ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ในสมองไม่ถูกต้อง

ระบบประสาท ( Nervous  System )

ระบบประสาท  คือ ระบบที่ควบคุมการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของทุกระบบในร่างกาย ให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนี้ระบบประสาทยังเป็นแหล่งที่มาของความคิด ความรู้สึก สติปัญญา ความฉลาด ไหวพริบ การตัดสินใจ การใช้เหตุผล และการแสดงอารมณ์อีกด้วย

ระบบประสาทแบ่งออกเป็น  ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลาย

    ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system)

ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย
    1.สมอง (Brain) สมอง (Brain) บรรจุอยู่ในโพรงกะโหลกศรีษะ (Cranial cavity) สมองเป็นส่วนที่ประกอบด้วย nervous tissue มากที่สุด มีเยื่อหุ้มอยู่ 3 ชั้น เรียกว่า meninges สมองจะติดต่อกับไขสันหลังโดยก้านสมอง (Brain stem) ซึ่งอยู่ในโพรงกะโหลกศรีษะ แล้วก้านสมองทอดผ่านรูที่เรียกว่า foramen magnum ของกระดูก Occipital bone ลงไปในช่องของกระดูกสันหลัง (Vertebral foramen)

สมองมีรูปร่างคล้ายรูปไข่ สมองผู้ใหญ่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,300 กรัม ผิวของสมองมีลักษณะเป็นลูกคลื่น สมองมีการเจริญตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา และเจริญอย่างรวดเร็วในอายุระหว่าง 1-9 ปี เจริญเต็มที่เมื่ออายุ 18-20 ปี ลักษณะของสมองแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า (Forebrain or prosencephalon) สมองส่วนกลาง (Midbrain or mesencephalon) และสมองส่วนหลัง (Hindbrain or rhombencephalon)

สมองส่วนหน้า(Forebrain)  มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้ 
                - ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก 
                - ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส
                - ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด 
                - ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ 
สมองส่วนกลาง (Midbrain) - เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน 
สมองส่วนหลัง (Hindbrain) ประกอบด้วย 
-พอนส์ (Pons) - เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8 
-เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น 
-ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

หน้าที่ของสมอง

1.             ควบคุมความจำ ความคิด การใช้ไหวพริบ

2.             ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยศูนย์ควบคุมสมองด้านซ้ายจะไป ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อด้านขวาของร่างกาย ส่วนศูนย์ควบคุมสมองด้านขวาก็ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อด้านซ้ายของร่างกาย

3.             ควบคุมการพูด การมองเห็น การได้ยิน

4.             ควบคุมการเผาผลาญอาหาร ความหิว ความกระหาย

5.             ควบคุมการกรอกลูกตา การปิดเปิดม่านตา 

6.             ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อให้ทำงานสัมพันธ์กัน และช่วยการทรงตัว

7.             ควบคุมกระบวนการหายใจ การเต้นของหัวใจ การหดตัวและขยายตัวของเส้นเลือด

8.             สำหรับหน้าที่ของระบบประสาทต่อการออกกำลังกาย ต้องอาศัยสมองส่วนกลางโดยสมองจำทำหน้าที่นึกคิดที่จะออกกำลังกาย แล้วออกคำสั่งส่งไปยังสมองที่เรียกว่า Association motor areas เพื่อวางแผนจัดลำดับการเคลื่อนไหว แล้วจึงส่งคำสั่งต่อไปยังประสาทกลไก (Motor area) ซึ่งเป็นศูนย์ที่จะส่งคำสั่งลงสู่ไขสันหลัง 

2.ไขสันหลัง (spinal cord)

ไขสันหลังเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง ทอดตัวอยู่ในไขสันหลัง (spinal canal )เป็นส่วนที่ต่อจาก medulla oblongataของก้านสมอง ไขสันหลังจะต่อยาวลงไปจนถึง กระดูกสันหลังส่วนเอวท่อนที่ 1 ถึง 2

                หน้าที่ของไขสันหลัง
                        1) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เพื่อตีความและสั่งการ และในขณะเดียวกันรับพลังประสาทจากสมองซึ่งเป็นคำสั่งไปสู่อวัยวะต่างๆ

