ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ

พระราชกรณียกิจในหลวง รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โครงการในพระราชดําริ รวมพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

โรงเรียนจิตรลดา ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างขึ้นในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ทั้งนี้เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระราชโอรส พระราชธิดา บุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ์ มหาดเล็ก ข้าราชการบริหารและบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ทรงเห็นว่าการส่งพระราชโอรส พระราชธิดาไปเรียนโรงเรียนข้างนอก อาจไม่เหมาะสมและเป็นภาระแก่โรงเรียนและครู โรงเรียนจิตรลดาได้รับพระราชทานทุนทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายนักเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนและได้พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันและอาหารว่างตอนบ่าย นอกจากนี้นักเรียนที่เรียนดีก็จะได้รับพระราชทานรางวัลอีกด้วย โรงเรียนจิตรลดาได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างล้นพ้น เพราะเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลและแก้ปัญหาการขาดแคลนสถานที่เรียนได้อีกส่วนหนึ่งด้วยโรงเรียนราชวินิต
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
โรงเรียนราชวินิตได้ถือกำเนิดขึ้นจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินสำนังานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทางทิศใต้ของสวนสุนันทาให้แก่กรมสามัญศึกษาเพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของข้าราชการสำนักพระราชวังและประชาชนในท้องถิ่นใช้เป็นที่เล่าเรียน โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบกับเงินที่มีผู้บริจาคเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงเรียนและได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ต่อมาได้พระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มุมสนามม้าราชตฤณมัยสมาคมก่อสร้างโรงเรียนราชวินิตมัธยมอีกด้วยโรงเรียนวังไกลกังวล
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาวังไกลกังวล เปิดสอนชั้นเด็กเล็กไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และเปิดสอนหลักสูตรวิชาระยะสั้นเพิ่มเติมด้วย และต่อมาได้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอาคารที่พักกองรักษาการณ์วังไกลกังวลให้เป็นอาคารเรียนแทนอาคารไม้เก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ต่อมาก็ได้สร้างเป็นอาคารเรียนเพิ่มขึ้นบริหารโดย "คณะกรรมการบริหารโรงเรียนวังไกลกังวล" ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารโรงเรียนและทางวิชาการจากกระทรวงศึกษาธิการและฝ่ายสำนักพระราชวัง ปัจจุบันเปิดสอนถึงระดับสารพัดช่าง วิชาชีพระยะสั้น และประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างฝีมือ มีจำนวนถึง ๑๗ แผนกวิชา อันเป็นการสนองโครงการตามพระราชดำริเกี่ยวกับศิลปาชีพพิเศษ และเป็นที่ฝึกงานในชั่วโมงเรียนวิชาการวางพื้นฐานอาชีพด้วย และเนื่องในโอกาสปีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี โรงเรียนวังไกลกังวลยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อออกอากาศการเรียนการสอนและรายการทางการศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ของกรมสามัญศึกษาทั่วประเทศให้ครบ ๒,๕๐๐โรงเรียนภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เนื่องจากโรงเรียนวังไกลกังวลเก็บค่าเล่าเรียนในอัตราต่ำ รายได้ของโรงเรียนไม่พอกับรายจ่ายต้องขอพระราชทานเงินพระราชกุศลเพิ่มขึ้นตามจำนวนครูและนักเรียน ปัจจุบันโรงเรียนวังไกลกังวล ได้รับพระราชทานเงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานจากงบเงินใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยปีละ ๑ ล้าน ๒ แสนบาท มากที่สุดในบรรดาโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทั้งหมดมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ถือกำเนิดจากสำนักงานเลขาธิการพระราชวังได้เสนอแนะเป็นเบื้องต้นที่จะนำเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ เช่น โรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้เป็นผู้ดำเนินการ เป็น "โครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม" ขึ้นมาก่อน โดยร่วมกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและบริษัทชินวัตร แซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ทั้งนี้เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติปีกาญจนาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นการนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ ช่วยโรงเรียนที่ขาดแคลนครูสาขาวิชาต่าง ๆ และช่วยโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลได้รับโอกาสเท่าเทียมกับโรงเรียนในเมือง ในระดับชั้น ม.๑ - ม.๖ โดยออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคมจำนวน ๖ ช่อง และใช้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นแม่ข่าย ทุนดำเนินการในชั้นแรกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวน ๕๐ ล้านบาทเป็นทุนประเดิม นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน บริษัท ตลอดจนบุคคลทั่วไปเข้าร่วมโครงการนี้เป็นจำนวนมาก และกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ตั้งงบประมาณสนับสนุนเป็นรายปีทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นไป
