ภาษาเครื่อง และภาษาระดับสูงมีข้อ แตก ต่าง กัน อย่างไร

ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง

ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้

เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย

5. ภาษาธรรมชาติ

เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย

ตัวอย่างภาษาในยุคต่างๆ ดังนี้

Fortran : ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด

Colbol : ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

Basic : ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา

Pascal : เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย

Ada : ภาษามาตรฐาน ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โปรแกรมเมอร์คนแรก คือ เคาต์ Add Lovelace เป็นภาษาที่ประสบความเร็จกับงานด้านธุรกิจ

C : ภาษาสมับใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฎิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง

ALGOL : เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์

LISP : เป็นภาษาที่ใช้เมื่อประมวลผลด้านสัญลักษณ์, อักขระ,หรือคำต่างๆ ซึ่งเป็นการได้ตอบระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ภาษานี้นิยมใช้เขียนโปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์

Prolog : เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งแทนการใช้ภาษาLISP

PL/1 : เป็นภาษาที่เรียนรู้ง่าย ใช้งานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านธุรกิจ ดังนั้นภาษานี้จะมีขนาดใหญ่ มี option มาก

ALP : เป็นภาษที่เหมาะสมกับการทำตาราง มีสัญลักษณ์ต่างๆ มาก

Logo : เป็นภาษาย่อยของ lisp เป็นโปรแกรมสำหรับเด็ก มีการสนทนาโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้ “เต่า” เป็นสัญลักษณ์โต้ตอบกับคำสั่งง่ายเช่น forward, left

Pilot : เป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดในการเขียนโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน(CAI) เช่น งานเกี่ยวกับคำสั่ง ฝึกหัด การทดสอบ เป็นต้น

Smalltalk : เป็นภาษาเชิงโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยการจำ และการพิมพ์ เป็นภาษาที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ภาพ เป็นภาษาเชิงวัตถุไม่ใช่เชิงกระบวนการ

Forth : เป็นภาษาสำหรับงานควบคุมแบบทันที เช่นการแนะนำกล้องดาราศาสตร์ และเป็นภาษาโปรแกรมที่มีความเร็วสูง

Modula-2 : คล้ายคลึงกับภาษาปาสคาล ออกแบบมาเพื่อให้เขียนซอฟต์แวร์ระบบ

RPG : เป็นภาษาเชิงปัญหา ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาการทำรายงานเชิงธุรกิจ เช่น การปรับปรุงแฟ้มข้อมูล

การทำงานของโปรแกรมแปลภาษา
ใน การประมวลผลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็น ภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1) คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็น โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า “โปรแกรมต้นฉบับ” (Source Program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (Object Program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรม และสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีก โดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี
2) อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
เป็น โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นโปรแกรม ภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือถ้านำโปรแกรมนั้นมาใช้งานอีกจะต้องทำการแปล โปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

เรามีข้อมูลภาษาคอมพิวเตอร์ที่ตลาดมีความต้องการสูงในปีนี้จัดอันดับมา 15 ภาษา โดยอันดับนี้เป็นการประเมินจาก Doug Winnie ผู้อำนวยการแห่ง Lynda เว็บเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบออนไลน์ขนาดใหญ่ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จะมีภาษาอะไรบ้าง มาดูกัน

1. Java

java2

Java (จาวา) เป็นหนึ่งในภาษาอันดับต้นๆ ที่ได้รับความนิยมในการสร้า Backend สำหรับเว็บแอปฯที่ต้องการความทันสมัยในการแสดงผล ด้วย Java และ Frameworks ที่มีให้ใช้ นักพัฒนาสามารถสร้างเว็บที่ปรับขนาดการแสดงผลให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ทุกรูปแบบการเข้าชม ปัจจุบัน Java มักใช้พัฒนาแอปฯแอนดรอยส์สำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต

2. JavaScript

ปัจจุบันเกือบทุกเว็บไซต์มีการใช้งาน JavaScript หากเราต้องการสร้างเว็บที่สามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้ มี User interfaces ที่สวยงาม JavaScript frameworks คือ สิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ

3. C#

C# เป็นภาษาหลักในการพัฒนาโปรแกรมบนระบปฏิบัติการของ Microsoft เมื่อเราสร้างสร้างเว็บแอปพลิเคชัน ด้วย Arure และ .NET สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ C# เป็นภาษาที่รวดเร็วที่สุดในการเขียนโปรแกรมควบคุมทรัพยากรที่ไมโครซอฟท์มีให้ใช้ หรือแม้แต่ภาษาเกมคอมพิวเตอร์ยอดนิยมอย่าง Unity Engine ก็ใช้ C# เป็นภาษาหลักในการทำงานด้วยเช่นกัน

4. PHP

ถ้าต้องการสร้างเว็บที่มีการใช้งานฐานข้อมูล PHP เป็นภาษาที่ทำงานร่วมกับ MySQL ในปัจจุบัน PHP เป็นภาษาที่นิยมอย่างมากในเว็บที่มีการจัดเก็บข้อมูลเนื้อหาบนเว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บยอดนิยมประเภทนี้ก็อย่างเช่น WordPress นั่นเอง

5. C++

ภาษา C++ ต่อยอดมาจากภาษา C ออกแบบให้ทำงานง่ายขึ้นมีความเป็น Object มากกว่าเดิม จุดเด่น คือ การทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ การเขียนโปรแกรมจำพวกจัดการหน่วยความจำ หรือเร่งประสิทธิภาพกราฟฟิค ต้องใช้ C++ ในการเขียน

6. Python

Python เป็นภาษาที่สามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่ เว็บแอปพลิเคชัน, User interfaces, Data analysis, Statistics และหากมีปัญหาอะไรก็ตาม มันมี Framework สำหรับแก้ไขปัญหาให้ใช้มากมาย Python นิยมใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์หรืออตสาหกรรมที่มีปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่มาก

7. C

c2

แม้ว่าจะเก่าแก่แล้ว แต่ภาษา C ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย เนื่องจากใช้ทรัพยากรเครื่องน้อย ทำงานได้รวดเร็ว และความสามารถครบถ้วน ถ้าต้องการเขียนซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกับไฟล์ระดับ Kernels หรือเขียนโปรแกรมที่รีดทรัพยากรออกมาได้ทุกหยดแล้วล่ะก็ต้อง ภาษา C เท่านั้น

8. SQL

ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่ขึ้นทุกวัน SQL มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นข้อมูลซ้ำๆ ได้อย่างแม่นยำ ด้วย SQL การระบุตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ใช่เรื่องยาก

9. RUBY

ถ้าต้องการสร้างโปรเจคส์ภายในเวลาจำกัด หรือสร้างตัวโปรแกรมเวอร์ชันทดสอบออกมาลองใช้งาน Ruby เป็นภาษาที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้ เนื่องจากใช้งานง่าย และไม่ซับซ้อน แต่ไม่ใช่ว่างานใหญ่จะใช้ RUBY ไม่ได้นะ Twitter เว็บนี้ก็เขียนด้วย RUBY นะเอ้อ แต่ด้านความเร็ว PYTHON ทำงานรวดเร็วกกว่า แต่แลกมาด้วยความซับซ้อนในการเขียนที่ยากกว่า

10. Objective-C

objectivec

ถ้าสนใจที่จะเขียนแอปฯ iOS คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษานี้ แม้ว่าปลายปีที่แล้วทาง Apple จะเปิดตัวภาษาใหม่ “Swift” แต่ Objective-C ก็ยังไมีการใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลาย โดยทำงานร่วมกับ XCode ชุดพัฒนาซอฟท์แวร์ของ Apple ปัจจุบันตลาดแอปฯเป็นที่สนใจของผู้ลงทุน ดังนั้นใครเขียนเป็นหางานไม่ยากแน่นอน

11. Perl

เป็นภาษาที่ทรงพลังและอยู่คู่กับเว็บไซต์มาตั้งแต่จุดเริ่มต้น และเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที มีความปลอดภัยในการทำงานสูง

12. .NET

ตัวมันเองไม่ใช่ภาษาสำหรับเขียนโปรแกรม แต่ก็เป็นกุญแจสำคัญจากไมโครซอฟท์สำหรับทำงานกับ Cloud, Service และ การพัฒนาแอป และด้วยความที่มันเป็น Open-Source มันกำลังเข้ามามีบทบาทบนแพลตฟอร์มของ Googel และ Apple ทำให้ตัว .NET จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแอปที่รองรับหลายแพลตฟอร์ม

13. Visual Basic

ภาษาสำคัญที่ประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจ เป็นหนึ่งในภาษาหลักของ .NET สามารถสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมารองรับภาคธุรกิจ และสร้างเอกสารอัตโนมัติอย่าง Excel ได้อัตโนมัติ ทำให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

14. R

R เป็นภาษาที่ทรงพลังและปฏิวัติข้อมูลครั้งใหญ่ เป็นภาษาที่นักพัฒนาจำเป็นต้องรู้จักในปี 2015 หากต้องการทำ Data analysis ทั้งจากด้านวิทยาศาสตร์, ธุรกิจ, บันเทิง และ Social Media

15. Swift

เป็นภาษาใหม่ที่มีอายุไม่ถึงปีด้วยซ้ำ Swift สร้างขึ้นโดยบริษัท Apple และเป็นจับตาของนักพัฒนาทันที เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ทำงานได้รวดเร็ว และง่ายดาย ทำให้การพัฒนาแอปฯสำหรับ Mac และ iOS มีความง่ายขึ้น

ภาษาเครื่องจัดอยู่ในภาษาระดับใด

ภาษาเครื่อง เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับต่ำที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตัวแปลภาษาเพราะเขียนคำสั่งและแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสอง (Binary. Code) ทั้งหมด ซึ่งเป็นการเขียนคำสั่งด้วยเลข 0 หรือ 1 ดังตัวอย่างคำสั่งภาษาเครื่อง ดังนี้ คำสั่งภาษาเครื่อง (Machine Code)

ข้อใดคือความหมายของภาษาระดับสูง (High Level Language)

ภาษาโปรแกรมระดับสูง หมายถึงภาษาโปรแกรมที่มีภาวะนามธรรมอย่างสูงจากรายละเอียดการทำงานของคอมพิวเตอร์ หากเปรียบเทียบกับภาษาโปรแกรมระดับต่ำแล้ว ภาษาโปรแกรมระดับสูงอาจมีองค์ประกอบเป็นภาษาธรรมชาติ ใช้งานง่ายกว่า ทำให้กระบวนการพัฒนาโปรแกรมตามข้อกำหนดเรียบง่ายกว่าและสามารถทำความเข้าใจได้ดีกว่า ระดับของภาวะนามธรรมที่ภาษาโปรแกรม ...

ภาษาระดับสูง มีอะไรบ้าง

ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ หน้าเว็บย่อย (8): ภาษาโครบอล ภาษาจาวา ภาษาเดลฟาย ภาษาเบสิค ภาษาปาสคาล ภาษาฟอร์แทรน ภาษาCและC++ วิชวลเบสิค

ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อใด

ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาเดียวที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และเป็นภาษาที่ประกอบด้วยตัวอักษรเพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 เท่านั้น การใช้ ภาษาเครื่องนั้นค่อนข้างยากมาก นอกจากจะต้องจำคำสั่งเป็นลำดับของเลข 0 กับ 1 แล้วยังจะต้องออกคำสั่งต่างๆ อย่างละเอียดมากๆ ด้วย