                        2) เป็นศูนย์กลางของปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex reaction) คือ สามารถที่จะทำงานได้ทันทีเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายอาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น เมื่อเดินไปเหยียบหนามที่แหลมคมเท้าจะยกหนีทันทีโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง

                        3) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ที่มีเส้นประสาทไขสันหลังไปสู่ ซึ่งหน้าที่นี้เรียกว่า ทรอพฟิคฟังชั่น (Trophic function)

    ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system)

    ระบบประสาทส่วนปลาย เป็นระบบประสาทซึ่งเชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย  เส้นประสาทสมอง  12  คู่  เส้นประสาทไขสันหลัง  31  คู่  และระบบประสาทอัตโนมัติ
                1.  เส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) มี 12 คู่ ทอดออกมาจากพื้นล่างของสมองผ่านรูต่างๆ ที่พื้นกะโหลกศรีษะ ประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก (Sensory nerve) บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Motor nerve) และบางคู่ทำหน้าที่ทั้งรับความรู้สึกและเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Mix nerve)  เส้นประสาทสมองทั้ง 12 คู่ จะมีชื่อตามตำแหน่งที่ตั้งและหน้าที่การทำงาน ดังนี้

                                1.Olfactory nerve ทำหน้าที่รับกลิ่นโดยมีเซลล์ที่ทำหน้าที่รับกลิ่นอยู่ที่เยื่อบุผิว (Mucous membrane) ของจมูก

                                2.Optic nerve ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น มีเซลล์รับ (Receptor) อยู่ที่ retina ของตา

                                3.Occulomotor nerve ไปเลี้ยง (Innervate) กล้ามเนื้อลูกตา (External eye muscles) ทำให้มีการเคลื่อนไหวของลูกตา

                                4.Trochlear nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลูกตามัดที่มีชื่อว่า (Superior oblique) ทำให้มีการเคลื่อนของลูกตาไปในแนวลงล่างและเฉียงเข้าด้านใน (Downward and medially)

                                5.Trigerminal nerve ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากบริเวณใบหน้า ศรีษะ ฟัน เกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวด ร้อน-เย็นและไป innervate เนื้อเยื่อตั้งแต่ศรีษะลงไปในปาก ฟัน ขากรรไกร และลิ้นส่วนหน้า เพื่อควบคุมการเคี้ยว

                                6.Abducent nerve ไป innervate กล้ามเนื้อลูกตาที่ชื่อ lateral rectus ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลูกตาออกไปด้านข้าง (Lateral movement)

                                7.Facial nerve ไปเลี้ยงที่ลิ้นส่วนหน้า ประมาณ 2/3 ทำหน้าที่รับรสอาหาร และทำหน้าที่ควบคุมการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าและศรีษะ ทำให้เกิดลักษณะการแสดงสีหน้าต่างๆ

                                8.Vestibulocochlea nerve มี 2 แขนง คือ vestibular nerve ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว และ cochlea nerve ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

                                9.Glossopharyngeal nerve ไปเลี้ยงลิ้นส่วนหลัง ประมาณ 1/3 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากลิ้น การกลืน เร้าให้หลั่งน้ำลาย และยังควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหลอดคอ (Pharynx)

                                10.Vagus nerve ประกอบด้วยเส้นประสาทหลายเส้นรวมกันไปสู่อวัยวะต่าง เช่น หูชั้นนอก, pharynx, larynx, trachea, bronchi, อวัยวะในช่องอก, อวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ หัวใจ, ปอด, esophagus, กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก, ถุงน้ำดี (Gall bladder) เป็นต้น

                                11.Accessory nerve เลี้ยงกล้ามเนื้อ trapezius และ sternocleidomastoid ทำให้ศรีษะและไหล่เกิดการเคลื่อนไหว

                                12.Hypoglossal nerve ไปสู่กล้ามเนื้อของลิ้น ควบคุมการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อลิ้น ทำให้ลิ้นมีการเคลื่อนไหว

                                    2. เส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal nerve)

เป็นเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง มี 31 คู่ spinal nerve ทุกคู่ เป็นเส้นประสาทที่รวมทั้ง sensory และ motor ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากผิวหนังและเนื้อเยื่อ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมการหดตัวและการยืดตัวของกล้ามเนื้อระดับที่เส้นประสาทนั้นควบคุมด้วย เส้นประสาทไขสันหลังแต่ละคู่จะมี 2 ปลาย (root) คือ

