ข้อใด ไม่ใช่ การทำธุรกรรม การเงินดิจิทัล fintech

ข้อใด ไม่ใช่ การทำธุรกรรม การเงินดิจิทัล fintech

ชื่อ FinTech มีที่มาจากคำว่า Financial และ Technology แปลตรงตัวได้ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน  หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM ที่ช่วยให้คนกดเงินสดได้สะดวก เพียงแค่มีบัตร, บัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นฟินเทคอย่างหนึ่ง

อ้าวงั้น FinTech ก็มีมาตั้งนานแล้ว งั้นทำไมช่วงนี้ฮอตจัง แล้วเกี่ยวอะไรกันกับ Startup? 
ลองดูดีๆ 3 ตัวอย่างข้างต้นที่เราหยิบยกขึ้นมา มันมีมานานแล้ว Credit card คิดค้นตั้งแต่ปี 1950, ATM ตั้งแต่ปี 1967, Online banking ที่แรก เริ่มตั้งแต่ปี 1980 กว่าแต่ละตัวจะเกิดขึ้น ใช้เวลาห่างกันเป็นสิบๆ ปี นานๆ ทีเราจะได้เห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ

นั่นแปลว่ายังมีช่องว่างอีกมากมายที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินของเรา ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้น เพราะการมาของ Startup บริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมการเงิน ได้รวดเร็วกว่าให้ลำพังบริษัทการเงินอย่างธนาคาร ต้องมาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ

ตัวอย่างฟินเทค

ข้อใด ไม่ใช่ การทำธุรกรรม การเงินดิจิทัล fintech

รูปภาพจาก รายงาน Thailand FinTech Startup Landscape 

ยกตัวอย่างเช่น TransferWise เป็น Startup บริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันต่างๆ

Lufax.com จากจีน และ LendingClub จากอเมริกา เป็นบริการด้าน Peer-to-peer Lending (P2P Lending) หรือการเชื่อมให้คนสองคนยืม-คืน เงินกันได้ ผ่านแอปพลิเคชัน

ตัวอย่างอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่ใช่ยูนิคอร์น เช่น Crowdcube และ Crowdo เป็น Equity Crowdfunding ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการกู้เงินจากธนาคารอย่างเดียวเสมอไป

ทำไมฟินเทคถึงเป็นกระแสที่จับตามอง

เพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างข้างต้น ก็ช่วยให้เห็นได้แล้วว่าบริการของ Startup ช่วยนำเสนออะไรหลายอย่างที่ธนาคารทำให้ไม่ได้ หรือยังทำได้ไม่ดี แถมเรื่องเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน อุตสาหกรรมการเงิน นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสำคัญมาก นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจอีก เช่น

ฟินเทค และการเป็น Core ของธุรกิจอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมด้าน E-payment หรือการชำระเงินออนไลน์ นับว่ามีบทบาทสำคัญมากต่อ E-commerce การจะเปลี่ยนใจคนให้มาซื้อของออนไลน์ ต้องเกิดจากระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้ง่าย มีประสิทธิภาพด้วย เป็นต้น

กล่าวได้ว่าฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ - เงินทุนหมุนเวียน, Supply Chain, กระบวนการชำระเงิน, การฝาก/ถอน, ประกันชีวิต และอื่นๆ แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น

ฟินเทค และการนำมาสู่เทคโนโลยีพลิกโฉม

ในขณะนี้ กระแสเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่กำลังมาแรง คือ Blockchain (บล็อกเชน) โดยแท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน มากจากความพยายามในการพัฒนาฟินเทคประเภท Bitcoin (บิทคอยน์) เพื่อสร้าง Digital currency ที่มีความน่าเชื่อถือ จนปัจจุบัน Blockchain ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้

ฟินเทค กับการสร้างความร่วมมือ

เมื่อทั้งองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดเล็กอย่าง Startup ก็ล้วนมีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน เราจึงพบเห็นความตื่นตัวของทั้งสองฝ่าย ผ่านข่าวต่างๆ ที่เรานำเสนอ

