เมื่อเกิดการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย

ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสาขาวิชาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพของพนักงานในองค์กรป้องกันไม่ให้ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายอุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

รู้หรือไม่ มีผู้เสียชีวิตกว่า 2.8 ล้านคนซึ่งมีผลมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน จากสถิติพบว่าในทุกๆ 15 วินาทีจะมีผู้เสียชีวิต 1 รายและมีการบาดเจ็บแต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีกประมาณ 375 ล้านคนต่อปี ตัวเลขนี้ถือว่าสูงมากเป็นเหตุผลที่ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียต่อพนักงาน สูญเสียทรัพย์สินและเงินค่าชดเชยต่างๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ว่าจะมากมายมหาศาลแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถซื้อชีวิตกลับมาได้

เมื่อเกิดการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย

ความปลอดภัย 3 หลักที่องค์กรควรจัดให้มี อ้างอิงจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ได้แก่

1.จัดให้มีการส่งเสริมด้านสุขภาพของพนักงาน

2.จัดให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้พื้นที่การทำงานนั้นเกิดความปลอดภัย

3.จัดให้มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานและสนับสนุนทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้พนักงานทุกคนนั้นได้มีส่วนร่วมมีการออกนโยบายเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัย รวมถึงจัดให้มีการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมความปลอดภัยด้วย

ความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และมีความเข้าใจผ่านการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยมาแล้วมีโอกาสที่จะลดอุบัติเหตุให้น้อยลงได้

ความปลอดภัยในการทำงาน ความหมายที่แท้จริงคือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยต่อพนักงาน ปราศจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงาน สำหรับอุบัติเหตุก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมักมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

1.อุบัติเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล ซึ่งเกิดจากความประมาท การที่พนักงานไม่มีความระมัดระวังทำงานด้วยความประมาทนั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

2.อุบัติเหตุเกิดจากการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน หรือไม่มี WI

3.อุบัติเหตุเกิดจากสภาพการณ์ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ไม่ปลอดภัย เช่น เครื่องจักรได้รับการชำรุด

การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ โดยคิดเป็นร้อยละ 85 ของอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัยมีอะไรบ้าง

  • การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบในด้านความปลอดภัย
  • ความประมาท พลั้งเผลอ หรือเหม่อลอย
  • การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลหรือ PPE
  • การทำงานข้ามขั้นตอน หรือทำงานเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
  • การใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท ตลอดจนการดัดแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
  • การทำงานด้วยความเร่งรีบหรือรีบร้อน
  • การทำงานโดยมีสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติไม่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน

หัวใจสำคัญของการทำงาน คือ ความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งหมดนี้คงทำให้หลายๆ คนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น ได้รู้ว่าความปลอดภัยในการทำงานคืออะไรบ้าง องค์กรควรมีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างไร เพื่อลดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน ในขณะเดียวกันพนักงานเองก็ควรได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้เกิดความรู้และความเข้าใจด้วยเช่นเดียวกัน

บริการของเรา

?>

เมื่อเกิดการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย

อัพเดทวันที่ : 21 พ.ค. 2560

สภาพการณ์ไม่ปลอดภัย คือ สถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอันตราย หรือส่งเสริมให้เกิดอันตรายโดยไม่รู้ตัว ซึ่งบางครั้งอาจเป็นสิ่งที่เรามองข้ามคิดว่าไม่น่าจะเกิดอันตรายได้ เช่น พื้นที่ปฏิบัติงานไม่เป็นระเบียบ ซึ่งอาจทำให้พนักงานยกสิ่งของสะดุดหกล้มได้ทุกเมื่อ ในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้เพื่อวางแผนรับมือกันครับ

สภาพการณ์ไม่ปลอดภัยได้แก่

1.การที่ระบบไฟฟ้าชำรุดหรือบกพร่อง อันเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การไม่บำรุงรักษาสายไฟ การพบเจอจุดชำรุดแล้วไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน เป็นต้น
2.การที่พื้นที่ปฏิบัติงานสกปรก
3.การวางผังโรงงานที่ผิดพลาด
4.การมีแสงสว่างที่ไม่เพียงพอในการทำงาน ซึ่งเป็นผลให้อาจมองไม่เห็นเครื่องจักร
5.เครื่องจักรกล เครื่องมือ อุปกรณ์เซฟตี้ ชำรุดบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดจากขาดการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
6.สถานที่ทำงานมีความร้อนสูง มีผลให้พนักงานอาจมีความเครียดซึ่งไม่มีสมาธิในการทำงาน

วิธีการแก้ไข

1.การหมั่นบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เครื่องมือต่างๆ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน
2.การหมั่นทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานให้พร้อมสำหรับการทำงานทุกเมื่อ
3.การหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า ปลั๊กไฟ ว่ามีจุดไหนชำรุดหรือไม่ แล้วดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข
4.หากพื้นที่ทำงานจุดไหนแสงสว่างไม่เพียงพอ ให้ดำเนินการเพิ่มไฟในจุดนั้น