เหตุผลสำคัญที่พระยาภักดีรับแม่ลออมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมคือข้อใด

Description: เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้เห็นแก่ลูก 2

Read the Text Version

No Text Content!

    Pages:

  • 1 - 40

เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี คำนำ การอ่าน คิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างมีวิจารณ ญ าณ มีการไตร่ตรอง มองเห็นการไกล นำความรู้ไปใช้ใน การเผชิญสถานการณ์ได้ และรู้จักนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ทั้งด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา โดยสะสมความรู้ที่เป็นประโยชน์ ของการอ่าน เพื่อใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง โดยผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้อง กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อเสริมประสบการณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยให้นักเรียนเกิดทักษะในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนว การวัดผลนานาชาติ PISA นี้มีทั้งหมด ๗ เล่ม ดังนี้ เล่มที่ ๑ เรื่อง การคิดวิเคราะห์ตามแนว PISA เล่มที่ ๒ เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดี เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว เล่มที่ ๔ เรื่อง พระอภัยมณีเลิศวรรณคดีไทย เล่มที่ ๕ เรื่อง อิศรญาณภาษิตลิขิตเขียน เล่มที่ ๖ เรื่อง พินิจพระบรมราโชวาท เล่มที่ ๗ เรื่อง วิเคราะห์บทพากย์เอราวัณ ในการจัดทำแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว ผู้จัดทำมีความคาดหวังให้แบบฝึก ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA เล่มนี้เสริมสร้างให้ เกิดการกระตุ้นเพิ่มความเข้าใจและเร้าใจแก่นักเรียนให้มีความสนใจต่อการเรียนรู้วรรณคดีและมีเจตคติที่ดีต่อ การเรียนวิชาภาษาไทยยิ่งขึ้น ก สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ ๑ คำชี้แจงสำหรับครู ๒ คำชี้แจงสำหรับนักเรียน ๓ สาระสำคัญ ๔ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ๔ จุดประสงค์การเรียนรู้ ๕ แบบทดสอบก่อนเรียน ๗ กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน ๑๐ ใบความรู้ที่ เรื่อง ภาษาในวรรณคดี ๑๑ แบบฝึกทักษะที่ ๑ ๑๘ แบบฝึกทักษะที่ ๒ ๒๑ แบบฝึกทักษะที่ ๓ ๒๕ แบบฝึกทักษะที่ ๔ ๓๒ แบบทดสอบหลังเรียน ๓๗ กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน ๔๐ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน ๔๑ เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๑ ๔๒ เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๒ ๔๓ เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๓ ๔๕ เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๔ ๔๖ เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ๔๙ บรรณานุกรม ๕๐ ข คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว เล่มนี้ ใช้ประกอบการ จัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๘ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. นักเรียนอ่านคำชี้แจงการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนว การวัดผลนานาชาติ PISA ให้เข้าใจ ๒. นักเรียนศึกษามาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ขอบข่ายของเนื้อหา และสาระสำคัญ ๓. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน ๔. นักเรียนศึกษาเนื้อหาโดยละเอียดทีละเรื่องตามลำดับแล้วทำแบบฝึกทักษะ ๕. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าหลังเรียน เกณฑ์การประเมิน ๑. นักเรียนต้องได้คะแนนประเมินตนเองหลังเรียนร้อยละ ๘๐ ๒. นักเรียนต้องได้คะแนนแบบฝึกทักษะย่อยร้อยละ ๘๐ ๓. หากนักเรียนได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ให้กลับไปทบทวนความรู้เดิมจนกว่าจะได้คะแนนร้อยละ ๘๐ ๑ คำชี้แจงสำหรับครู แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว เล่มนี้ ใช้ประกอบการ จัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๘ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. ครูเตรียมและศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA ประกอบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว ก่อนที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม ๒. ครูแจกแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว ให้นักเรียนศึกษา ๓. ครูชี้แจงการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผล นานาชาติ PISA ให้นักเรียนทราบก่อนลงมือปฏิบัติ ๔. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อดูว่านักเรียนมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ พื้นฐานของวรรณคดีเรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้วมากน้อยเพียงใด ๕. ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ในแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตาม แนวการวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว และปฏิบัติตามแบบฝึกทักษะต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนและเกิดความรู้ความเข้าใจ ๖. ครูต้องตระหนักอยู่เสมอว่าในการทำกิจกรรมควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด เช่น การมีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรม การตรวจแบบฝึกทักษะด้วยตนเอง การเปลี่ยนกันตรวจกับเพื่อน ๗. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อดูว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลังเรียนมากน้อย เพียงใด ๘. ครูสังเกตพฤติกรรมสมรรถนะหลักของนักเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๙. ครูตรวจผลงานนักเรียนและแบบทดสอบ แล้วบันทึกผลลงในใบเก็บคะแนน ๑๐. ครูแจ้งคะแนนให้นักเรียนทราบและชมเชยนักเรียน ๒ คำชี้แจงสำหรับนักเรียน แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว เล่มนี้ ใช้ประกอบการ จัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๘ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. นักเรียนศึกษามาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๒. นักเรียนอ่านคำชี้แจงการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนว การวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว ประกอบการเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐานให้เข้าใจตามขั้นตอน ๓. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว เพื่อประเมินความรู้ พื้นฐานของนักเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ ใช้เวลา ๑๐ นาที ๔. นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง ภาษาในวรรณคดี เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว ทำความ เข้าใจ และทำแบบฝึกทักษะที่กำหนดให้ ๕. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะย่อยจนครบทุกกิจกรรมตามลำดับ ๖. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ ใช้เวลา ๑๐ นาที เพื่อประเมินความก้าวหน้า ๗. นักเรียนตรวจคำตอบ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบฝึกทักษะ จากเฉลย ที่อยู่หลังภาคผนวก ๘. ในการศึกษาและการทำกิจกรรมให้นักเรียนทำด้วยความตั้งใจและมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยไม่ เปิดดูเฉลยก่อน ให้นักเรียนใช้เวลาในการศึกษาให้เหมาะสมและตรงต่อเวลา ๙. สรุปผลคะแนนที่ได้ลงในกระดาษคำตอบเพื่อทราบผลการเรียนและการพัฒนาของตนเอง และหวังว่าแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความวรรณคดีตามแนวการวัดผลนานาชาติ PISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว ประกอบการเรียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน เล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนในการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และเกิดประโยชน์ในโอกาสต่อไป ๓ สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น บทละครพูดขนาดสั้นที่แสดงถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของบุพการีที่มีต่อบุตร อันเป็นคุณธรรมสำคัญที่เป็นสากล ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระที่ ๑ การอ่าน มาตรฐานการเรียนรู้ ท๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ท๑.๑ ม.๓/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน ท๑.๑ ม.๓/๒ ระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ท๑.๑ ม.๓/๓ ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน ท๑.๑ ม.๓/๔ อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความและรายงาน ท๑.๑ ม.๓/๕ วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ ได้ดีขึ้น ท๑.๑ ม.๓/๖ ประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน ท๑.๑ ม.๓/๗ วิจารณ์ความสมเหตุสมผล การลำดับความและความเป็นไปได้ของเรื่อง ท๑.๑ ม.๓/๘ วิเคราะห์เพื่อแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ท๑.๑ ม.๓/๙ ตีความและประเมินคุณค่า และแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้ แก้ปัญหาในชีวิต ท๑.๑ ม.๓/๑๐ มีมารยาทในการอ่าน ๔ สาระที่ ๒ การเขียน มาตรฐานการเรียนรู้ ท๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว ในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ท๒.๑ ม.๓/๒ เขียนข้อความโดยใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องตามระดับภาษา ท๒.๑ ม.๓/๔ เขียนย่อความ ท๒.๑ ม.๓/๖ เขียนอธิบาย ชี้แจง และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้งในเรื่องต่าง ๆ ท๒.๑ ม.๓/๑๐ มีมารยาทในการเขียน สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐานการเรียนรู้ ท๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็น คุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ตัวชี้วัด ท๕.๑ ม.๓/๑ สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรมและวรรณกรรมท้องถิ่นในระดับที่ยากขึ้น ท๕.๒ ม.๓/๒ วิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน ท๕.๓ ม.๓/๓ สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. ด้านความรู้ (Knowledge) ๑.๑ รู้และเข้าใจเนื้อหาในบทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก ๑.๒ เข้าใจคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ๑.๓ รู้คุณค่าของวรรณคดี ๕ ๑.๔ เข้าใจวิถีไทยในสมัยนั้น ๆ ๒. ด้านทักษะ/กระบวนการ (Process) ๒.๑ สรุปประเด็นสำคัญของเรื่องได้ ๒.๒ ตีความ แปลความได้ ๒.๓ คิดวิเคราะห์ โต้แย้ง และสนับสนุนข้อความอย่างสมเหตุสมผล ๓. เจตคติ (Attitude) ๓.๑ นักเรียนตระหนักและเห็นคุณค่าของเรื่องบทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก ๓.๒ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวรรณคดีไทย ๓.๓ นักเรียนมีมารบาทในการอ่านและเขียน ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๔.๒ ความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดวิเคราะห์ ๔.๓ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการปฏิบัติ - ทักษะทางภาษา ๔.๔ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ๕. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕.๑ ใฝ่เรียนรู้ ๕.๒ มุ่งมั่นในการทำงาน ๕.๓ รักความเป็นไทย ๖ แบบทดสอบก่อนเรียน เล่มที่ ๓ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว คำชี้แจง ๑. แบบทดสอบมีทั้งหมด ๑๐ ข้อ ๒. เวลาทำแบบทดสอบ ๑๐ นาที ๓. ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย × ทับข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ๑. ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่นายล้ำมาแสดงตัวในบ้านของพระยาภักดี ก. เพราะไม่มีทางทำมาหากิน ข. เพราะตั้งใจจะมาพึ่งพาลูกสาว ค. เพราะเป็นห่วงลูกสาวที่กำลังจะแต่งงาน ง. เพราะต้องการแสดงความรักของพ่อที่มีต่อลูก ๒. “ดิฉันจะเข้าในเรือนเสียทีค่ะ คุณพ่อกับคุณอาคงอยากคุยกันอย่างผู้ชายๆ สนุกกว่า” จากบทสนทนา นี้แสดงว่าแม่ลออเป็นคนเช่นไร ก. เป็นคนขี้อาย ข. เป็นคนรู้จักกาลเทศะ ค. เป็นคนสุภาพอ่อนหวาน ง. เป็นคนไม่กล้าสู้หน้าคน ๓. “น้ำเหลืองๆ ไม่มีหรือครับ มันค่อยชื่นอกชื่นใจหน่อยหนึ่ง?” จากบทสนทนานี้ จัดเป็นบทสนทนาที่ เหมาะสมกับตัวละครด้านใด ก. บทสนทนาที่เหมาะสมกับนิสัยตัวละคร ข. บทสนทนาที่เหมาะสมกับอายุตัวละคร ค. บทสนทนาที่เหมาะสมกับฐานะตัวละคร ง. บทสนทนาที่เหมาะสมกับสถานภาพตัวละคร ๗ ๔. บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกแสดงแนวคิดสำคัญในข้อใดเด่นชัดที่สุด ก. ความห่วงใยที่พ่อมีต่อลูก ข. ความเสียสละของพ่อที่มีต่อลูก ค. ความปรารถนาดีของพ่อที่มีต่อลูก ง. ความรักที่ยิ่งใหญ่ของพ่อที่มีต่อลูก ๕. ข้อใดแสดงวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏในละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกเด่นชัดที่สุด ก. การจัดพิธีแต่งงาน ข. การต้อนรับผู้มาเยือน ค. การแบ่งชนชั้นในสังคม ง. การเคารพนับถือผู้อาวุโส ๖. ลักษณะนิสัยของแม่ลออในข้อใดที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างมากที่สุด ก. การมีวาจาที่สุภาพ ข. การมีน้ำใจให้แก่ผู้อื่น ค. การเคารพนับถือผู้ใหญ่ ง. การกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ๗. จากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก การที่นายล้ำต้องเป็นฝ่ายยอมจากไปแสดงให้เห็นว่านายล้ำพ่ายแพ้ ต่อสิ่งใด ก. แพ้ภัยตนเอง ข. แพ้ความดีของแม่ลออ ค. แพ้ความดีของพระยาภักดี ง. แพ้คุณธรรมประจำใจตนเอง ๘. “ถึงการฉ้อโกงก็มีหลายชนิดหลายชั้นเหมือนกัน ถ้าไม่ยังงั้นคุณเองจะมาลอยหน้าเป็นพระยาอยู่ หรือ” จากบทสนทนานี้ แสดงว่าผู้พูดเป็นคนเช่นไร ก. พูดปด ข. พูดโอ้อวด ค. พูดเพ้อเจ้อ ๘ ง. พูดส่อเสียด ๙. คำพูดของตัวละครในข้อใดสอดคล้องกับชื่อของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ก. หล่อนได้เขียนรูปพ่อของหล่อนขึ้นในใจเป็นคนดีไม่มีที่ติ ข. เด็กคนนี้ดีเกินที่จะเป็นลูกของผม ผมมันเลวทรามเกินที่จะเป็นพ่อของเขา ค. อย่าได้บอกความจริงแก่แม่ลออเลย ให้เขานับถือรูปผมอันเก่านั้นว่าเป็นพ่อของเขา ง. พอถึงวันแต่งงานของแม่ลออเจ้าคุณได้โปรดให้แหวนแก่เขา บอกว่าเป็นของรับไหว้ของผม ๑๐. “ไม่ใช่ว่าใคร ๆ เขาจะพากันคอยตัดรอนไม่ให้มีการผงกหัวได้อีก” คำว่า “ผงกหัว” ในบทสนทนานี้ มีความหมายโดยนัยว่าอย่างไร ก. พยักหน้า ข. ก้มศีรษะเบาๆ ค. กลับตัวกลับใจ ง. ยอมรับความผิด ๙ กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน เล่มที่ ๒ เรื่อง เห็นแก่ลูกละครพูดร้อยแก้ว ชื่อ....................................................................ชั้น..................