจิตต์ยังกล่าวอีกด้วยว่า ประเด็นเรื่องเชื้อชาติ บางประเทศยกออกจากรัฐธรรมนูญไปแล้ว เพราะเป็นต้นเหตุของการเข่นฆ่ากัน บรรพชนไทย ผสมผสานหลากหลาย ไม่มีไทยแท้

สอดคล้องกับการศึกษาดีเอ็นเอของ รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ นักชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Molecular Biology and Evolution ฉบับเดือนสิงหาคม 2021 ทำให้เห็นความหลากหลายของดีเอ็นเอของคนไทยที่พาเราก้าวข้ามความคิดชาตินิยมที่วนเวียนอยู่กับแค่เทือกเขาอัลไต

รศ.ดร.วิภู ค้นพบว่า คนไทยภาคกลางเป็นคนมอญ คนเมืองซึ่งเป็นประชากรหลักในภาคเหนือของไทยมีดีเอ็นเอคล้ายกับชาวไตจากสิบสองปันนา ประเทศจีนตอนใต้ ส่วนคนอีสานมีดีเอ็นเอที่มีการผสมผสานระหว่างกลุ่มประชากรที่พูดมอญเขมร กับดีเอ็นเอของคนไทยในสิบสองปันนา และดีเอ็นเอของคนภาคกลางและภาคใต้ยังมีบางส่วนเหมือนกันชาวอินเดียตอนใต้ ซึ่งแสดงถึงการผสมผสานทางพันธุกรรมจากเอเชียใต้สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

เช่นเดียวกับสุจิตต์ รศ.ดร.วิภู ยืนยันว่าไทยแท้ไม่มีจริง

ประเด็นคนไทยมาจากไหน?’ เริ่มมีการถกเถียงมานานอย่างน้อยตั้งแต่ พ.. 2507 ผู้จุดประเด็นคัดค้านอย่างต่อเนื่องคือ ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม เจ้าของรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟุกุโอกะ ประจำปี พ.. 2550

ท้ายที่สุด กระทรวงศึกษาธิการก็ถอดเรื่องคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตออกจากหลักสูตรใน พ.. 2521 แต่ไม่ยกเลิกประเด็นน่านเจ้า แนวคิดลักษณะนี้ยังมีอำนาจสืบมา และในปัจจุบันหลายๆ คนก็ยังเข้าใจผิดอยู่

แต่ถ้าคุณอ่านมาถึงตอนนี้ คุณก็น่าจะรู้แล้วว่าคนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไตและคนไทยก็หมายถึงความหลากหลายที่ผสมผสานสืบอยู่ยงมาจนปัจจุบัน

BrandThink และ ThaiPBS ชวนคุณร่วมค้นหาและเข้าใจในความเป็นไทยที่ไม่ได้มีแต่ในตำราไปด้วยกัน ในแคมเปญ #โคตรไทยตั้งแต่จุดเริ่มต้นก่อนโลกนี้มีคำว่าไทย เพื่อตอบคำถามโลกแตกว่าสุดท้ายแล้วไทยแท้มีจริงไหม?

มาร่วมถอดรหัสอะไรคือไทยแท้?’ จากจุดเริ่มต้น จากมนุษย์โบราณอายุหมื่นปี จากถ้อยคำและภาษามากมาย จากชาติพันธุ์ที่หลากหลาย จากเม็ดเลือดในร่างกาย และเข้าใจเรื่องราวการเดินทางว่าเราเป็นไทยอย่างในทุกวันนี้ได้อย่างไร ผ่านการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการ หลักฐานทางโบราณคดีในสารคดีเธอ เขา เรา ใครให้เข้าใจใน 10 นาที มาร่วมเดินทางไปกับเราได้ที่ www.thaipbs.or.th/CodeThai

เข้าใจ  ความเป็นไทย  ในมิติทางสังคมกันให้มากยิ่งขึ้น จากการตั้งคำถาม มุมมอง ความคิดเห็น ข้อมูลที่แตกต่าง หลากหลาย ของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ บุคคลที่น่าสนใจ ที่  https://thinkster.brandthink.me/campaign/code-thai

อ้างอิง

  • Matichon Online. ‘อัลไตมาจากไหน?’ 93 ปีแห่งอำนาจ จากหลักไทยถึงการเมืองร่วมสมัย. https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3011553 
  • Matichon Online. ไม่ว่าคนไทยมาจากไหนเชื้อชาติไทยก็ไม่มีจริง. https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2694697 
  • The Standard. ถ้าคนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต แล้วมีใครอยู่ที่นั่น?. https://thestandard.co/altai-mountains-question-of-thai…/ 
  • Voice. จากอัลไตถึงกรุงเทพฯ. https://www.voicetv.co.th/read/88393 
  • The Momentum. วิภู กุตะนันท์ พบคำตอบคนไทยมาจากไหนบนเกลียวดีเอ็นเอ. https://themomentum.co/theframe-wibhu-kutanan/ 
  • Thai PBS. รายการ เธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน. ตอน ดีเอ็นเอคนไทย
  • Thai PBS. รายการ เธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน. ตอน รวมเป็นไทย