งานอาชีพใดห้ามคนต่างด้าวทำ

งานอาชีพใดห้ามคนต่างด้าวทำ

แรงงานต่างด้าว- เมื่อวันที่ 23 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานห้ามคนต่างด้าวทำ จำนวน 40 อาชีพ ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) เปิดเผยว่า ประกาศดังกล่าวครอบคลุม 40 อาชีพ แบ่งเป็นงานห้ามคนต่างด้าวทำเด็ดขาด 27 งาน และงานที่ให้คนต่างด้าวทำได้โดยมีเงื่อนไข 13 งาน โดยแบ่งงานออกเป็น 4 บัญชี ประกอบด้วย

บัญชีที่ 1 งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด จำนวน 27 งาน ได้แก่ งานแกะสลักไม้ งานขับขี่ยานยนต์ งานขายทอดตลาด งานเจียระไนเพชร/พลอย งานเสริมสวย งานทอผ้าด้วยมือ งานทอเสื่อ ทำกระดาษสาด้วยมือ ทำเครื่องเขิน ทำเครื่องดนตรีไทย ทำเครื่องถม ทำเครื่องทอง/เงิน/นาก ทำเครื่องลงหิน ทำตุ๊กตาไทย ทำบาตร ทำผ้าไหมด้วยมือ ทำพระพุทธรูป ทำร่ม งานนายหน้า/ตัวแทน งานนวดไทย งานมวนบุหรี่ งานมัคคุเทศก์ งานเร่ขายสินค้า งานเรียงอักษร งานสาวบิดเกลียวไหม งานเลขานุการ และบริการทางกฎหมาย

บัญชีที่ 2 งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานได้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย (MRAs) จำนวน 3 งาน ซึ่งต้องเป็นคนต่างด้าวของประเทศที่มีข้อตกลงกับประเทศไทยเท่านั้น จึงจะสามารถทำ 3 อาชีพนี้ได้ ได้แก่ วิชาชีพบัญชี วิชาชีพวิศวกรรม วิชาชีพสถาปัตยกรรม

บัญชี 3 งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานฝีมือหรือกึ่งฝีมือนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง จำนวน 8 งาน ได้แก่ งานกสิกรรม งานทำที่นอน งานทำรองเท้า งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย งานก่อสร้างอื่นๆ งานทำมีด งานทำหมวด งานปั้นดินเผา

บัญชีที่ 4 งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกข้อตกลงหรือบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ จำนวน 2 งาน ได้แก่ งานกรรมกร และงานขายของหน้าร้าน โดยเป็นแรงงานที่ไทยมีเอ็มโอยูด้วยเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันไทยได้ทำเอ็มโอยูกับ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม

อธิบดี กกจ. กล่าวว่า หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 60 วัน ประกาศกระทรวงฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับ ซึ่งกกจ.จะบังคับใช้กฎหมายในการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่แย่งอาชีพคนไทย พร้อมบูรณาการทำงาน ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และกรมการปกครอง ลงพื้นที่ตรวจสอบทั่วประเทศ และดำเนินคดีตามกฎหมาย

“โดยคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกผลักดันส่งกลับ ส่วนนายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษปรับ 10,000-100,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี” นายสุชาติ กล่าว

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Line : @service_workpermit หรือ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

งานอาชีพใดห้ามคนต่างด้าวทำ

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

งานอาชีพใดห้ามคนต่างด้าวทำ

งานอาชีพใดห้ามคนต่างด้าวทำ

11 ก.พ. รู้จัก 12 อาชีพที่คนต่างด้าวทำงานได้ ก่อนตัดสินใจจ้างแรงงาน

ปัจจุบันนายจ้างหรือผู้ประกอบการหลาย ๆ คนเลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย เนื่องจากมองว่าจ่ายค่าแรงถูกกว่า ได้แรงงานที่มีความขยันขันแข็งมากกว่า และมีบางอาชีพที่แรงงานไทยไม่ต้องการทำ เช่น งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานขนของ เป็นต้น แม้ว่าแรงงานต่างด้าวจะสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่างเหมือนกับคนไทย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ เพราะมีงานบางประเภทที่คนต่างด้าวทำได้ไม่ผิดกฎหมาย และงานที่แรงงานต่างด้าวห้ามทำโดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการรักษาโอกาสในการทำงานและวิชาชีพของคนไทย