                        -  Anterior root or Ventral root เป็น fibers ที่ตั้งต้นจาก cell bodies ใน gray matter ของ anterior horn ของไขสันหลัง fiber เหล่านี้เป็น efferent fibers ซึ่งนำ impulse จากไขสันหลังมาสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ

                        -  Posterior root or Dorsal root เป็น fibers ที่ตั้งต้นจาก cell ที่ประกอบเป็น ganglion ของ posterior root cell bodies เหล่านี้เป็น afferent หรือ sensory fibers ซึ่งนำ impulse จากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เข้าสู่ไขสันหลัง หรือ medulla oblongata

                    3.  ระบบประสาทอัตโนมัติ  (Autonomic nervous system)

              ระบบประสาทชนิดนี้มีการทำงานที่เป็นอิสระอยู่นอกอำนาจจิตใจ   ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ เช่นการควบคุมการทำงานของ กล้ามเนื้อหัวใจ    กล้ามเนื้อเรียบ การทำงานของต่อมต่าง ๆ ทั่วร่างกาย  ระบบประสาทอัตโนมัติมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของโครงสร้างของอวัยวะ ๆ ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจได้แก่

                    -  กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) ของอวัยวะต่างๆ

                    - กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle )

                    -  ต่อมต่างๆ (secretory glands)

                                ระบบประสาทอัตโนมัติ นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

                                                1.  ระบบประสาทซิมพาเทติก ( sympathetic  nervous system )   เป็นประสาทของการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่เกิดขึ้นทันทีทันใด หรือ ขณะตื่นเต้น เช่น ในการต่อสู้กับศัตรู การทำงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือในระยะที่เกิดการป่วยไข้ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ม่านตาขยาย เป็นต้น

                        2.  ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ( Parasympathetic nervous system )  เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่พร้อมจะทำงานได้ เช่น จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง  ช่วยในการเคลื่อนไหวของท่อทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น  ทำให้มีการย่อยและการดูดซึมอาหารมากขึ้น เพื่อเป็นการซ่อมแซมและสร้างพลังงานสำหรับร่างกาย

            อวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่จะมีระบบประสาททั้งสองนี้ไปเลี้ยง โดยระบบประสาททั้งสองนี้จะทำงานตรงกันข้ามกัน เพื่อให้เกิดการสมดุลเหมาะสมที่ร่างกายจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

การดูแลรักษาระบบประสาท

1. ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ เพราะหากสมองส่วนซีรีบรัมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ความจำ เสื่อม หรือไม่สามารถจำสิ่งที่พบเห็นใหม่ ๆ ได้ และหากบริเวณที่ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการ เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจทำให้ส่วนนั้นเป็นอัมพาตได้

2. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง โดยใช้วิธีต่าง ๆ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบในเด็กตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด หรือรีบให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวกับสมอง

3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะการดื่ม    แอลกอฮอล์มาก ๆ อาจทำให้เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ได้

4.  พยายามผ่อนคลายความเครียด  หากปล่อยความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างการและจิตใจ  จึงควรหาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  การออกกำลังกาย  พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง  ทำตัวให้ร่าเริงแจ่มใส  พักผ่อนให้เพียงพอ  โดยเฉพาะการนอนหลับ  เพราะเป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายที่ดี  โดยขณะที่เรานอนหลับ  ประสาททุกส่วนที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่  และระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจทำงานน้อยลง

5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่ให้วิตามินบี 1 สูง ได้แก่ อาหารพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง เครื่องในสัตว์ เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น เพราะวิตามินบี 1 จะช่วยให้ประสาทแขน ขา และศีรษะทำงานปกติ ช่วยป้องกันอาการเหนื่อยง่าย

แนะนำแหล่งค้นคว้า

http://thaiitteacher.no-ip.info/eLearning1/neuro/neuro_system.htm        เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิก และสื่อมัลติมิเดีย  เรื่องระบบประสาท

http://www.bcnpy.ac.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87  กายวิภาคระบบประสาท

http://www.spt.ac.th/kruchok/Quiz4.html  แบบทดสอบเกี่ยวกับระบบประสาท

http://www.doctor.or.th/article/list/168  โรคเกี่ยวกับระบบประสาท

ชื่อ  ............................................ ......... นามสกุล ............................... ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 / ......  เลขที่  ......

