เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

Show

Quizizz เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลออนไลน์ในลักษณะเกมถามตอบแบบปรนัย รองรับผู้เล่นที่สามารถเข้าร่วมเกมเดียวได้สูงสุดถึง 500 คน สามารถแสดงผลคะแนนจากการทดสอบได้ทันที แสดงผลได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถใส่ภาพและเสียงประกอบได้ ผู้เรียนสามารถทําแบบทดสอบ ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้อุปกรณ์ชนิดใดก็ได้กับเบราว์เซอร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป แท็บเล็ต หรือ สมาร์ทโฟน จึงเหมาะกับผู้เรียนในยุคปัจจุบันคือเป็นการจัดการ

เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และยังใช้เพื่อประเมินผลการเรียนได้ คล้ายกับ KaHoot! Socrative Quizalize หรือ Quizlet

เริ่มต้นการใช้งานหลังจากที่ได้สมัครใน quizizz.com/ แล้ว ระบบจะให้ผู้สร้างแบบทดสอบ ระบุบทบาทของตนเอง ซึ่งเลือกได้ว่าต้องการใช้ Quizizz นี้ในบทบาทของผู้สอน นักเรียน หรือใช้เพื่อธุรกิจ จากนั้นทำการสร้างแบบทดสอบใหม่ โดยกำหนดชื่อและประเภทเนื้อหาของแบบทดสอบ

         จุดเด่นของ Quizizz ที่ผู้เขียนประทับใจคือ มี Quizizz Editor สำหรับสร้างและแก้ไขข้อมูล รายละเอียด ของ Quiz ที่ยอดเยี่ยมใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพ ใส่ได้ทั้งข้อความ เสียง สมการ หรือรูปภาพ ทั้งจากในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือจากอินเทอร์เน็ตได้ทั้งในส่วนของคำถามและคำตอบ สามารถกำหนด เฉลยได้ 1 คำตอบ หรือมากกว่า 1 คำตอบได้ และยังสามารถตั้งเวลาที่ใ้ช้ในแต่ละข้อได้ เริ่มตั้งแต่ 5  วินาที ไปจนถึง 15 นาที และเมื่อนักเรียนคนใดส่งคําตอบในข้อใดแล้ว จะทราบทันทีว่าตัวเองตอบถูกหรือไม่

เมื่อต้องการเริ่มเล่น ผู้สอนสามารถส่งแบบทดสอบออนไลน์นี้ได้หลากหลายวิธี เช่น ทางอีเมล ทวิตเตอร์ เฟสบุค หรือลิงค์เว็บไซต์ รวมทั้งสามารถเลือก Host a game ว่าให้เล่นแบบ (1) Play Live หรือ (2) Assign HW

ในกรณีที่เลือกเป็น Play Live ระบบจะทําการสร้างรหัส Pin Code ให้ผู้เล่นใช้ อุปกรณ์ของตนเองเข้าเว็บ joinmyquiz.com และกรอกรหัสดังกล่าวเพื่อเข้าร่วมทำแบบทดสอบ นักเรียนสามารถเห็นคำถามแต่ละข้อ และเลือกตอบได้จากอุปกรณ์ของตัวเองเมื่อทำแบบทดสอบเสร็จจะทราบผลคะแนนจากการทดสอบได้ทันที

 หากเลือกเป็น Assign HW จะเป็นการกำหนดให้เป็นการบ้าน ผู้สอนระบุวันเวลาได้ว่าให้ทำภายในเมื่อใด

ในระหว่างการเล่นเกม ผู้สอนสามารถดูข้อมูลจําแนกตามกลุ่มของผู้เล่น หรือกลุ่มข้อมูลคําถามท่ีมีในระบบ อีกทั้งยังสามารถส่งออกคะแนน ข้อมูลการสอบ ข้อมูลสถิติ ข้อมูลเชิงลึกในระดับชั้นเรียน และระดับนักเรียน สำหรับ ทุกข้อคำถาม และยังสามารถดาวน์โหลดรายงานเป็นสเปรดชีต Excel ได้

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนคุ้นเคยกับเครื่องมือที่ใช้สร้างแบบทดสอบแบบออนไลน์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ KaHoot! และ Socrative แต่หลังจากรู้จัก Quizizz แล้วพบว่า Quizizz มีความแตกต่างจากเครื่องมืออื่น คือใน Quizizz ผู้ตอบคำถามไม่จำเป็นต้องเล่นพร้อมกัน และการแสดงคำถามของผู้เล่นแต่ละคนจะมีลำดับไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ Quizizz สามารถกําหนดวันและเวลาท่ีทําแบบทดสอบ เพื่อมอบหมายให้ผู้เรียนทําเป็นแบบฝึกหัด หรือการบ้านเป็นการฝึกฝนรายบุคคลได้ และยังใช้งานได้อย่างราบรื่นกับระบบการจัดการเรียนรู้ เช่น Google Classroomในทุกวันนี้มีนักเรียนและครูมากกว่า 10 ล้านคนใช้ Quizizz เพื่อการเรียนรู้ทั้งที่บ้านและในห้องเรียน และได้มีการพัฒนาเป็นแอพ Quizizz แล้ว สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า Quizizz เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและสร้างแรงจูงใจในการเรียน

รู้ ด้วยวิธีการที่สนุกสนาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการ สร้างทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และการที่ผู้เรียนจะเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้นั้นผู้สอนในปัจจุบันจึงมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือเปลี่ยนจากการเป็นครูสู่การเป็นโค้ช หรือเรียกว่าเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศ ในการเรียนรู้ กระตุ้นผู้เรียนด้วยคำถาม รู้จักจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ มีการสร้าง ความร่วมมือในการเรียนรู้โดยการออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนร่วมกันแก้ปัญหา หรือสามารถทำงานเป็นทีมได้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน และออกแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning style) ที่แตกต่างกัน อีกทั้งควรมีการใช้นวัตกรรม เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

         เดือนเพ็ญ กชกรจารุพงศ์ และ มูณีเราะห์ มะนุง. การเปรียบเทียบนวัตกรรมสนับสนุนการสร้างแบบทดสอบออนไลน์สําหรับการศึกษา 4.0 การประชุมวิชาการระดับชาติ การเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6 “Active Learning ตอบโจทย์ Thailand 4.0 อย่างไร” วันที่ 26 - 27 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เขียนโดย ชฎารัตน์ พิพัฒนนันท์

เมื่อพูดถึงมือถือ หลายคนคงจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของชิวิตไปแล้ว ถือได้ว่าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายไปแล้ว ทำให้ค่ายมือถือต่าง ๆ พัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานบนมือถือออกมามากมาย เพื่อตอบสนองกับกิจวัตรประจำวันของผู้ใช้ แต่โปรแกรมที่ดีก็มักจะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่ต้องแลก หากผู้ใช้จะพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง ก็จำกัดด้วยเครื่องมือในการพัฒนาและต้องอาศัยความสามารถในการเขียนโปรแกรม หลายคนถึงกับบอกว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว จริงครับ แค่คิดก็ผิดแล้ว ผิดอย่างไร ผิดที่ไม่รู้ว่าตอนนี้มีเครื่องมือที่สามารถสร้างโปรแกรมบนมือถือได้ง่ายๆ แถบจะไม่ต้องคิดอะไร ก็สามารถสร้างโปรแกรมบนมือถือได้แล้ว

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

โปรแกรมที่สุดวิเศษนี้ ชื่อว่า MIT App Inventor 2  ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มาปฏิวัติวงการเขียนโปรแกรมบนมือถือที่มีการเขียนคำสั่งซับซ้อนมากมายหลายพันบรรทัด ให้กลายเป็นการเขียนโปรแกรมแบบกล่องคำสั่ง ที่ลากแล้ววางต่อกันเป็นโปรแกรมด้วยภาพกราฟิกที่ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน สามารถสร้างโปรแกรมที่ซับซ้อนด้วยเวลาไม่ถึงชั่วโมง ที่สำคัญ เป็นโปรแกรมที่ให้ใช้ได้ฟรี  ไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะกับนักพัฒนาโปรแกรมมือใหม่ หรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ

App Inventor 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรม ที่ไม่ต้องติดตั้งตัวพัฒนาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เป็นการพัฒนาบนเว็บไซต์ของ MIT ทำให้สามารถพัฒนาโปรแกรมที่ไหนก็ได้ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้มีความสะดวกแก่ผู้พัฒนาโปรแกรมเป็นอย่างมาก และการทดสอบโปรแกรมสามารถโหลดโปรแกรมลงในโทรศัพท์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการสร้างไฟล์โปรแกรม แต่ยังมีข้อจำกัดของ App Inventor 2 คือ พัฒนาโปรแกรมสำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้น 

เตรียมตัวก่อนพัฒนา application

การพัฒนา application ด้วย app inventor 2 นั้น สามารถพัฒนาได้ง่าย โดยใช้เว็บเบาร์เซอร์ ทั่วไปที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ แต่การทดสอบการทำงานระหว่างการพัฒนาโปรแกรมนั้น จำเป็นต้องติดตั้งและกำหนดค่าเบื้องต้นอีกเล็กน้อย 

