ภาษาคอมพิวเตอร์ ข้อ ใด กล่าว ได้ ถูก ต้อง

เลขประจำตัวนักเรียน เช่น 9999         ชื่อ-นามสกุล เช่น นายสมปอง มีวินัย            ชั้น เช่น 1/1


1. "คอมพิวเตอร์ชุดหนึ่งๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใด ภาษาหนึ่ง" ข้อความนี้มีความสัมพันธ์กับเรื่องใด ?
ก. ซอฟต์แวร์ระบบ
ข. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ง. โปรแกรมคอมพิวเตอร์

2. ข้อใดกล่าวถึงซอฟต์แวร์ระบบได้ถูกต้องที่สุด ?
ก. ชุดคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป
ข. ซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไป
ค. ซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะ
ง. ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะ

3.ซอฟต์แวร์ระบบสัมพันธ์กับเรื่องใดต่อไปนี้ ?
ก. ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบปฏิบัติการ
ข. ซอฟต์ด้านการประมวลผลคำ
ค. ซอฟต์แวร์วิทยาศาสตร์ และวิศกรรม
ง. ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก และนำเสนอข้อมูล

4.ข้อใดกล่าวถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ถูกต้องที่สุด ?
ก. ซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไป
ข. ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูปซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด
ค. ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่ต้องการ
ง. ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

5. ซอฟต์แวร์ประเภทใดที่มักจะใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา ?
ก. ซอฟต์แวร์ระบบ
ข. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ง. ซอฟต์แวร์ประยุกต์กึ่งสำเร็จ

6. ซอฟต์แวร์ใดสามารถแบ่งออกหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้ ?
ก. ซอฟต์แวร์ระบบสำเร็จรูป
ข. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ง. ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำเร็จรูป

7. ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคใดที่ใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล ?
ก. ภาษาเครื่อง
ข. ภาษาระดับสูง
ค. ภาษาธรรมชาติ
ง. ภาษาระดับสูงมาก

8. ภาษาเครื่องและภาษาแอสเซมบลี้แตกต่างกันอย่างไร
ก. ภาษาเครื่องใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษมาแทนคำสั่งที่เป็นเลขฐานสอง
ข. ภาษาเครื่องใช้เลขฐานสองมาแทนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
ค. ภาษาแสเซมบลี้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษมาแทนคำสั่งที่เป็นเลขฐานสอง
ง. ภาษาแอสเซมบลี้ใช้เลขฐานสองมาแทนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ

9.สัญลักษณ์ MP ในภาษาแอสเซมบลี้สามารถใช้แทนความหมายใด ?
ก. การลบ
ข. การคูณ
ค. การเปรียบเทียบ
ง. การเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ

10. การแปลภาษาแอสเซมบลี้ให้กลายเป็นภาษาเครื่องก่อน ควรใช้ตัวแปลใด ?
ก. ตัวแปลภาษา
ข. คอมไพเลอร์
ค. แอสเซมเบลอ
ง. อินเตอร์พลีเตอร์

11.ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดที่ผู้เขียนโปรแกรม ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์ ?
ก.ภาษาเครื่อง
ข. ภาษาระดับสูง
ค. ภาษาแอสเซมบลี
ง. ภาษาระดับต่ำ

12. โปรแกรมใดที่แปลงภาษาระดับสูงให้กลายเป็นภาษาเครื่อง ?
ก. คอมไพเลอร์
ข. แอสเซมเบลอ
ค. คอมเพรสเซอร์
ง. อินเตอร์ไพเลอร์

13. ข้อใดกล่าวถึงข้อดีของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาขั้นสูงได้ถูกต้อง ?
ก. เขียนง่าย
ข. รวดเร็ว
ค. ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องฮาร์ดแวร์
ง. ผู้เขียนต้องมีความชำนาญเฉพาะตัว

14.ภาษาใดคล้ายกับภาษาพูดของมนุษย์ ?
ก. ภาษาเครื่อง
ข. ภาษาระดับต่ำ
ค. ภาษาระดับสูง
ง. ภาษาระดับสูงมาก

15. ภาษาใดสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบซึ่งเป็นงานที่อยู่ในสาขาปัญญาประดิษฐ์ ?
ก. ภาษาระดับต่ำ
ข. ภาษาระดับสูง
ค. ภาษาธรรมชาติ
ง. ภาษาระดับสูงมาก