ใบงานที่  เรียนรู้ตัวเรา

ความหมายและองค์ประกอบของระบบประสาท

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเติมข้อความต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์

1.  ระบบประสาท  มีหน้าที่  ...................................................................................................................................................

2.  ระบบประสาท  ประกอบด้วย ............................................................................................................................................

3.  ระบบประสาท  แบ่งตามลักษณะการทำงาน  แบ่งเป็น   2 ส่วน 

                3.1  ................................................................

                3.2  ................................................................

4.  ระบบประสาทส่วนกลาง  ประกอบด้วย

                4.1  ................................................................

                4.2  ................................................................

5.  สมอง  แบ่งออกเป็น  ส่วน คือ

                5.1  ................................................................

                5.2  ................................................................

                5.3  ................................................................

6.  สมองส่วนหน้า  ประกอบด้วย

                -  ซีรีบรัม  เป็นสมองที่มีขนาด .............  ที่สุด  ทำหน้าที่เกี่ยวกับ .......................................................

และความรู้สึกผิดชอบ  นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ 

                -  ทาลามัส  เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางหรืออยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง  ทำหน้าที่............................................................................  ก่อนที่จะส่งไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น ๆ

                -  ไฮโพทาลามัส  สมองส่วนนี้อยู่ใต้ส่วนทาลามัส  ซึ่งอยู่ด้าน.............................................  ทำหน้าที่เป็น .................................................................................................  ความดันเลือด  ความหิว  ฯลฯ  นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น  อารมณ์เศร้าโศก  เสียใจ

7.    สมองส่วนกลาง  เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า  ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ...........................................................................เช่น  การกลอกลูกตาไปมา  การปิดเปิดม่านตา

8.  สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย

                -  ซีรีเบลลัม  อยู่ใต้ส่วนล่างของซีรีบรัม  ทำหน้าที่..................................................................................................................................................  ให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม  อีกทั้งยังเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตัว  ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน  และจากข้อต่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ซีรีเบลลัม  จึงเป็นส่วนสำคัญในการ ...................

..........................................................................................................................................................................             -  พอนส์  เป็นส่วนของก้านสมองที่อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัมติดกับสมองส่วนกลาง  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย  เช่น .................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

9.  ไขสันหลัง  เป็นส่วนที่ต่อจาก .............................  ไปตามแนว...................................................................

ไขสันหลังทำหน้าที่  รับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  ส่งต่อไปยัง  .......................  และรับกระแสประสาทตอบสนองจาก  .......................  เพื่อส่งไปยัง  .........................................................  และยังควบคุมปฏิกิริยา  .....................หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหัน  เช่น  ..................................

.........................................................................................................................................................................

10.  ระบบประสาทส่วนปลาย  ประกอบด้วย .........................................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

11.  ระบบประสาทส่วนปลาย  ทำหน้าที่  ......................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

12.  เส้นประสาทสมอง มีอยู่  ..................  คู่

13.  เส้นประสาทไขสันหลัง  มีอยู่  ................  คู่

14.  ระบบประสาทอัตโนมัติ  เป็นระบบประสาทที่ควบคุม  การทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจโดยไม่รู้สึกตัว  เช่น  ...............................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

ข้อสอบ  0 – net  ที่เกี่ยวกับระบบประสาท

1.  อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัส  ยกเว้น  ข้อใด   (  ปี  51 )

                1.     โรคคางทูม                                                                                 2.     โรคปอดบวม

                3.     โรคอีสุกอีใส                                                                              4.     โรคหัดเยอรมัน

2.  ต่อมใต้สมองเป็นต่อมหลักสำคัญ ที่ควบคุมต่อมไร้ท่อต่างๆ ยกเว้น ข้อใด   (  ปี  52 )

                1.     ต่อมไทรอยด์                                                              2.     ต่อมพาราไทรอยด์

                3.     ต่อมหมวกไต                                                             4.     ต่อมเพศ

3.  อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด (  ปี  53 )

                1.     โรคคางทูม                                                                 2.     โรคปอดบวม

                3.     โรคอีสุกอีใส                                                              4.     โรคหัด