ทางเลือกสำหรับการทดสอบ application ที่พัฒนาด้วย app inventor 2

1. กรณีทดสอบด้วยมือถือระบบ Android และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ด้วย wireless  สามารถพัฒนา application โดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมบนคอมพิวเตอร์  แต่จะต้องติดตั้ง application สำหรับเรียกใช้งาน app inventor 2 บนมือถือ ทางเลือกนี้ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนา application ด้วย app inventor (ข้ามไปอ่าน ทางเลือกที่ 1)

2.  กรณีที่ไม่มีมือถือระบบปฏิบัติการ Android จำเป็นต้องติดตั้งจำลองการทำงาน Android emulator บนคอมพิวเตอร์ (ข้ามไปอ่าน ทางเลือกที่ 2)

3.  กรณีที่ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มือระบบปฏิบัติการ Android ผ่านช่อง USB ได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพในการพัฒนา application มากนัก ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้ายนะครับ 

(ข้ามไปอ่าน ทางเลือกที่ 3)

ทางเลือกที่ 1 เชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

สามารถพัฒนา application โดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมบนคอมพิวเตอร์  แต่จะต้องติดตั้ง application สำหรับเรียกใช้งาน app inventor 2 บนมือถือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ขั้นที่ 1 Download และติดตั้ง MIT AI2 Companion App บนมือถือ

สามารถเข้าไป download ได้ผ่าน Play Store หรือจะอ่านจาก QR code scanner ด้านล่างนี้ได้เลยครับ  

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

https://play.google.com/store/apps/details?id=edu.mit.appinventor.aicompanion3

หรือจะ download โดยตรงได้ที่ http://appinv.us/companion

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

หลังจาก download และดำเนินการติดตั้งลงบนมือถือแล้ว จะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม ได้ตลอดการพัฒนาโปรแกรม กรณีที่ download ไฟล์สำหรับติดตั้งโดยตรง จะต้องไปกำหนดค่าในมือถือ device setting ให้สามารถติดตั้งโปรแกรมแบบ "unknown sources"  ส่วนมากจะกำหนดค่าที่ "Settings > Security" หรือ "Settings > Security & Screen Lock"  หลังจากนั้นเลือก "Unknown Sources"  จะทำให้สามารถติดตั้งโปรแกรมจากการ download โดยตรง

ขั้นที่ 2 เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และมือถือ ด้วยเครือข่ายไร้สายเดียวกัน

การพัฒนา app inventor จะแสดงผลอัตโนมัติในขณะที่พัฒนา application เมื่อมือถือและคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเครือข่ายไร้สายตัวเดียวกัน

ขั้นที่ 3 พัฒนาโปรแกรมด้วย app inventor 2 แล้วเชื่อมต่อกับอุปกรณ์

เมื่อพัฒนา application แล้ว ต้องการจะทดสอบการทำงาน ให้เลือก "Connect" และ "AI Companion" จากแถบเมนูด้านบน

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

หลังจากนั้น app inventor จะสร้าง QR code สำหรับ download ตัว application แสดงที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้เปิด application MIT App Companion ที่มือถือ และเลือกปุ่ม “Scan QR code”

หลังจากนั้น application ที่เราพัฒนาจะถูก download และติดตั้งบนมือถือ หรือถ้าไม่สามารถอ่าน QR code ได้ สามารถกรอกรหัสเพื่อ download ตัวโปรแกรมได้เช่นเดียวกัน

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ทางเลือกที่ 2 เชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

ในการพัฒนา application ถ้าหากเราไม่มีอุปกรณ์ที่เป็นระบบปฏิบัติการ android เราสามารถติดตั้งโปรแกรมสำหรับจำลอง หรือ Android emulator บนคอมพิวเตอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแสดงผลการทำงาน

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ขั้นที่ 1 การติดตั้ง App Inventor 2 Setup บน Windows

1. Download ตัวติดตั้งโปรแกรม http://appinv.us/aisetup_windows

2. เปิดไฟล์ MIT_Appinventor_Tools_2.3.0 (~80 MB) ที่ได้ download มาแล้ว

3. ดำเนินการติดตั้งตามขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรม

ขั้นที่ 2 เปิดโปรแกรม aiStarter

เมื่อติดตั้งโปรแกรม App Inventor 2 สำเร็จแล้ว ให้เปิดโปรแกรม aiStarter ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่างตัว app inventor 2 กับ emulator

สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

เมื่อเปิดโปรแกรม aiStarter ควรจะได้หน้าต่างโปรแกรม ดังนี้

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ขั้นที่ 3 พัฒนาโปรแกรมด้วย app inventor 2 แล้วเชื่อมต่อกับอุปกรณ์

