ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

ในการทำงานเกี่ยวกับกราฟิกบนคอมพิวเตอร์ มันมีคำสอนที่คนมักบอกต่อกันมาว่างานดิจิทัลให้ใช้โหมดสี RGB แต่ถ้าออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้ใช้โหมดสี CMYK 

บทความเกี่ยวกับ RGB อื่นๆ

ที่มาของประโยคดังกล่าว ก็มาจากการที่ RGB เป็นกระบวนการที่จอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์ใช้เพื่อสร้างสีสัน ในขณะที่ CMYK เป็นกระบวนการที่หมึกในเครื่องพิมพ์ใช้ในการสร้างสีต่างๆ ลงบนงานพิมพ์ ซึ่งคำกล่าวนั้นก็ไม่ผิดนะ แต่มันอาจไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับยุคปัจจุบันนี้แล้ว เพราะอะไร เราจะมาอธิบายให้ฟังกัน

ระบบสี CMYK สร้างมาเพื่องานพิมพ์

เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปถึงปี ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) โน่นเลย บริษัท Eagle Printing Ink Company ได้คิดค้นระบบการพิมพ์แบบใหม่ที่เรียกว่า "Wet Printing" (พิมพ์เปียก) ที่มีการพิมพ์ซ้ำลงไปที่จุดเดิมก่อนที่สีก่อนหน้านี้จะแห้งเพื่อทำการผสมสีใหม่ขึ้นมา โดยใช้น้ำหมึก 4 สีหลัก คือ

  1. Cyan (ฟ้าอมเขียว)
  2. Magenta (แดงอมม่วง)
  3. Yellow (เหลือง)
  4. Key (สีดำ) (ที่ไม่ใช้ B แทน Black เพราะจะสับสนกับ Blue)

กล่าวได้ว่า CMYK เป็นวิธีพิมพ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ในเวลาต่อมา แม้โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกลายเป็นเครื่องมือที่นักกราฟิกนำมาใช้งานในงานออกแบบ แต่การพิมพ์สีในยุคนั้นก็ยังใช้เครื่อง Offset ที่เป็น CMYK ในการพิมพ์อยู่ดี ไฟล์งานสำหรับงานพิมพ์ในยุคนั้นจึงสร้าง และบันทึกด้วยโหมดสีไฟล์แบบ CMYK นอกเสียจากว่า เป็นงานที่ไปใช้แสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์

ลองดูขั้นตอนคร่าวๆ ของการพิมพ์ด้วยเครื่อง Offset ได้จากคลิปวิดีโอด้านล่างนี้

ระบบสี RGB ระบบสีในโลกดิจิทัล

ต้นทุนการพิมพ์เริ่มมีราคาถูกลงในช่วงยุค 90 เมื่อ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) ได้ถูกคิดค้นขึ้นมา โดยการพิมพ์สีของเครื่องอิงค์เจ็ทก็ยังเป็นการใช้ระบบหมึก CMYK ในการทำงานอยู่ดี

ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

ภาพจาก https://th.canon/en/consumer/pixma-g5070/product

แม้การพิมพ์สีใช้ระบบ CMYK แต่ระบบสร้างสีในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประมวลผลสีบนหน้าจอ ด้วยแนวทางกับเทคนิคที่หน้าจอใช้แสดงผล นั่นก็คือ RGB (Red, Green และ Blue)

เวลาเราสั่งพิมพ์ เครื่องพิมพ์สามารถเข้าใจค่าสี RGB และพิมพ์ออกมาด้วยหมึกแบบ CMYK ได้ แต่ในกระบวนการแปลงค่าสีนั้น ทำให้สีที่ได้มีความใกล้เคียงกันเฉยๆ ไม่ได้เหมือนกันเป๊ะขนาดนั้น เป็นที่มาว่าทำไม ถึงมีการแนะนำว่างานสิ่งพิมพ์ควรทำในโหมด CMYK เพื่อให้สีของงานเวลาถูกพิมพ์ออกมาแล้วใกล้เคียงกับที่เราคิดไว้นั้นเอง

ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

ภาพจาก https://www.printplace.com/blog/wp-content/uploads/2017/04/Why-Printing-Uses-CMYK-Image-3.jpg