ที่มา : techsauce

ท่ามกลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค (FinTech) ได้เปลี่ยนโลกการเงินและเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก  ช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา มีการพูดถึง ฟินเทค ในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติของผลประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้บริการทางการเงินและประเทศโดยรวม และในมิติของผลกระทบ ต่อภาคการเงินการธนาคาร (Disruption) BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจากคุณทิน โชคกมลกิจ พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชื่อดังจากสำนักข่าว TNN ช่อง 16 มาร่วมพูดคุยกับ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท.เกี่ยวกับพัฒนาการฟินเทคในประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากฟินเทคเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย รวมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันจากความเสี่ยงของฟินเทคที่อาจเกิดขึ้น

ข้อใด ไม่ใช่ การทำธุรกรรม การเงินดิจิทัล fintech

"พัฒนาการของฟินเทค" ส่งผลกระทบต่อทุกคน

          คุณทิน : “ฟินเทค” หลายคนได้ยินคำนี้บ่อย ๆ แต่อยากให้ท่านผู้ว่าการช่วยอธิบายว่า ฟินเทคมีผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร ทำไมประชาชนคนธรรมดาจึงต้องสนใจฟินเทค    

          ดร.วิรไท : ถ้ามองให้ไกลกว่าคำว่า “ฟินเทค” จะเห็นว่าเราอยู่ในช่วงที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน ในหลายอุตสาหกรรมถูกกระทบอย่างรุนแรง (Disruption) แต่ก็เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย ภาคการเงินก็ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน ประเภทของบริการทางการเงิน และค่าธรรมเนียมในการใช้บริการทางการเงิน ฟินเทคมีศักยภาพสูงมากที่จะช่วยให้วิถีชีวิตของเราง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็มีผลกระทบต่อผู้ให้บริการทางการเงินรูปแบบเดิม 

          ถ้ามองไปในอนาคต ผมคิดว่าพัฒนาการของฟินเทคจะเกิดอย่างรวดเร็วและกว้างไกลกว่าในช่วงที่ผ่านมา แต่รูปแบบอาจต่างกันออกไป เมื่อ 3 ปีที่แล้ว คนมักพูดกันว่า ธนาคารพาณิชย์จะไปไม่รอด เพราะฟินเทคจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญ ต่างฝ่ายต่างตั้งป้อมระแวงซึ่งกันและกัน แต่วันนี้ คนไม่พูดแบบนั้นแล้ว เพราะเริ่มเห็นว่าฟินเทคกับธนาคารพาณิชย์ร่วมมือกันมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายเห็นข้อจำกัดของตน และนำจุดแข็งของอีกฝ่ายหนึ่งมาส่งเสริมกัน จึงช่วยให้พัฒนาการทางการเงินรุดหน้าไปอย่างก้าวไกล ทุกวันนี้ธนาคารพาณิชย์รายใดที่ไม่ทำงานร่วมกับฟินเทค อาจได้รับผลกระทบมาก 

ข้อใด ไม่ใช่ การทำธุรกรรม การเงินดิจิทัล fintech

 

ฟินเทคกับการพัฒนาทางธุรกิจและคุณภาพชีวิตประชาชน

          คุณทิน : ย้อนไป 3 - 4 ปีก่อน ฟินเทคทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมการเงิน สักพักเมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่ ฟินเทคที่เคยถูกมองว่าเป็นคู่แข่งของธนาคารพาณิชย์ ก็มาจับมือกัน ท่านผู้ว่าการมองว่า การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่    

         ดร.วิรไท : การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น บล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีระบบการเก็บข้อมูลแบบกระจายตัวที่มีศักยภาพสูง สมัยก่อนสถาบันการเงินต้องมีทะเบียนกลาง หรือใช้ระบบกลางเป็นหลัก การทำงานจะชำระบัญชีหรือตรวจสอบกันที่บัญชีกลาง (Central Book) ซึ่งต้องทำงานเป็นขั้นตอน ใช้เวลามากและมีคนเกี่ยวข้องมาก แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน จะสามารถมีหน่วยข้อมูลที่กระจายอยู่ทั่วไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีกลาง และเวลาเกิดธุรกรรมใหม่ ข้อมูลชุดใหม่จะถูกบันทึกไว้ตามหน่วยข้อมูลที่กระจายตัว ซึ่งเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน เชื่อถือได้ และทุกคนสามารถทำงานพร้อมกันได้ จึงช่วยลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมลงได้อย่างมาก นี่คือลักษณะการทำงานของบล็อกเชนที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความสามารถสูงขึ้นมาก ปัจจุบันสถาบันการเงินหลายแห่งได้เริ่มนำบล็อกเชนมาใช้ในการทำงาน เพราะสามารถตอบโจทย์ในหลายมิติ โดยเฉพาะการเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งลดโอกาสที่จะเกิดการทุจริตเพราะการดัดแปลงข้อมูลก็ทำได้ยากขึ้น

         หนึ่งในตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นโครงการใหญ่และเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของประเทศไทย คือเป็นครั้งแรกในโลกที่ธนาคารพาณิชย์ 22 แห่ง ร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจและบริษัทขนาดใหญ่ของประเทศนำบล็อกเชนมาใช้ในการออกหนังสือค้ำประกัน แต่ละปีประเทศไทยออกหนังสือค้ำประกันประมาณ 5 แสนฉบับ มูลค่ารวมประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท กระบวนการที่เกี่ยวกับหนังสือค้ำประกันมีหลายขั้นตอน และมีผู้คนที่เกี่ยวข้องมาก การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากให้กับระบบการเงินและภาคธุรกิจ ซึ่งยังไม่รวมการช่วยลดการตัดต้นไม้ด้วย เพราะที่ผ่านมาหนังสือค้ำประกันทำในรูปกระดาษ 

         อีกตัวอย่าง คือระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ผ่านมา 2 ปี มีบัญชีที่ผูกกับระบบพร้อมเพย์มากกว่า 47 ล้านบัญชี ซึ่งถือว่าได้รับความนิยมสูงในเวลาที่รวดเร็วมาก ส่วนหนึ่งเพราะระบบพร้อมเพย์ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกขึ้น และต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลง นำไปสู่การแข่งขันต่อยอดบริการใหม่ ๆ อีกมาก ระบบพร้อมเพย์ไม่เพียงช่วยให้การชำระเงินง่ายและสะดวกขึ้นเท่านั้น ยังทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย เพราะสามารถจ่ายเงินได้ทันทีเมื่อได้รับสินค้า นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า เทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ ทำให้วิถีชีวิตคนไทย ตั้งแต่ระดับประชาชนไปถึงธุรกิจ ได้รับความสะดวกมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง นั่นหมายถึงความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้นของประเทศ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน
 

ความปลอดภัย คือเรื่องสำคัญอันดับต้นของการใช้ฟินเทค

         คุณทิน : ช่วงที่ระบบพร้อมเพย์ออกมาใหม่ ๆ ประชาชนกังวลและตั้งคำถามว่า จะนำข้อมูลไปทำอะไรหรือเปล่า ธปท. จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ฟินเทค หรือเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ อย่างไร 

         ดร.วิรไท : ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมาก และเป็นเรื่องที่ ธปท. ให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ เพราะหลักสำคัญของการทำธุรกรรมทางการเงิน คือ ความไว้วางใจ (Trust) ถ้าไม่มีความไว้วางใจ ธุรกรรมการเงินจะเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นสถาบันการเงินที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างระบบที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยสูง และคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นอย่างดี

         ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และมาตรฐานที่ ธปท. กำหนดเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการ ตั้งแต่การออกแบบระบบไปถึงการทดสอบระบบ มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยผู้ตรวจสอบจาก ธปท. และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกลไกดูแลและชดเชยความเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ฉะนั้น เรื่องของความปลอดภัยและการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นกระบวนการที่ ธปท. ต้องดูแลตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ และต้องทำให้แน่ใจว่ามีการยกระดับอย่างต่อเนื่อง เพราะภัยทางด้านไซเบอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

ข้อใด ไม่ใช่ การทำธุรกรรม การเงินดิจิทัล fintech

         อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ใช้บริการเอง ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเงิน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา หลายปัญหาเกิดจากความไม่เข้าใจเทคโนโลยีทางการเงิน เช่น มีคนโทรมาขอ Username หรือ Password ก็ให้ไป นอกจากนี้ ธปท. ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย เพราะระบบที่เกี่ยวข้องกับฟินเทค ไม่ใช่แค่ระบบธนาคารพาณิชย์เพียงอย่างเดียว หลายธุรกรรมทางการเงินทำผ่านโทรศัพท์มือถือ ธปท. จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้กำกับดูแลระบบโทรคมนาคม ยกระดับกลไกเรื่องความปลอดภัยในการให้บริการทางการเงินผ่านระบบโทรคมนาคมด้วย

          ธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญมากกับความปลอดภัยของการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน และลงทุนในเรื่องนี้สูงขึ้นมาก ธปท. ก็เช่นเดียวกัน มีการจัดตั้งฝ่ายงานใหม่ เพื่อทำหน้าที่ดูแลและตรวจสอบสถาบันการเงินทางด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันได้ยกระดับการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีให้ได้มาตรฐานระดับโลก

การบริหารความเสี่ยงจากเทคโนโลยีทางการเงินเป็นหน้าที่ของทุกคน 

​         คุณทิน : ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปไกลมาก ภาคการเงินของไทยตามทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือไม่ อย่างเทคโนโลยีข้อมูลทางชีวภาพ (Biometrics) สามารถใช้ได้แล้วในประเทศไทย หรือยังต้องรออีกสักระยะ มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้าง         

         ดร.วิรไท : ยอมรับว่าบางเรื่องเทคโนโลยีอาจไปเร็ว แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำหลายเรื่องธปท. ไม่ได้นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเหล่านั้นมาใช้หรือยอมให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ในทันที แต่กำหนดให้ต้องนำมาทดสอบใน “กระบะทราย (Regulatory Sandbox)” ก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีที่บอกว่าใช้ได้ทั่วโลกนั้น ใช้กับประเทศไทยได้จริงหรือไม่ และหากเกิดข้อผิดพลาดจะมีวิธีดูแลลูกค้าอย่างไร 

        เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราต้องเท่าทันกับความเสี่ยงของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วย นโยบายของ ธปท. เราไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยี เพียงแต่จะต้องมีกระบวนการทดสอบ และเรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อหากฎเกณฑ์และกลไกที่สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงที่มากับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามที่ต้องการ

“สิ่งสำคัญในการนำฟินเทคมาใช้ คือ ต้องเข้าใจและเท่าทันกับเทคโนโลยีที่จะใช้ รวมถึงพิจารณาความสามารถในการรับความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น เพราะเทคโนโลยีมีความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ แฝงมาด้วยเสมอ”

         ตัวอย่างเทคโนโลยี Biometrics มีความหลากหลายมาก ช่วงหลัง เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย คือ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Face Recognition) แม้ว่าจะมีพัฒนาการดีขึ้น แต่เราต้องคิดถึงการยืนยันตัวตน 2 - 3 ขั้นตอน โดยเฉพาะสำหรับธุรกรรมมูลค่าสูง เพื่อบริหารความเสี่ยงให้ดีขึ้น อีกเรื่องสำคัญที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือ การจำกัดความเสี่ยงด้วยตัวของผู้ใช้บริการเองก่อน เช่น เราสามารถกำหนดวงเงินสำหรับโอนไปบัญชีตัวเองและบัญชีบุคคลอื่นได้ ในการใช้ Mobile Banking ทุกคนควรเข้าไปกำหนดวงเงินให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

          การเท่าทันกับความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ เป็นหน้าที่ของทุกคน ตั้งแต่ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ ผู้กำกับดูแล ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง และหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการเงินโดยตรง อาทิ หน่วยงานทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งถือเป็นสื่อสำคัญของการให้บริการทางการเงินสมัยใหม่
 

ข้อใด ไม่ใช่ การทำธุรกรรม การเงินดิจิทัล fintech

เป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนฟินเทคของ ธปท.

        คุณทิน : ธปท. มีเป้าหมายจะผลักดันเรื่องของฟินเทคในประเทศไทยอย่างไร

         ดร.วิรไท : ธปท. มุ่งส่งเสริมฟินเทคโดยให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง ได้แก่

        1. การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity)เราเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะช่วยเพิ่มผลิตภาพให้กับระบบการเงินไทย และจะส่งผลไปสู่ผลิตภาพของเศรษฐกิจไทยโดยรวม ตัวอย่างเช่น ต้นทุนการชำระเงินที่ถูกลง ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจถูกลง ซึ่งหมายถึงกำไรและความสามารถทางการแข่งขันที่จะเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จะช่วยลดต้นทุนในเรื่องของเวลาด้วย ซึ่งเป็นอีกต้นทุนที่สำคัญมาก สมัยก่อนการทำธุรกรรมทางการเงินต้องใช้เวลานาน ต้องเดินทางไปทำธุรกรรมที่สาขา เป็นต้นทุนแฝงที่อยู่ในระบบ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยลดต้นทุนแฝงเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ เทคโนโลยีการเงินใหม่ ๆ สามารถต่อยอดไปสู่บริการและโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย

         2. การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเงิน (Inclusivity) สิทธิในการเข้าถึงบริการทางการเงินควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทย ไม่ว่าด้านเงินฝาก สินเชื่อ การชำระเงิน หรือประกันภัย เทคโนโลยีทางการเงินจะช่วยให้ประชาชนที่อาจไม่ได้รับบริการเท่าที่ควร สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายและสะดวกขึ้นด้วยราคาที่ถูกลง ระบบพร้อมเพย์ถือเป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไร จากการเข้าถึงบริการชำระเงินได้ง่าย สะดวกและทั่วถึงมากขึ้น โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

        3. การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเงิน (Immunity) เทคโนโลยีทางการเงินจะช่วยให้ระบบการเงินมีความทนทานมากขึ้น การบริหารความเสี่ยงหลายอย่างต้องอาศัยเทคโนโลยี อาทิ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Face Recognition) ซึ่งถือว่ามีศักยภาพสูงกว่าการยืนยันตัวตนแบบเดิมที่ใช้ Username และ Password หรือการใช้ QR Code เพื่อจ่ายเงินแทนการให้บัตรเครดิตแก่พนักงานไปรูดบัตร ช่วยลดความเสี่ยงที่ข้อมูลอาจถูกขโมย เทคโนโลยีการประมวลผลข้อมูลที่ดีขึ้นช่วยให้การวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินความเสี่ยงมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

         ธปท. ให้ความสำคัญทั้งสามเรื่อง ในขณะเดียวกัน เราต้องการให้เทคโนโลยีที่เราส่งเสริมเป็นเทคโนโลยีที่เปิดกว้างสามารถต่อยอดได้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ผู้ให้บริการที่มาก่อนด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำกว่าสามารถยึดครองตลาดไปคนเดียว ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน และไม่เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ฉะนั้น ธปท. จึงให้ความสำคัญกับการสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง (Open Architecture) รวมทั้งส่งเสริมมาตรฐานกลาง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งในที่สุดประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด

         สุดท้ายนี้ ฟินเทคก็เหมือนเทคโนโลยีอื่น ๆ คือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อยู่ที่ว่าเราเข้าใจและเท่าทันกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นหรือไม่ เปรียบเหมือนเราได้รถคันใหม่ที่วิ่งเร็วขึ้นมาก ถ้าเรากดแต่คันเร่งโดยไม่เข้าใจกลไกของเบรก และไม่รู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะทำอย่างไร ก็ย่อมเกิดโทษ ดังนั้น สิ่งสำคัญในการนำฟินเทคมาใช้ คือ ต้องเข้าใจและเท่าทันกับเทคโนโลยีที่จะใช้ รวมถึงพิจารณาความสามารถในการรับความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น เพราะเทคโนโลยีมีความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ แฝงมาด้วยเสมอ