แรงงานต่างด้าวทำอาชีพอะไรได้บ้าง

นายจ้างอาจมีความกังวลว่ากฎหมายจะจำกัดอาชีพสำหรับคนต่างด้าวจนไม่สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานที่ตนต้องการได้ แต่ความจริงแล้วอาชีพที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ในปี 2562 มีความหลากหลาย โดยยังคงยึดตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวปี 2560 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวทำงานได้ทั้งหมด 3 แบบ รวม 12 อาชีพ ดังนี้

แบบไม่มีเงื่อนไข 1 อาชีพ ได้แก่ 

  • กรรมกร

แบบมีเงื่อนไข คือ คนต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำได้เท่าที่จำเป็น โดยไม่กระทบต่อโอกาสการมีงานทำของคนไทย 8 อาชีพ ได้แก่

  • กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรือประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา ควบคุมดูแลฟาร์ม
  • ก่ออิฐ ช่างไม้ หรือก่อสร้างอื่น
  • ทำที่นอน ผ้าห่มนวม
  • ทำมีด
  • ทำรองเท้า
  • ทำหมวก
  • ประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
  • ปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา

แบบมีเงื่อนไข ตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งคนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายไทยก่อนขอรับใบอนุญาตทำงาน 3 อาชีพ ได้แก่ 

  • บัญชี ควบคุม ตรวจสอบ ปฏิบัติงานหรือให้บริการทางบัญชี
    ยกเว้นตรวจสอบภายใน เป็นครั้งคราว งานตามข้อตกลงหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพัน โดยที่สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ให้การรับรองคุณสมบัติ
  • วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
    ยกเว้นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวกับการให้บริการวิศวกรรมข้ามแดน หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรรม
  • งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ

ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน

แรงงานต่างด้าวห้ามทำอาชีพอะไรบ้าง

อาชีพสงวนที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดมี 28 อาชีพ ส่วนใหญ่เป็นงานฝีมือและวิชาชีพที่คนไทยได้สืบทอดต่อกันมาจนมีความเชี่ยวชาญ แสดงถึงอัตลักษณ์และภูมิปัญญาไทย เช่น แกะสลักไม้ ทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก ทำบาตร ทำพระพุทธรูป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาชีพที่เราเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น คนขับรถ ช่างตัดผม รวมไปถึงการขายของหน้าร้าน โดยคนต่างด้าวสามารถทำงานในร้านเสริมสวยหรือร้านทำเล็บได้ ในกรณีที่เป็นคนปัดกวาดเช็ดถูภายในร้าน และล้างมือล้างเท้าให้กับลูกค้า แต่ห้ามตัดผม สระผม ตัดเล็บ และทาเล็บเด็ดขาด ส่วนงานในร้านขายของ ทำได้แค่เสิร์ฟและช่วยขายของ ห้ามเก็บหรือทอนเงิน ขณะทำงานต้องมีนายจ้างอยู่ด้วย แต่สามารถเฝ้าร้านแทนนายจ้างได้ชั่วคราว 

หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษอย่างไร

กระทรวงแรงงานมีมาตรการจัดการกับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต หรือประกอบอาชีพที่คนต่างด้าวทำไม่ได้อย่างเข้มงวดในปี 2562 ที่ผ่านมา ตามข่าวระบุว่าตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 – 19 มิถุนายน 2562 ได้มีการดำเนินคดีกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายไปแล้วมากกว่า 6,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานสัญชาติเมียนมาร์ รองลงมาเป็นลาว กัมพูชา และอื่น ๆ

แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อมีใบอนุญาตทำงานและทำงานตรงกับที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น โดยงานที่ทำจะต้องไม่เป็นอาชีพสงวนที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้

  • นายจ้าง: ถูกปรับ 10,000-100,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน ถ้าพบว่าทำผิดครั้งที่สองจะถูกปรับ 50,000-200,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นระยะเวลา 3 ปี
  • ลูกจ้าง: ถูกปรับ 5,000-50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศ

แม้ว่าจะมีการกำหนดอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้และอาชีพสงวนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ก็มีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้ หรือทราบแต่คิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทั้งที่ความจริงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากนายจ้างต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายและช่วยให้นายจ้างได้แรงงานที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ นายจ้างสามารถยื่นขอแรงงานต่างด้าว MOU ด้วยตนเอง หรือถ้าอยากประหยัดเวลาและลดขั้นตอนการเตรียมเอกสารที่ยุ่งยาก สามารถให้บริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการแทนได้ เรามีทีมงานที่มีประสบการณ์และมีความเข้าใจเรื่องแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างดี พร้อมให้บริการที่แตกต่าง เพราะเราดูแลนายจ้างและแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียม สนใจติดต่อ 02-018-8688