เลขที่.................. ข้อ ก ข ค ง ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๗ ๘ ๑๐ สรุปคะแนน คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ รวม ๑๐ คะแนน .................................. ๑๐ ใบความรู้ เรื่อง บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก บทละครพูด บทละครพูด คือ ละครที่แสดงโดยมีตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนชีวิตจริง แต่ไม่มีการสอดแทรก ดนตรี การรำ หรือการขับร้องขณะแสดงมีเพียงแค่บทสนทนาของตัวละครเท่านั้น บทละครพูดเริ่มมีในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้รับ ความนิยมและแพร่หลายสูงในรัชสมัยของพระบาทสมเพ็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครพูดแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. ละครพูดล้วน ๆ เป็นละครพูดแบบร้อยแก้ว เช่น หัวใจนักรบ เห็นแก่ลูก ๒. ละครพูดแบบร้อยกรอง จำแนกตามลักษณะคำประพันธ์ ได้แก่ ละครพูดคำกลอน เช่น พระร่วง ๓. ละครพูดสลับลำ ลำ มาจากคำว่า “ลำนำ” หมายถึง บทร้องหรือเพลง ซึ่งบทร้องเป็นเพียงบทแทรก เพื่อเสริมความหรือย้ำความ เช่น ชิงนาง ปล่อยแก่ บทละครพูดที่ได้รับการยกย่องให้เป็นยอดของบทละครพูด คือ เรื่อง บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เรื่องเห็นแก่ลูกเป็นละครที่มีขนาดสั้นเพราะมีองก์เดียว ฉากเดียว (องก์ หมายถึง ตอนหนึ่งในบทละคร มี ฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้) บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้คิดเค้าโครงเรื่อง ขึ้นเอง มิได้ดัดแปลงมาจากภาษาอื่น สันนิฐานว่า บทละครเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ ไม่ใช่การแปล ในละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก มีวิธีการใช้คำพูดหรือแสดงท่าทางอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ค่านิยม บางอย่างในสมัยนั้นถูกแทนที่ด้วยค่านิยมสมัยใหม่ เพราะเหตุนี้จึงทำให้เราต้องใช้เวลาเพื่อทำความเข้าใจในบท ละครที่อ่านแต่ “แก่น” ของบทละครเรื่องนี้ก็ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนไปนั้น คือ ความรักของบิดาที่มีต่อลูก และเห็น แก่ลูกโดยการเสียสละความสุขของตน และทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกมีความสุข และได้รับในสิ่งที่ดีที่สุด ๑๑ จุดมุ่งหมายในการแต่ง ใช้เป็นละครพูด แสดงเพื่อความบันเทิงที่แฝงข้อคิดให้เห็นถึงความรัก ความเสียสละของพ่อที่มีต่อลูก เรื่องย่อ นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดี และนั่งคอยดูอยู่ห่าง ๆ เนื่องจากไม่ไว้ใจ เพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัวปอน ๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัด จนเมื่อพระยาภักดีกลับมา บ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบเรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับ พระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วนนายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือ แม่นวล มีลูกสาว คือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ ๒ ขวบเศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตาม ลำพัง ก่อนตายจึงยกลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพรยาภักดี นายล้ำจำคุก อยู่ ๑๐ ปี ก็ออกจากคุกไปร่วมค้า ฝิ่นอยู่กับจีนกิมจีนเง็กที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ต่อมาก็ตกอยู่ใน สภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ ๑๗ ปี กำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ แต่พระยา ภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่นรังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนใน ที่สุดเสนอเงินให้ ๑๐๐ ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอม เมื่อแม่ลออกลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็น ประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อของแม่ลออ ซึ่งหล่อนได้วาดภาพไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย ฉาก ฉากที่บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกใช้คือ ฉากบ้านของพระยาภักดีในห้องหนังสือซึ่งฉากในห้องหนังสือนั้น ก็แสดงถึงความเป็นส่วนตัวของเรื่องที่จะคุยกันว่าเป็นเรื่องที่คนอื่น ๆ จะรู้ไม่ได้ และยังสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิก ของเจ้าของบ้านหรือพระยาภักดีว่าเป็นผู้ดีมีตระกูล มีการศึกษา ตัวละคร นายล้ำ ทิพเดชะ นายล้ำเมื่อเริ่มเรื่องนั้นทราบแต่ว่านายล้ำ เป็นคนหน้าตาแก่เกินอายุ เนื่องจากเป็นคนดื่มเหล้าจัดนายล้ำ แท้จริงแล้วเป็นบิดาแท้ ๆ ของแม่ลออ แต่เดิมเคยรับราชการจนได้รับราชทินนามว่า “ทิพเดชะ” แต่ก็ต้องเข้า คุกเข้าตารางเพราะฉ้อโกง พอออกมาจากคุกก็หนีไปอยู่พิษณุโลก แล้วก็ค้าขายฝิ่นจนฉิบหายหมดตัว และเมื่อ ๑๒ ทราบข่าวว่าลูกสาวของตน ซึ่งก็คือแม่ลออกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ จึงจากพิษณุโลกมาหาพระยาภักดีที่ เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนและเป็นพ่อเลี้ยงของแม่ลออในตอนนี้ด้วย การที่นายล้ำมาหาพระยาภักดีนั้นในตอนแรกมีจุดประสงค์คือมาเกาะลูกกิน คือไม่มีปัญญาจะทำมาหา กินแล้วเพราะไม่มีเงิน แต่สุดท้ายความเห็นแก่ตัวของนายล้ำก็แปรเปลี่ยนเป็น “เห็นแก่ลูก” เมื่อได้รู้ถึง ความรู้สึกนึกคิดของแม่ลออต่อพ่อผู้ให้กำเนิด โดยการแสดงความรักและความภาคภูมิใจถึงแม้จะไม่เคยพบหน้า กันเลยก็ตาม นายล้ำได้ฟังดังนั้นจึงเกิดความละอาย จึงตัดสินใจที่จะไม่บอกความจริงว่าตนเป็นพ่อแท้ ๆ ของ แม่ลออและยอมเสียสละความสุขส่วนตน โดยที่ยอมลำบากต่อไป พระยาภักดีนฤนาถ พระยาภักดีเป็นเพื่อนกับนายล้ำมาก่อน และชอบผู้หญิงคนเดียวกันนั่นคือแม่นวล แต่แม่นวลนั้นก็ได้ แต่งงานกับนายล้ำแต่ไม่พบกับความสุขใด ๆ เลย ก่อนที่แม่นวลจะสิ้นใจนางก็ได้ฝากฝังลูกสาวของนางนั่นคือ แม่ลออ ไว้กับพระยาภักดี ซึ่งพระยาภักดีก็ได้ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจและรักแม่ลออเหมือนลูกแท้ ๆ พระยาภักดีได้อบรมสั่งสอนแม่ลอออย่างตระกูลผู้ดีและปลูกฝังให้ลูกรักและภูมิใจในตัวพ่อแท้ ๆ (ซึ่งก็คือ นายล้ำ) พระยาภักดีจึงรับหน้าที่เป็นพ่อบุญธรรมของแม่ลออไปโดยปริยาย และเมื่อนายล้ำต้องการที่จะแสดงตนว่าเป็นพ่อแท้ ๆ ของแม่ลออ พระยาภักดีก็ขัดขวางทุกวิถีทางเพราะ เกรงว่าแม่ลออจะขายหน้าและถูกสังคมรังเกียจ เมื่อรู้ว่าพ่อตนจริง ๆ แล้วเป็นแบบไหนด้วยความที่พระยาภักดี เป็นคนที่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรมากแต่ก็ยอมจ่ายเงินปิดปากนายล้ำ แต่นายล้ำก็ไม่ยอม ถึงขั้นต้องใช้กำลังก็ยอม ซึ่ง แสดงให้เห็นความรักของพระยาภักดีว่าเป็นคนเห็นแก่ลูก แม่ลออ แม่ลออมีพ่อแท้ ๆ คือนายล้ำ ทิพเดชะ มีพ่อบุญธรรม คือ พระยาภักดีนฤนาถ แม่ลออกำลังจะออกเรือนเพื่อไปแต่งงานกับนายทองคำ แม่ลออเป็นคนอ่อนโยน เรียบร้อย สุภาพ และมี มารยาทงามสมกับเป็นตระกูลผู้ดี อีกทั้งยังมองโลกในแง่ดีเห็นได้จากการที่คิดว่าพ่อของตนเป็นคนดีและ สมบูรณ์แบบ (จนทำให้นายล้ำเกิดความละอายใจ) อ้ายคำ ๑๓ อ้ายคำเป็นบ่าวของพระยาภักดี ซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รักเจ้านายมาก ฉลาด และดูคนเป็น เห็นได้จากตอนที่นายล้ำเข้ามาหาพระยาภักดีที่บ้าน อ้ายคำเห็นว่านายล้ำมีท่าทีที่ไม่น่าไว้ใจ อ้ายคำจึงยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วย แม้จะถูกบอกให้ไปที่อื่นก็ตาม วิเคราะห์คุณค่าพัฒนาความคิด คุณค่าด้านเนื้อหา บทละครพูดมีความยาว ๑ องก์ เริ่มเรื่องด้วยเหตุการณ์ที่นายล้ำผู้เคยทุจริตต่อหน้าที่จนติดคุก กลับมา หาพระยาภักดีเพื่อทวงสิทธิ์ความเป็นบิดาของแม่ลออ ซึ่งปัจจุบันพระยาภักดีได้ชุบเลี้ยงเหมือนลูกแท้ ๆ และ กำลังจะแต่งงาน พระยาภักดีเกรงว่าแม่ลออจะเสื่อมเสียและต้องทุกข์ใจจึงพยายามกีดกัน เมื่อนายล้ำได้พบ แม่ลออ ความดีและภาพพ่อที่แสนดีในใจของแม่ลออทำให้นายล้ำสำนึกได้ และยอมจากไปโดยไม่เปิดเผยตัวตน บทละครพูดเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อสองรูปแบบ คือ พ่อที่แท้จริงกับพ่อบุญธรรมแม้จะไม่ใช่พ่อที่ แท้จริงหากได้เลี้ยงดูมาก็ย่อมรัก หวังดีต่อลูกและทำทุกอย่างเพราะเห็นแก่ลูกมากกว่าเห็นแก่ตัว สำหรับพ่อที่ แท้จริงแม้จะเคยทำตนไม่ดีมาก่อน แต่เมื่อพบความรักที่บริสุทธิ์จริงใจของลูกทำให้สำนึกและเสียสละเพื่อลูก คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑. ลักษณะคำประพันธ์ ประพันธ์ด้วยรูปแบบของบทละครพูดร้อยแก้ว ๒. ศิลปะการประพันธ์ บทละครพูดนี้มีความดีเด่นด้านการใช้ถ้อยคำ ดังนี้ ๑) ใช้ภาษาเข้าใจง่าย เป็นภาษาพูดสนทนากันและมีการบรรยายกิริยาอาการ ความรู้สึกแทรกไว้ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจพฤติกรรมของตัวละครและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชัดเจน ตัวอย่าง นายล้ำ : (เสียงเครือ.) เจ้าคุณ! ผม...