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสถานีส่งโทรทัศน์เพื่อการนี้ขึ้นที่โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และคล่องตัว คณะผู้บริหารโรงเรียนจึงเห็นสมควรให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นเพื่อบริหารงาน ใช้ชื่อว่า "มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม" มีสำนักงานอยู่ที่อาคารกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ใช้ตราสัญลักษณ์กาญจนาภิเษกเป็นเครื่องหมายของมูลนิธิ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นสิริมงคลยิ่งแก่มูลนิธิผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับการศึกษาทางไกลนี้ ในเชิงปริมาณจะมีผลทำให้สถานศึกษาทุกสังกัดจัดการศึกษาในระบบชั้นเรียนมีโอกาสขยายการดำเนินงานได้กว้างขวางมากขึ้น ในด้านคุณภาพทำให้นักเรียนชนบทห่างไกลมีโอกาสได้รับความรู้และศึกษาเล่าเรียนกับนักเรียนในเมือง รวมทั้งประชาชนผู้สนใจใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วย (เป็นการบริหารงานวิชาการในด้านการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการขยายโอกาสทางการศึกษา ๖-๑0 ปีได้ ๓ ล้านคนตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ ๘)โรงเรียนราชประชาสมาสัย
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
โรงเรียนราชประชาสมาสัย เริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินทุนจำนวน ๑ ล้านบาท ให้มูลนิธิราชประชาสมาสัยเป็นทุนจัดสร้างขึ้น เพื่อให้บุตรธิดาของผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อนใช้เป็นสถานที่เล่าเรียน ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ได้ทรงเห็นว่า บุตรธิดาของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้รับเคราะห์กรรมจากบิดามารดา จะเข้าเรียนที่โรงเรียนใดก็ไม่ได้ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อไม่ให้โรงเรียนรับบุตรธิดาผู้ป่วยโรคเรื้อนเข้าเรียน และถ้าปล่อยทิ้งไว้กับบิดามารดาก็ทำให้ติดโรคได้ ทรงมีความห่วงใยชีวิตและอนาคตของเด็กเหล่านี้ จึงมีพระมหากรุณาธิคุณให้มูลนิธิราชประชาสมาสัยดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์อีก ๑ ล้านบาท ก่อสร้างโรงเรียนอีกหนึ่งหลัง ปัจจุบันโรงเรียนราชประชาสมาสัย ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางโดยเปิดรับเด็กทั่วไปเข้าเรียนร่วมกับบุตรธิดาผู้ป่วยโรคเรื้อน ซึ่งก็ไม่มีปัญหาการอยู่ร่วมกันแต่อย่างใดโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมคือโรงเรียนราชวิทยาลัยตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ตำบลบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี รับนักเรียนประจำกินนอน มีวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมนักเรียนให้มีความรู้เพื่อไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในยุโรป และในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โอนมาอยู่กระทรวงยุติธรรม มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาได้ศึกษาวิชากฎหมายในขั้นอุดมศึกษาและย้ายไปเปิดสอนที่ ตำบลบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศให้โรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นต่อสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมาก็ให้รวมโรงเรียนราชวิทยาลัยกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเข้าด้วยกันอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระราชทานนามว่า "โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย"
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช คณะครูและศิษย์เก่าได้ร่วมกันจัดตั้งและดำเนินกิจการโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นใหม่ โดยขอใช้สถานที่ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สามพรานเดิม จากกระทรวงศึกษาธิการ และขอพระราชทานอักษรย่อพระปรมาภิไชย ภ.ป.ร. นำหน้าชื่อโรงเรียน จึงได้รับพระราชทานนามว่า "โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย" และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ ปัจจุบันรับนักเรียนชาย สอนสายสามัญศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ถึงมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ เป็นโรงเรียนประจำกินนอน ฝึกอบรมให้นักเรียนมีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม มีพลานามัยสมบูรณ์ จิตใจเป็นสุข มีระเบียบวินัย เคารพผู้ใหญ่ มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพึ่งตนเองได้โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
นอกจากจะพระราชทานโรงเรียนสำหรับพระราชโอรสและพระราช-ธิดา บุตรข้าราชบริพารและเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้ร่วมเรียนด้วยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมีพระเมตตาต่อเยาวชน พสกนิกรอย่างทั่วถึง ทั้งที่เป็นชาวไทยภูเขาหรือประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นชายแดนห่างไกลการคมนาคม โดยการพระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อสอนหนังสือให้แก่ชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม พระราชทานนามว่า "โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์" เป็นอาคารเรียนถาวรสำหรับเด็กนักเรียนชาวเขา เป็นโรงเรียนในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา ตั้งอยู่บริเวณชายแดนภาคเหนือ ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ทำให้เยาวชนชาวไทยภูเขาเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้หนังสือไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย เป็นการสร้างสำนึกของความเป็นคนไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของชาติ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๐ โรง ต่อมาเมื่อท้องถิ่นนั้นมีความเจริญขึ้น หน่วยราชการที่รับผิดชอบโดยตรงสามารถเข้าไปดำเนินการได้ ก็จะโอนให้กับส่วนราชการนั้น ๆ รับไปดำเนินการต่อไปโรงเรียนร่มเกล้า
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
เนื่องจากโรงเรียนที่อยู่ในเขตชายแดนภาคอีสานหลายแห่งต้องปิด เพราะเยาวชนส่วนใหญ่ถูกชักจูงให้เข้าป่าไปร่วมกับกลุ่มที่มีอุดมการณ์ที่แตกต่างทางการเมืองและรวมกลุ่มกันอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าสีแดงเข้ม กองทัพบกได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานสร้างโรงเรียนที่บ้านหนองแดน เพื่อให้การศึกษาและป้องกันมิให้เด็กถูกชักจูงเข้าป่า ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างโรงเรียน และพระราชทานกำลังใจมิให้ย่อท้อ ให้ทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยการศึกษาของเยาวชนที่ขาดโอกาสของการศึกษา มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนร่มเกล้าในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และในพื้นที่ปฏิบัติการของผู้มีอุดมการณ์ที่แตกต่างทางการเมืองอีกหลายจังหวัด จึงเป็นการนำการศึกษาและการพัฒนามาใช้แทนการต่อสู้ด้วยความรุนแรง
การดำเนินการโรงเรียนร่มเกล้า นอกจากเน้นด้านวิชาการแล้ว ยังเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ทักษะการทำงานโดยเฉพาะด้านอาชีพ โรงเรียนร่มเกล้าได้พัฒนาด้านการจัดการศึกษา และการจัดกิจกรรมสนองตามพระราชดำริที่พระราชทานไว้เป็นสำคัญตลอดมาจนปัจจุบันโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาสงเคราะห์เด็กยากจน ซึ่งขาดที่พึ่งและเด็กในถิ่นกันดาร ให้ได้รับการศึกษาควรแก่อัตภาพ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัดเป็นประเภทโรงเรียนราษฎร์ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดการโรงเรียน ขอความร่วมมือจากคณะสงฆ์ช่วยอุปถัมภ์ และอาราธนาพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้สอน โดยใช้ทุนทรัพย์พระราชทานและทุนที่ได้รับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลปัจจุบันมีอยู่ ๓ โรงเรียน คือ๑. โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ ตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสงเคราะห์เด็กยากจนชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
๒. โรงเรียนนนทบุรีวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ยกเว้นไม่เก็บค่าเล่าเรียน แจกชุดนักเรียนให้นักเรียนที่ยากจนและจัดหนังสือให้ยืมเรียน
๓. โรงเรียนวัดบึงเหล็กอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายแบบให้เปล่าทั้งหมดโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เกิดมหาวาตภัยภาคใต้ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังความเสียหายแก่จังหวัดภาคใต้ถึง ๑๒ จังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงผู้ประสบภัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ สิ่งของช่วยผู้ประสบภัยโดยเสด็จพระราชกุศล ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินที่มีผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียนประชาบาลที่ถูกพายุพัดพังรวม ๑๒ โรงเรียนใน ๖ จังหวัดภาคใต้ พระราชทานชื่อว่า "โรงเรียนราชประชานุเคราะห์" ๑ และ ๒ ที่จังหวัดกระบี่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓ ที่จังหวัดชุมพร โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๙, ๑๐ ที่จังหวัดนราธิวาส โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๑ ที่จังหวัดสงขลา และโรงเรียนราชประชา-นุเคราะห์ ๑๒ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อนำดอกผลสำหรับสงเคราะห์เด็กที่ประสบวาตภัย ขาดอุปการะเลี้ยงดูและช่วยเหลือราษฎรที่ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ
ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกับจังหวัดที่ประสบภัย จัดสร้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ขึ้นในจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๓จังหวัดอุตรดิตถ์โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๔จังหวัดหนองคายโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๕จังหวัดเชียงรายโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๖, ๑๗, ๑๘จังหวัดมหาสารคามต่อมากรมสามัญศึกษาได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ขึ้น ๑๑ แห่งเป็นประเภทศึกษาสงเคราะห์ เป็นโรงเรียนประจำสอนชั้นประถมศึกษาปี ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร ที่อยู่ เสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียน รวมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั้งสิ้น ๓๐ แห่ง

| สรรพศิลปศาสตราธิราช | พระราชกรณียกิจและพระราชดำริด้านการจัดการศึกษา |