16. จงวิเคราะห์ว่าข้อมูลใดที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ ?
ก. ข้อมูลภาพ
ข. ข้อมูลสื่อสาร
ค. ข้อมูลวิทยุ
ง. ข้อมูลจากดาวเทียม

17. "ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้" จากข้อความนี้มีความสัมพันธ์กับข้อใด ?
ก. บิต
ข. ไบต์ 7
ค. ฟิลด์
ง. เรคคอร์ด

18. 1 ไบต์ เท่ากับกี่บิต ?
ก. 1 บิต
ข. 4 บิต
ค. 6 บิต 5
ง. 8 บิต

19. ข้อใดสัมพันธ์กับหลักการพัฒนาการเขียนโปรแกรมที่นำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรมไปใช้ ?
ก. การวิเคราะห์ปัญหา
ข. การออกแบบโปรแกรม
ค. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
ง. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

20. ข้อใดที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเผ้าดูและหาข้อมผิดพลาดระหว่างใช้งานโปรแกรม ?
ก. การบำรุงรักษาโปรแกรม
ข. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
ค. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
ง. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์


คำแนะนำ

         1.  แบบทดสอบแบ่งเป็น  2  ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย  4  ตัวเลือก
              มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
         2.  ตอนที่  2 ภาคปฏิบัติ แบบอัตนัย  1  ข้อ  10  คะแนน
         3.  ตอนที่ 1 ให้นักเรียนคลิกตัวเลือกที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว และเมื่อทำแบบทดสอบครบ
              ทุกข้อแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม  "ตรวจคำตอบ"  จะทราบคะแนนทันที


ตอนที่ 1

ข้อที่ 1 :  สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งสื่อสารสั่งงาน ระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อใด

   ก. ฮาร์ดแวร์
   ข. ซอฟต์แวร์
   ค. ระบบปฏิบัติการ
   ง. ภาษาคอมพิวเตอร์


ข้อที่ 2 :  ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบไว้ หมายถึงใคร

   ก. ผู้ใช้
   ข. ผู้จัดการระบบ
   ค. โปรแกรมเมอร์
   ง. นักวิเคราะห์ระบบ


ข้อที่ 3 :  ข้อใดเป็นภาษาของคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

   ก. ระบบเลขฐาน 2
   ข. สัญลักษณ์หรือคำย่อ
   ค. อะนาล็อค
   ง. แอสแซมบลี


ข้อที่ 4 :  ภาษาเครื่อง เป็นภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ยุคใด

   ก.   1
   ข.   2
   ค.   3
   ง.   4


ข้อที่ 5 : ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ภาษาเครื่องและภาษาระดับสูง

   ก. ภาษาเครื่องคือภาษาที่นักเขียนโปรแกรมเข้าใจ ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
   ข. ภาษาเครื่องคือภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที
   ค. ภาษาเครื่องคือภาษาที่อยู่ในรูปแบบรหัสภาษาอังกฤษที่อ่านเข้าใจง่าย ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่อยู่ในรูปแบบรหัสเลขฐานสอง ประกอบด้วยบิต 0 และบิต 1
   ง. ถูกทุกข้อ


ข้อที่ 6 :  ข้อใดจัดเป็นภาษาระดับต่ำ

   ก.  ภาษาเครื่อง
   ข.  ภาษาซี
   ค.  ภาษาปาสคาล
   ง.  ภาษาโคบอล


ข้อที่ 7 : โปรแกรมภาษาใดต่างจากพวก

   ก. Pascal
   ข. JAVA
   ค. C
   ง. Cobal


ข้อที่ 8 : ลักษณะของภาษาต้องใช้งานกับระบบฐานความรู้หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ยุคใด

    ก.   2
    ข.   3
    ค.   4
    ง.   5


ข้อที่ 9 :  โปรแกรมที่ทำการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้นให้เป็นภาษาเครื่อง หมายถึงข้อใด

   ก. ตัวแปลภาษา
   ข. แอสแซมบลี
   ค. ปาสคาล
   ง. ซี


ข้อที่ 10 :  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องระหว่างโปรแกรมแปลภาษาประเภทอินเทอร์พรีเตอร์และคอมไพเลอร์

   ก. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็นภาษาเครื่อง ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษาเครื่อง ให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์
   ข. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เป็นภาษาเครื่อง
    ค. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาคอมพิวเตอร์ทีละโปรแกรม ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษาคอมพิวเตอร์ทีละคำสั่ง
   ง. ถูกทุกข้อ