ผม... (เช็ดน้ำตา.) พระยาภักดี : อ๊าย! ไม่รับไม่ได้ ไม่รับโกรธกันเทียว. (ยัดเยียดธนบัตรให้นายล้ำ.) นายล้ำ : (รับธนบัตร.) ผมจะไม่ลืมพระเดชพระคุณใต้เท้าจนตายทีเดียว ขอให้เชื่อผมเถอะ ๑๔ ๒) มีคำอุทานในบทสนทนา เช่น พุทโธ่! เอ๊ะ! ฮือ! เอ้า! อ๊าย! แหม! อ้อ! โธ่! อือ ๆ อ้าว! ทำให้บทสนทนาดูมีชีวิตชีวา น่าสนใจ น่าติดตาม ตัวอย่าง ๓) มีการใช้คำพูดในยุคสมัยนั้น เช่น กระได หล่อน เทียว ๔) มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น ออฟฟิศ ๕) มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามรูปแบบของภาษาอังกฤษ ตัวอย่าง ๖) การใช้บทสนทนาที่สอดคล้องกับลักษณะนิสัยและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ตัวอย่าง บทสนทนาดังกล่าวแสดงให้เห็นลักษณะนิสัยของนายล้ำว่าเป็นคนที่ติดสุรา พระยาภักดี : ฮือ! แล้วก็ทำยังไงล่ะ ฉันหวังใจว่าการที่ทำนั้นไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมายแต่ที่จริงนี่ก็ ไม่ต้องกล่าวเพราะถ้าผิดกฎหมายแกคงไม่มาเล่าให้ฉันฟัง นายล้ำ : อ้อ! เจ้าคุณนี่ก็ยังช่างพูดอยู่เหมือนหนุ่ม ๆ น่ะเอง การที่ผมทำน่ะเป็นการค้าขาย ครับ พระยาภักดี : ฮือ! พิศ ๆ ไปก็ออกจะจำได้ นายล้ำใช่ไหม ? นายล้ำ : ขอรับ นายล้ำ ทิพเดชะ. พระยาภักดี : อ้อ ๆ นั่งเสียก่อนซิ. (นั่งทั้งสองคนด้วยกัน.) เป็นยังไง สบายดีอยู่ดอกหรือ ? นายล้ำ : น้ำเหลือง ๆ ไม่มีหรือครับ มันค่อยชื่นอกชื่นใจหน่อยหนึ่ง นายล้ำ : ผมเห็นควรตัวผมจะมารดน้ำด้วยนะครับ พระยาภักดี : นี่แกเอาอะไรมานึก ๑๕ บทสนทนาดังกล่าวแสดงให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกของพระยาภักดี มีอารมณ์โกรธที่นายล้ำจะมา งานแต่งของแม่ลออด้วย ๗) การใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายลึกซึ้ง ตัวอย่าง คำว่า “ผงกหัว” ในที่นี้หมายถึง มีโอกาสในการกลับตัวกลับใจทำมาหากินอย่างสุจริต ๘) การใช้สำนวน ในบทละครพูดเรื่องนี้พบสำนวนหลายสำนวน ตัวอย่าง คุณค่าด้านสังคมและสะท้อนวิถีไทย ๑. ค่านิยมไทยสมัยก่อนจะให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น แม่ลออที่แต่งงานเมื่ออายุ ๑๗ ปี ๒. สังคมไทยสมัยนั้นใช้เงินเป็น “ชั่ง” เป็น “บาท” เช่น ห้าสิบชั่ง สามสี่ร้อยบาท ๓. สังคมสมัยนั้นมีการถ่ายภาพแล้ว เห็นได้จากเนื้อเรื่องตอนที่ว่า ตัวอย่าง พระยาภักดี : แกยังเข้าใจผิดอยู่มากการที่คนได้รับพระราชอาญาคราวหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ว่าใคร ๆ เขาจะพากันคอยตัดรอนไม่ให้มีการผงกหัวได้อีก มีเหย้ามีเรือน หมายถึง แต่งงาน มีครอบครัว เจ้าคุณนายคุณ หมายถึง เคยทำบุญคุณแก่เขาไว้มาก หมาหัวเน่า หมายถึง คนที่ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย ๑๖ ๔. สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงานว่ามีการรดน้ำอวยพรจากผู้ใหญ่อันเป็นประเพณีการแต่งงานที่ดี งาม และผู้ใหญ่จะมีการรับไหว้ตามประเพณีเห็นได้จากเนื้อเรื่องตอนหนึ่งว่า ตัวอย่าง ๕. สังคมไทยยกย่องชื่นชมการทำมาหากินอย่างสุจริต และถ้าทำผิดกฎหมายจะถูกลงโทษ ผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ สุจริตทำผิดกฎหมายจะไม่ได้รับการยอมรับในสังคม ตัวอย่าง ข้อคิดนำชีวิต ๑. มนุษย์ทุกคนไม่ว่าไพร่ ผู้ดี มีความรักลูกเสมอ แม้ว่าคนที่เห็นแก่ตัวอย่างนายล้ำ สุดท้ายก็แสดงแก่น แท้ของหัวใจที่รักลูก เห็นแก่ลูก ยอมเสียสละเพื่อลูก ๒. เมื่อจะเลี้ยงดูผู้ใดก็ควรให้ความรัก ความเมตตา ดูแลทะนุถนอมอย่างพระยาภักดีเลี้ยงแม่ลออ พระยาภักดี : อ้อ ? นั่นแน่รูปแม่ลออ ฉายเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง. (ลุกไปหยิบรูปมาส่งให้ นายล้ำ.) ดูรูปนี้ก็เท่ากับดูตัวเหมือนกัน แม่ลออ : โธ่! จะอยู่รดน้ำดิฉันหน่อยไม่ได้เทียวหรือคะ ? นายล้ำ : ฉันจะขอตริตรองดูก่อนแต่ยังไง ๆ ก็ดี ถึงฉันจะอยู่รดน้ำหล่อนไม่ได้ฉันก็ คงตั้งใจอวยพรให้หล่อนมีความสุข นายล้ำ : หล่อนได้เขียน พระยาภักดี : ถึงนายทองคำจะไม่รังเกียจ คนอื่น ๆ ก็คงต้องรังเกียจ. ใครเขาจะมา คบค้าสมาคมได้อีกต่อไป ไปข้างไหนเขาก็จะแลดูพูดซุบซิบกัน ถ้าใคร เขาเลี่ยงได้ เขาก็คงเลี่ยง แกจะมาทำให้แม่ลออเป็นหมาหัวเน่าหรือ ๑๗ ๓. เลือกประกอบอาชีพที่สุจริต และมีความซื่อสัตย์ในหน้าที่ของตน ไม่โลภ ไม่คดโกง ๔. ไม่ดื่มสุราและไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดทุกชนิด เพราะสารเสพติดทำลายทั้งสติปัญญา สุขภาพและ อนาคต แบบฝึกทักษะที่ ๑ ใช้บทสนทนาต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๑ – ๖ ฉากห้องหนังสือ ในบ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีประตูข้างซ้ายเข้าไปในห้องนอน ข้างขวาออกไปเฉลียงทาง ขึ้นลง หลังมีหน้าต่าง เครื่องประดับประดาไม่เป็นของมีราคา แต่ใช้ได้ดี ๆ พอเปิดม่าน อ้ายคำพานายล้ำ (ทิพเดชะ) เข้ามาทางประตูขวา นายล้ำนั้นเป็นคนอายุราว ๔๐ แต่หน้าตา แก่ ผมหงอกหน้าย่นมาก แลจมูกออกจะแดง ๆ เห็นได้ว่าเป็นคนกินเหล้าจัด แต่งกายค่อนข้างจะปอน ๆ แต่ยัง เห็นได้ว่าได้เคยเป็นผู้ดีมาครั้งหนึ่งแล้ว นายล้ำ ก็แล้วเจ้าคุณเมื่อไหร่จะกลับ ? อ้ายคำ เห็นจะไม่ช้าแล้วครับ ท่านเคยกลับจากออฟฟิศราวบ่าย ๕ โมงทุกวัน. นายล้ำ ถ้ายั้งงั้นฉันจะคอยอยู่ที่นี่ก็ได้. อ้ายคำ ครับ. (ลงนั่งกับพื้นที่ริมประตูขวา.) นายล้ำ (ดูอ้ายคำแล้วจึงพูด.) แกไม่ต้องนั่งคอยอยู่กับฉันหรอก มีธุระอะไรก็ไปทำเสียเถอะ. อ้ายคำ ครับ. (นั่งนิ่งไม่ลุกไป.) นายล้ำ ฮือ! (มองดูอ้ายคำครู่หนึ่งแล้วยืนมองดูอะไรเล่นที่หน้าต่างสักครู่หนึ่ง อ้ายคำก็ยังนั่งนิ่งอยู่เฉย ๆ จึงหันไปพูดอีก.) แกจะคอยอะไรอีกล่ะ ? อ้ายคำ เปล่าครับ. นายล้ำ ถ้าจะต้องคอยอยู่เพราะฉันละก็ ฉันขอบอกว่าไม่จำเป็น แกจะไปก็ได้ อ้ายคำ ครับ. (นั่งนิ่งไม่ลุกไป.) นายล้ำ (ดูอ้ายคำอีกครู่หนึ่ง แล้วก็หัวเราะ.) ฮะ ๆ ฮะ ๆ แกเห็นท่าทางฉันมันไม่ได้การกระมัง แต่ที่จริงฉันน่ะเป็นผู้ดีเหมือนกัน มีตระกูลไม่ต่ำไม่เลวไปกว่าเจ้าคุณภักดีเลย. อ้ายคำ (ออกจะไม่ใคร่เชื่อ.) ครับ นายล้ำ ฮือ! แกไม่เชื่อ! ที่จริงแกก็ไม่น่าเชื่อ รูปร่างฉันมันโทรมเต็มที เครื่องแต่งตัวหรือก็ปอน เต็มทียังงี้ แต่ฉันสาบานได้เทียวว่า ฉันจะไม่แตะต้องสิ่งของอะไรของเจ้าคุณภักดี ก่อนที่จะได้รับอนุญาต เข้าใจไหม ? อ้ายคำ ครับ. (นายล้ำมองดูอ้ายคำ เห็นจะไม่ไปแน่แล้วก็ถอนใจใหญ่ แล้วไปหยิบหนังสือ ๑๘ เล่มหนึ่งมานั่งอ่านที่เก้าอี้ เงียบอยู่ครู่หนึ่ง.) (พระยาภักดีนฤนาถเข้ามาทางประตูขวา พระยาภักดีอายุราวนายล้ำ หรือจะแก่กว่า นิดหน่อย กิริยาท่าทางเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ฝ่ายอ้ายคำ พอนายเข้ามาก็ยกมือไหว้แล้วตั้ง ท่าจะพูด.) พระยาภักดี อะไรวะ ? อ้ายคำ รับประทานโทษขอรับ! (บุ้ยปากไปทางนายล้ำ.) พระยาภักดี ใครวะ ? อ้ายคำ อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า ผมบอกว่าใต้เท้ายังไม่กลับจากออฟฟิศ ก็ไม่ยอมไป เดิน เรื่อยขึ้นมาที่นี่ว่าจะมาคอยพบใต้เท้า. พระยาภักดี แล้วยังไงล่ะ ? อ้ายคำ เกล้าผมก็ตามขึ้นมาด้วย มานั่งคุมอยู่นี่. พระยาภักดี เออ! ดีละวะ! เอ็งออกไปนั่งคอยอยู่ข้างนอกก็ได้. อ้ายคำ ขอรับผม. พระยาภักดี คอยอยู่ใกล้ ๆ เผื่อข้าจะเรียก แล้วก็ถ้าคุณลออมา บอกข้าด้วยนะ. อ้ายคำ ขอรับผม. (ออกไปทางประตูขวา) ๑. จากข้อความข้างต้นนี้ ข้อใดเป็นความจริง หรือ ไม่เป็นความจริง ข้อความเป็นความจริง จงเขียนเครื่องหมาย × ในช่อง ใช่ ข้อความไม่เป็นความจริง จงเขียนเครื่องหมาย × ในช่อง ไม่ใช่ ที่ ข้อความ ใช่ ไม่ใช่ ๑ นายล้ำมาบ้านพระยาภักดีพร้อมกับอ้ายคำ ๒ ท่านเคยกลับจากออฟฟิศราวบ่าย ๕ โมงทุกวัน คำว่า “คำว่าออฟฟิศ” เป็นคำยืมมาจากภาษาอังกฤษ ๓ อ้ายคำไม่พอใจนายล้ำจึงไม่พูดกับนายล้ำ ๔ อ้ายคำไม่ไว้ใจนายล้ำเพราะท่าทางนายล้ำไม่น่าไว้ใจ ๕ อ้ายคำมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยไม่ให้นายล้ำรอ พระยาภักดีในบ้านคนเดียว ๖ นายล้ำมาหาพระยาภักดีที่บ้านและรอพระยาภักดีที่ห้องหนังสือ ๗ ฮือ! แกไม่เชื่อ! ที่จริงแกก็ไม่น่าเชื่อ รูปร่างฉันมันโทรมเต็มที... คำว่า ฮือ! แกไม่เชื่อ! เป็นคำอุทาน ๑๙ ๘ นายล้ำหน้าแก่เพราะดื่มเหล้าจัด ๙ พระยาภักดีไม่ใช่คนรวยมาก ๑๐ เครื่องแต่งตัวหรือก็ปอนเต็มทียังงี้ คำว่า “ปอน” หมายถึง ยากจน ๒. ถ้านักเรียนเป็นอ้ายคำนักเรียนจะให้นายล้ำเข้ามาในบ้านหรือไม่ เพราะเหตุใด .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................ ............................ ๓. โทษของการดื่มสุรามีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................ ............................ ๔. นักเรียนมีหลักการอย่างไรที่จะทำให้ตนเองห่างไกลจากสารเสพติด ................................................................................................................................................................ .... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ๕. ในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก จากคำกล่าวของอ้ายคำที่ว่า “บอกว่าใต้เท้ายังไม่กลับจากออฟฟิศ ก็ไม่ยอมไป” สะท้อนลักษณะการใช้ภาษาในสมัยนั้นอย่างไร ก. ภาษาแสดงความเจริญทางวัฒนธรรม ข. คนรับใช้ใช้ภาษาระดับเดียวกับเจ้านาย ค. ภาษาต่างประเทศมีใช้ในภาษาพูดของคนไทย ง. คนทุกชนชั้นมีความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศ ๖. “เครื่องประดับประดาไม่เป็นของมีค่าแต่ใช้ได้ดี” จากข้อความข้างต้นแสดงว่าพระยาภักดีนฤนาถมี ฐานะเป็นอย่างไร ๒๐ ก. สมถะ ข. ยากจน ค. ไม่ฟุ่มเฟือย ง. ตระหนี่ถี่เหนียว แบบฝึกทักษะที่ ๒ ใช้บทสนทนาต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๑ – ๖ พระยาภักดี (แลดูนายล้ำอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกระแอม.) ฮะแอม! นายล้ำ (เหลียวมาเห็น.) อ้อใต้เท้ากรุณา ผมไหว้ (ยกมือไหว้แล้วลุกขึ้นยืน.) ใต้เท้าเห็นจะจำผม ไม่ได้. พระยาภักดี (มองดู.) ฉันไม่สู้แน่ใจ ดูเหมือนจะจำได้คลับคล้ายคลับคลา. นายล้ำ ฮือ! พิศๆ ไป ก็ออกจะจำได้ นายล้ำใช่ไหม ? นายล้ำ ขอรับ นายล้ำ ทิพเดชะ. พระยาภักดี อ้อ ๆ นั่งเสียก่อนซิ. (นั่งทั้งสองคนด้วยกัน.) เป็นยังไง สบายดีอยู่ดอกหรือ ? นายล้ำ ขอรับ ผมก็ไม่เจ็บไข้มีอาการถึงจะล้มจะตายอะไร. พระยาภักดี แกแปลกไปมาก ดูแก่ไป. นายล้ำ ขอรับ ผมก็รู้สึกตัวว่าผมแก่ไปมาก. พระยาภักดี ฉันยังไม่ได้พบแกเลยตั้งแต่... นายล้ำ จริงขอรับ หลายปีมาแล้ว สิบห้าปีได้แล้ว. พระยาภักดี แหม! ยังงั้นเทียวหรือ! นายล้ำ แน่ละซีครับ เมื่อ...เมื่อเกิดความขึ้นน่ะ ใต้เท้ากับผมยังหนุ่มอยู่ด้วยกันนี้ครับ ผมเป็น ทิพเดชะ ใต้เท้ายังเป็นหลวงกำธรอยู่ยังไงล่ะ. พระยาภักดี ถูกล่ะ ๆ. นายล้ำ แล้วก็ผมยังต้องไป...เอ้อ...ไปเป็นโทษเสียสิบปียังไงล่ะครับ. พระยาภักดี อือ! สูบบุหรี่ไหมล่ะ ? นายล้ำ ขอบพระเดชพระคุณ (รับบุหรี่ไปจุดสูบ.) พระยาภักดี แล้วแกไปทำอะไร เห็นหายไป. นายล้ำ ผมขึ้นไปอยู่พิษณุโลกครับ พอพ้นโทษแล้ว ผมก็เลยเปิดไปให้พ้นบางกอก จะอยู่ดูหน้า พวกพ้องยังไงได้. ๒๑ พระยาภักดี ถูกแล้ว. ถูกแล้ว. ทำมาหากินยังไงที่พิษณุโลก ? นายล้ำ แต่แรก ผมพยายามหางานทำทางเสมียนบาญชี ก็ไม่สำเร็จ. (หัวเราะ.) พระยาภักดี ฮือ ๆ! ในชั้นต้น ๆ เห็นจะลำบากจริง แล้วยังไงล่ะ ? นายล้ำ แล้วผมก็เข้าหุ้นค้าขายกับเจ๊กสองสามคนด้วยกัน. พระยาภักดี แล้วเป็นยังไง ? นายล้ำ ก็ดีหรอกครับ พอไถ ๆ ไปได้ ไม่สู้ฝืดเคืองนักแต่ภายหลังอ้ายผีโลภมันก็เข้าดลใจผมอีก. พระยาภักดี เอ๊ะ! อะไร เล่นอย่างเก่าอีกหรือ ? นายล้ำ เปล่าขอรับ อ้ายอย่างเก่าผมเข็ด. แต่ถึงจะไม่เข็ดมันก็ทำอย่างเก่าอีกไม่ได้ เพราะผม ไม่ได้เป็นข้าราชการแล้วอย่างที่ทำครั้งก่อน มันก็ไม่มีโอกาสอยู่เองถูกไหมล่ะครับ ? พระยาภักดี ถูกแล้ว เป็นเคราะห์ดีของแกที่ไม่มีโอกาส. นายล้ำ ที่จริงถึงมีโอกาสผมก็ไม่เล่นอีก ผมก็แก่จนหัวหงอกแล้วต้องมีความคิดดีขึ้นกว่าแต่ก่อน สักหน่อย, การที่ผมทำอย่างครั้งก่อนน่ะ ผลที่ได้มันไม่มีน้ำหนักเท่าผลที่เสียเลย, เพราะฉะนั้น ผมจึงได้คิดหาหนทางที่จะทำการให้ได้ผลมากๆ และให้มีทางลำบากน้อยๆ. พระยาภักดี ฮือ! แล้วก็ยังไงล่ะ ฉันหวังใจว่าการที่ทำนั้นไม่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย, แต่ที่จริงนี่ก็ไม่ต้อง กล่าวเพราะถ้าผิดกฎหมายแกคงไม่มาเล่าให้ฉันฟัง. นายล้ำ อ้อ! เจ้าคุณนี่ก็ยังช่างพูดอยู่เหมือนหนุ่ม ๆ น่ะเอง การที่ผมทำน่ะ เป็นการค้าขายครับ. พระยาภักดี ค้าอะไร ? นายล้ำ ฝิ่น พระยาภักดี อือ! ได้กำไรดีหรือ ? นายล้ำ ฉิบหายหมดตัว พระยาภักดี อ้าว! ทำไมยังงั้น ? นายล้ำ เขาจับได้เสียน่ะซิ เคราะห์ดีที่ไม่ติดคุกเข้าไปด้วย. พระยาภักดี จริง เคราะห์ดี. นายล้ำ รอดตัวที่หมอความของผมดี แก้ว่าผมไม่รู้ไม่เห็นด้วย, จีนกิมจีนเง็กมากู้เงินผมไปว่าจะไป ทำทุนในการค้าขายล่องเรือข้าวหรืออะไรอันหนึ่ง, ผมก็จำไม่ได้ถนัดเสียแล้ว และจีนกิม จีนเง็กเอาเงินนั้นไปลงทุนซื้อฝิ่น ผมไม่รู้ไม่เห็นด้วย, ที่จริงผมระวังตัวมาก คอยเลี่ยงไม่ ออกหน้าออกตาเลย เพราะยังงั้นถึงได้หาพยานมายันผมยากนัก. พระยาภักดี ฮือ! ก็จีนกิมจีนเง็กเล่า ? ๒๒ นายล้ำ ติดตารางอยู่ที่พิษณุโลก. พระยาภักดี อ้อ! นายล้ำ แหม! วันนี้ร้อนจริง ทำให้ระหายน้ำพิลึก. พระยาภักดี (เรียก.) อ้ายคำ! ไปหาโซดามาถ้อยเถอะ. นายล้ำ โซดาเปล่าหรือครับ ? พระยาภักดี จะเอาครีมโซดาก็ได้ หรือน้ำแดง. นายล้ำ น้ำเหลือง ๆ ไม่มีหรือครับ มันค่อยชื่นอกชื่นใจหน่อยหนึ่ง ? พระยาภักดี ไม่มี ถึงจะมีฉันก็ไม่เห็นควรจะกินเวลาร้อน ๆ ยังงี้. (อ้ายคำยกโซดาเข้ามาทางขวา วางโซดาบนโต๊ะแล้วกลับออกไป นายล้ำยกโซดาขึ้นดื่ม ทำหน้าเหยแล้ววาง.) นายล้ำ ที่พิษณุโลกก็พอหาอะไรดื่มได้พอใช้เทียวครับ. ๑. “ฉันไม่สู้แน่ใจ ดูเหมือนจะจำได้คลับคล้ายคลับคลา” ผู้พูดกล่าวแสดงความรู้สึกอย่างไร ก. น้อยใจ ข. ยั่วยุ ค. ไม่แน่ใจ ง. ดูถูก ๒. ข้อใดแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่แบบไทยที่ปรากฏในเรื่องเห็นแก่ลูกเด่นชัดที่สุด ก. จัดพิธีแต่งงาน ข. ต้อนรับผู้มาเยือน ค. การแบ่งชนชั้นในสังคม ง. การเคารพนับถือผู้อาวุโส ๓. ให้นักเรียนบอกความหมายของคำต่อไปนี้ที่กำหนดให้ในตาราง และบอกว่าปัจจุบันยังใช้คำเหล่านี้ อยู่หรือไม่หรือเปลี่ยนไปใช้คำใดแทน ที่ คำศัพท์ในเรื่องเห็นแก่ลูก คำศัพท์ในปัจจุบัน ความหมาย ๑ บางกอก ๒ มีบุญ ๓ ครีมโซดา ๒๓ ๔ เสมียนบาญชี ๕ หมอความ ๖ เกล้าผม ๔. ลักษณะของนายล้ำเป็นอย่างไร .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ๕. เพราะเหตุใดนายล้ำจึงไปอยู่พิษณุโลก .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ๖. จากข้อความข้างต้นนี้ ข้อใดเป็นความจริง หรือ ไม่เป็นความจริง ข้อความเป็นความจริง จงเขียนเครื่องหมาย × ในช่อง ใช่ ข้อความไม่เป็นความจริง จงเขียนเครื่องหมาย × ในช่อง ไม่ใช่ ที่ ข้อความ ใช่ ไม่ใช่ ๑ บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้หน้าตาแก่ก่อนวัย ๒ บทสนทนาข้างต้นใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ๓ นายล้ำเล่าความจริงให้พระยาภักดีฟังทั้งหมดแสดงว่านายล้ำเป็นคน ซื่อสัตย์และยอมรับความจริง ๔ นายล้ำเข้าหุ้นขายฝิ่นกับเจ๊กตั้งแต่ไปถึงพิษณุโลก ๕ นายล้ำติดคุกที่พิษณุโลกเพราะถูกจับได้ว่าค้าฝิ่น ๖ “น้ำเหลือง ๆ ไม่มีหรือครับ มันค่อยชื่นอกชื่นใจหน่อยหนึ่ง ?” น้ำเหลือง ๆ หมายถึง เหล้า ๗ นายล้ำกับพระยาภักดีเคยเป็นเพื่อนกันมาก่อนแต่ต้องละเลาะเพราะรัก ผู้หญิงคนเดียวกัน ๘ “เมื่อเกิดความขึ้นน่ะ ใต้เท้ากับผมยังหนุ่มอยู่ด้วยกันนี้ครับ” จากบท สนทนานี้แสดงให้เห็นว่านายล้ำติดคุกตอนดำรงตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ๒๔ ส่วนพระยาภักดีเป็น ทิพเดชะ ๙ เจ๊ก เป็นภาษาพูด หมายถึง ชาวจีน ๑๐ พระยาภักดีตอนรับขับสู้นายล้ำอย่างดีในฐานะเป็นเจ้าของบ้าน แบบฝึกทักษะที่ ๓ ใช้บทสนทนาต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๑ – ๖ พระยาภักดี (แลดูหน้านายล้ำ.) ฉันเชื่อ, เชื่อทีเดียว เออ! นี่แน่ะ ฉันขอถามอะไรสักหน่อยเถอะ แกมา หาฉันวันนี้น่ะมีธุระอะไร อย่าเกรงใจเลย เสียแรงเป็นเกลอกันมาแต่เก่าแต่แก่. นายล้ำ ผมมาก็ตั้งใจมาเยี่ยมเจ้าคุณ นั่นแหละอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งผมนึกว่า ถ้ามีโอกาสจะได้ พบกับแม่ลออบ้าง. พระยาภักดี (หน้าตึง.) อ้อ! นายล้ำ เขาว่าเป็นสาวใหญ่แล้วไม่ใช่หรือครับ ? พระยาภักดี ก็สาวอายุ ๑๗ แล้ว. นายล้ำ อ้อ! ถูกครับ แล้วเขาว่าเหมือนแม่เขาไม่ใช่หรือครับ ? พระยาภักดี ก็เหมือน. นายล้ำ ผมจะพบสักทีได้ไหมครับ ? พระยาภักดี ฉันบอกไม่ได้ว่าเมื่อไหร่จะมีโอกาสที่จะพบแม่ลออ. นายล้ำ นัยว่าน่ะ เจ้าคุณไม่เต็มใจให้ผมพบยังงั้นหรือ ? พระยาภักดี ถ้าจะให้ฉันตอบตามใจจริงก็ต้องตอบว่า ถ้าไม่พบได้ดีกว่า. นายล้ำ (ออกโกรธ.) ทำไม ? พระยาภักดี จะให้ต้องอธิบายไปทำไม แกควรจะเข้าใจได้เองทีเดียว. นายล้ำ เข้าใจยังไง ? พระยาภักดี จะให้ฉันพูดตามตรงอีกหรือ ? นายล้ำ เชิญ. พระยาภักดี ถ้าอย่างงั้นก็เอาซิ ที่ฉันไม่เต็มใจให้แก่พบกับแม่ลออก็เพราะแม่ลออเป็นผู้ที่ได้รับ การอบรมอันดี สมควรแก่ผู้มีตระกูล, ควรหรือที่หล่อนจะคบค้าสมาคมกับคน...เอ้อ... นายล้ำ คนขี้คุกขี้ตะรางอย่างผม ยังงั้นหรือ ? ๒๕ พระยาภักดี ฉันเสียใจ ที่แกมาบังคับให้ฉันต้องพูดให้ระคายหูแกเช่นนี้. นายล้ำ ทำไมในโลกนี้มีผมคนเดียวหรือที่เคยติดคุก, คนอื่นที่เคยติดคุกแล้วมาเที่ยวลอยหน้า สมาคมอยู่ในหมู่ผู้ลากมากดี มีถมไปไม่ใช่หรือ ? พระยาภักดี ทางที่จะต้องรับพระราชอาญามีหลายทาง บางคนก็พลาดอย่างโน้น บางคนก็พลาด อย่างนี้, ความผิดที่คนกระทำก็มีหลายชั้น. นายล้ำ ยังงั้นซิ ถึงการฉ้อโกงก็มีหลายชนิดหลายชั้นเหมือนกัน ถ้าไม่ยังงั้นคุณเองจะได้มา ลอยหน้าเป็นพระยาอยู่หรือ ? พระยาภักดี ที่แก่พูดเช่นนี้ ถ้าเป็นคนอื่นเขาคงหาว่าแกหมิ่นประมาทเขา แต่ฉันน่ะเป็นคนที่รู้จักแก มาช้านานแล้ว เพราะฉะนั้นพอจะให้อภัยได้. นายล้ำ ขอบพระเดชพระคุณ ผมเข้าใจดีแล้ว ถ้าฉ้อโกงเล็กน้อยจึ่งจะมีโทษ โกงให้เป็นการใหญ่ ไม่เป็นไร. พระยาภักดี แกยังเข้าใจผิดอยู่มาก การที่คนได้รับพระราชอาญาคราวหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ว่าใคร ๆ เขาจะ พากันคอยตัดรอนไม่ให้มีการผงกหัวได้อีก ไม่ใช่เช่นนั้น ถ้าใครสำแดงให้ปรากฏว่า รู้สึก เข็ดหลาบเกรงพระราชอาญา ละความประพฤติที่ชั่วประพฤติทางที่ดีแล้ว ก็คงจะต้องมี ผู้รู้สึกสงสารสักคราวหนึ่ง. นายล้ำ เจ้าคุณจะพูดอย่างไรก็พูดได้ เจ้าคุณไม่เคยติดคุกจะมารู้ยังไงได้ ว่าอ้ายคนที่ติดคุกออก มาแล้วน่ะ มันจะได้รับความลำบากยังไง. พระยาภักดี ฉันขอถามหน่อยเถอะ ว่าตั้งแต่แกพ้นโทษมาแล้วแกได้พยายามที่จะสำแดงให้ปรากฏ อย่างไรบ้าง ว่าแกน่ะตั้งใจจะประพฤติแต่ในทางที่ดีที่ควร ? นายล้ำ ผมจะพยายามหรือมิพยายามก็ไม่มีใครปรารถนาอินัง. พระยาภักดี อ้อ! เพาะฉะนั้น แกก็ต้องปล่อยตัวไปตามใจของแกยังงั้นซิ. นายล้ำ (หัวเราะ.) เจ้าคุณต้องเข้าใจว่าผมก็รักชีวิตของผมเหมือนกัน ที่จะให้ผมอดตายนั้น เหลือเกินนัก ผมหาได้ทางไหนผมก็เอาทางนั้น. พระยาภักดี ฮือ! แกอยากจะพบแม่ลออทำไม ? นายล้ำ ผมไม่ได้เห็นหล่อน ตั้งแต่หล่อนได้อายุ ๒ ปีเศษเท่านั้น ผมก็อยากจะดูว่าเดี๋ยวนี้หล่อน จะเป็นยังไง พระยาภักดี อ้อ ? นั่นแน่รูปแม่ลออ ฉายเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง, (ลุกหยิบรูปมาส่งให้นายล้ำ.) ดูรูปนี้ก็ เท่ากับดูตัวเหมือนกัน. ๒๖ นายล้ำ (รับรูปไปดูแล้วพูด.) ฮือ! เหมือนแม่จริงขอรับ ผมได้ทราบข่าวว่าจะแต่งงานกับนาย ทองคำลูกเจ้าขุนรณชิตไม่ใช่หรือครับ ? พระยาภักดี ยังงั้น นายล้ำ จะแต่งเมื่อไหร่ครับ ? พระยาภักดี ยังไม่แน่ เห็นจะเร็ว ๆ นี้. นายล้ำ ถ้ากำหนดวันแน่เมื่อไหร่ ใต้เท้าโปรดบอกให้ผมทราบด้วยนะครับ. พระยาภักดี จำเป็นหรือ ? นายล้ำ ผมจะได้มาช่วยงาน. พระยาภักดี อะไรแกจะมาด้วยหรือ ตริตรองเสียให้ตลอดหน่อยเถอะ. นายล้ำ ผมเห็นควรตัวผมจะมารดน้ำด้วยนะครับ. พระยาภักดี นี่แกเอาอะไรมานึก นายล้ำ เอ๊ะ! เจ้าคุณนี่ชอบกลจริง ๆ ก็แม่ลออน่ะลูกผมแท้ ๆ ไม่ใช่หรือ ? พระยาภักดี อ้อ! นี่แกเพิ่งรู้สึกตัวแหละหรือว่าแม่ลออเป็นลูกแก ที่จริงฉันเองก็เกือบจะลืมเสียแล้วว่า แกน่ะเป็นพ่อแม่ลออ. นายล้ำ จริง, ผมมีความผิดที่ทิ้งแม่ลออไปเสียนาน นี่แม่ลออคงไม่รู้เลยซิว่าผมเป็นพ่อ เห็นจะนึก ว่าเจ้าคุณเป็นพ่อกระมัง. พระยาภักดี เขารู้แต่ว่าฉันเป็นพ่อเลี้ยงเขา ฉันบอกว่าพ่อเขาตายเสียตั้งแต่เขายังเล็ก ๆ เขาก็เลยนับ ถือฉันเป็นพ่อ. นายล้ำ ก็แม่เขาไม่บอกไม่เล่าอะไรให้ลูกเขารู้มั่งเลยหรือ ? พระยาภักดี เขาไม่ได้บอก. นายล้ำ ทำไม ? พระยาภักดี แกไม่ควรจะต้องถามเลย แกรู้อยู่ดีแล้วว่า ตั้งแต่แรกได้แม่นวลมาแล้ว แกไม่ได้ทำให้เขา เป็นที่พอใจเลยสักขณะจิตเดียว. นายล้ำ จริงซิ! นี่เจ้าคุณคงนึกละซิว่า ถ้าแม่นวลน่ะได้กะเจ้าคุณเสียจะดีกว่า. พระยาภักดี ก็หรือมันไม่จริงเช่นนั้นล่ะ แม่นวลเลือกผัวผิดแท้ทีเดียว เมื่อจะตายหล่อนก็รู้สึกจึงได้ มอบแม่ลออไว้ให้เป็นลูกฉัน ขอให้ฉันเลี้ยงดูให้เสมอลูกในไส้ฉันเอง ฉันก็ได้ตั้งใจทะนุ ถนอมแม่ลออเหมือนลูกในอกฉัน ฉันได้กระทำหน้าที่พ่อตลอดมาโดยความเต็มใจจริง ๆ, แม่ลออเองคงจะเป็นพยานว่าฉันไม่ได้กระทำให้เสียวาจาที่ฉันให้ไว้แก่แม่นวลเลย. ๒๗ นายล้ำ จริง ผมน่ะได้ประพฤติไม่ดี บกพร่องในหน้าที่บิดามาก, แต่ต่อไปผมจะตั้งใจประพฤติให้ สมควร. พระยาภักดี ดูเกินเวลาเสียแล้ว แม่ลออก็จะมีเหย้ามีเรือนอยู่แล้ว. นายล้ำ ผมไม่เห็นจะเกินเวลาไปเลย. พระยาภักดี แกคิดจะทำอะไร ? นายล้ำ ผมคิดว่า เป็นหน้าที่จะต้องมาอยู่ใกล้ชิดลูกสาวผม เพื่อจะได้ช่วยเหลือเจอจานในธุระ ต่าง ๆ ตามเวลาอันสมควร. พระยาภักดี ฉันบอกแล้วว่า เขาจะมีเหย้ามีเรือนอยู่แล้ว. นายล้ำ ทราบแล้ว, เมื่อยังอยู่บ้านเจ้าคุณผมก็วางใจได้ นี่จะแยกไปมีเหย้ามีเรือนของตัวเองแล้ว ผมจะต้องเข้ามาอยู่กับเขาเพื่อจะได้เป็นกำลังแกเขาบ้าง. พระยาภักดี เอ๊ะ! แกนี่จะเป็นบ้าเสียแล้วกระมัง ? นายล้ำ ทำไม ? พระยาภักดี แกจะคิดไปอยู่กับลูกสาวยังงั้นยังไงได้. นายล้ำ ทำไมครับ ก็ผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยผมน่ะ เขาก็มั่งมีพออยู่ไม่ใช่หรือ เขาจะเลี้ยงผมไว้สักคน ไม่ได้เทียวหรือ ? พระยาภักดี แกจะไปเป็นเจ้าบุญนายคุณอะไรเขา เขาจะได้เลี้ยงแก ? นายล้ำ ผมเป็นพ่อแม่ลออ ดูก็มีบุญคุณพอแล้ว. พระยาภักดี เอ๊ะ! นี่แกจะขยายขึ้นว่า แกเป็นพ่อแม่ลออยังงั้นหรือ ? นายล้ำ ก็ยังงั้นซิขอรับ. พระยาภักดี พุทโธ่! นี่แกน่ะไม่มีความเมตตาลูกแกบ้างเลยเทียวหรือ ถึงได้คิดร้ายแก่เขา ได้ยังงั้น ? นายล้ำ คิดร้ายยังไง ? พระยาภักดี นายทองคำเขาจะมาแต่งกับลูกสาวคนเช่นแกได้อยู่หรือ ? นายล้ำ ถ้าเขารักแม่ลออจริงละก็ ถึงผมจะเป็นคนเลวกว่าที่ผมเป็นอยู่นี่ เขาคงไม่รังเกียจ. พระยาภักดี ถึงนายทองคำจะไม่รังเกียจ คนอื่น ๆ ก็คงต้องรังเกียจ, ใครเขาจะมาคบค้าสมาคมได้อีก ต่อไป ไปข้างไหนเขาก็จะแลดูพูดซุบซิบกัน ถ้าใครเขาเลี่ยงได้เขาก็คงเลี่ยง แกจะมาทำ ให้แม่ลออเป็นหมาหัวเน่าหรือ ? นายล้ำ เจ้าคุณ! ผมจะต้องพูดตามตรง ผมน่ะหมดหนทางหากินแล้ว ไม่แลเห็นทางอื่นนอกจากที่ จะอาศัยลูกสาวให้เขาเลี้ยง. ๒๘ พระยาภักดี อ๋อ! นี่น่ะ แกต้องการเงินยังงั้นหรือ ? นายล้ำ ก็แน่ละ ไม่มีเงินก็อดตายเท่านั้นเอง. พระยาภักดี ก็จะพูดกันเสียตรง ๆ เท่านั้นก็จะแล้วกัน เอาเถอะฉันให้แกเดี๋ยวนี้ก็ได้ เท่าไหร่ถึงจะพอ เอาไปสิบชั่งก่อนพอไหม ? นายล้ำ ไม่รับประทาน. พระยาภักดี ยี่สิบชั่ง! นายล้ำ ไม่รับประทาน. พระยาภักดี ห้าสิบชั่ง! นายล้ำ พุทโธ่! เจ้าคุณ! แต่ที่ผมฉิบหายไปในเรื่องค้าฝิ่นนั่นก็เกือบร้อยชั่งเข้าไปแล้ว. พระยาภักดี เอา! ร้อยชั่งก็เอา! นายล้ำ ผมไม่อยากให้เจ้าคุณฉิบหายหรอก. พระยาภักดี ช่างฉันเถอะ ขอแต่ให้แกรับเงินร้อยชั่งแล้วก็ไปเสียให้พ้นเถอะ. นายล้ำ ถ้าหมดผมจะไปเอาที่ไหนอีกล่ะ ? ผมไม่โง่นะเจ้าคุณ ถ้าให้ผมไปอยู่เสียกับลูกสาวผม เงินก็จะไม่เสียมาก. พระยาภักดี เงินน่ะฉันไม่เสียดายหรอก ฉันเสียดายชื่อและเสียดายความสุขของแม่ลออมากกว่า นายล้ำ คุณจะให้ผมขายลูกผมยังงั้นหรือ ? พระยาภักดี จะเรียกว่ากระไรก็ตามใจเถอะ แต่ที่จริงฉันตั้งใจซื้อความสุขให้แก่แม่ลออเท่านั้น. นายล้ำ ที่คุณจะมาพรากพ่อกับลูกเสียเช่นนี้น่ะ คุณเห็นสมควรแล้วหรือ ? พระยาภักดี ฉันเห็นสมควรแล้ว ฉันจึงได้ประสงค์ที่จะทำ แม่ลออน่ะดีเกินที่จะเป็นลูกคนเช่นแก ยังไง! จะต้องการเงินเท่าไร ว่ามา! (ลุกขึ้นยืนจ้องนายล้ำ.) นายล้ำ ผมไม่ต้องการเงินของคุณ ผมจะพบกับลูกผม. พระยาภักดี ฉันไม่ยอมให้แกพบ จะเอาเงินเท่าไรจะให้. นายล้ำ ผมไม่เอาเงินคุณ. พระยาภักดี ถ้ายังงั้นก็ไปให้พ้นบ้านฉัน, ไป! นายล้ำ ผมไม่ไป, จะทำไมผม ? พระยาภักดี นี่แน่! แกอย่ามาทำอวดดีกับฉัน ไป! นายล้ำ ผมไม่ไป. (นั่งไขว่ห้างกระดิกขาเฉย.) ๒๙ พระยาภักดี อย่าทำให้เกิดเคืองมากขึ้นหน่อยเลย ประเดี๋ยวฉันจะเหนี่ยวใจไว้ไม่อยู่. นายล้ำ คุณจะทำไมผม ? พระยาภักดี ฉันไม่อยากทำอะไรแก แต่ถ้าแกไม่ไปล่ะก็... นายล้ำ จะทำไมผม แหม! ทำเก่งจริงนะ เจ้าคุณน่ะแก่แล้วนะครับ จะประพฤติเป็นเด็กไปได้. พระยาภักดี จริง, ฉันแก่จริง แต่ขอให้เข้าใจว่าแกสู้ฉันไม่ได้นะ ฉันได้เปรียบแกมาก กำลังฉันยังมี พอตัว กำลังแกน่ะมันอ่อนเสียแล้ว ฤทธิ์เหล้ามันเข้าไปฆ่ากำลังแกเสียหมดแล้ว. นายล้ำ (หัวเราะเยาะ.) ฮะๆ! ช่างพูดจริง ยังไม่เบาบางลงกว่าเมื่อหนุ่ม ๆ เลย. พระยาภักดี (โกรธ.) ยังไง จะเอาเงินหรือจะเอาแส้ม้า ? นายล้ำ ผมไม่เอาทั้งสองอย่าง. พระยาภักดี ถ้าอย่างงั้นก็ได้. นายล้ำ คุณพูดซ้ำซากผมเบื่อเต็มทีแล้ว. พระยาภักดี ก็ถ้าพูดกันดี ๆ ไม่ชอบ ก็ต้องพูดกันอย่างเดียรฉาน! (ไปหยิบแล้ม้าที่แขวนไว้ที่ผนัง ลงมา.) เอาเถอะ! เป็นไรก็เป็นไป จะต้องเล่นงานเสียให้ลายไปทั้งตัวละ. (เงื้อแส้ม้าจะตี นายล้ำ.) นายล้ำ (ตกใจลุกขึ้นยืน.) อ๊ะ! อ๊ะ! เจ้าคุณ! (ยกแขนขึ้นป้อง.) (อ้ายคำเข้ามาทางขวา พระยาภักดีหย่อนมือลง.) อ้ายคำ ใต้เท้าขอรับ คุณลออขึ้นกระไดมานี่แล้ว. (ออกไปตามทางเดิม.) (พระยาภักดีรีบเอาแส้ม้าไปแขวนไว้ตามที่เดิม.) นายล้ำ (หัวเราะ.) ฮะๆ! เคราะห์ดีจริง ตกรกซิ. (แม่ลออเข้ามาทางขวา แม่ลอออายุประมาณ ๑๗ ปี แต่งกายอย่างไปเที่ยวนอกบ้าน พึ่งกลับมา.) ๑. ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นายล้ำมาแสดงตัวในบ้านของพระยาภักดี ก. เพราะต้องการแสดงความรักของพ่อที่มีต่อลูก ข. เพราะเป็นห่วงลูกสาวที่กำลังจะแต่งงาน ค. เพราะตั้งใจจะมาพึ่งพาลูกสาว ง. เพราะไม่มีทางทำมาหากิน ๒. นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับคำว่า “ลูกเป็นแก้วตาดวงใจพ่อแม่” .................................................................................................................................................................... ๓๐ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................... ......................... ๓. เมื่อนายล้ำมาพบพระยาภักดีและแสดงความประสงค์จะขอพบแม่ลออ การกระทำเช่นนี้แสดง ให้เห็นว่านายล้ำมีลักษณะที่ไม่ควรนำเป็นแบบอย่าง เรื่องใด ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................ ๔. ให้นักเรียนบอกคำศัพท์ที่ใช้ปัจจุบันให้สอดคล้องกับข้อความในตารางที่กำหนดให้ คำศัพท์ในเรื่องเห็นแก่ลูก คำศัพท์ในปัจจุบัน กระได ตกรก ๕. “แม่ลอออายุ ๑๗ ปีกำลังจะแต่งงาน” นักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับข้อความข้างต้น ทำไมจึงคิดเช่นนั้น ใช้เหตุผลประกอบคำอธิบาย แล้วเขียนในตารางที่กำหนด ความคิดเห็นคล้อยตาม ความคิดเห็นโต้แย้ง ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ๖. ให้นักเรียนเติมคำศัพท์ลงในลงในช่องว่าให้สอดคล้องกับความหมายของคำที่กำหนดให้ในตาราง ความหมาย คำศัพท์ ๑. สำนักงาน ที่ทำการ ๒. มาตราเงินในสมัยโบราณ ๓. น้ำหวานสีเขียวผสมโซดา ๔. มีครอบครัว แต่งงานแล้ว ๕. คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่น ๖. ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร ๓๑ ๗. เอาใจใส่ เอาใจช่วย ดูแล ๘. และ ๙. ถ่ายภาพ ๑๐. เพื่อน แบบฝึกทักษะที่ ๔ ใช้บทสนทนาต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๑ – ๑๐ แม่ลออ แหม! คุณพ่อ อะไรวันนี้กลับบ้านวันจริง ฉันหมายจะกลับมาให้ทันคุณพ่อกลับทีเดียว. พระยาภักดี (ยิ้ม.) พ่อได้เลิกงานเร็วหน่อยก็รีบกลับมา. แม่ลออ (มองดูนายล้ำ แล้วหันไปพูดกับพระยาภักดี.) นั่นใครคะ ? พระยาภักดี คนเขามาหาพ่อ. นายล้ำ ฉันเป็นเกลอเก่าของเจ้าคุณ ท่านนับถือฉันเหมือนน้องยังไงขอรับ ? (พระยาภักดีพยักหน้า.) แม่ลออ อ้อ! (ลงนั่งไหว้.) ถ้ายังงั้นดิฉันก็ต้องนับถือคุณเหมือนอาดิฉันเหมือนกัน ทำไมดิฉันยังไม่ รู้จักคุณอาเลย. นายล้ำ ฉันอยู่หัวเมือง พึ่งเข้ามา แต่ฉันเคยเห็นหล่อนแล้ว. แม่ลออ เมื่อไหร่ค่ะ ? ทำไมดิฉันจำไม่ได้ ดิฉันเป็นคนที่จำคนแน่นัก. นายล้ำ (ยิ้ม.) หล่อนเห็นจะจำฉันไม่ได้เลย เมื่อฉันได้เห็นหล่อนครั้งก่อนนี้น่ะ อายุหล่อนได้สองปี เท่านั้น. แม่ลออ แหม! ถ้ายังงั้น คุณคงรู้จักคุณแม่ดิฉันละวิคะ. นายล้ำ (แลดูตาพระยาภักดีแล้วจึงพูด เสีงออกเครือ ๆ.) ฉันรู้จักคุณแม่หล่อนดี. แม่ลออ ถ้ายังงั้นดิฉันก็ยิ่งดีใจมากขึ้นที่ได้พบคุณ ก็คุณพ่อดิฉันที่ตายละคะ รู้จักไหม ? (นายล้ำ พยักหน้า.) ถ้ายังงั้นคุณก็ดีกว่าดิฉัน ดิฉันไม่รู้จักเลย, เคยเห็นแต่รูปที่ในห้องคุณแม่ รูปร่างสูง ๆ หน้าอกกว้าง ดิฉันช่างชอบหน้าเสียจริง ๆ หน้าตาเป็นคนซื่อ ใจคอ กว้างขวาง, ถ้าใครบอกดิฉันว่าเป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อเป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็ เป็นคนดีจริง ๆ อย่างที่ดีฉันนึกเดาเอาในใจ คุณพ่อนี้ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริงไหมคะ คุณพ่อ ? (พระยาภักดีพยักหน้า.) นายล้ำ ถ้าใครบอกหล่อนว่า พ่อหล่อนที่ตายน่ะเป็นคนไม่ดีละก็หล่อนเป็นมายอมเชื่อเลย ๓๒ เทียวหรือ ? แม่ลออ ดิฉันจะเชื่อยังไง ดูในรูปก็เห็นว่าเป็นคนดี. เออ! นี่คุณพ่อบอกแล้วหรือยังเรื่องดิฉันจะ แต่งงาน ? นายล้ำ บอกแล้ว, ฉันยินดีด้วย. แม่ลออ คุณอาต้องมารดน้ำดิฉันนะคะ. นายล้ำ ฉัน- เอ้อ- ฉันจะต้องรีบกลับไปหัวเมือง. แม่ลออ โธ่! จะอยู่รดน้ำดิฉันหน่อยไม่ได้เทียวหรือคะ ? นายล้ำ ฉันจะขอตริตรองดูก่อน แต่ยังไง ๆ ก็ดี ถึงฉันจะอยู่รดน้ำหล่อนไม่ได้ ฉันก็คงตั้งใจ อวยพรให้หล่อนมีความสุข. แม่ลออ (ไหว้.) ดิฉันรับพรล่วงหน้าไว้ก่อน. คุณพ่อคะ ช่วยพูดจาชวนคุณอาให้อยู่รดน้ำดิฉัน หน่อยนะคะ ดิฉันจะเข้าไปในเรือนเสียทีละ คุณพ่อกับคุณอาคงอยากคุยกันอย่างผู้ชายๆ สนุกกว่า. (ออกไปทางประตูซ้าย.) นายล้ำ (นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วพูด เสียงออกเครือ ๆ.) เจ้าคุณขอรับ ใต้เท้าพูดถูก, เด็กคนนี้ดีเกินที่ จะเป็นลูกผม ผมมันเลวทรามเกินที่จะเป็นพ่อเขา ผมเพิ่งรู้สึกความจริงเดี๋ยวนี้เอง. พระยาภักดี (ตบบ่านายล้ำ.) พ่อล้ำ! นายล้ำ หล่อนได้เขียนรูปพ่อของหล่อนขึ้นไว้ในใจเป็นคนดีไม่มีที่ติ ผมไม่ต้องการจะลบรูปนั้น เสียเลย. (ถอดแหวนวงหนึ่งจากนิ้ว.) นี่แน่ะครับ แหวนนี้เป็นของแม่นวล ผมได้ติดไปด้วย สิ่งเดียวเท่านี้แหละ เจ้าคุณได้โปรดเมตตาผมสักที พอถึงวันแต่งงานแม่ลออ เจ้าคุณได้ โปรดให้แหวนนี้แกเขา บอกว่าเป็นของรับไหว้ของผม ส่งมาแทนตัว. พระยาภักดี (รับแหวน.) ได้ซิเพื่อนเอ๋ย ฉันจะจัดการตามแกสั่ง อย่าวิตกเลย. นายล้ำ แล้วผมขออะไรอีกอย่าง. พระยาภักดี อะไร ? ว่ามาเถอะ ฉันไม่ขัดเลย. นายล้ำ อย่าได้บอกความจริงแก่แม่ลออเลย ให้เขาคงนับถือรูปผมอันเก่านั้น ว่าเป็นพ่อเขา และ ให้นับถือตัวผมเป็นเหมือนอา. พระยาภักดี เอาเถอะ, ฉันจะทำตามแกประสงค์ นายล้ำ ผมลาที พรุ่งนี้เช้าผมจะกลับไปพิษณุโลก. พระยาภักดี เอาเงินไปใช้มั่งซิ. (ไปไขกุญแจ เปิดลิ้นชักโต๊ะหยิบธนบัตรออกมาปั้นหนึ่ง.) เอ้า! นี่แน่ะ มีสักสามสี่ร้อยบาทได้อยู่ เอาไปใช้ก่อนเถอะ ต้องการอีกถึงค่อยบอกมาให้ฉันทราบ. ๓๓ นายล้ำ (เสียงเครือ.) เจ้าคุณ! ผม...ผม... (เช็ดน้ำตา.) พระยาภักดี อ๊าย! ไม่รับไม่ได้ ไม่รับโกรธกันเทียว. (ยัดเยียดธนบัตรให้นายล้ำ.) นายล้ำ (รับธนบัตร.) ผมจะไม่ลืมพระเดชพระคุณใต้เท้าจนตายทีเดียว ขอให้เชื่อผมเถอะ. พระยาภักดี อย่าพูดให้มากนักเลย เงินใส่กระเป๋าเสียเถอะ แล้วก็คิดอ่านหาทางทำมาหากินต่อไปน่ะ. นายล้ำ ขอรับ ผมจะตั้งใจทำมาหากินในทางอันชอบธรรมจริง ๆ ทีเดียว ถ้าผมน่ะคิดโยกโย้ไป อย่างใดอย่างหนึ่งอีก ขออย่าให้ผมแคล้วอาญาจักรเลย. พระยาภักดี เออ ๆ ตั้งใจไว้ให้ดีเถอะ นึกถึงแม่ลออบ้างนะ. นายล้ำ ผมจะลืมหล่อนไม่ได้เลย จะเห็นหน้าหล่อนติดตาไปจนวันตายทีเดียว. ผมลาที ผมไม่ จำเป็นที่จะต้องฝากแม่ลออแก่เจ้าคุณ เพราะเจ้าคุณได้เป็นพ่อหล่อนดียิ่งไปกว่าผมร้อย เท่าพันทวี. (เช็ดน้ำตา.) พระยาภักดี เอาเถอะ อย่าวิตกเลย แม่ลออน่ะฉันคงจะรักถนอมเหมือนอย่างเดิม. นายล้ำ ผมเชื่อ, เชื่อแน่นอน. (ยกมือขึ้นไหว้.) ผมลาเจ้าคุณที (พระยาภักดีเข้าไปจับมือนายล้ำ ต่างคนต่างแลดูตากันอยู่ครูหนึ่ง แล้วพระยาภักดีนึก อะไรขึ้นมาออกเดินไปที่โต๊ะเขียนหนังสือ หยิบรูปแม่ลออทั้งกรอบด้วยส่งให้นายล้ำ นายล้ำรับรูปไปดูอยู่ครู่หนึ่ง ไหว้พระยาภักดีอีกแล้วก็รีบเดินออกไปที่หน้าต่างทาง ด้านหลัง ยืนพิงกรอบหน้าต่าง ตามองออกไปนอกหน้าต่างนิ่งอยู่จนปิดม่าน.) ๑. บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีกลวิธีเขียนแตกต่างจากวรรณกรรมปัจจุบันอย่างไร ก. การนำเสนอเรื่อง ข. การใช้คำสรรพนาม ค. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ง. การเรียงลำดับคำเข้าประโยค ๒. บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ให้ประโยชน์ในข้อมากที่สุด ก. ให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของละครพูด ข. ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพสุจริต ค. ให้ข้อคิดคติธรรมในการดำเนินชีวิต ง. ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ๓๔ ๓. “ฉันหมายใจจะกลับมาให้ทันคุณพ่อกลับทีเดียว.” จากข้อความข้างต้นคำว่า “หมาย” มีความหมาย ตรงกับข้อใด ก. ตั้งใจ ข. คิดฝัน ค. กำหนด ง. คาดหวัง ๔. “หล่อนได้เขียนรูปพ่อของหล่อนขึ้นไว้ในใจเป็นคนดีไม่มีที่ติ ผมไม่ต้องการลบรูปนั้นเสียเลย” ผู้กล่าว ข้อความนี้คือใคร ก. อ้ายคำ ข. นายทองคำ ค. นายล้ำ ง. พระยาภักดี ๕. นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ที่พระยาภักดีไม่ให้นายล้ำพบแม่ลออ ให้วงกลมล้อมรอบคำว่า เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย จากนั้นอธิบายด้วยเหตุผล เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เพราะ ........................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ๖. จากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก การที่นายล้ำยอมกลับโดยไม่เปิดเผยตัวให้แม่ลออรู้ เพราะสาเหตุใด เป็นสำคัญ ................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................... .......................... ๗. ถ้านักเรียนเป็นนายล้ำนักเรียนจะบอกความจริงกับแม่ลออหรือไม่ เพราะเหตุใด ๓๕ ................................................................................................................................................... ................. .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ๘. นักเรียนคิดว่าพระยาภักดีพยายามไม่ให้นายล้ำพบแม่ลออเพราะเหตุใด และถ้านักเรียนเป็น พระยาภักดีจะทำอย่างไร .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ๙. นักเรียนได้รับความรู้และข้อคิดอะไรบ้างจากการอ่านบทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก ความรู้.............................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................... ข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน.......................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ๑๐. จากข้อความข้างต้นนี้ ข้อใดเป็นความจริง หรือ ไม่เป็นความจริง ข้อความเป็นความจริง จงเขียนเครื่องหมาย × ในช่อง ใช่ ข้อความไม่เป็นความจริง จงเขียนเครื่องหมาย × ในช่อง ไม่ใช่ ที่ ข้อความ ใช่ ไม่ใช่ ๑ พระยาภักดีให้รูปแม่ลออทั้งกรอบเพราะไม่ต้องการให้นายล้ำกลับมาหา แม่ลอออีก ๒ เรื่องเห็นแก่ลูกดำเนินไปตามลำดับปฏิทิน คือ ตามลำดับก่อนหลัง ๓ นายล้ำเปลี่ยนใจเพราะเห็นแม่ลออมีมารยาทสมกับได้รับการอบรมที่ดี ๔ คำอุทานในบทสนทนาทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา น่าติดตาม ๕ ในเรื่องเห็นแก่ลูกสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงาน การรดน้ำ อวยพร และการให้ของรับไหว้ ๖ ก่อนจากไปนายล้ำให้สร้อยของแม่นวลเป็นของรับไหว้แก่แม่ลออ ๓๖ บรรณานุกรม ชิดชนก ชูเจริญกาญจน์. (๒๕๕๙). แนวข้อสอบ PISA ภาษาไทย อ.ธตรฐ. ค้นเมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐. chidchanok.esdc.go.th/dawnhold/naew-khxsxbpisa-phasa-thiy-x-thtrth สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (๒๕๖๐). คู่มือครูวรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) . (๒๕๖๐). หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน : วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). . (๒๕๖๐). หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน : วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). สุรินทร์ ยิ่งนึก. (๒๕๕๓). ค้นเมื่อ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐. www.kruthai4.0 com/…อ่านสื่อนำเรื่องบทละครพูด-เห็นแก่ลูก.html. ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ อังคเรศ อิทธิปาทานันท์. (๒๕๕๕). กวีนิพนธ์ในความทรงจำ. ค้นเมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ https://www.gotoknow.org, ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕. Pock Chann. (๒๕๕๖). Play @ Learn เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ครั้งใหม่ : บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก. ค้นเมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐. Hiyorichann.blogspot.com/2013/12/blog – post.html. ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ๓๗