ความแตกต่างระหว่างระบบสี RGB และ CMYK

ระบบสี RGB

ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

RGB ย่อมาจาก Red (แดง), Green (เขียว) และ Blue (น้ำเงิน) หน้าจอแสดงผลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นจอ LCD, CRT, กล้องถ่ายรูป, สแกนเนอร์ ฯลฯ

RGB อาศัยหลักการผสมสีจากสามสีหลักดังกล่าวด้วยค่าเฉดที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างสีต่างๆ ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น

  • สีขาว = 255, 255, 255
  • สีดำ = 0, 0, 0
  • สีน้ำเงิน = 0, 0, 255
  • สีแดง = 255, 0, 0
  • สีเทากลาง = 122, 122, 122

ด้วยหลักการดังกล่าว ทำให้ RGB สามารถสร้างสีได้จำนวนสูงสุดถึง 16,777,216 สี เลยทีเดียว

ภาพจาก https://www.geeksforgeeks.org/differences-between-rgb-and-cmyk-color-schemes/

ระบบสี CMYK

ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

ภาพจาก https://www.geeksforgeeks.org/differences-between-rgb-and-cmyk-color-schemes/

CMYK เป็นสีที่สร้างในโลกความเป็นจริง มันถูกพิมพ์ลงบนวัสดุต่างๆ โดยค่าเริ่มต้นของมันจะเหมือนการผสมสีบนกระดาษสีขาว จุดนี้ให้ลองคิดตามหลักฟิสิกส์พื้นฐานก่อนว่าเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร? การมองเห็นของมนุษย์ เกิดจากการที่แสงไปตกกระทบสิ่งต่างๆ แล้วแสงนั้นก็สะท้อนเข้าสู่ตาเรา

หน้าจอคอมพิวเตอร์มีแหล่งกำเนิดแสงภายในตัว สิ่งที่เราเห็นคือแสงที่จอส่องมายังตาเรา แต่สิ่งพิมพ์ไม่ได้เป็นแบบนั้น หมึกถูกผสมแล้วพิมพ์ลงไปบนวัสดุ เมื่อเรามองวัสดุ สีที่เห็นเกิดจากแสงภายนอกที่สะท้อนเข้าตาเรา ไม่ใช่แสงจากตัววัสดุเอง (เผื่อใครงง ก็กระดาษมันไม่มีแสงสว่างภายในตัว) ดังนั้นไม่มีทางที่เราจะเห็นสีที่ถูกพิมพ์ออกมา ตรงกับสีบนหน้าจอ RGB ได้เป๊ะๆ

การผสมสีของ CMYK จะใช้สัดส่วนสีที่แตกต่างกัน โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น สีขาว = 0%, 0%, 0%, 0% ไม่ต้องพ่นหมึกเลย เพราะกระดาษเป็นสีขาวอยู่แล้ว

ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

ภาพจาก https://www.indezine.com/products/powerpoint/learn/color/color-cmyk.html

ด้วยกระบวนการสร้างสีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้จำนวนสีที่สามารถสร้างได้ไม่เท่ากัน แน่นอนว่า CMYK มีจำนวนสีที่สร้างได้น้อยกว่า RGB มาก

ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

ภาพจาก http://www.illuscientia.com/wp-content/uploads/2016/12/RGB-vs-CMYK-colour-models.jpg

ทำไมเครื่องพิมพ์ถึงไม่ใช้ระบบสี RGB

อ่านถึงบรรทัดนี้ อาจมีคนสงสัยว่า ในเมื่อระบบสี RGB สร้างสีได้หลากหลายกว่า ทำไมเครื่องพิมพ์ไม่เปลี่ยนจาก CMYK มาเป็น RGB ล่ะ ?

