พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี

                         

 

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี

หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา  ถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 4" (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุงธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นพระมหา กษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรีการตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 
1. กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีเหมือนเดิมได้ 
   กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ 

2. ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย

3. ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี

ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง เนื่องจากทำเลที่ตั้งกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็กจึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรี มีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก

ด้านการปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว

ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้น บ้านเมืองกำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งชิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีก ถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ

ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณา ความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากใน กรุงธนบุรี และมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2325 พระชนมายุได้ 45 พรรษา

คำอธิบาย: http://haab.catholic.or.th/history/tonburei/tonburei1/a11_Oe.jpg

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
การสถาปนากรุงธนบุรี
ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไปชุมนุมคนไทยทั้ง  5 ชุมนุม ได้แก่
1.ชุมนุมเจ้าพิมาย 
2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง 
3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก 
4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช 
5.ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้น  โดยใช้เวลาเพียง เดือน 
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช และการกอบกู้อิสรภาพ 
พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า  สิน มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน  บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน) มารดาชื่อ  นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่งเจ้าเมืองตาก 

พระยาตาก มีฝีมือในการรบแข้มแข็ง  จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ  500 คนตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก แล้วตั้งบนที่มั่นที่เมือ งจันทบุรี  เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ

หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่  4 แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า

พระเจ้าตากสิน หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังกู้เอกราชแล้ว พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิจารณาว่า สภาพของกรุงศรีอยุธยา ได้เสื่อมโทรมลงไปมาก ทั้งนี้เพราะ

1. ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า 
2. กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังของพระยาตาก ที่จะรักษาไว้ได้ 
3. ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ 
4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา ข้าศึกษาสามารถโจมตีได้ทั้งทางบกและทางน้ำ 
5. กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก  ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล

คำอธิบาย: http://haab.catholic.or.th/history/tonburei/tonburei1/_1oOAO.jpg


พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก 
2. ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  สะดวกในการติดต่อค้าขาย 
3. สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ 
4. ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้ สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้ 
5. ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา 
การรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และการขยายอาณาจักร 
พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช  และรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี   สาเหตุที่ พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบกู้เอกราชและรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นได้  เนื่องจาก

1. พระปรีชาสามารถในการรบ 
2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดใจคน 
3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย  กล้าหาญ

หลังจากกอบกู้เอกราช รวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ไทยต้องทำสงครามกับพม่า  เพื่อป้องกันอาณาจักรอีกถึง  9 ครั้ง  โดยสามารถป้องกันบ้านเมืองไว้ได้สำเร็จการขยายอาณาจักร
หลังจากเหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเริ่มขยายอาณาเขตไปยังปร ะเทศใกล้เคียง  ดังนี้
คำอธิบาย: http://haab.catholic.or.th/history/tonburei/tonburei1/_1oOAO1.jpg
1. การขยายอำนาจไปยังเขมร 
- เขมรเกิดการแย่งอำนาจกัน  พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดยกทัพไปปราบปราม  แต่ครั้งแรกยังไม่สำเร็จ
- ในปี พ.ศ. 2314  โปรดให้ยกทัพไปตีเขมรอีก และสามารถตีเขมรได้สำเร็จ 
- ในปี พ.ศ. 2323 ได้เกิดกบฎในเขมร จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปรามอีกแต่ยังไม่ทันสำเร็จพอดีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับ
2. การขยายอำนายไปยังลาว 
- การตีเมืองจำปาศักดิ์ 
- การตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งทำให้ได้พระพุทธรูปที่สำคัญมา 2 องค์ คือ  พระแก้วมรกต และ พระบาง 

คำอธิบาย: http://haab.catholic.or.th/history/tonburei/tonburei1/_1oOAO2.jpg


อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีดังนี้
ทิศเหนือ ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ 
-
 ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว และเขมรทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จดดินแดนญวน
ทิศใต้ ได้ดินแดนเมืองกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี 
ทิศตะวันตก จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ ทวาย และตะนาวศรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทย รวบรวมอาณาเขตประเทศไทย ให้เป็นปึกแผ่น ทรงปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ ขยายอาณาเขตออกไปได้กว้างขวาง นับว่าพระองค์ เป็นมหาวีรกษัตริย์ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ให้ไว้แก่ชาติไทยเป็นอันมาก ควรแก่การเทิดทูนในพระเกีย รติคุณเป็นอย่างยิ่ง    ต่อมาในปลายรัชกาล พระองค์เสียพระจริต จึงถูกข้าราชการปลดพระองค์ออกจากราชสมบัติรวมเวลาครองราชย์อยู่ 15 ปี สิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2325 ประชาชนชาวไทยในหนหลัง ได้ถวายพระนามว่า

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 

คำอธิบาย: http://haab.catholic.or.th/history/tonburei/tonburei1/_1oOAO3.jpg

คำอธิบาย: http://haab.catholic.or.th/history/tonburei/tonburei1/_1oOAO4.jpg

คลองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และความเจริญเติบโตของกรุงธนบุรี