เมื่อพัฒนา application แล้ว ต้องการจะทดสอบการทำงาน ให้เลือก "Connect" และ " emulator " จากแถบเมนูด้านบน

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ในการเชื่อมต่อกับ emulator จะใช้เวลาสักพัก เพื่อสร้างตัวจำลองการทำงาน

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

เมื่อสร้างตัวจำลองการทำงานเสร็จแล้ว จะได้หน้าโปรแกรมจำลองการทำงานมือถือ และสามารถใช้งานทดสอบ application ที่พัฒนาขึ้นมาได้

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ทางเลือกที่ 3 เชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านสายสัญญาณ USB

สำหรับการทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ด้วยการเชื่อมต่อมด้วยสายสัญญาณ USB นั้น ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรมที่ไม่สามารถเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายไร้สายได้ 

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ขั้นที่ 1 การติดตั้ง App Inventor 2 Setup บน Windows

1. Download ตัวติดตั้งโปรแกรม http://appinv.us/aisetup_windows

2. เปิดไฟล์ MIT_Appinventor_Tools_2.3.0 (~80 MB) ที่ได้ download มาแล้ว

3. ดำเนินการติดตั้งตามขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรม

ขั้นที่ 2 Download และติดตั้ง MIT AI2 Companion App บนมือถือ

สามารถเข้าไป download ได้ผ่าน Play Store หรือจะอ่านจาก QR code scanner ด้านล่างนี้ได้เลยครับ  

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

https://play.google.com/store/apps/details?id=edu.mit.appinventor.aicompanion3

หรือจะ download โดยตรงได้ที่ http://appinv.us/companion

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

หลังจาก download และดำเนินการติดตั้งลงบนมือถือแล้ว จะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม ได้ตลอดการพัฒนาโปรแกรม กรณีที่ download ไฟล์สำหรับติดตั้งโดยตรง จะต้องไปกำหนดค่าในมือถือ device setting ให้สามารถติดตั้งโปรแกรมแบบ "unknown sources"  ส่วนมากจะกำหนดค่าที่ "Settings > Security" หรือ "Settings > Security & Screen Lock"  หลังจากนั้นเลือก "Unknown Sources"  จะทำให้สามารถติดตั้งโปรแกรมจากการ download โดยตรง

ขั้นที่ 3 เปิดโปรแกรม aiStarter

เมื่อติดตั้งโปรแกรม App Inventor 2 สำเร็จแล้ว ให้เปิดโปรแกรม aiStarter ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่างตัว app inventor 2 กับ emulator

สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

เมื่อเปิดโปรแกรม aiStarter ควรจะได้หน้าต่างโปรแกรม ดังนี้

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

ขั้นที่ 4 กำหนดค่าให้สามารถเชื่อมต่อมือถือผ่านสาย USB 

ในการนำโปรแกรมไปทดสอบบนมือถือ จำเป็นต้องส่งผ่านสายสัญญาณ USB จึงต้องให้มือถือและคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันด้วย USB ให้ได้ก่อน โดยปกติจะกำหนดค่าที่ Settings > Developer Options แล้วเปิดใช้งาน "USB Debugging"

แต่สำหรับมือถือรุ่นใหม่ๆ ส่วนของ Developer จะถูกซ่อนเอาไว้ สามารถเปิดใช้งานได้โดยเข้าไปที่ Settings > About phone -> Software information แล้วคลิกที่ Build number จำนวน 7 ครั้ง ระบบจะเปิดโหมดสำหรับการพัฒนา Developer แล้วให้ไปเปิดใช้งาน "USB Debugging" ได้ตามปกติ

ทดสอบการเชื่อมต่อโดย เข้าไปยังหน้าเว็บ http://appinventor.mit.edu/test/  

ขั้นที่ 5 พัฒนาโปรแกรมด้วย app inventor 2 แล้วเชื่อมต่อกับอุปกรณ์

เมื่อพัฒนา application แล้ว ต้องการจะทดสอบการทำงาน ให้เลือก "Connect" และ "USB" จากแถบเมนูด้านบน

เมื่อเราทดสอบ app ในคอมพิวเตอร์ก่อนการทดสอบต้องเปิดโปรแกรมในข้อใด

บทส่งท้าย

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เป็นการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับการพัฒนา application ด้วย  App inventor 2 ซึ่งมีทางเลือกในการทดสอบโปรแกรม 3 ทางเลือก ซึ่งสำหรับผมชอบใช้ทางเลือกที่ 1 เพราะมีความน่าเชื่อถือและความผิดพลาดน้อยที่สุด สำหรับการพัฒนา application ผมจะได้กล่าวถึงในบทความต่อไปนะครับ

Add comment