คือ โทนสี RGB จะมีโทนที่ค่อนข้างเข้มอยู่แล้ว ทำให้การใช้สี RGB สร้างสีที่มีโทนอ่อน โทนสว่าง เช่น สีเหลือง, เขียวสะท้อนแสง ฯลฯ ทำได้ยาก

ในขณะที่โทนสี CMY มันมีความสว่างกว่า RGB มาก ทำให้การสร้างสีโทนสว่างสามารถทำได้ง่ายกว่ามาก อย่างไรก็ตาม CMY ติดปัญหาตรงไม่สามารถสร้างสีโทนมืด หรือสีดำได้ ดังนั้นสีดำ (K) เลยถูกเพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยในการสร้างสีโทนมิดนั่นเอง

กล่าวได้ว่าระบบสี RGB สามารถแสดงเฉดสีได้กว้างกว่าระบบสี CMYK เมื่อแสดงผลบนหน้าจอ แต่หากเป็นเรื่องของการพิมพ์มันจะทำได้ไม่ดีเท่าระบบสีแบบ CMYK นั่นเอง

ข้อใดคือลักษณะโมเดลสีแบบ cmyk

ภาพจาก https://www.printplace.com/blog/reasons-for-cmyk-printing/

จำเป็นต้องแปลงไฟล์ RGB เป็น CMYK ก่อนพิมพ์หรือไม่ ?

คำตอบนี้ สามารถตอบได้ทั้ง "ใช่" และ "ไม่ใช่" ในการทำงานปกติ งานส่วนตัว ที่ไม่ได้เคร่งครัดเรื่องสีมาก พิมพ์งานออกมาด้วยเครื่องพิมพ์ของตัวเอง กระบวนการทั้งหมดส่วนใหญ่ก็จะอยู่บนพื้นฐาน RGB เราไม่จำเป็นต้องแปลงไฟล์เป็น CMYK ก่อนที่จะพิมพ์ เพราะไดร์เวอร์ของเครื่องพิมพ์จะจัดการทุกอย่างให้เราอัตโนมัติอยู่แล้ว จะแปลงเอง หรือให้ไดร์เวอร์เครื่องอิงค์เจ็ทของเราแปลงให้ผลลัพธ์ก็แทบไม่แตกต่างกันอยู่แล้ว

แต่หากเป็นงานที่ต้องการความแม่นยำของสี งานออกแบบที่จำเป็นต้องมีมาตรฐาน พิมพ์ออกมาแล้วได้งานที่สีตรงกับที่ออกแบบเอาไว้ การทำงานบนระบบไฟล์ CMYK เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเลือกได้เลยนะ เพราะมันมีขอบเขตสี RGB และ CMYK อยู่หลายแบบ อย่าง RGB ก็จะมี sRGB หรือ Adobe RGB หากเป็น CMYK ก็เช่น SWOP, FOGRA, GRACOL ฯลฯ ก่อนเริ่มงานจึงควรคุยกับโรงพิมพ์ก่อนด้วยว่า พวกเขาต้องการโปรไฟล์สีแบบไหน จะได้ทำงานที่มาตรฐานเดียวกัน

ข้อใดคือลักษณะของโมเดลสีแบบ Lab

LAB Model เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationaled Eclarirage) ให้เป็นมาตรฐาน การวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYKและใช้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Monitor, Printer, Scanner ฯลฯ ส่วนประกอบของโหมดสีได้แก่ L หมายถึง ค่าความสว่าง Luminance.

ข้อใดคือลักษณะของโมเดลสีแบบ RGB

โมเดล RGB เกิดจากการรวมตัวกันของสเปกตรัมของ แสงสีแดง (Red), เขียว (Green) และน้ำเงิน (Blue) ในสัดส่วน ความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยจุดที่แสงทั้งสามสีรวมกันจะเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า “additive” แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับการส่องแสงทั้งบนจอภาพ ทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากสารที่ให้กำเนิดแสงสีแดง สีเขียว ...

การผสมสีแบบ CMYK เรียกว่าอะไร

CMYK ย่อมาจาก Cyan (ฟ้า) Magenta (แดงอมม่วง) Yellow (เหลือง) และ Key (ดำ) เป็นสีที่เกิดจากการดูดกลืนของแสงที่สะท้อนจากวัตถุ เมื่อแสงสีขาวตกกระทบกับวัตถุสีต่าง ๆ คลื่นแสงบางส่วนจะดูดกลืนไว้แล้วสะท้อนออกมาเฉพาะบางสีเท่านั้น เรียกว่า การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color)

โมเดลสี Subtractive คือโมเดลสีใด

ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงาน ...